Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อ่านเรื่องราว "พระนางเจ้าสว่างวัฒนา" ราชวงศ์ 6 แผ่นดิน (มเหสีที่เศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระนางเจ้าสว่างวัฒนา หรือพระนามเต็มว่า "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" พระองค์ประสูติ (เกิด) ในสมัยรัชกาลที่ 4 และสวรรคตในสมัยรัชกาลที่ 9 รวมพระชนมายุยาวนานมากถึง 6 แผ่นดิน

ทรงเป็นราชวงศ์ที่มีพระชนมายุยาวนาน 6 แผ่นดิน
- พระองค์ทรงเป็นพระธิดา (ลูกสาว) ในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
- เป็นพระบรมราชเทวี (ภรรยาของพระเจ้าแผ่นดิน) ในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
- เป็นพระมาตุจฉาเจ้า (ป้า) ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
- เป็นพระอัยยิกาเจ้า (ย่า) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

มเหสีที่เศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์
"พระนางเจ้าสว่างวัฒนา" พระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดารวม 10 พระองค์ แบ่งเป็นพระราชโอรส 4 พระองค์ เป็นพระราชธิดา 4 พระองค์ และทรงตก (แท้ง) อีก 2 พระองค์

แม้สมเด็จพระพันวัสสาจะทรงพระอิศริยยศสูงส่ง แต่ก็ทรงประสบกับความทุกข์ด้วยพระราชโอรสธิดาสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้แก่
เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ (ลูกคนที่ 2) สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษาเพียง 21 วัน
เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา (ลูกคนที่ 3) สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษาเพียง 4 เดือน
เจ้าฟ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม) สิ้นพระชนม์หลังประสูติได้เพียง 3 วัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสูญเสียเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (ลูกคนที่ 1) ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร (ผู้ที่ขึ้นครองราชย์ลำดับต่อไป) เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันด้วยโรคไข้รากสาดน้อย จากเหตุการณ์นี้เล่ากันว่าสมเด็จพระพันวัสสาทรงล้มทั้งยืนในทันที พระองค์ทรงพระกันแสงอย่างรุนแรง ไม่ทรงฟังคำปลอบประโลมใดๆ ทรงโศกเศร้าจนไม่เสด็จกลับตำหนัก กั้นพระฉากบรรทมในที่ประดิษฐานพระบรมศพพระราชโอรส ไม่เสวยพระกระยาหาร จนทรงพระประชวรในที่สุด

เวลาผ่านไป พระสุขภาพเริ่มดีขึ้น ก็ต้องพบกับเหตุการณ์เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ (ลูกคนที่ 6) ก็สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษาเพียง 10 ปี พระพันวัสสาทรงเสียพระทัยถึงกับประชวรอีกครั้ง ทางแพทย์ต้องกราบบังคมทูลขอให้เสด็จไปประทับรักษาพระองค์ที่ชายทะเล แต่ยังไม่ทันได้เสด็จไป เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (ลูกคนที่ 4) ก็สิ้นพระชนม์ตามไปอีก

ซึ่งการสูญเสียพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างต่อเนื่องทำให้พระองค์ทรงพระประชวรถึงกับทรงพระดำเนินไม่ได้ จนไม่อาจเสด็จฯ ไปในพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณโสภณ พิมลรัตนวดี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศวโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นพระราชพิธีเดียวกันได้

ความสูญเสียในชีวิตของประองค์ท่านเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จสู่สวรรคาลัย สมเด็จพระพันวัสสาทรงพระประชวรสลบไปทันที เล่ากันมาว่าทรงอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูปว่า "ขอให้ลืม ลืมให้หมด อย่าให้มีความจำอะไรเลย"

ภายหลังสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (ลูกคนที่ 7 และเป็นพ่อของในหลวงรัชกาลที่ 8 และ 9) ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยพร้อมสมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จย่า) และพระธิดาพระโอรสทั้ง 3 (พระพี่นางฯ รัชกาลที่ 8 รัชกาลที่ 9)

แต่ความสุขในวังสระปทุมได้หมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ (ลูกคนที่ 7) ทรงประชวรและเสด็จสวรรคตในทันที เล่ากันว่าขณะนั้น พระพันวัสสาทรงคุกพระชนฆ์ (แข้ง) ลง แล้วยื่นพระหัตถ์ไปทรงปิดพระเนตร (ตา) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ แล้วซบพระพักตร์ลง

