Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วรรณกรรมท้องถิ่น (ภาคเหนือ>__<"'')

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ

วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ
    วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มาจาก ปัญญาสชาดก
พื้นบ้านได้นำเนื้อหามาจากชาดกเรื่องนี้มาประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์
ของท้องถิ่น เช่น โคลง ค่าวธรรม ค่าวซอ เป็นต้น วรรณกรรมพื้นบ้าน
ภาคเหนือมี ๔ ประเภทคือ วรรณกรรมโคลง วรรณกรรมค่าวธรรม
วรรณกรรมค่าวซอ และวรรณกรรมเบ็ดเตล็ด แต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้

  ๑. วรรณกรรมโคลง
โคลง หรือเรียกตามสำเนียงท้องถิ่นภาคเหนือว่า กะโลง เป็นฉันทลักษณ์
ที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยราชวงศ์มังรายตอนปลาย กวีสมัยอยุธยาได้นำ
รูปแบบโคลงของภาคเหนือมาประพันธ์เป็น โคลงสอง โคลงสาม
และโคลงสี่ ตัวอย่างวรรณกรรมโคลงของภาคเหนือที่รู้จักกันแพร่หลาย
เช่น โคลงพรหมทัต โคลงเจ้าวิทูรสอนหลาน โคลงพระลอสอนโลก
โคลงปทุมสงกา เป็นต้น
๒.๑ ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก
เพลงกล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็น
ความเชื่อค่านิยมของคนในท้องถิ่นต่าง ๆ คนทุกชาติทุกภาษาในโลกมี
บทเพลงกล่อมเด็กด้วยกันทั้งนั้น สันนิษฐานว่าเพลงกล่อมเด็กมีวิวัฒนาการ
จากการเล่านิทาน ให้เด็กฟังก่อนนอน ดังนั้น เพลงกล่อมเด็กบางเพลงจึงมี
ลักษณะเนื้อร้องที่เป็นเรื่องเป็นราว เช่น จันทรโครพ ไชยเชษฐ์ พระรถเสน
เป็นต้น การที่ต้องมีเพลงกล่อมเด็กก็เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน หลับง่าย เกิดความอบอุ่นใจ
๒.๒ ลักษณะของเพลงกล่อมเด็ก
ลักษณะของเพลงกล่อมเด็ก ลักษณะกลอนของเพลงกล่อมเด็กจะ
เป็นกลอนชาวบ้าน ไม่มีแบบแผนแน่นอน เพียงแต่มีสัมผัสคล้องจองกัน
บ้างถ้อยคำที่ใช้ในบางครั้งอาจไม่มีความหมาย เนื้อเรื่องเกี่ยวกับ
ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเรื่องราวต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับชีวิต ความเป็นอยู่ สะท้อนให้เห็นความรัก ความห่วงใย
ของแม่ที่มีต่อลูก สั่งสอน เสียดสีสังคม เป็นต้น
๒.๓ คุณค่าและประโยชน์ของเพลงกล่อมเด็ก
            ๑. เป็นบทร้อยกรองสั้นๆ มีคำคล้องจองต่อเนื่องกันไป
๒. มีฉันทลักษณ์ไม่แน่นอน
๓. ใช้คำง่ายๆสั้นหรือยาวก็ได้
๔. มีจังหวะในการร้องและทำนองที่เรียบง่าย สนุกสนาน
จดจำได้ง่าย
และยังมีประโยชน์อื่นๆ อีก คือ
            ๑. ชักชวนให้เด็กนอนหลับ
๒. เนื้อความแสดงถึงความรัก ความห่วงใย ความหวงแหนของแม่ที่มีต่อลูก
๓. แสดงความรักความห่วงใย
๔. กล่าวถึงสิ่งแวดล้อม
๕. เล่าเป็นนิทานและวรรณคดี
๖. เป็นการเล่าประสบการณ์
๗. ล้อเลียนและเสียดสีสังคม
๘. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็ก
๙. เป็นคติ คำสอน ๒. วรรณกรรมค่าวธรรม
ค่าวธรรม หรือ ธรรมค่าว คือ วรรณกรรมที่ประพันธ์ตามแนวชาดก
ฉันทลักษณ์ของค่าวธรรมส่วนใหญ่ เป็นร่ายยาว แทรกคาถาภาษาบาลี
ภิกษุจะนำค่าวธรรมมาเทศน์ในอุบาสกอุบาสิกาฟังในวันอุโบสถศีล
ค่าวธรรมจึงจัดเป็นวรรณกรรมศาสนา ตัวอย่างวรรณกรรมค่าวธรรม
เช่น พรหมจักร บัวรมบัวเรียว มหาวงศ์แตงอ่อน จำปาสี่ต้น แสงเมืองหลงถ้ำ
สุพรหมโมขะ หงส์ผาคำ วัณณพราหมณ์ เป็นต้น

