Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ศัลยแพทย์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ลักษณะอาชีพ

- ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ผู้วินิจฉัยโรค สั่งยา ให้การรักษาโรคและความผิดปกติใน ร่างกายของมนุษย์ด้วยวิธีการทางอายุรกรรม และศัลยกรรม บำบัดและป้องกันโรค และความผิดปกติในร่างกายของมนุษย์ ลักษณะของงานที่ทำ วินิจฉัยโรคและให้การรักษาโรค การบาดเจ็บ และอาการอื่นๆ ด้วยวิธีการอายุรกรรมหรือศัลยกรรม แก่ผู้ป่วย ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือทุพพลภาพ และหญิงมีครรภ์
- ทำการผ่าตัดใหญ่และผ่าตัดเล็กชนิดต่างๆ เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ โรค หรือความผิดปกติของร่างกายมนุษย์
- วินิจฉัยโรค สั่งยา และให้การรักษาทางศัลยกรรม ในความผิดปกติในร่างกาย และจิตใจของมนุษย์
- ทำการวิจัยปัญหาทางแพทย์และปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงการตรวจร่างกาย การวินิฉัยโรค การสั่งยา การผ่าตัดเล็ก และการรักษาอาการบาดเจ็บของโรค และอาการ ผิดปกติต่างๆ
- ทำการผ่าตัดใหญ่และผ่าตัดเล็กชนิดต่างๆ เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ โรค หรือความผิดปกติ
- ทำงานให้คำแนะนำและรักษาทางยาหรือทางผ่าตัดเกี่ยวกับโรคหรือความผิดปกติเฉพาะอย่าง
- ตรวจค้นโรคและความผิดปกติต่างๆ ของมนุษย์ เพื่อทราบลักษณะแก่นแท้สมมติฐานอาการแสดงผลของโรคและความผิดปกตินั้นๆ
- ช่วยกำหนดวิธีการรักษา ตรวจร่างกายมนุษย์หรือวัตถุจากร่างกายมนุษย์ หรือวัตถุพยานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทางการแพทย์ เพื่อค้นหาและชันสูตรเหตุของความผิดปกติในร่างกาย

คุณสมบัติของแพทย์

1.สุขภาพกายต้องแข็งแรง
การ เป็นแพทย์ทุกคนต้องมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ หลังเอ็นทรานซ์ติดแล้ว 3 ปีแรกจะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยทำงานอดหลับอดนอน เมื่อเข้าสู่ปี 4 จะมีการอยู่เวรยาม แต่ยังไม่โหด อาจถึงแค่เที่ยงคืน เมื่อเข้าสู่ปี 6 เวรจะโหดมากต้องอยู่วันเว้นวันหรือ วันเว้นสองวัน นักศึกษาปี 6 นี้ต้องดูแลผู้ป่วยตลอดคืน คนไข้เป็นอะไรต้องตามนิสิตแพทย์ก่อน ในขณะที่กลางวันต้องทำงาน บางคนเป็นลมข้างเตียงผู้ป่วยก็มี ดังนั้น การมีร่างกายแข็งแรงมีความจำเป็น เพราะถ้าไม่เช่นนั้นอาจทำให้การทำงานขาดสะบั้นลงได้

2.ความเมตตากรุณาต่อผู้ที่ได้รับความทุกข์ทรมาน
สมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และพระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ ได้สั่งสอนนักเรียนแพทย์ให้ยึดมั่นในอุดมคติ ดังนี้
"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง"
พรหมวิหาร ธรรมเป็นธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพรหม สำหรับผู้เป็นแพทย์ ทำให้แพทย์ผู้ปฏิบัติพรหมวิหารธรรมเสมอด้วยพรหม มี 4 ประการ คือ
1)เมตตา ความรักใคร่ ปราถนาดีอยากให้ผู้ป่วยมีความสุขมีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่ผู้ป่วยเสมอ
2)กรุณา ความสงสารใฝ่ใจอันปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้ป่วยที่กำลังได้รับอยู่ (Altruism)
3)มุทิตามี ความยินดีเมื่อผู้ป่วยอยู่ดีมีสุข
4)อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง มีจิตเรียบตรงดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง

3.มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
แพทย์ ต้องไม่รังเกียจที่จะพูดคุยกับคนอื่น เมื่อผู้ป่วยซักถามอะไรที่อาจไม่มีสาระ แพทย์ก็ควรตอบให้ผู้ป่วยเข้าใจโดยไม่รำคาญ อาจารย์แพทย์มักกล่าวว่า "ถ้าหมอหรือญาติของหมอเองเจ็บป่วยด้วยโรคที่หมอเองก็ยังไม่รู้ ต้องพึ่งคุณหมอคนอ่น คุณอยากถามอะไรกับคุณหมอท่านนั้นบ้างล่ะ"
ใน โรงเรียนแพทย์เรื่องนี้ถือเป็นจุดด้อยเพราะไม่มีการเรียนรู้อย่างจริงจัง แต่จะเรียนรู้ทางอ้อมจากการซึมซับจากอาจารย์แพทย์ การปฏิบัติงาน ไม่ใช่ว่าแพทย์จะดุผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยไม่ได้ แต่แพทย์สามารถเตือนได้เมื่อผู้ป่วยทำสิ่งที่ไม่สมควร (ไม่ดุก็เหมือนดุ) ไม่ใช่เพราะผู้ป่วยไม่ฟังแพทย์ แต่เพราะแพทย์เป็นห่วงผู้ป่วย สิ่งที่ผู้ป่วยทำอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต

4.มีสติปัญญาที่ดี
ร่าง กายของคนเรามหัศจรรย์มาก คือ เห็นเป็นรูปร่างอย่างนี้ ข้างในมีอะไรให้เราศึกษาได้อย่างไม่ณุ้จบสิ้น แพทย์ต้องเรียนรู้รายละเอียดทั้งหมดในร่างกาย ผูที่เป็นนักศึกษาแพทย์ต้องมีความจำดีไม่ใช่ได้หน้าลืมหลัง เพราะมีความรู้ใหม่ๆแทรกมาตลอดเวลา ซึ่งความรู้พวกนี้ต้องใช้ความรู้พื้นฐานชั้นต้นๆมาเรียนรู้ตลอด 6ปี แพทย์ต้องมีความเข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ไม่ใช่เอาแต่ท่องจำอย่างเดียว ต้องเป็นผู้ขยันหาความรู้ เพราะวิทยาศสาตรืจะมีความรู้ใหม่ๆเข้ามาเสมอ นอกจากนี้ แพทยืต้องมีวิจารณญาณสูง เพราะแพทย์ต้องวิเคราะห์องค์ความรู้ที่มีอยู่มากมายมาเป็นของตนเอง เลือกได้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดไม่ดี

