Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คนเขียนบทละครโทรทัศน์ไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คนเขียนบทละครโทรทัศน์ไทย

ละครไทยมากมายที่เราติดตามชมหลายๆ เรื่องล้วนผ่านคนเขียนบทละคร นักเขียนหลายท่านมากมาย

อาทิเช่นรุ่นครู ศัลยา / ปราณประมูล / ยิ่งยศ ปัญญา

*********************************************************

- ศัลยา (ศัลยา สุขะนิวัตติ์)
ผลงานเด่น : คู่กรรม , คือหัตถาครองพิภพ , สายโลหิต , รัตนโกสินทร์ , มงกุฎดอกส้ม , ดอกส้มสีทอง , ลูกไม้ไกลต้น , เวลาในขวดแก้ว , แค้นเสน่หา
ผลงานที่กำลังถ่ายทำ รอออกอากาศ
กลลวงทวงหนี้รัก ทางช่อง 3
บุพเพสันนิวาส ทางช่อง 3
สายโลหิต ทางช่อง 7

คำสัมภาษณ์ ศัลยา สุขะนิวัตติ์
"การเขียนบทละคร ถ้าเรารู้ก่อนว่าตัวนักแสดงคนไหนใครจะเป็นคนแสดง
จะเป็นประโยชน์ต่องานมาก คือเราจะเขียนบทให้ใกล้เคียงกับคาแรคเตอร์ของคนนั้นถ้าตัวละครๆไม่ตรงเราก็ยังหาทางตะล่อมให้เข้ากันได้บ้าง ไม่ให้เสียคาแรคเตอร์จากบทประพันธ์เดิมเกินไป เพราะละครเป็นอะไรต้องไปเร็วมาก ถ่ายกันวันละสิบกว่าซีนถ้าบทต่างจากคาแรคเตอร์ตัวนักแสดงมากก็ยากกับการถ่ายทำ แต่บางครั้งก็มีเหมือนกันที่ต้องเขียนไปก่อนโดยที่ยังไม่รู้ว่าใครจะแสดงต่อไปเราก็พยายามหาทางตะล่อมให้กลมกลืมมากขึ้น"

************************************************************************************************

- ปราณประมูล (ทิพย์ธิดา ศรัทธาทิพย์)
ผลงานเด่น สวรรค์เบี่ยง , ปัญญาชนก้นครัว , เคหาสน์สีแดง , คนเหนือดวง , อุบัติเหตุ , อุ้มบุญ , เชลยศักดิ์ , คุณหญิงนอกทำเนียบ , วันนี้ที่รอคอย , น้ำใสใจจริง , สัมปทานหัวใจ , เงิน เงิน เงิน , บ่วงหงส์ , หนุ่มทิพย์ , ปริศนา , มายา
เหตุเกิดที่ สน. (2533-2534) ช่อง 7
ไม่ย่อท้อมรสุม (2540) ช่อง 5
นิราศสองภพ (2545) ช่อง 3
สะดุดรัก (2549) ช่อง 3
กุหลาบตัดเพชร (2549) ช่อง 3
จอมใจ (2550) ช่อง 3
สุสานภูเตศวร (2552) ช่อง 3
มาลัยสามชาย (2553) ช่อง 5
ลิขิตฟ้าชะตาดิน (2555) ช่อง 5
The Sixth Sense สื่อรักสัมผัสหัวใจ (2555) ช่อง 3 (ควบคุมบทโทรทัศน์)
คู่กรรม (2556) ช่อง 5
คุณชายพุฒิภัทร (2556) ช่อง 3
The Sixth Sense สื่อรักสัมผัสหัวใจ 2 (2556) ช่อง 3
พ่อไก่แจ้ (2557) ช่อง 3
น่ารัก (2557) ช่อง 5
ลมซ่อนรัก (2558) ช่อง 3
เจ้าบ้าน เจ้าเรือน (2559) ช่อง 3
ลมไพรผูกรัก (2560) ช่อง 3

คำสัมภาษณ์ จากเว็บ http://www.sakulthaionline.com/magazine/reader/19157/8 

-รักในการเขียนบทละครมาตั้งแต่วัยเรียน...

