Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิแคะแบบแมวๆ ระบบเอ็นทรานซ์แบบใหม่ (เริ่มปี 61) ดีกว่าจริงๆเหยอ ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


วิแคะแบบแมวๆ ระบบเอ็นทรานซ์แบบใหม่ (เริ่มปี 61) ดีกว่าจริงๆเหยอ ?



-ข้อเท็จจริงคือ ณ ตอนนี้ (3.04 น. 27/08/59) “ยังไม่มีประกาศแบบเป็นทางการ” จากสทศ.ว่าจะเปลี่ยนจริงไหม จะเปลี่ยนจริงอ๊ะเปล๊า 

“วานนี้ในการประชุมร่วมระหว่างผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน มีการหารือเกี่ยวกับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา มีข้อสรุปว่าจะทำการปรับระบบรับนักเรียนเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กที่ครอบครัวมีฐานะดีกับยากจน ซึ่งจะเริ่มในปีการศึกษา 2561 โดยปรับเปลี่ยนให้นักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อน เปิดให้สอบพร้อมกันครั้งเดียวในช่วงกลางเดือน มี.ค. ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาจัดสอบประมาณ 2 เดือน ซึ่งในระหว่างนี้มหาวิทยาลัยจะไม่สามารถเปิดรับตรงได้” (อ้างอิงจาก http://www.pptvthailand.com/news/ประเด็นร้อน/33405) 


มีแค่ ‘แนวโน้ม’ ‘คาดว่า’ ‘เล็งว่า’ ทั้งหมดนี้ถ้ายังไม่มีแบบเป็นทางการออกมา หมายความว่ามันยัง 50/50 ( ‘If’ ) ตรงจุดนี้พี่มองว่าอยากให้รอประกาศแบบเป็นทางการก่อน แม้จะมีเวปข่าวบางเวปเริ่มเปิดว่าชัวร์แล้วก็เถอะ ชัวร์ของพี่คือเจ้าของระบบหรือสทศต้องออกมาพูดเองก่อน 


-สอบหลังจบม.หก (6สัปดาห์ ถึง 2เดือน)


“ โดยระบบใหม่จะจัดช่วงเวลาการสอบเพื่อนำคะแนนไปใช้ในการเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ภายหลังจากที่เด็กเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว โดยจะอยู่ประมาณกลางเดือนมีนาคม จากนั้นจึงเปิดมหกรรมการสอบทั้งการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) การสอบวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) และการสอบวิชาสามัญ 9 วิชาซึ่งเป็นวิชาที่ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยจะใช้เวลาในการจัดสอบวิชาต่าง ๆ ประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ทั้งนี้จะไม่ให้มีการเปิดสอบรับตรงนอกช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบ ” (อ้างอิงจาก http://education.kapook.com/view155373.html)

เห็นด้วยครับ ตรงนี้เด็กๆจะไม่ต้องเครียดกับการวิ่งรอกสอบทั้งสอบในระบบและสอบที่โรงเรียน สอบให้เสร็จเป็นเรื่องๆไป “พี่คะ มันจะไม่ยากไปเหรอ ? สอบได้ครั้งเดียวเองนะค่ะ” หนู เขาให้หนูอ่านหนังสือไปสอบนะลูก ไม่ใช่ไปวัดดวง(แม้ข้อสอบบางฉบับมันจะส้นเท้ามากๆก็เหอะ เช่นสังคมที่มีปัญหาปีที่แล้ว) งั้นการสอบไล่ แกทแพท-เก้าวิชา-โอเนท-แกทแพทรอบสอง มันแตกต่างยังไงอ่ะครับ ? เวลาน้องเดินเท่าเดิม ไม่ได้มากขึ้นหรือลดลง ถ้ามันเปลี่ยนจริงๆควรจัดตารางชีวิตแล้วเริ่มซะ ยิ่งรู้ตัวไวยิ่งไปได้ก่อน 


-เลือกอันดับได้ 4 อันดับ และสิทธิ์ติดได้ทั้ง 4 อันดับ ? 