ความทุกข์เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ (ลูกคนที่ 5) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีที่ยังทรงพระชนม์ขณะนั้น ซึ่งพระองค์มีพระโรคประจำพระองค์คือพระวักกะพิการเรื้อรัง (ไตพิการเรื้อรัง) เคยเสด็จไปทรงรับการผ่าตัดที่ต่างประเทศถึง 2 ครั้ง และมีพระดำริจะเสด็จไปสิ้นพระชนม์ที่ต่างประเทศเสีย เพื่อไม่ให้พระชนนีต้องวิตกกังวล แต่พระองค์ได้เสด็จกลับประเทศไทย เพราะทรงทราบข่าวการประชวรของพระชนนี และพระอาการของพระองค์กลับกำเริบขึ้น จนสิ้นพระชนม์ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่วังคันธวาส นับเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้ายของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีที่สิ้นพระชนม์

ในการนี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี เสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนหน้านี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ ไม่เคยเสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชโอรสธิดาพระองค์ใด เนื่องจากคติโบราณที่ห้ามบิดามารดาเผาศพบุตร มิฉะนั้นต้องเผาอีก แต่ครั้งนี้เป็นพระราชธิดาองค์ท้ายสุด พระองค์จึงได้เสด็จมา และมีพระดำรัสที่มีนัยยะความชอกช้ำพระทัย และประชดประชันในพระชะตาชีวิตว่า "...อ๋อ ไปส่งให้หมด พอกันที ไม่เคยไปเลยจนคนเดียว คนนี้ต้องไป หมดกันที"

จากเหตุการณ์ในวันนั้น ความทุกข์โศกแสนสาหัสที่เกิดขึ้นน่าจะจบลง เพราะพระพันวัสสาทรงปีติปลาบปลื้มกับพระนัดดาทั้งสาม (พระพี่นางฯ รัชกาลที่ 8 รัชกาลที่ 9) พระสุขภาพที่ทรุดโทรมก่อนหน้านี้ค่อยดีขึ้น ด้วยพระราชหฤทัยที่ชื่นบาน แต่......

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดลฯ (รัชกาลที่ 8) เสด็จสวรรคต ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 ไม่มีผู้ใดกล้ากราบบังคมทูล จนกระทั่งวาระสุดท้ายของพระองค์ท่าน

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498 สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จสวรรคต ณ วังสระปทุม ด้วยอาการพระทัยวาย รวมพระชนมายุ 93 พรรษา 3 เดือน 7 วัน จากรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 9 รวม 6 แผ่นดิน ทรงผ่านทั้งความสุข ความทุกข์โศกใหญ่หลวง จนได้รับการเล่าขานว่า "เป็นมเหสีที่เศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย"

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบทั้งหมดจาก www.oknation.net/blog/pangwanlaya/2007/05/04/entry-2 และวิกิพีเดีย
 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ถูกเลือกโดยทีมงาน

พี่ลาเต้ Columnist 21 ต.ค. 59 เวลา 16:39 น. 37
ตามอ่านประวัติศาสตร์เรื่องน่ารู้ ได้ทาง


"พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี" สตรีที่ถูกจองจำในวังตลอดรัชกาล
https://www.dek-d.com/board/view/3695898/


"พระนางเรือล่ม" อัครมเหสี ร.5 โศกนาฏกรรมที่คนไทยไม่อาจลืม
https://www.dek-d.com/board/view/3695544/


"พระนางเจ้าสว่างวัฒนา" ราชวงศ์ 6 แผ่นดิน (มเหสีที่เศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์)
https://www.dek-d.com/board/view/3694897/


"เจ้าจอมสดับ" สนมเอก ร.5 ที่รักษาสัญญาและกำไลไว้ 5 แผ่นดิน จนวันสุดท้ายของชีวิต
https://www.dek-d.com/board/view/3695170/


"พระนางเธอลักษมีลาวัณ" มเหสีผู้โดดเดี่ยว ที่ถูกฆาตกรรมเมื่อ พ.ศ. 2504 ที่ผ่านมา
https://www.dek-d.com/board/view/3696210/