ดิฉันชอบเขียนค่ะ นวนิยายก็เขียนเหมือนกัน เขียนทุกอย่าง เขียนมาตั้งแต่เด็ก ก็เขียนหนังสือในชั้นเรียนให้เพื่อนๆอ่าน เพราะธรรมชาติเป็นคนชอบเขียนอยู่แล้ว ถึงไม่มีใครจ้าง ก็คงเขียนไว้อ่านกันเอง ให้เพื่อนอ่าน งานเขียนเป็นงานที่ถูกจริตที่สุด และชอบเขียนบท เพราะว่าตั้งแต่สมัยเด็ก เป็นคนทำบทละครให้เพื่อนๆเล่นในงานโรงเรียน คือหมายความว่ามีความสุขในสิ่งที่ทำ กระทั่งกลายเป็นวิชาชีพมาจนถึงทุกวันนี้

- ครอบครัวช่วยส่งเสริมด้วยมั้ยคะ

คุณพ่อดิฉันเป็นนักอ่านมากๆ คุณแม่ก็เป็นนักอ่าน คุณแม่รับนิตยสารสกุลไทย สตรีสาร เป็นประจำ ส่วนคุณพ่อก็ชอบอ่านหนังสือแนวการเมือง และหนังสือของนักเขียนชายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากคุณพ่อเป็นเพื่อนสนิทกับคุณสุวัฒน์ วรดิลก คุณทวีป วรดิลก คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ และด้วยความที่น้องชายของคุณพ่อ ก็คือ คุณอาทนง ศรัทธาทิพย์ เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สารเสรี (พ.ศ.๒๔๙๗-๒๕๐๘) ซึ่งดังมากในสมัยนั้น จึงทำให้ทั้งคุณอาทนงและคุณพ่อมีเพื่อนเป็นนักเขียนมากมาย ท่านนักเขียนเหล่านี้ก็จะมาตั้งกลุ่มนั่งสนทนากันที่บ้านคุณพ่อเป็นประจำ ตั้งแต่ดิฉันยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น เมื่อดิฉันเกิดเติบโตมา จึงเป็นเด็กที่อ่านหนังสือผู้ใหญ่หมดเลย การอ่านการเขียนเป็นวิถีในชีวิตประจำวัน แล้วพอมาอยู่โรงเรียนราชินี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ห้องสมุดดีมาก หนังสือดีมหาศาลเลย ดิฉันหายตัวไปเป็นประจำ เพื่อนๆก็รู้ว่าไปตามดิฉันได้ที่ห้องสมุด

ดิฉันชอบอ่านนวนิยายทุกแนว ทั้งนวนิยายจีนกำลังภายใน นวนิยายนักเขียนชาย นวนิยายนักเขียนหญิง การ์ตูนญี่ปุ่น อ่านหมดทุกประเภท นักเขียนทุกคนก็เป็นนักเขียนในดวงใจ เพราะว่าดิฉันได้หยิบยืมวิธีคิดหรือถ้อยคำสำนวน การใช้ภาษา มาจากหลายๆท่าน