“เมื่อเด็กทราบคะแนนจากการสอบแล้ว จึงเปิดให้เลือกสาขาวิชาที่ต้องการเรียนได้ 4 อันดับ จากนั้นทางมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกเด็กตามลำดับคะแนน และแจ้งผลการคัดเลือกกลับมาที่ส่วนกลางเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ ซึ่งจะมีทั้งหมด 2 รอบ โดยในรอบแรกหลังจากทางมหาวิทยาลัยแจ้งเด็กกลับไปแล้วว่าได้รับคัดเลือกกี่แห่ง หากเด็กยังไม่พอใจในคณะ/สาขาที่สอบได้ ก็สามารถนำคะแนนไปเข้าในระบบเคลียริงเฮาส์รอบที่ 2 แต่หากเด็กเลือกเข้าเรียนในคณะที่สอบได้ในรอบแรกแล้ว จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการเคลียริงเฮาส์รอบที่ 2 ทันที และหากเดินหน้าใช้ระบบรับตรงกลางร่วมกัน จะไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยไปเปิดรับตรงเอง หากจะให้เปิดรับก็ต้องมีเหตุผลที่ดีมาชี้แจงให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรับทราบ” (อ้างอิงจาก http://education.kapook.com/view155373.html))

“ สำหรับระบบดังกล่าวซึ่งเรียกว่าการรับตรงกลางร่วมกัน คาดว่าจะสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้ราว 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% เด็กสามารถไปสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ยังมีที่นั่งว่างได้โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งในอนาคตก็อาจไม่จำเป็นต้องมีระบบแอดมิชชั่นกลางอีกต่อไป ซึ่งแม้จะดูคล้ายกลับไปใช้ระบบเอนทรานซ์ แต่ระบบนี้จะทำให้เด็กรู้คะแนนล่วงหน้า เพื่อให้สามารถประมาณตนเองได้ว่าจะไปแข่งกับใคร ในหลักสูตรใด ”


แอบๆงงตรงที่บอกว่าได้คัดเลือกกี่แห่ง ? หมายความว่าคนหนึ่งมีสิทธิ์ติดมากกว่า 1 ที่นั่ง ? อันนี้อาจจะต้องรอแบบทางการอีกรอบ และงงตรงที่บอกว่าอีก 10 % ให้สมัครสอบโดยตรงกับมหาวิทยาลัย อันนี้จะต่างอะไรจากเด็กไปสอบตรงหลังแอดมิชชั่น ? ฮัลโหลลลลลลลล


-ยกเลิกสอบรับตรง?


"ระบบ clearing house 2 รอบที่เสนอ เหมือนระบบของ UCAS ของอังกฤษ แต่ต่างกันที่ของเขาใช้ผลการเรียนทั้งหมด ไม่มีการสอบใหม่ ส่วนระบบการสอบเอาคะแนนไว้ก่อนแล้วมาเลือกที่เรียนทีหลังก็เหมือนระบบที่ประเทศไทยเคยใช้เมื่อประมาณปี 2540 แต่ช่วงนั้นให้เลือกได้ครั้งเดียว ถ้าให้เลือกได้สองครั้งแบบที่เสนอก็จะดีขึ้น

แต่ข้อเสียของระบบที่เสนอนี้ คือ ถ้าไม่เอาผลการเรียนเข้ามาเป็นนองค์ประกอบด้วย เด็กก็จะไม่สนใจห้องเรียน โดยจะทิ้งการเรียนเหมือนเดิม การกวดวิชา 9 วิชากับ GAT, PAT ก็จะยิ่งเข้มข้นยิ่งขึ้น โรงเรียนกวดวิชายิ้มแน่นอน และข้อหาที่ว่า ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทำลายการศึกษาขั้นพื้นฐานก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซ้ำร้ายอาจรุนแรงกว่าเดิม

ที่ดีขึ้นมาหน่อยตามที่คิดจะแก้ไขนี้คือลดการวิ่งรอกสอบของเด็กเท่านั้นเอง แต่การเปิดประเด็นไว้ว่า หากมหาวิทยาลัยมีเหตุผลพิเศษจริงๆ ก็ให้สามารถทำได้นั้น ยังเป็นเรื่องที่น่าวิตกสำหรับสังคมไทยเพราะมหาวิทยาลัยก็จะหาเหตุผลขึ้นมาได้เสมอ เพราะการที่มีการสอบตรงในปัจจุบันก็เป็นอ้างเหตุผลพิเศษทั้งหลายที่ไปสรรหากันมาอ้างนั่นแหละ

(ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ เมื่อวานนี้ (25 สิงหาคม 2559 Cr.ภาพ http://www.admissionpremium.com/news/1447)



อันนี้ความเห็นพี่คือเป็นไปไม่ได้ น้อยที่สุดคณะสายปฏิบัติการเช่น มัฑณศิลป์ อะไรพวกนี้พี่ว่าเขาคงไม่ยอมรับเด็กที่มาจากแค่ข้อกาแน่ๆ -*- .....แต่ท่านสมคิดครับ มหาลัยท่านก็เปิดสอบรับตรงทั่วประเทศ 8 รอบ นะครับ ถถถถถถถถถถ (สอบไปแล้ว 1 ยกเลิกไป 3)

คือเรามองว่าข้อดีของการสอบรับตรง คือการได้เด็กตรงกับความต้องการของคณะนั้นๆจริงๆ แกทแพทแมร่งไม่ได้บอกทั้งหมดหรอกว่าเด็กแมร่งเหมาะจะเรียนคณะนี้ คณะนั้นจริงๆรึเปล่า บอกได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

ข้อเสียคือเด็กไม่มีเงินแมร่งชีวิตบัดซบมากคุณ อย่ามองแค่ค่าสอบไม่กี่ร้อย ถามว่าเด็กชายด๋อย บ้านอยู่เนินหินหอม ต้องระเห็จเข้ามาสอบรับตรงในกทม มีค่าใช้จ่ายแฝงอัลไตบ้าง ? ค่ารถโดยสาร ค่าที่พัก ? ค่ากินค่าอยู่ ? เด็กม.หกแมร่งไม่มีแค่ในกรุงเทพนะครับ เรามีเด็กม.หกทั่วประเทศนะเออ เราเสียแค่ค่าสอบ ไม่ได้แปลว่าคนอื่นเสียเท่าเรา แต่เอาเข้าจริงๆมนุษย์ทุกคนมีความเห็นแก่ตัวทั้งนั้น ทุกคนอยากได้ที่เรียนดีๆ ยากมีอนาคตดีๆ ภายใต้การแข่งขันที่มันไม่ได้เสมอภาคอะไรหรอก เพราะคนมีตังค์ยังไงก็มีต้นทุนชีวิตที่ดีกว่าเด็กปอนๆล่ะในระดับหนึ่ง


คนมีเงินก็มองแบบ คนไม่มีเงินก็มองอีกแบบ ถ้าเอาง่ายๆให้มองแบบเป็นกลางที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัดเชือกรอบเดียวจบ เตรียมตัวเองให้พร้อมที่สุดในจุดที่ยืน


ทั้งหมดทั้งมวลขอจบวิแคะแต่เพียงเท่านี้ ข้อมูลตรงไหนผิดพลาดบอกได้นะครับ ใครคิดเห็นยังไงมาคุยกันได้ครับ :”]

แสดงความคิดเห็น

>

16 ความคิดเห็น

GodDA 27 ส.ค. 59 เวลา 18:18 น. 2

ที่บอกว่ารับตรงได้เด็กตรง จริงคือไม่ใช่เลย จริงอยากได้เงินมากกว่า ถ้าไม่คิดเรื่องเงินทำไมไม่ให้สอบฟรี ส่วนเรื่องกวดวิชา เป็นเหตุผลงี่เง่าที่อ้างมากันเป็นร้อยปี จะระบบไหนก็กวดวิชาทั้งนั้น ยิ่งเปลี่ยนมาระบบแอดมิดชัน รับตรง เด็กยิ่งกวดอย่างบ้าคลั่ง เพราะมันบังคับให้ต้องเรียนจบในม.6เทอม1