"พระมหาพิชัยราชรถ" เมื่อใช้เสร็จ ต้องรื้อถนนปิดตายทางออก ตามความเชื่อไม่ให้ใช้อีก
https://www.dek-d.com/board/view/3694630/

0

39 ความคิดเห็น

pluto-p 17 ต.ค. 59 เวลา 17:34 น. 2

ทรงเข้มแข็งมาก ผ่านอะไรมาขนาดนี้
เป็นใครก็รับไม่ไหวทั้งนั้น แต่นี่คือยังต้องทรงงานต่างๆมากมายอีก

0
white rabbit 17 ต.ค. 59 เวลา 17:34 น. 3

สมเด็จฯพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จสวรรคตพ.ศ.2498ค่ะพี่ลาเต้ รบกวนแก้ไขด้วยค่ะ

2
white rabbit 18 ต.ค. 59 เวลา 11:08 น. 3-2

เคยอ่านพระราชประวัติของท่านในหนังสือรุ่นของโรงเรียน รู้สึกว่าพระองค์ท่านเข้มแข็งมาก ต้องผ่านความเศร้ามาเยอะแยะมากมายยิ่งกว่าพวกเราอีก มากกว่าแม่พลอยในสี่แผ่นดินด้วย
ฮือฮือ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เนื้อหาซ้ำ เคยโพสท์ไปแล้ว เพื่อความเป็นระเบียบกรุณาโพสท์กระทู้เพียงครั้งเดียว

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เนื้อหาซ้ำ เคยโพสท์ไปแล้ว เพื่อความเป็นระเบียบกรุณาโพสท์กระทู้เพียงครั้งเดียว

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เนื้อหาซ้ำ เคยโพสท์ไปแล้ว เพื่อความเป็นระเบียบกรุณาโพสท์กระทู้เพียงครั้งเดียว

blue 17 ต.ค. 59 เวลา 17:37 น. 8

ใช้คำว่า "กษัตริย์" ได้ใช่ไหมคะ???

ตามพจนานุกรม
กษัตริย์ [กะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์ คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย ชาตินักรบ ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์ เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.

พระเจ้าแผ่นดิน [n.] king
[syn.] พระเจ้าอยู่หัว,ในหลวง,กษัตริย์,พระราชา,พระมหากษัตริย์


สมเด็จพระพันวัสสาไม่ได้เป็น "พระบรมราชินีนาถ" บริหารราชการแผ่นดินด้วยซ้ำนะคะ


ปล. เห็นแล้วรู้สึกสงสัย จึงถาม ผิดถูกประการใดต้องขออภัยด้วยค่ะ

2
พี่ลาเต้ Columnist 17 ต.ค. 59 เวลา 17:52 น. 8-1

ขอบคุณมากๆ ที่เสนอแนะเข้ามานะครับ พี่ลาเต้ ได้สอบถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ขออนุญาตเปลี่ยนเป็นคำว่า "ราชวงศ์ 6 แผ่นดิน" นะครับ ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่มาแบ่งปันข้อมูลกัน

0
PimPim1412 17 ต.ค. 59 เวลา 18:36 น. 8-2

เพิ่มเติม
ในสมัยรัชกาลที่5 มียศมเหสี4พระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ประสบอุบัติเหตุเรือล่มระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระราชวังบางปะอิน ร.5ท่านจึงแต่งตั้งอวยยศให้เป็นอัครมเหสีพระองค์แรก
หลังจากนั้นอัครมเหสีคนต่อมาคือ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เนื่องจากเป็นพระมารดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

หลังเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสวรรคต ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสในพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี จึงสถาปนาพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินได้เรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามาภิไธย เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ" ถือเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในประเทศไทย

เรียงตามลำดับยศก็จะเป็น
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี

สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เป็นพระมารดาของร.6 ร.7
และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เป็นย่าของร.8 ร.9 ค่ะ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เนื้อหาซ้ำ เคยโพสท์ไปแล้ว เพื่อความเป็นระเบียบกรุณาโพสท์กระทู้เพียงครั้งเดียว