   ๓. วรรณกรรมค่าวซอ
ค่าวซอ เป็นคำประพันธ์ภาคเหนือรูปแบบหนึ่ง นิยมนำมาอ่านในที่ประชุมชน
เรียกว่า เล่าค่าว หรือใส่ค่าวเนื้อเรื่องเป็นนิทานพื้นบ้าน เป็นที่นิยมของชาวบ้าน เพราะได้ฟังเสียงไพเราะจากผู้อ่านและได้รับความเพลิดเพลินจากเนื้อเรื่องนิทาน การอ่านค่าวนิยมในงานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน บวชลูกแก้ว (บวชเณร) และงานปอยเข้าสังข์ (งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ)

ตัวอย่างวรรณกรรมค่าวซอที่สำคัญ เช่น วรรณพราหมณ์ หงส์หิน จำปาสี่ต้น
บำระวงศ์หงส์อำมาตย์ เจ้าสุวัตรนางบัวคำ เป็นต้น

   ๔. วรรณกรรมเบ็ดเตล็ด
วรรณกรรมเบ็ดเตล็ด คือ วรรณกรรมขนาดสั้น เช่น คำอู้บ่าวอู้สาว
คำเรียกขวัญ หรือ คำฮ้องขวัญ จ๊อย ซอ คำปันพร

คำอู้บ่าวอู้สาว หรือคำเครือ คำหยอกสาว เป็นคำสนทนา
เกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวชาวบ้านลานนาในอดีต

คำเรียกขวัญ คือ คำฮ้องขวัญ คือบทสวดสู่ขวัญในพิธีกรรม เช่น ทำขวัญ
บ่าวสาว ทำขวัญควาย

จ๊อย เป็นการขับลำนำโดยไม่มีดนตรีบรรเลงประกอบ หรือบางครั้ง
อาจมีดนตรีคลอตาม เช่น สะล้อ พิณเปี๊ยะ เนื้อหาเป็นการคร่ำครวญ
ถึงความรักระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว

ซอเป็นการขับร้องเพลงโต้ตอบระหว่างชายกับหญิง ผู้ขับร้องเรียกว่า
ช่างซอ การขับร้องจะมีดนตรีบรรเลงประกอบ เช่น ปี่ ซึง สะล้อ
นิยมฟังในงานพิธีกรรมต่างๆ และนำนิทานพื้นบ้านตอนใดตอนหนึ่งมาซอ
เช่น ซอพระลอ ซอน้อยไจยา

คำปันพร หรือ คำปั๋นปอน เป็นคำให้พรของชาวบ้านล้านนา
มีความไพเราะคล้องจองให้แง่คิด รวมทั้งความเป็นสิริมงคล



แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

Mikan_daisuki 10 ก.ย. 58 เวลา 10:35 น. 1
๓.    เพลงประกอบการละเล่นของภาคเหนือ

ประเภทของการละเล่น

เนื่องจากการละเล่นของไทยเรานั้นมีมากมายจนนึกไม่ถึง (กรมพลศึกษารวบรวมไว้ได้ถึง 1,200 ชนิด) แต่พอจะแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ การละเล่นกลางแจ้ง และการละเล่นในร่ม และในแต่ละประเภทก็ยังแบ่งย่อยอีกเป็นการละเล่นที่มีบทร้องประกอบ กับที่ไม่มีบทร้องประกอบ

