Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แลกเปลี่ยน snapshot : 6 เดือนในไต้หวัน @ NTU (แนะนำการเขียน Personal Statement พร้อมการใช้ชีวิตแบบพูดไปก็ไม่มีใครเข้าใจแบบละเอียดยิบ..)

ตั้งกระทู้ใหม่

หลังจากที่เราเล่าชีวิตสมัยเรียนมหาลัยไป และกระแสตอบรับดีมาก (555) ก็มีคนมาถามว่า พี่อยากเขียนนิยายไหม?...(ไม่ใช่ละ.. แต่ได้ข่าวว่ามันรวยนะ $w$. ไม่แน่ รอก่อนๆ) เข้าเรื่องดีกว่า ก็มีคนมาถามว่า อ้าว! แล้วสมัยตอนไปเรียนแลกเปลี่ยนนี่ยังไง ทำไมถึงไปได้ แล้วเกรดแค่ 2 กว่านี่ไปกันได้ด้วยหรอ

มันไปได้คะ! (ก็ข้าไปมาแล้ว หึหึ)

ต้องอธิบายก่อนว่าจะไปแลกเปลี่ยนตอนอยู่มหาลัยนั้น มันมีด้วยกันสองระบบ คือ Exchange Student กับ Visiting Student

Exchange Student ก็จะเป็นแบบที่ทั้ง 2 มหาลัย (คือฝั่งไทยและฝั่งต่างประเทศ) มี contact ของกันและกัน (เป็น Partner University) เราไปในนามนักเรียนจากมหาลัยไทย จ่ายค่าเทอมที่เมืองไทยและสามารถเอาหน่วยกิตบางส่วนที่เรียนกลับมาได้ แต่ไม่สามารถเอาเกรดมาได้ คือเขาก็จะให้ transcript เราแหละ แล้วเราก็จะได้เกรดเหมือนเพื่อนๆที่มหาลัยเมืองนอก เพียงแต่มหาลัยที่ไทยจะไม่เอาเกรดพวกนี้มาใส่ใน transcript ในเมืองไทยให้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะเรียนได้เกรดอะไรที่เมืองนอก มันก็จะไม่มีผลอะไรทั้งนั้นกับเกรดมหาลัยในไทย

อีกประเภทคือ Visiting Student อันนี้คือแบบที่เราไป แบบนี้ไม่จำเป็นว่าทั้ง 2 มหาลัยต้องมี contact ของกันและกัน อันนี้เราไม่ได้ไปในนามมหาลัยในไทย แต่จำเป็นต้องเรียนอยู่มหาลัยในไทยเพื่อจะได้มีที่ยืนยัน ไปแบบนี้เราไม่สามารถโอนหน่วยกิตอะไรกลับมาได้เลย เกรดยิ่งไม่ต้องพูดถึง ส่วนเอกสารหรือค่าเทอม แทนที่จะจ่ายกับมหาลัยที่ไทยแล้วเขาจัดการเรื่องให้ ก็กลายเป็นว่าต้องเอาไปจ่ายกับมหาลัยที่เมืองนอก เวลาจะสมัครก็ต้องสมัครผ่านมหาลัยเมืองนอก qualification ต่างๆ ก็ต้องเป็นไปตามที่มหาลัยฝั่งโน่นกำหนด

ตอนที่เราคิดว่าเราจะไปแลกเปลี่ยนเพื่อหนีปัญหา (เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีนะคะ คนเราสมควรจะเผชิญหน้ากับปัญหาและแก้ไขมัน แทนที่จะหนี) และหนีสภาพสังคม... ตอนนั้นเราเกรดต่ำกว่า 3 ไปแล้ว ทำให้เราไม่สามารถไปแบบ Exchange student กับมหาลัยได้ และถึงแม้เราจะไปเราก็คงได้มหาลัยกาก (แบบที่คนอื่นไม่อยากได้แล้ว) เพราะว่าแต่ละมหาลัยที่เป็น partner กับคณะเรา เขาก็จะมีโควต้าจำกัดว่าต่อปีเขารับเด็กแลกเปลี่ยนได้กี่คน แล้วถ้าเกินกว่านี้เขาก็จะไม่รับ เพราะฉะนั้น มหาลัยที่ไทยเราเลยแก้ปัญหาของการที่มีคนแย่งมหาลัยที่จะไปแลกเปลี่ยนกันด้วยการ ประมูลเอาจากเกรด คือ ถ้า-เกรด 4 ก็มาเลย มหาลัยอะไร-ก็ได้ไป แต่ถ้าต่ำกว่า 3 อย่างเราก็อย่าหวังเลย ถ้าอยากไปคงได้ไปเรียนแบบมหาลัยแถวไนจีเรีย...