2
Hakata 27 ส.ค. 59 เวลา 21:40 น. 2-1

พูดซะนึกถึงมหาลัยรับตรงสอบได้8ที =w=

0
ไม่แพท1 27 ส.ค. 59 เวลา 23:30 น. 2-2

ผมว่าที่ มธ ไม่ใช้ gat pat เพราะไม่เชื่อถึงในคุณภาพการวัดผลที่เกินหลักสูตร และในหลายคณะก็มีข้อสอบความเฉพาะด้านด้วย ส่วนข้อสอบผมว่า tu starถือว่าวัดผลได้ดี อย่างเช่นคณะ บัญชี ก็ใช้ข้อสอบเลขที่มีเรื่องที่ใช่แค่ในการเรียนจิงๆ ไม่ใช้แบบpat1 ที่เป็นเลขทั้งหมดไม่เท่าไหร่ แต่ยากโคดๆ หรือ อย่าง นิติ รัฐศาสตร์ บางมหาลัยคิดได้ยังไงที่ใช้ pat1 ในการเข้ารัฐศาสตร์ ส่วนจำนวนรอบสอบเยอะผมก็เห็นด้วยว่าเป็นการหาเงินเข้ามหาลัยมากเกินไป

0
6666 28 ส.ค. 59 เวลา 12:41 น. 4

พูดถึงเรื่องค่าใช้จ่าย เราว่าโอเคเลยนะ

ปัจจุบัน บางมหาลัยเปิดรับตรงโดยใช้ gat pat 9วิชา ไรงี้ แต่เวลาสมัครรับตรงต้องเสียค่าสมัครอีก สรุปคือต้องเสียทั้งค่าสอบ ค่าสมัครรับตรง แล้วคิดดูว่ามีกี่คณะ กี่มหาลัย คูณไปสิ หึหึ เดือดร้อนทั้งเด็ก ทั้งผู้ปกครอง เด็กจนๆบางคนต้องกัดฟันยอมสอบแค่สนามเดียว ไม่มีโอกาสได้รับตรงรับเตริงกับเขาหรอก

0
momo 28 ส.ค. 59 เวลา 13:34 น. 5

สำหรับเรานะ เราว่าสอบรับตรงมันดีกว่าสอบ gat pat อีกอ่ะ แบบเราได้สอบในวิชาที่เราใช้เรียนจริงๆมันไม่เหมือนกับสอบ gat patอ่ะ ที่บางวิชาที่เราสอบมันไม่ค่อยมีความสำคุญกับเราเท่าไหร่ในการเรียน ถึงมีก็มีน้อย เราว่าควรลดค่าสมัครสอบลงดีกว่าการที่เราจะเปลี่ยนระบบการสอบอีก

0
ส้มจี๊ด แมวขันที 29 ส.ค. 59 เวลา 17:17 น. 6

ระบบสอบตรงแบบเก่าโดยเอาเกรดที่โรงเรียนมาคิด...แบบนี้ไม่เห็นด้วยที่สุด เพราะมันคอร์รัปชั่นมาจากที่โรงเรียนแล้ว อย่างเช่นรร.ผม เป็นรร.ประจำจังหวัดภาคเหนือสุด ซื้อเกรดสี่ได้ที่วิชาการโรงเรียน ... มีความเหลื่อมล้ำตั้งแต่ที่โรงเรียนแล้ว... คนจนสอบได้วิชาหลัก วิทย์ คณิต คะแนนสูงกว่าแต่ครูให้เกรดหนึ่ง กล่าวหาว่าไม่ส่งงาน ส่วนคนรวยเรียนไม่รู้เรื่อง สอบตกแต่ได้เกรดสี่ เป็นยังงี้มาหลายปีแล้วจะให้ไปร้องเรียนกับใครได้ นี่ถ้าไปร้องเรียนต้องถึงกับลาออกจากรร. อยู่มอปลายจะจบอยู่แล้ว .... ถ้ายังใช้ระบบเก่าอยู่ คนจนต้องเจอกับระบบสอบตรงเข้ามหาลัยด้วยการกำหนดเกรดขั้นต่ำ เช่นมากกว่า 3.5 ,3.0 อีก....คนจนไม่มีสิทธฺ์แม้แต่จะสมัครเรียน.....ผมเห็นด้วยกับรัฐบาลที่มีการเปลี่ยนระบบใหม่ ให้มีการแข่งขันกันอย่างยุติธรรมขึ้น....อย่างน้อยก็แก้ถูกจุด ตรงที่ตัดปัญหาการคอร์รับชั่นในโรงเรียน....ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบใหม่ คือผู้บริหารโรงเรียนและครูที่เสียผลประโยชน์จากการสอนพิเศษกับการแก้เกรดให้เป็นสี่ และ นักเรียนที่ผู้ปกครองรวยๆคิดจะหาทางลัดสอบเข้าโดยการเอาเปรียบคนอื่นเยี่ยม