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

2JGMN 17 ต.ค. 59 เวลา 17:42 น. 12

จริงๆแล้วถ้าไปลองหาข้อมูลดูจะรู้ว่าท่านรับเลี้ยงลูกบุญธรรมอีก น่าจะประมาณ 4 พระองค์ แต่ก็เสียก่อนท่านเกือบหมด เหลืออยู่องค์เดียวที่ได้จัดงานศพให้ท่าน 
น่าเศร้าจริงๆ

2
พี่ลาเต้ Columnist 17 ต.ค. 59 เวลา 17:55 น. 12-1

ใช่ครับ ท่านรับเลี้ยงลูกบุญธรรมอีก 4 คน ตามข้อนี้นี้เลยครับ

"นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กำพร้าพระมารดาอีก 4 พระองค์ นั่นคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง เช่นเดียวกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพร้อม"

0
ZSEN_JINN 20 ต.ค. 59 เวลา 16:01 น. 12-2

ถ้าจำไม่ผิด พระราชธิดาบุญธรรมองค์เดียวที่ได้จัดงานศพให้ท่าน จะเป็นพระองค์เจ้าหญิงวาปีบุษบากรค่ะ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

champ 17 ต.ค. 59 เวลา 18:20 น. 14

อ่านแล้วรู้สึกเศร้าใจเป็นยิ่งหนัก พระองค์ต้องรับรู้ถึงความสูญเสียตั้งกี่ครั้งกี่ครา ส่วนเราเพียงทราบข่าวพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต ก็ร้องไห้เป็นวันเป็นคืน พระองค์ทรงเข้มแข็งมาก ที่ผ่านการสูญเสียมามากมายขนาดนี้เศร้าจัง

0
Pungpui 17 ต.ค. 59 เวลา 19:10 น. 15

เคยอ่านประวัตอพระองค์ท่านอย่าวละเอียดมาเมื่อนานมาแล้วค่ะ ตอนนั้นอ่านไปร้องไห้ไป ตอนนี้กลับมาอ่านอีกทีก็ยังร้องไห้อีกเหมือนเดิม ส่วนมากจะร้องตอนที่อ่านตรงพระดำรัสของพระองค์

3
5555 17 ต.ค. 59 เวลา 22:51 น. 15-1

อ่านประวัติละเอียดได้ที่ไหนคะ ? อยากติดตามอ่านบ้าง มีเป็นหนังสือแนะนำไหมคะ รบกวนด้วยค่ะ <3

0
ZSEN_JINN 20 ต.ค. 59 เวลา 16:02 น. 15-3

รู้สึกจะเป็น "ศรีสวรินทิรานุสรณ์นีย์" ค่ะ ที่บ้านมีอยู่

0
แทนไท 17 ต.ค. 59 เวลา 20:07 น. 16

เท่าที่เคยอ่านมา มเหสี ของรัชกาลที่ 5 มี 9 พระองค์ คือ
1.สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ
2.สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี
3.สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี
4.สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระอัครราชเทวี
5.พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี
6.พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
7.พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าอุบลรัตน์นารีนาค
8.พระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์กรมขุนสุธาสินีนาฏปิยะมหาราชปดิวรัดา
9.พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

0
พลอย 17 ต.ค. 59 เวลา 21:01 น. 17

สงสัยค่ะ
ร.4 เป็นพระบิดาใน ร.5 ไม่ใช่รึคะ แล้วทำไมยังเป็นพระบิดาสมเด็จพระพันวัสสา รึว่าเข้าใจผิด ?

5
white rabbit 17 ต.ค. 59 เวลา 21:11 น. 17-1

สมเด็จฯพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเป็นพระธิดาในร.4ที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา(เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ส่วนร.5ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ท่านจึงมีศักดิ์เป็นทั้งพระขนิษฐาต่างพระมารดาและพระมเหสีในรัชกาลที่5ด้วยค่ะ

0
VRVET 17 ต.ค. 59 เวลา 22:22 น. 17-2

สมัยนั้นเจ้านายชั้นสูงยังนิยมแต่งงานกันในเครือญาติเพื่อรักษาสายเลือดไว้
ซึ่งเป็นมาตั้งแต่สมัย ร.5 จะสังเกตว่า พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ท่าน ซึ่งประสูติจากพระราชมารดาที่เป็นพระภรรยาเจ้า (เช่น สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ, สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ และสมเด็จพระนางสุขุมาลฯ) ล้วนแต่มีพระชนมายุไม่ยืนทั้งสิ้น กล่าวคือส่วนใหญ่สวรรคต ทิวงคต หรือสิ้นพระชนม์ ก่อน 50 คำถามคือมีการศึกษาทางประวัติศาสตร์และการแพทย์ในกรณีนี้หรือไม่ ว่าการแต่งงานระหว่างเครือญาติ เป็นสาเหตุหรือไม่