เราเลยแก้ปัญหาด้วยการไปแบบ visiting แทน แบบนี้เสี่ยงกว่าเพราะเราอาจจะไม่ได้รับการตอบรับจากมหาลัยอีกฝาก เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องเขียน Personal Statement ให้ดี และมีอาจารย์ดีๆที่ยอมเขียน Recommendation อย่างสวยหรูให้ นอกจากนั้นเราแค่ต้องยื่นพวก transcript และ statement ประวัติสุขภาพ อะไรเถือกนี้

เอกสารพวกนี้เราต้องทำล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือนก่อนจะไป ไม่อย่างนั้น application มันจะปิด แล้วเราก็จะอดไป ใครที่อยากจะไป แลกเปลี่ยน ก็ต้องคอยดู deadline ให้ดีนะ

ตอนที่เรายื่นเอกสาร เราก็เสียวๆว่าจะไม่ได้ เนื่องจากเราเลือกที่จะไปมหาลัยอันดับ 1 ในไต้หวันซึ่งก็ไม่ใช่อะไรนอกจาก National Taiwan University (แม้ตอนนั้นเกรดจะต่ำ แต่เราก็ไม่เคยเจียม 555 เราเอาความอยากได้เป็นที่ตั้ง ติดไม่ติด แล้วถ้าไม่ติดแล้วจะทำยังไง อันนี้ค่อยมาว่ากันอีกที) เรา email ไปคุยกับ international admission office ที่นั่น แล้วถามเขาว่าส่วนมากเขารับทุกคนที่อยากเข้าเลยไหม แล้ว acceptance rate ของนักเรียน visiting เขาเป็นเท่าไหร่ เขาก็ตอบเรากลับมาด้วยสิ่งที่เรากลัว เขาบอกว่าเขาไม่ได้รับทุกคน แล้วยิ่งเราอยากจะเรียนคณะยากมากเท่าไหร่ เรทที่จะติดก็ยิ่งน้อย เพราะเขารับได้จำนวนจำกัด และเราก็ยังต้องไปห่ำหันกับพวกโควต้าเด็ก exchange ที่เขารับไปแล้วด้วย ตอนนั้นเราฟังแบบนั้นก็เริ่มจะเซ็งๆ แต่ก็แบบ ช่างแม่ง ยื่นๆไปก่อนละกัน คงได้อยู่แหละ ปัญหาคือเราจำเป็นต้องจ่าย application fee ล่วงหน้า แล้วถึงแม้ว่าเราจไม่ติด เขาก็จะไม่คืนเงินส่วนนี้ แล้ว-ค่า application fee นี่ก็แสนแพง สิริรวมเป็นเงินไทยก็ประมาณ 15,000 บาทได้ ตอนเราบอกแม่เราว่าเราจะจ่ายค่าสมัคร แม่เราก็ยังงงๆ ถามทำไมแพง เราก็บอกไม่รู้ แต่ก็จ่ายๆไป

ตอนนั้นเราก็เลือกจะเรียนคณะ Management เอก Finance เอาจริงๆ พอมาถึงตอนนี้แล้วพึ่งจะคิดได้ว่า-ที่เลือกไปนี่เป็นอะไรที่โง่มาก แบบเราไม่มีความจำเป็นต้องเลือกเข้าคณะยากขนาดนี้แล้วมาลุ้นจนตัวโก่ง เพราะว่าทางมหาลัยเขาไม่ได้บังคับว่าเราจำเป็นต้องเรียนแต่วิชาในคณะที่เราเลือกมา คือเราจะเลือกคณะ แพทย์ แล้วมาเรียนพวกวิชา management เขาก็ไม่ห้าม เพราะเขายกให้เด็กแลกเปลี่ยนเป็นกรณีพิเศษ แล้ว-คณะ management กะอี finance ที่เราเลือกนี่ก็ดันเป็นคณะยากของมหาลัย คือ -จะติดได้นี่ต้องเก่งมาก เด็กในประเทศเองก็แย่งกันสอบเข้าจะเป็นจะตาย คณะนี้นี่ปีนึงรับเด็กจาก National University of Singapore กับ University of California มาแลกเปลี่ยนไม่รู้เท่าไหร่ (โปรแกรมมัน world class มากจริงๆ... อีเรานี่ก็ไปแบบตาสีตาสา) แต่ก็นะ พอเลือกไปแล้วก็ดันพึ่งมารู้ (อันนี้เหมือนเวลาเขาเตือนตอนลงทุน ว่าให้หาข้อมูลก่อนลงทุน อิฉันนี่ลงทุนก่อนแล้วค่อยคิดได้) ก็ทำไรไม่ได้ ได้แต่ทำใจ เลยมาเครียดตอนต้องส่ง application เนื่องจากว่าเกรดที่ได้จากมหาลัยตอนนั้นมันอยู่ในโซน 2 กว่า แม้ว่าชื่อมหาลัยที่เรียนในไทยจะคุ้มกะลาหัวอยู่บ้าง แต่เราก็คิดว่าถ้าเขียน personal statement แย่ๆ กับ recommendation letter ห่วยๆ ก็คงได้บอกลาชีวิตแลกเปลี่ยน ณ ไต้หวัน กับเงิน 15,000 นี่ได้เลย