-คุณพ่อปลื้มที่ลูกสาวเลือกเดินสายการเขียนละครหรือไม่คะ

ไม่เลย คุณพ่อไม่อยากให้ลูกเรียนเอกละครเลย ท่านอยากให้เรียนภาษาศาสตร์มากกว่า เช่น ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ท่านอยากให้เราเป็นนักวิชาการด้านอักษรศาสตร์ พอคุณพ่อมาทราบภายหลังว่าดิฉันเลือกเอกการละคร ท่านก็อึ้ง เงียบไป แต่ทุกครั้งที่เล่นละครในมหาวิทยาลัย คุณพ่อก็จะมาดูทุกครั้ง เพียงแต่ท่านไม่อยากให้ลูกยึดเป็นอาชีพ เพราะสมัยนั้นนักเขียนหลายท่านมีรายได้ไม่เพียงพอ คุณพ่อเห็นว่าอาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่ลำบากในการดำรงอยู่ ท่านจึงกลัวว่าลูกจะลำบาก ซึ่งตอนนั้นยังไม่เป็นธุรกิจมากเท่ายุคปัจจุบันนี้ คนทำงานศิลปะในยุคอดีตต้องเสียสละ ต้องอุทิศชีวิตเพื่อจรรโลงงานศิลปะ แต่ว่าพอมาถึงยุคของดิฉัน มันเปลี่ยนไปแล้ว อาชีพสร้างสรรค์งานเขียนบทละคร สามารถสร้างรายได้ให้ดำรงอยู่ได้และอยู่ดีด้วย สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวได้ เป็นอาชีพที่มั่นคง ไม่ต้องพึ่งพ่อแม่

และประกอบกับว่าอาจารย์ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง ท่านอยากจะเลิกเขียนบทละครแล้ว จึงส่งดิฉันซึ่งเป็นลูกศิษย์ให้เขียนแทน พอคุณไพรัช สังวริบุตร ซึ่งเป็นเพื่อนกับคุณพ่อของดิฉันด้วย เห็นชื่อนามสกุลของดิฉันที่อาจารย์ชลประคัลภ์แนะนำมาให้ คุณอาไพรัชก็ขับรถยนต์มาหาคุณพ่อที่บ้าน เพื่อชักชวนให้ดิฉันเขียนบทละครโทรทัศน์ให้แก่ช่อง ๗

นามปากกาปราณประมูลกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา

จริงๆแล้ว นามปากกาปราณประมูลเกิดครั้งแรกในนิตยสารสตรีสาร ได้เขียนเรื่องสั้นส่งไปที่สตรีสารค่ะ

-ที่มาของชื่อนามปากกา

เนื่องมาจากคุณแม่ชื่อปราณี คุณพ่อชื่อประมูล ก็เลยเป็นปราณประมูลค่ะ

- สไตล์การทำงานของปราณประมูลเป็นอย่างไรคะ

ดิฉันเป็นคนที่ค่อนข้างคิดเร็ว แต่เขียนช้า เพราะกว่าจะลงมือเขียน ต้องคิดให้ได้ก่อน ที่บอกว่าเขียนช้า เพราะว่าต้องคิดให้มันแตกต่าง ยิ่งปัจจุบันนี้ งานละครถูกผลิตออกมาเยอะแยะมากมาย มุกทุกอย่างเคยบอกเล่ากันไปหมดแล้ว วิธีบอกรักทุกอย่าง วิธีบอกเลิกทุกอย่าง เซอร์ไพรส์ทุกอย่าง เคยเกิดขึ้นในงานละครหมดแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงต้องคิดสิ่งที่คนยังไม่เคยใช้หรือว่าแหวกแนว ฉีกออกไป ถ้าถามว่ารักษาคุณภาพยังไง ก็คือรักษาคุณภาพที่เราจะต้องยอมรับได้ ถ้าเปรียบว่าเป็นคนทำกับข้าว ก็ต้องเป็นคนทำกับข้าวที่ไม่ได้คำนึงว่านี่คือการทำขาย แต่นี่คือการทำกิน โดยทำทุกอย่างเหมือนทำกินเองที่บ้าน ลูกหลานเรากินได้ ไม่ว่าจะเป็นละครบ่าย ละครเย็น หรือละครอะไรเวลาไหนก็ตาม ถ้าเราทำเองแล้ว เราต้องกินลง หมายถึงว่ากินลงอย่างอร่อยด้วยนะ ไม่ใช่คิดลดคุณภาพ เพราะว่ามันเป็นละครหัวค่ำ ไม่เคยคิดอย่างนั้น