แนวทางในการศึกษาต่อแพทย์

แพทย์ต้องเรียน 6 ปี จบมาเป็นหมอทั่วไป ใครขยันมากๆ ก็ไปเรียนต่อเป็นหมอเฉพาะทาง ปี 1เรียนวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ แคลคูลัส แม้กระทั่งภาษาอังกฤษปี 2เริ่มเข้าสู่ความเป็นหมอมากขึ้น น้องๆต้องเรียน"Anatomy"เราจะมีอาจารย์ที่มีบุญคุณต่อเรามากก็คือ "อาจารย์ใหญ่" ท่านเสียสละร่างกายอุทิศให้เราเรียนเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ ตับ ปอด ลำไส้ ฯลฯ ของจริงนะครับ และยังต้องเรียนเกี่ยวกับสรีรวิทยาระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ว่าทำงานอย่างไรปี 3ก็เรียนเกี่ยวกับเชื้อโรคที่ก่อโรคแก่มนุษย์ ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ แต่ต้องจำชื่อเชื้อโรคด้วย งานนี้ท่องกันมันส์ไปเลย และก็เริ่มลงรายละเอียดเกี่ยวกับโรคต่างๆ พยาธิวิทยา และเรียนเกี่ยวกับยาด้วยปี 4 - 5 - 6เรียนเกี่ยวกับผู้ป่วยจริงๆ น้องๆ ต้องขึ้นปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยตามแผนกต่างๆ เช่น อายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินรีเวช กุมารเวช กระดูก ตา หู คอ จมูก ฯลฯ น้องๆ จะได้เป็นส่วนหนึ่งในทีมงานดูแลผู้ป่วย ที่จะมีอาจารย์หมอ พี่ที่เรียนเฉพาะทางช่วยดูแลเราอีกทีหนึ่ง
จบปี 6 ต้องทำอะไรบ้าง?? สำคัญที่สุดคือ การสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือใบประกอบโรคศิลป์ ต้องสอบทั้งหมด 3 ขั้นตอน ถ้าสอบผ่านทั้ง 3 ขั้นตอนน้องๆ ถึงจะได้รับใบประกอบโรคศิลป์ หลังจากนั้นก็ลุยโลดเลยครับ1+2 =3 แต่ลืมบอกไปว่า น้องต้องผ่านขั้นตอนที่ 1 และ 2 ทั้ง 2 ขั้นตอน ถึงจะมีสิทธิ์สอบขั้นตอนที่ 3 ได้ ใบที่ 1 เป็นข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบมี 300 ข้อ จะสอบเกี่ยวกับทฤษฎี เป็นความรู้ทาง Anatomy สรีรวิทยา เรื่องยา ฯลฯ สอบตอนจบปี 3 กำลังจะขึ้นปี 4 ใบที่ 2 สอบตอนจบชั้นปี 5 กำลังจะขึ้นปี 6 มีข้อสอบ 300 ข้อ เป็นความรู้ทางคลินิกเกี่ยวกับการรักษาโรค การวินิจฉัยโรค และขั้นตอนสุดท้าย ใบที่ 3 สอบตอนปี 6 ประมาณปลายปี ข้อสอบมี 20 ข้อ เป็นข้อสอบปฏิบัติ มีหัวข้อ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การทำหัตถการทางคลินิก การให้คำแนะนำผู้ป่วย การวัดผลทางห้องปฏิบัติการ ต้องผ่านอย่างน้อย 12 ข้อ แต่ละข้อมีเวลาให้ทำ 5 นาที จะมีผู้ป่วยจำลอง ผู้ป่วยจริงมาสอบเรา บอกได้ว่า โหด มาก แค่เจอหน้าอาจารย์หมอก็สั่นแล้วครับ ฉะนั้น นักศึกษาแพทย์ต้องเตรียมตัวกันดีๆ เลยละครับ
ความก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ และสวัสดิการ
ผู้ประกอบอาชีพแพทย์ ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์ จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง จนถึงระดับผู้บริหาร หากมีความสามารถในการ บริหาร หรือ อาจประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดคลีนิครับรักษาคนไข้ทั่วไป นอกเวลาทำงานเป็นรายได้พิเศษ สำหรับผู้ที่มีความชำนาญและมีทีมงานที่มีความสามารถ รวมทั้งมีเงินทุนจำนวนมากก็สามารถ เปิดโรงพยาบาลได้
แพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง อาจได้รับการว่าจ้างให้ไปทำงานในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลหลายแห่ง ทำให้ได้รับรายได้มากขึ้น
ผู้ประกอบอาขีพนี้ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ตามวุฒิการศึกษา สำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมีอัตราเงินเดือน ดังนี้
หน่วยงาน วุฒิการศึกษา
ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
ราชการ 8,190 9,500 - 10,500 15,000 - 16,000
รัฐวิสาหกิจ 9,040 15,000 - 12,000 23,000 - 24,500
เอกชน 10,600 21,000 - 22,000 28,000 - 30,000

ทำ งานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องมาทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด อาจจะต้องมีการจัดเวรอยู่ประจำโรงพยาบาล นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนอาจได้รับผลตอบ แทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์สามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยรายได้ที่ ได้รับขึ้นอยู่กับความสามารถ และความอุตสาหะ

ปัญหาและอุปสรรคที่อาจพบในการประกอบอาชีพ

1.ขาดความพร้อมในการทำงาน
บางคนมาทำงาน แต่ยังทำตัวเป็นเด็ก ๆ ทำงานแบบเด็ก ๆ ไม่มีความรับผิดชอบมากพอ เมื่อคุณก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน คุณควรบอกตัวเองว่าตอนนี้คุณคือผู้ใหญ่แล้ว คุณไม่ใช่เด็กอีกต่อไป คุณจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ อย่าลืมว่าคุณจะต้องพิสูจน์ให้นายจ้างเห็นว่า คุณมีความสามารถและสามารถผ่านการทดลองงานได้

2.ไม่ชำนาญในงานที่ทำ
เนื่องจากคุณเพิ่งเรียน จบ และงานที่คุณได้รับมักเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ ไม่เคยทำ ไม่เคยเรียนมาก่อน เรื่องความชำนาญจึงเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง คุณอาจรู้สึกว่างานยากเกินไปสำหรับคุณ แต่เมื่อคุณเรียนรู้มันสักระยะหนึ่ง คุณจะรู้สึกชินกับมัน และสามารถทำงานได้อย่างสบายใจขึ้น