0
somnina 29 ส.ค. 59 เวลา 19:21 น. 7

คืออยากรู้ว่า ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบใหม่แล้ว จะไม่มีรับตรง สอบตรงแล้วชะป่ะ 
คือ ตามที่คิดแบบ ถ้าสอบอะ จะไปสอบตรงก่อน
ถ้าไม่ติดก็รอแอดมินต่อ อะไรแบบนี้
คือลองมองในหลายๆมุมนะ ถ้าบอกว่าระบบใหม่ดีกว่าเพราะ มันมีสิทธิเท่ากันก็เหอะ แต่สมมติเมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ คนที่มีฐานะกว่า ก็เรียนกวดวิชาได้ ซื้อหนังสืออ่านได้ ทำอะไรได้มากกว่าอยู่ดี คือถึงจะเปลี่ยนระบบ ก็คงไม่ต่างอะไรมากหรอก
ลองคิดถึงคนที่ฐานะไม่ค่อยดี แล้วอยู่โรงเรียนในชนบท ก็รู้กันอยู่ว่าแต่ละโรงเรียนมันต่างกันขนาดไหน ถ้าจะบอกว่าเปลี่ยนแล้วเท่าเทียม มันก็ไม่จริงเสมอไป มันแทบไม่ต่างกันมาก และก็มันไม่ใช่ทุกคนที่รู้ความฝันตัวเอง บางที ม.6 แล้วยังคิดไม่ออกเลย อย่างน้อยการที่สอบต่างๆในระบบแอดมิด ก็เป็นตัววัดความถนัด ช่วยให้หาตัวเองได้อีกนิดนึง การสอบครั้งเดียวใช่ว่าจะไม่ดี แต่มันก็ดีแหละเนอะ 55555 (คหสต) 

2
ฉางฟง 29 ส.ค. 59 เวลา 20:37 น. 7-1

กวดวิชานั้นห้ามไม่ได้อยู่แล้วนอกจากออกเป็นกฎหมายห้ามมีการกวดวิชาทุกอย่าง แต่ระบบปัจจุบันมหาวิทลัยทุกที่เปิดรับตรงเพื่อล่อเด็กเข้ามาแล้วแต่สะดวก แล้วอ้างเหตุผลว่าคนที่อยากสอบก็มาสอบเอง แล้วเด็กคนไหนจะไม่อยากสอบบ้างถ้ามีโอกาส สุดท้ายก็เดือดร้อยพ่อแม่ แต่ถ้าสอบหลังจบม.6อย่างน้อยก็เท่าเทียมกันที่ว่าให้เวลาโรงเรียนตั้งใจสอนให้จบก่อนแล้วค่อย

0
somnina 21 เม.ย. 60 เวลา 16:54 น. 7-2

อ่า นั้นแหละเนอะ มันก็จริงตามที่ฉางฟงบอก ตอนนี้ระบบใหม่ก็ออกมาแล้วก็ไม่ต่างจากเดิมเท่าไหร่ ? แค่มีสอบรอบเดียวติดๆกัน 55555 ถ้าฉางฟงขึ้น ม.6 ปีนี้ก็เข้าคณะที่ฝันไว้ให้ได้นะ สู้ๆ

0
ฟหกด 30 ส.ค. 59 เวลา 08:19 น. 9

ประเทศเรายังไม่เหมาะที่จะใช้เกรด ไม่รู้เลยรึครับดันจริงเรื่องเกรดเนี่ย ไม่มีอะไรดีไปกว่าการสอบอีกแล้วครับ