- คาดหวังอะไรจากนักเขียนบทละครรุ่นใหม่หรือไม่คะ

ก็คืออยากให้ทำอะไรที่เป็นรุ่นใหม่หน่อย อยากได้อะไรใหม่ๆ บางครั้งดูละคร ก็ยังมีมุกเดิมอีกละ พูดแบบนี้อีกละ ประโยคแบบนี้อีกละ ประโยคพิมพ์นิยม ฉากบอกรักพิมพ์นิยม ฉากพบรักพิมพ์นิยม ฉากอิจฉาพิมพ์นิยม รู้สึกเบื่อ เพราะฉะนั้นสิ่งที่คาดหวังจากนักเขียนบทรุ่นใหม่ คือช่วยใหม่หน่อย นั่นแหละค่ะอย่าให้คนดูเขาเบื่อกับอะไรที่ซ้ำๆ

-บทละครที่มีลายเซ็นปราณประมูลจะต้องยึดหลักอะไรเป็นสำคัญคะ

ดิฉันเชื่อว่าตัวเองเป็นคนที่มีทัศนคติที่ดี ดังนั้น สิ่งที่พยายามส่งสารออกสู่สังคม ก็คือทัศนคติที่ดี แล้วก็การมีความหวัง มองโลกบวก เห็นแก่ส่วนรวม เห็นแก่อนาคต เห็นแก่เยาวชน

-แต่ขณะเดียวกันก็ต้องปรับให้เท่าทันกับยุคสมัย

ใช่ค่ะ ดิฉันเองก็ปรับตัวอยู่แล้วทุกวี่วัน อย่างตัวเราเองก็สมาธิสั้นลงเหมือนกัน สมมติถ้าให้เขียนฉากหนึ่งยาวๆ เราก็คงเบื่อ อย่างเวลาคนส่งบทประพันธ์มาให้เลือกว่าจะทำบทละครไหม บางเรื่องอ่านไปแล้วสิบหน้ายังไม่สนุก อุ๊ย จะไหวมั้ย ซึ่งบางเรื่องเป็นงานของนักเขียนใหม่ที่เรายังไม่รู้จักมาก่อน ก็ต้องรีบอ่านอย่างรวดเร็ว หรือบางทีก็ต้องให้น้องๆในทีมย่อเรื่องมาให้อ่าน แต่ถ้าเป็นบทประพันธ์ของนักเขียนรุ่นใหญ่มืออาชีพ โครงเรื่องแน่น อย่างเช่น นวนิยายของ ว.วินิจฉัยกุล / "แก้วเก้า" เราก็ต้องตั้งใจอ่านให้ดี ไม่ให้พลาด

http://www.sakulthaionline.com/magazine/reader/19157/8 



****วงการละครสมัยก่อนกับสมัยนี้แตกต่างกันยังไง
"ถ้าเป็นงานบทพี่ว่ายิ่งเขียนไปยิ่งยากเพราะบททุกอย่างเคยเขียนมาหมดแล้ว เรื่องทุกเรื่องในโลกนี้เคยเล่ามาหมดแล้วบางทีก็มาเล่าซ้ำในขณะที่ตลาดมีละครมากมายจะทำยังไงให้บทตรงนี้แตกต่าง สมมติฉากประมาณนี้อารมณ์ประมาณนี้เคยเขียนมาหมดแล้ว มันเคยถูกบอกเล่ามาหมดแล้ว เราต้องคิดค้นหรือสร้างสรรค์หาอะไรที่แปลกใหม่กว่าที่เคยเล่ามา สมมติฉากรักสามเส้ามันรักสามเส้ามาแบบซ้ำๆเราก็ต้องคิดมุกรักสามเส้าแบบแตกต่าง ถ้าบทไม่แตกต่างก็ไม่สร้างสรรค์ไม่ให้อะไร ความที่มันยากในสมัยนี้คือต้องทำให้แตกต่างกว่าสิ่งที่เคยบอกเล่ามาหมดแล้ว การที่เราจะคิดวิธีบอกเล่าที่แตกต่างนี่แหละที่ยาก อย่างบางทีการที่เราต้องการเด็กใหม่ๆ มาเขียนบทก็เพื่อความแปลกใหม่เพื่อความสดเพื่อความแตกต่าง แต่ปรากฏว่าเด็กๆ กลับมีประสบการณ์น้อยบางทีเขาคิดไม่ค่อยแตกต่างมาก เขาจะคิดในสิ่งที่เขาเคยเห็นเคยดูมาแล้ว บางทีต้องบอกให้เขาไปดูอะไรเยอะๆกว่านี้ หรืออ่านอะไรให้เยอะกว่านี้เพื่อให้ประสบการณ์มากขึ้นจะได้เขียนให้มีมิติมีอะไรมากกว่าทำสิ่งอะไรที่ซ้ำซากหรือโหลๆ เฝือๆ แต่บางทีเด็กก็มีข้อจำกัดตรงที่ประสบการณ์เขาน้อย และขาดความมั่นใจเราก็ต้องเสริมตรงนี้ให้เขา"
http://2g.pantip.com/cafe/book_stand/pappayonbunterng/s540615-540621.html