การละเล่นกลางแจ้งที่มีบทร้องประกอบได้แก่ โพงพาง เสือไล่หมู่ อ้ายเข้อ้ายโขง ซ่อนหาหรือโป้งแปะ เอาเถิด มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร ที่มีคำโต้ตอบ เช่น งูกันหาง แม่นาคพระโขนง มะล็อกก๊อกแก็ก เขย่งเก็งกอย ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ล้อต๊อก หยอดหลุม บ้อหุ้น ลูกดิ่ง ลูกข่าง ลูกหิน เตยหรือตาล่อง ข้าวหลามตัด วัวกระทิง ลูกช่วง ห่วงยาง เสือข้ามห้วยเคี่ยว เสือข้ามห้วยหมู่ ตี่จับ แตะหุ่น ตาเขย่ง ยิงหนังสะติ๊ก ปลาหมอ ตกกะทะ ตีลูกล้อ การเล่นว่าว กระโดดเชือกเดี่ยว กระโดดเชือกคู่ กระโดดเชือกหมู่ ร่อนรูป หลุมเมือง ทอดกะทะ หรือหมุนนาฬิกา ขี่ม้าส่งเมือง กาฟักไข่ ตีโป่ง ชักคะเย่อ โปลิศจับขโมย สะบ้า ันวัว ขี่ม้าก้านกล้วย กระดานกระดก วิ่งสามขา วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทน ยิงเป็นก้านกล้วย การละเล่นในร่มที่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ขี้ตู่กลางนา ซักส้าว โยกเยก แมงมุม จับปูดำขยำปูนา จีจ่อเจี๊ยบ เด็กเอ๋ยพาย จ้ำจี้

ที่ไม่มีบทร้องประกอบ ได้แก่ ดีดเม็ดมะขามลงหลุม อีขีดอีเขียน อีตัก เสือตกถัง ันวัว หมากกินอิ่ม สีซอ หมากเก็บ หมากตะเกียบ ปั่นแปะ หัวก้อย กำทาย ทายใบสน ตีไก่ เป่ากบ ตีตบแผละ กัดปลา นาฬิกาทางมะพร้าว กงจักร ต่อบ้าน พับกระดาษ ฝนรูป จูงนางเจ้าห้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่เช่นเล่นเป็นพ่อเป็นแม่ เล่นแต่งงาน เล่นหม้อข้าวหม้อแกง แคะขนมครกเล่นขายของ เล่นเข้าทรง ทายคำปริศนา นอกจากนั้นยังมีทบร้องเล่น เช่น จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกงแกง....และบทล้อเลียน เช่น ผมจุก คลุกน้ำปลา เห็นขี้หมานั่งไหว้กระจ๊องหง่อง เป็นต้น การละเล่นที่เล่นกลางแจ้งหรือในร่มก็ได้ที่ไม่มีบทร้อง ได้แก่ ลิงชิงหลัก ขายแตงโม เก้าอี้ดนตรี แข่งเรือคน ดมดอกไม้ปิดตาตีหม้อ ปิดตาต่อหาง โฮกปี๊บ เป่ายิงฉุบ

            ๓.๑ ตัวอย่างเพลงประกอบการละเล่นภาคเหนือ

ปะเปิ้มใบพลู (จ้ำจี้)  ของเด็กเหนือ เป็นการละเล่นเพื่อเสี่ยงทาย เลือกข้าง ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้นคนละมือ คนหนึ่งในวงจะร้องว่า

“ปะเปิ้มใบพลู คนใดมาจู เอากูออกก่อน”

หรือ “จำปุ่นจำปู ปั๋วใครมาดู เอากูออกก่อน”

หรือ “จ้ำจี้จ้ำอวด ลูกไปบวช สึกออกมาเฝียะอีหล้าท้องป่อง”
0
Mikan_daisuki 10 ก.ย. 58 เวลา 10:35 น. 2
๔.    ตำนานของภาคเหนือ
ตำนานเรื่องท้าวแสนปม
พื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน นอกจากเคยเป็นที่
ตั้งของเมืองโบราณ เช่น ชากังราว นครชุม ยังมีอีกเมืองหนึ่งคือ
เมืองไตรตรึงษ์  ชื่อเมืองไตรตรึงษ์ปรากฏ
ในศิลาจารึกหลักที่ ๓๘ เรียกว่าศิลาจารึก กล่าวไว้ว่า
พระเจ้าไชยศิริเชียงแสนหนีพม่ามาจากเชียงราย  
เป็นผู้สร้างเมืองไตรตรึงษ์ เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๕๐๐ จากซาก
กำแพงเมืองที่ยังปรากฏเห็น พบว่าตัวเมืองไตรตรึงษ์เป็นรูปสี่เหลี่ยม  
ผืนผ้าขนานกับแม่น้ำปิง ขนาดกว้างประมาณ ๔๕๐ เมตร
ยาวประมาณ ๘๐๐ เมตร มีทางเข้าสู่เมือง ๒ ทาง

ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานทางศาสนาหลายแห่ง
วัดสำคัญในกำแพงเมืองมี ๒ วัด คือวัดเจ็ดยอด และวัดพระปรางค์
ภายนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้มีวัดขนาดใหญ่เรียกว่า
วัดวังพระธาตุ ที่วัดนี้มีเจดีย์ทรงไทยหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็น
เจดีย์หลัก
รอบๆ มีเจดีย์รายทั้ง ๕ ทิศ ขุดค้นทางโบราณคดีพบลูกปัด
หินสีภายในบริเวณวัด ตะเกียงโบราณแบบโรมัน
และชิ้นเครื่องเคลือบลายครามขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป
ทุกวันนี้เมืองไตรตรึงษ์อยู่ที่บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์
อำเภอเมืองกำแพงเพชร

นอกจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ไตรตรึงษ์ยังมี
ตำนานเล่าขาน ที่อิงกับประวัติศาสตร์ถึงกำเนิดของอาณาจักรอยุธยา
นั่นคือตำนานเรื่อง 'ท้าวแสนปม'เรื่องราวโดยย่อมีว่า
เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ มีพระธิดาผู้ทรงสิริโฉม และที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์
นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไปด้วยปุ่มปม
ชาวบ้านเรียกเขาว่า แสนปม มีอาชีพปลูกผัก มาวันหนึ่งเทวดาดลใจ
ให้พระธิดานึกอยากเสวยมะเขือ นางข้าหลวงพบมะเขือในสวนของ
แสนปมลูกใหญ่อวบ จึงซื้อไปถวาย หลังจากพระราชธิดา
เสวยมะเขือของแสนปมได้ไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น
ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายขายหน้า พยายามสอบถามอย่างไร
พระธิดาก็ไม่ยอมบอกว่าใครคือพ่อของเด็ก ครั้นเมื่อพระกุมาร
เติบโตพอรู้ความ ท้าวไตรตรึงษ์จึงประกาศให้ขุนนางและ
เหล่าราษฎรทั้งหลายนำของกินเข้ามาในวัง หากพระ
กุมารยอมกินของผู้ใดผู้นั้นจะได้เป็นเขยหลวง บรรดาผู้ชายทุกคน
พากันมาเสี่ยงทายเป็นบิดาของพระราชโอรส แต่พระราชโอรส
ไม่ได้คลานไปหาใครเลย เจ้าเมืองจึงให้เสนาไปตามแสนปม
ซึ่งยังไม่ได้มาเสี่ยงทาย แสนปมจึงมาเข้าเฝ้า พร้อมทั้งถือก้อน
ข้าวเย็นมา ๑ ก้อน เมื่อมาถึงจึงอธิษฐาน และยื่นก้อนข้าวเย็นให้
พระราชโอรสก็คลานเข้ามาหา

ท้าวไตรตรึงษ์ทรงกริ้ว ที่พระธิดาไปได้กับคนชั้นไพร่อัปลักษณ์
จึงขับไล่ออกจากวัง แสนปมพาพระธิดากับพระกุมารเดินทางเข้า
ไปหาที่อยู่ใหม่ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงเป็นลิงนำกลองวิเศษ
มามอบให้ กลองนี้อยากได้อะไรก็ตีเอาตามได้ดังสารพัดนึก
แสนปมอธิษฐาน
ให้ปุ่มปมตามตัวหาย
ไปแล้วตีกลองวิเศษ ร่างก็กลับเป็นชายรูปงาม จึงตีกลองขอ
บ้านเมืองขึ้นมาเมืองหนึ่ง ให้ชื่อว่า เมืองเทพนคร
และสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่าท้าวแสนปม
ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความสงบสุข ท้าวแสนปมใช้ทองคำมาทำเป็นอู่
(เปล)ให้พระโอรส และตั้งชื่อพระโอรสว่า 'อู่ทองต่อมาพระเจ้าอู่ทอง
จึงย้ายเมืองมาสร้างกรุงศรีอยุธยา จากความเชื่อมโยงดังกล่าว
ทำให้นักประวัติศาสตร์บางท่าน เรียกชื่อราชวงศ์อู่ทอง
อีกชื่อว่าราชวงศ์เชียงราย

ละเว้นจากเรื่องราวในตำนาน ปัจจุบันแนวคิดที่ว่า
พระเจ้าอู่ทองเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ยังคงเป็นหนึ่ง
ในหลายแนวคิดเรื่องที่มาของพระองค์ และก็ยังไม่ถูกตัดออกไป
จึงพอจะอนุมานได้ทางหนึ่งว่า เมืองไตรตรึงษ์คือต้นทาง
แห่งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
 
0