เอาเกรดมาใช้ระวังมีแต่เปลือกนะครับ

0
ฟหกด 30 ส.ค. 59 เวลา 08:27 น. 10

อ่อเรื่องกวดวิชาน่ะครับ ยิ่งกั๊กข้อสอบ กวดวิชายิ่งขึ้นครับ เพราะต้องหาข้อสอบจริงจากคนเหล่านั้นแทนที่จะหาซื้อได้ทั่วไป

0
เด็ก กศน. ม.ปลาย 30 ส.ค. 59 เวลา 22:15 น. 11

เราเห็นด้วยนะกับระบบใหม่ เพราะว่า เราเรียน กศน. อยากเข้ารับตรงก็เข้าไม่ได้ ทั้งๆที่ เกรดเราก็ถือว่าดี ความรู้เราก็มี อ่านบ้างทำแบบฝึกบ้าง พอๆกับพวกเรียนในระบบ

0
ภูเมศ 4 ก.ย. 59 เวลา 22:05 น. 13

เป็นวิธีที่ดีทุกคนเท่าเทียม. รวยจน มีโอกาสเท่ากัน เด็กไม่ต้องเครียดเกิน
ต้องตั้งใจ พยายาม ส่วนวิชาเฉพาะ ด้าน หมอ พยาบาล หรือ ศิลปะ
จะมีข้อสอบเฉพาะ. เหมือนเอนทรานซ์.เลยสมัยก่อนเลย

0
คนจน 14 ก.ย. 59 เวลา 14:30 น. 14

เอนทรานซ์ สอบครั้งเดียววัดดวง ถามจิงรร.แต่ละรร.การสอนก็ไม่เหมือนกันนะ คำพูดที่ว่าให้นร.ใส่ใจในห้องเรียนมากขึ้นนั้นก้ใม่จิงหรอกนะ บางครั้งนร.ใส่ใจในการเรียน แต่ครูบางท่านกะอาจจะติดธุระบ้าง ไม่เข้าสอนบ้าง การเรียนการสอนยังต่างกับรร.ในกทม.เรย โดยสรุปแร้วยังงัยคนจนก็มีโอกาสน้อยอยุ่แร้วทำใจค่ะ

0
noo yuy 30 ก.ย. 59 เวลา 16:50 น. 15

ก้อจริงค่ะเห็นด้วยเลยกับความคิด คือเราอยากเรียนพยาบาลด้วยอยากเค้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนีกรุงเทพ และเป็นปีที่อยู่ม.6 ปี61 พอดีเลยคิดว่าถ้าติดคงดี เขาวัดกันตรงคะแนนว่าจะเหมาะกับคณะไหน ความคิดแบบบนี้มาจากไหนคือเป็นหมดดูหรอ และเด็กบางคนอยากเรียนตามคณะของตนเองชอบ และเปลี่ยนมาเป็นระบบนี้ โน้น ยกเลิกหมดเลย
กรุณาเห็นใจเด็กด้วยน้ะค่ะ

0
Kkkk 1 พ.ย. 59 เวลา 19:22 น. 16

ไหนๆกีจะเอนทรานซ์ละน่าจะใช้แบบปี47เลยไม่ต้องสอบgat pat อะไรนี่หรอกไม่ได้วัดอะไรเท่าไหร่หรอก ปี47ก็ไม่มียังเลือกคณะได้ตรงเลยถ้าเรียนไปแล้วไม่ชอบก็เอนใหม่ได้ สอบแต่แต่วิชาหลักก็พอ ละเห็นข้อสอบgat patละ บางทีไม่เกี่ยวกับอันที่จะเรียนเลยมันวัดได้ตรงไหนไม่เข้าใจ เอาอันที่เรียนมาทั้งหมด มาสอบก็ปวดหัวพอละ เลิก gat pat เถอะ เพราะว่าบางที่เราไม่ได้เลือกสอบgat pat ทุกอันพอสอบคะแนนไม่ถึงอยากเปลี่ยนคณะดันไม่ได้สอบ patอื่นสำรองไว้อีก ก็หมดโอกาสอีกต้องเสียเวลาสอบทุกpat กันเหนียวไว้อีก เมื่อก่อนไม่มีgat pat ยังเรียนจบทำงานมีคุณเลย จนหัวหงอกแล้วก็มี

0