************************************************************************************************

- ยิ่งยศ ปัญญา
ผลงานเด่น หนุ่มทิพย์ , บ้านทรายทอง , อาญารัก , แต่ปางก่อน , ดงผู้ดี , ทองเนื้อเก้า , สุดแค้นแสนรัก , รากนครา

คำสัมภาษณ์ จากเว็บ http://www.praphansarn.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A/article/1476

- การเขียนบทไม่มีเทคนิค
     หากมีโอกาสได้พูดคุยกับบุคคลที่เรายึดเป็น ‘ไอดอล’ หลาย ๆ คนอาจต้องการทราบเทคนิค วิธีการ หรือ ‘สูตรลัด’ ที่ทำให้คนคนนั้นประสบความสำเร็จ แต่ถ้าถามคำถามนี้กับ ยิ่งยศ ปัญญา เขาตอบกลับมาว่า “การเขียนบทละครไม่มีเทคนิค เด็ก ๆ รุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานเขียนบทในตอนนี้ พยายามแสวงหาเทคนิค กฎเกณฑ์ สูตรสำเร็จในการเขียนบท ซึ่งบอกเลยว่ามันไม่มี เพราะละครเป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง มีหลักการ และทฤษฎีของมันอยู่ประมาณหนึ่ง คุณจะต้องเอาทฤษฎีเหล่านี้ไปย่อยสลาย จึงจะมีลายเซ็นของตัวเอง มันไม่ใช่แค่ 1 + 1 = 2 เท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนั้น ละครทุกเรื่องก็ต้องออกมาเหมือนกันหมดเลยสิ แค่เปลี่ยนชื่อตัวละคร แค่สลับอาชีพพระเอกนางเอกก็ได้ละครเรื่องใหม่แล้ว 
     - นักเขียนบทละครเปรียบเสมือนทัพหน้า ที่จะคอยกำหนดทิศทาง ว่าละครควรจะไปทางไหน สิ่งสำคัญคือแก่นของเรื่องนั้นชัดเจนหรือยัง ก่อนที่จะไปวางกลยุทธ์การเล่าเรื่องให้ชัดเจน คมคาย พอที่จะทำให้คนดูสนใจเรื่องเล่าของเราแล้วหรือยังต่างหาก”

