Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ความรู้เรื่องปาน สิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ปานเป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิดค่ะ แต่ว่าเกิดเฉพาะกับเด็กบางคนเท่านั้น ตามความเชื่อของคนไทย คนที่มีปาน คือ คนที่เคยเกิดเป็นมนุษย์มาก่อน เมื่อเสียชีวิตลงพ่อ-แม่ หรือญาติ พี่น้อง ที่เศร้าโศก จะนำปูนแดงหรือถ่านไม้มาป้ายไว้เป็นตำหนิ เมื่อเกิดชาติหน้าจะได้จำกันได้ แต่ความเชื่อก็คือความเชื่อนะคะ มาดูกันดีกว่าว่ามีปานอะไรบ้าง
 
ปานดำแต่กำเนิด
 

เมื่อแรกเกิดปานชนิดนี้ของเจ้าตัวเล็กอาจจะสีค่อนข้างแดง แต่ผ่านไปไม่กี่เดือน ปานจะเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลที่เข้มขึ้น (แต่ในทารกบางคนอาจเป็นสีดำเข้มหรือน้ำตาลเข้มตั้งแต่แรกเกิด) ขนาดของปานจะโตกว่าไฝธรรมดา อาจมีผิวเรียบหรือนูน ขรุขระอาจมีขนอยู่บนปานดำด้วย ปานประเภทนี้ไม่มีอันตราย นอกจากทำให้ดูไม่สวยถ้าปานเพิ่มขนาดใหญ่ ต้องรีบพบคุณหมอเพื่อตรวจดูสาเหตุที่ปานเพิ่มขนาด
 
ปานมองโกเลียน
 

ปานชนิดนี้พบบ่อยมากที่สุดในปานชนิดที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะเป็นผื่นราบสีฟ้าเทา ฟ้าเข้ม หรือเขียวพบบริเวณก้น สะโพก บางครั้งก็อาจพบที่อื่น เช่น แขน ขา หลัง ไหล่ หนังศีรษะ เป็นต้น แต่ปานมองโกเลียนจะค่อย ๆ จางหายไปเองเมื่อลูกน้อยโตขึ้น
 
ปานสตรอว์เบอร์รี่
 

เป็นปานที่มีลักษณะเป็นตุ่มก้อนนูนสีแดงหรือม่วงเข้ม มักพบบริเวณใบหน้าและลำคอแรก ๆ ที่ลูกเกิดจนถึงอายุประมาณ 1 ปานจะโตเร็วมาก หลังจากนั้นสีจะม่วงคล้ำขึ้น และส่วนใหญ่ประมาณ 85% เมื่อลูกอายุประมาณ 7 ปีปานชนิดนี้จะหายเอง เหลือเพียงแผลเป็นจาง ๆ เท่านั้น  แม้ปานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อโต แต่ในบางครั้งควรระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การติดเชื้อถ้าเกิดแผลและมีเลือดออกอาจติดเชื้อได้ ในกรณีที่ปานมีขนาดใหญ่มาก อาจเสี่ยงต่อการมีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเกิดเกร็ดเลือดต่ำ (เกิดจากปฏิกิริยาเกร็ดเลือดทำลายกันเอง) ซึ่งหากมีภาวะแทรกซ้อนควรรีบพาลูกพบแพทย์
 

ปานแดงจากผนังเส้นเลือดผิดปกติ
 

มักพบตั้งแต่แรกเกิด และจะอยู่ไปตลอดไม่จาง มักขึ้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปานชนิดนี้จะขยายขึ้นเรื่อย ๆ ตามตัวของเด็กที่โตขึ้น รวมทั้งมีสีเข้มขึ้น นูนและขรุขระเพิ่มขึ้นตามอายุ  หากพบบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตา อาจมาพร้อมกับความผิดปกติของตาและสมองลูก ควรรีบพาลูกพบคุณหมอค่ะ เพื่อตรวจอาการ
 
ปานโอตะ
 

พบในเด็กแรกเกิดและบางรายอาจมาพบเมื่อตอนเป็นผู้ใหญ่ มีลักษณะจะคล้ายปานมองโกเลียน คือ มีสีเทาหรือน้ำเงิน มักพบบริเวณโหนกแก้มหรือขมับ แต่จะไม่จางหายไปได้เองเหมือนปานมองโกเลียน ปานโอตะไม่มีอันตรายเพราะจะไม่กลายเป็นมะเร็ง เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถใช้เลเซอร์ในการรักษาได้ค่ะ 
 

โดยส่วนใหญ่ปานจะยุบหายเองได้เมื่อลูกโตขึ้น ไม่ต้องรักษาอะไร มีเพียงบางชนิดที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ต้องได้รับการรักษาหรือปานที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ชนิดต่างๆ ในผิวหนัง ที่ทำให้เห็นเป็นปาน กลายเป็นเนื้อร้ายหรือเป็นแผลเรื้อรัง สามารถขยายขนาดได้ อาจดูน่าเกลียด ต้องตัดทิ้งหรือเลือกวิธีอื่นๆ ในการรักษา โดยผ่าน ดุลยพินิจของคุณหมอ เช่น กินยากลุ่มสเตียรอยด์, ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าที่ปานชนิดนั้นๆ เพื่อให้ปานยุบลง, การจี้ด้วยไฟฟ้า หรือการใช้ แสงเลเซอร์
 
 
เครดิต : KHANPAK และ MUMHELPER

แสดงความคิดเห็น

>