หลังจากนั่งคิดสะระตะ สุดท้ายเราก็เขียน Personal Statement ที่จะยื่นให้มหาลัยที่ไต้หวันว่า มันเป็นเรื่องสำคัญกับเราที่เราจะได้ไปเรียนที่ไต้หวัน เพราะบ้านเราเป็นคนจีนแต่เรามาอยู่ไทยตั้งแต่เกิด เราพูดจีนไม่ได้ ไม่เข้าใจวัฒนธรรม เราเคยไปเมืองจีนแต่เราไม่ชอบ เราชอบไต้หวันมากกว่า ไต้หวันคนดีเยอะ สะอาด ปลอดภัย เราว่ามันเป็น environment ที่เหมาะสมที่เราจะไปอยู่ได้ แล้วเราก็เขียนเรื่องเศรษฐกิจไต้หวันว่าเรามองว่าประเทศนี้จะต้องขึ้นมาเป็นใหญ่ในอนาคต เพราะมันเป็นเกาะเล็กแต่มีพร้อม ทั้งทรัพยากรคนความรู้ แล้วก็เงิน (เขาเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้รายใหญ่ของเมกา) เราหวังว่าในอนาคตข้างหน้าเราจะได้ทำการค้ากับประเทศนี้ แล้วเราก็เขียนว่าทำไมต้องเป็น NTU (National Taiwan University) เพราะว่ามันเป็นมหาลัยอันดับ 1 นายกไต้หวันกี่คนต่อกี่คนก็จบที่นี่ โปรแกรมเรียนที่นี่ดี มีคอร์สที่เราสนใจและไม่สามารถหาได้จากมหาลัยอื่น คุณภาพอาจารย์และสังคมที่เราจะได้ แล้วเราก็ว่าไป แบบโม้ไปเรื่อย หลังจากนั้นเราก็เอา Personal Statement อันนี้ไปให้อาจารย์ที่เราว่าเก่งมาก รู้จักเรามาก และ เราชอบมากที่สุดในมหาลัยเขียน recommendation ให้เรา หลายๆคนอาจจะชอบให้คน profile ดีๆเขียน recommendation ให้ แต่จริงๆแล้วสิ่งที่ถูกต้องคือเราต้องให้คนที่เขาเห็นความสามารถของเราและรู้จักเราเขียนให้มันถึงจะออกมาดี และอาจารย์เราก็ไม่ทำให้เราผิดหวัง เขาเขียนว่าเราตั้งใจเรียนในคลาสเขาขนาดไหน (ตอนนั้นเรียนมาสองปีก็มีวิชานี้แหละที่ตั้งใจสุดละ) เรา perform ยังไง และมหาลัยที่ไต้หวันจะโชคดีขนาดไหนถ้าได้เราไปร่วมเรียนกับนักเรียนที่นั่นด้วย หลังจากที่เราเห็น recommendation letter ที่อาจารย์เขาเขียนให้เรา เราก็ยิ้มหน้าบาน เอาไปสแกนเตรียมส่งไปต่อ

หลังจากนั้นเราก็ต้องให้อาจารย์อีกคนเขียนให้ คือทาง NTU เขา ต้องการ 2 ฉบับ แต่เราดันตั้งใจเรียนอยู่แค่ 1 วิชา... (นอกนั้นอาจารย์คนอื่นเขาก็คิดว่าเราเป็นพวกเด็กไม่ตั้งใจ เอาแต่หลับอยู่ในห้อง หรือไม่ก็ไม่รู้จักชื่อเราด้วยซ้ำ) แล้วเราจะไปหาใครเขียนให้อีก เราก็เลยคิดอยู่สักพัก แล้วเราก็คิดได้ว่า เรารู้จักอาจารย์คนนึงสมัยเราไปเรียนซัมเมอร์อยู่ไต้หวันเมื่อตอน ม.ห้า อาจารย์คนนี้สอนอยู่ วิทยาลัยครู ที่ไต้หวัน (National Taiwan Normal University) ซึ่งก็ถือเป็นมหาลัยครูอันดับ 1 ที่นั่น เราก็เลยบอกเขาว่าเราอยากไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ไต้หวัน และเราก็ต้องการ recommendation อีกฉบับ เราอยากให้เขาช่วยเราเขียน เขาก็เขียนให้เราเป็นภาษาจีนแล้วส่งไป NTU เองโดยตรง เราเลยไม่รู้ว่าเขาเขียนอะไรไปบ้าง

พอเราส่งเอกสารครบ เราก็รอไป...


(ตัวอักษรมันเกินไปอ่านต่อ + ดูภาพประกอบ ที่เรา blog เราละกันนะ ที่ http://wp.me/p7Jx0u-2o )

แสดงความคิดเห็น

>