- ละครในมุมมองของยิ่งยศ ปัญญา
    ในปัจจุบัน มีการให้นิยามคำว่า ‘ละคร’ กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากนักวิชาการ จากผู้กำกับ จากนักแสดง แล้วนิยามว่า ‘ละคร’ จากมุมมองของนักเขียนบทเป็นอย่างไร ยิ่งยศตอบว่า “ละครก็คือเรื่องราวของคน จะใช้คำว่ามนุษย์ก็ไม่ได้ ต้องใช้คำว่าคน คนกับมนุษย์ต่างกันด้วยระดับของสติปัญญา การพัฒนาทางด้านจิตใจ สิ่งสำคัญคือการดึงความเป็นคนออกมาให้ได้ก่อน การที่ละครไม่ดี ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าไม่สามารถดึงความเป็นคนออกมาได้ ถือเป็นอีกลักษณะของละครแย่ ๆ ในทุกวันนี้ มันเป็นลักษณะหนึ่งของ typecast คือตัวละครที่แบน มีรูปแบบอย่างเดียว เลวก็เลว-ตำบอน เลวไม่มีที่สิ้นสุด เลวตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เหมือนตัวละครกลมที่มีทั้งด้านดีและด้านเลว ในความเป็นคนมันมีสองด้านเสมอ”

- ละครกับสังคม
    นอกจากสร้างความบันเทิง เรียกเสียงหัวเราะและความสุขจากผู้ชมแล้ว ละครยังสามารถสะท้อนภาพความเป็นจริงของสังคม รวมไปถึงการยกระดับจิตใจของมนุษย์ได้อีกด้วย “จริง ๆ คนทำละครตระหนักในสิ่งนั้นนะ นักเขียนบทละครควรจะมี ‘แรงขับ’ ที่อยากจะบอกเล่าอะไรกับสังคม ข้อใหญ่ใจความสำคัญคือการสร้างแรงจูงใจต่อมนุษย์ให้เข้าใจเพื่อนมนุษย์ด้วย กัน เข้าใจความเป็นจริงของมนุษย์ เข้าใจสัจธรรมของชีวิต และนำมาสู่ซึ่งความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นอกจากสนุก มีสาระแล้ว ต้องนำมาซึ่งหนทางที่จะทำให้มนุษย์ยกระดับจิตใจ และนำพามาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในโลกในทางที่ดีขึ้น เช่น เราจะตะเกียกตะกายหาเงินไปถึงไหน สุดท้ายก็ต้องตายอยู่ดี ชีวิตเราก็เท่านั้น ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง” 
    หลายคนมักจะบอกกันว่า ต้นเหตุของข่าวอาชญากรรม ฆาตกรรม ส่วนหนึ่งมาจากละคร ละครบางเรื่องทำให้คนดูเข้าใจว่าการข่มขืนเป็นเรื่องที่ถูก เพราะพระเอกยังข่มขืนนางเอกได้เลย ไม่เห็นผิด เรื่องนี้เขาไม่เห็นด้วยอย่างมาก “เราไม่เชื่อว่าพฤติกรรมของคน การฆาตกรรม หรือการข่มขืนนั้น จะมาจากละคร เราทำละครเพื่อให้คนดูเกิดวุฒิภาวะ มีสติปัญญาในการหาทางออกและแก้ปัญหา ทำให้ชีวิตดีขึ้น อย่างเรื่องฉากข่มขืน นักเขียนบทละครก็คิดทบทวน และไตร่ตรองดีแล้ว จึงเขียนฉากเหล่านี้ออกมา เพราะการที่พระเอกข่มขืนนางเอก ไม่ใช่แค่การตอบสนองอารมณ์ทางเพศเพียงอย่างเดียว ต้องมีแรงจูงใจที่เข้มข้นมากพอ แต่อย่างน้อยที่สุด พระเอกก็จะรับผิดชอบในสิ่งที่ทำไป และจบลงด้วยความรักเสมอ”
http://www.praphansarn.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A/article/1476

************************************************************************************************

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=698369486904965&id=126282040780382

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=710689165672997&id=12628204078038

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกโหวตลบโดยเพื่อนสมาชิกชาวเด็กดี เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสม

PitiBangkok2522 30 ก.ย. 59 เวลา 00:30 น. 2
และ คุณณัฐิยา ศิรกรวิไล คนเขียนบทละครไทย หลายๆ เรื่อง อาทิ อย่าลืมฉัน , ฯลฯ และบทประพันธ์เรื่องวัยแสบสาแหรกขาด ละครสร้างสรรค์สังคมทางช่อง 3
คำสัมภาษณ์ "[สัมภาษณ์] เส้นทางนักเขียนบท “ณัฐิยา” เจ้าของบทละครดัง “อย่าลืมฉัน”
พี่นัทอยู่ในวงการเชียนบทมาตั้งแต่เมื่อไหร่คะ
"พี่เริ่มเขียนบทละครยาวครั้งแรกตั้งแต่ปี 39 ค่ะ ตอนนี้ก็ 18 ปีแล้วค่ะ ก่อนที่จะเขียนบทละครยาวก็เคยได้ทำบทละครซิทคอม บทหนังบ้างนิดหน่อย เขียนคอลัมน์ในแมกกาซีนบ้าง  copy writer บ้าง ประมาณซัก 3-4 ปีก่อนหน้านั้นค่ะ"
...........
การเขียนบทเป็นหน้าที่ที่สำคัญมาก ครั้งแรกที่ได้เขียนบทเต็มตัว พี่นัททำยังไงถึงได้รับความไว้วางใจให้รับหน้าที่นี้คะ
.
.            พี่ยังได้เปรียบนิดนึงที่เรามีเครดิตในบทหนังเรื่องแรก ก็เลยสามารถเอาตรงนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของโพรไฟล์ได้ ทำให้ทางนั้นเข้าใจว่าเรามีความเข้าใจ เราสามารถเล่าเรื่องได้ ตอนแรกพี่ก็ได้ลองเขียนบทซิทคอมเรื่อง”หกตกไม่แตก” ซึ่งจะเป็นตอนๆ พี่เสนอพลอตเรื่องไป 3 ตอน เพื่อดูแนวทางของเรา ทางพี่ๆเค้าก็ชอบ ก็เลยได้เริ่มเขียนบทละครจริงๆ โดยยึดโครงเรื่อง และทิศทางที่พี่ๆเค้าทำมาค่ะ
.
.           ทีนี้ตอนนั้นทางเอกแซคท์เค้าจะทำละครเรื่อง “นางสาวไม่จำกัดนามสกุล” แล้วยังขาดคนเขียนบทเรื่องนี้ พี่ผู้กำกับก็เลยชวนมาทำ เพราะเห็นว่าเราเป็นผู้หญิง และละครเรื่องนี้มีความเป็นผู้หญิงมากๆ ก็เลยคืดว่าน่าจะเหมาะ ถือว่าเป็นจังหวะที่ลงตัวพอดี ก็เลยได้ทำเป็นเรื่องแรกค่ะ เรื่องนี้ถือเป็นการเรียนรู้อย่างมหาศาลเลย พี่อิส ผู้กำกับ (อิสริยะ จารุพันธ์) รวมทั้งพี่ซูโม่เอ๋ , พี่บอย ถกลเกียรติ ก็ช่วยดูแล แนะนำหลายอย่าง เป็นการทำงานที่สนุกและมีความสุขมากๆ ถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบ learning by doing จริงๆ พอเขียนเรื่องนี้แล้วก็เลยได้เข้าไปทำงานประจำที่นั่นประมาณ 5-6 ปี แล้วก็ได้เขียนอีกหลายๆเรื่องต่อมาค่ะ แนวที่พี่เขียนก็จะเป็นแนวเด็กๆ กุ๊กกิ๊กหน่อยค่ะ
.
ขั้นตอนในการทำงานของนักเขียนบทโทรทัศน์ จะต้องทำหน้าที่อะไร มีส่วนร่วมกับละครยังไงบ้างคะ
.