3.ขาดกำลังใจ
เวลาที่เจอกับงานยาก บางครั้งคุณอาจรู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจ จนคิดว่าคุณไม่มีความสามารถ คุณไม่อาจทำมันให้สำเร็จได้อย่างที่นายจ้างต้องการ หากความรู้สึกนี้เกิดขึ้น คุณควรจะเติมความมั่นใจให้ตัวเองให้เต็ม และหมั่นเติมอยู่เรื่อย ๆ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกขาดกำลังใจมาบั่นทอนคุณ ถ้านายจ้างคุณคิดว่าคุณทำไม่ได้ เขาคงไม่ให้คุณทำงานนี้หรอก ดังนั้น เมื่อเขามั่นใจในตัวคุณ แล้วไยคุณถึงไม่มั่นใจในตัวเองล่ะ

4.ทีมไม่เวิร์ก
การทำงานเป็นทีมคือ การรวมตัวของคนหลายคน จึงต้องมีการปรับตัวให้ทุก ๆ คน สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น แต่ก็อาจมีบ่อยครั้งที่คนในทีมทำงานคล่อมจังหวะกันบางคนช้าเกินไป บางคนเร็วเกินไป ควรจะต้องมีการตกลงทำความเข้าใจว่าจะทำงานกันอย่างไร จึงจะทำให้ทีมของคุณประสบความสำเร็จ

5.ขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
คนที่เป็นพนักงานใหม่ แน่นอนจะต้องเป็นฝ่ายที่เข้าหาผู้อื่น เพื่อแนะนำตัวคุณ ให้ผู้อื่นรู้จัก และขอคำแนะนำจากพวกเขา เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งคุณก็จะมีเพื่อนมากมาย ที่เขาสามารถให้คำแนะนำ และช่วยเหลือคุณในเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ พนักงานใหม่บางคนขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ไม่ว่าจะด้วยความขี้อาย พูดน้อย หรือมั่นใจในตัวเองมากจนไม่สนใจผู้อื่น คิดว่าตนเองสามารถอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียวได้ จึงทำตัวไม่น่ารัก ไม่น่าเอ็นดู และในที่สุดก็จะถูกโดดเดี่ยวจากเพื่อนร่วมงาน ในทางกลับกันคนที่รู้จักเข้าหาผู้อื่น มีนิสัยร่าเริง เข้ากับคนง่าย มักจะเป็นที่รักของคนในที่ทำงาน เมื่อต้องการความช่วยเหลือใด ๆ ก็จะมีแต่คนยินดีให้ความช่วยเหลือ

แนวโน้มความต้องการแพทย์

ผู้ตรวจค้นโรคและความผิดปกติของร่างกาย จิตใจ สั่งยา ให้การรักษา มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งในด้านการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน รักษาโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ การ เรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทยใช้เวลาเรียน 6 ปี ปีแรกเรียกชั้นเตรียมแพทยศาสตร์ เรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไปเน้นเกี่ยวข้องทางชีววิทยา ปีที่ 2-3 เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เรียกระยะนี้ว่า ปรีคลินิก (Preclinic) ปีที่ 4-5 เรียนและฝึกงานผู้ป่วยจริงร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์ เรียกระยะนี้ว่า ชั้นคลินิก (Clinic) และปีสุดท้ายเน้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์เรียกระยะนี้ว่า เอกซ์เทอร์น (Extern) เงินเดือนเริ่มต้นที่ 50000-80000บาท/เดือน
"มีแนวโน้มสูงขึ้นตามความต้องการทางการแพทย์ในอนาคต"

คุณค่าของแพทย์ต่อการพัฒนาสังคม

1.ช่วยพัฒนาความกินดีอยู่และระบบสาธารณสุขของสังคมได้2.ผู้ป่วยมีโอกาสรอดเพิ่มขึ้นหากอยู่ในมือหมอ
3.สังคมไทยจะมีอัตราการป่วยที่น้อยลง
4.หากมีแพทย์หลายสาขาจะทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นไปได้ดีและรวดเร็วขึ้น
5.แพทย์เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจรรยาบรรณในอาชีพ ไม่เลือกผู้ป่วย

บรรณานุกรม

-www.my.dek-d.com/bcgs/writer/viewlongc.php?id=490181&chapter 11
-www.blog.eduzones.com/summercamp/86129
-www.thaigoodview.com/node/151867
-www.th.jobsb.com/th-th/articles/อุปสรรคในการทำงาน
-www.aumaimsrinoom.blogspot.com/2010/06/blog-post.html

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น