ส่วนใหญ่เราจะรับงานตรงจากผู้จัดละคร โดยเค้าจะติดต่อมาว่ามีเรื่องนี้ๆ เราก็เข้าไปรับเรื่อง รับบรีฟมา เอามาลองตีความว่า ถ้าเป็นเรา เราจะเขียนเรื่องนี้ออกมายังไง ตัวละครแต่ละตัวจะมีบุคลิกแบบไหน ลักษณะประมาณไหน ในการเขียนบทเราก็ต้องระบุรายละเอียดในแต่ละฉากด้วย ส่วนการดีลกับนักแสดง จะเป็นหน้าที่ของผู้จัดและผู้กำกับ เราอาจจะช่วยออกความเห็นบ้างค่ะ พอผลงานออกมาเราก็ต้องคอยติดตามดูละคร และกระแสตอบรับบ้าง ทั้งด้านดีและไม่ดี เพื่อนำไปใช้ในการทำงานต่อๆไปค่ะ
.
คนที่อยากเขียนบทละคร จะต้องฝึกฝนตัวเองยังไงบ้างคะ
.
.          อันดับแรกเลยต้องชอบดูละครค่ะ จะละครไทย ฝรั่ง เกาหลีอะไรก็ได้ ต้องชอบดูและเข้าใจในการเล่าเรื่องแบบละครก่อน ว่ามันคือเรื่องยาวๆ ที่ต้องทำให้คนติดตามตลอด โดยไม่เปลี่ยนช่อง และรอดูตอนต่อไป ลีลาในการเล่าเรื่องก็สำคัญ ไม่ว่าเราจะเขียนแนวไหน ก็ต้องวางน้ำหนักให้มีหลายอารมณ์ด้วย อย่างเรื่องที่เน้นตลก ก็ต้องมีซีนอารมณ์ด้วยเหมือนกัน ไม่ใช่ตลกอย่างเดียว
.
.           สองก็คือชอบเขียน ก่อนอื่นเลยต้องเขียนหนังสือให้ถูกต้อง ทั้งในชีวิตประจำวันด้วย
.           สามต้องมีความกระตือรือร้น ถ้าตั้งใจอยากจะทำ ก็ต้องทำเลย มีคนถามพี่เยอะว่าอยากเขียนบททำยังไง พี่ก็จะบอกว่า ต้องเขียนเลยค่ะ อย่ารอให้โอกาสมาหาเราเอง เราต้องเข้าไปหามัน อย่างพี่เองก็เข้าไปหาโอกาส ใครสนใจอยากทำงานด้านนี้ กองละครมีมากมาย เราก็ลองเข้าไปอยู่ในนั้นเพื่อหาประสบการณ์ หรือลองเขียนบทไปเสนอ บางคนกว่าจะได้เขียนบทก็ใช้เวลาหางานเป็นปี อย่าท้อค่ะ
.
.           คนที่จะเขียนบทจะต้องช่างสังเกต ต้องเข้าใจมนุษย์ เพราะตัวละครของเราเป็นคน เราต้องเข้าใจคนอย่างถ่องแท้ แล้วงานเขียนเนี่ยคนชอบมองว่าเราชิลๆ ที่จริงไม่นะคะ เราต้องศึกษาทุกอย่างรอบตัวตลอด ต้องคิดตลอด บางทีเราทำงาน 24 ชั่วโมงด้วยซ้ำ ถ้าเราแบ่งเวลาไม่เป็นก็แย่เลย อย่างของพี่ถ้าเขียนละครโรแมนติกคอเมดี้เราก็จะสบายใจหน่อย แต่บางทีเขียนบทเรื่องที่มันหนักๆ อย่างสวรรค์เบี่ยง เราหมกมุ่นกับมันมากเราก็เครียดไปด้วยเหมือนกัน จิตใจก็ไม่ค่อยดี ต้องรู้จักปิดสวิตช์ค่ะ
.
อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.girlsfriendclub.com/gfc-idol-nutthiya-sirakornwilai/
"เปิดใจคนเขียนบท 'วัยแสบสาแหรกขาด' ถอดรหัส 'น้ำดี' ทำไมดังได้?" จากเว็บไทยรัฐ
อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/602520
0