อันที่จริงประเด็นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย ร.4 แล้ว เนื่องจาก ร.4 ทรงเป็นพระราชโอรสของ ร.2 แต่สมเด็จพระเทพศิรินทร์ฯ ทรงเป็นหลานปู่ของ ร.3 และในขณะเดียวกัน ร.2 กับ ร.3 ทรงเป็นพี่น้องต่างพระราชชนนีกัน ซึ่งหมายความว่า ร.4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทร์ฯ เป็นพระญาติห่างๆ กันในสายเลือด

หลังจากนั้น ร.5 ทรงเสกสมรสกับพระภรรยาเจ้าซึ่งเป็นพระราชธิดาของ ร.4 ทั้งสิ้น ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการแต่งงานระหว่างญาติ รุ่นที่ 2 ซึ่งเรื่องนี้อาจส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้ประเด็นน่าสนใจมาก คือพระราชโอรสและพระราชธิดาส่วนใหญ่ของ ร.5 ที่สิ้นก่อนวัยอันควร เกิดจากโรคไต (พระวักกะ) เป็นส่วนมาก และ ร.5 เองก็สวรรคตด้วยอาการพระวักกะเช่นกัน

เป็นไปได้ว่าที่ ร.6 ท่านเล็งเห็นในประเด็นนี้ จึงได้มีพระราชปณิธานว่าจะไม่ทรงเสกสมรสกับน้องสาว แม้ว่าในที่สุดพระองค์จะเสกสมรสกับเจ้านายราชสกุลวรวรรณด้วยก็ตาม

0
Jaynatta 18 ต.ค. 59 เวลา 04:21 น. 17-3

ถ้าให้นับญาติจริงๆก่คงเป็นรุ่นที่ 3 แล้วละเพราะ ร 4 เป็นพระราชโอรสใน ร 2 กับเจ้าฟ้าบุญรอด(สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชีนี) ซึ่งเจ้าฟ้าบุญรอดเป็นพระธิดาของพระพี่นางใน ร 1 จึงทำให้ ร 2 กับเจ้าฟ้าบุญรอดมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน( ร 2 เป็นพระราชโอรส ร 1 )

0
pluto-p 18 ต.ค. 59 เวลา 21:49 น. 17-4

ความจริงแล้วสมัยก่อนทราบเรื่องแบบนี้ดีค่ะ
เป็นธรรมเนียมว่าจะไม่แต่งงานในเครือญาติที่ใกล้ชิดกันมานานแสนนาน
แต่ด้วยเหตุผลทางการเมือง และการรักษาสายเลือดทางพระราชวงศ์ซึ่งบริบทมันซับซ้อนกว่ามาก
ทำให้ในสมัยรัชกาลที่ 2 3 4 ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 5
จะต้องอภิเษกกับพระขนิษฐาต่างพระมารดา
พูดภาษาชาวบ้านก็ประมาณว่าดองกับพระญาติที่ทรงอิทธิพลองค์อื่นๆไว้ก่อนเพื่อความมั่นคงของราชบัลลังก์ค่ะ

0
Mumijung_Kirede 18 ต.ค. 59 เวลา 23:58 น. 17-5

ร.3 ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์โตใน ร.2 กับเจ้าจอมมารดาเรียมหรือสมเด็จพระศรีสุลาไลยค่ะ ส่วนที่ว่าเป็นพี่น้องต่างพระราชชนนีกันคือ ร.3 กับ ร.4 ค่ะ ส่วน ร.4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทร จะว่าเป็นญาติห่างๆกัน ก็ไม่ค่อยห่างกันเท่าไหร่นะคะ เพราะถ้านับตามศักดิ์ก็คงเป็นปู่กับหลาน แต่อายุทั้งสองพระองค์คงจะไล่ๆกัน เพราะ ร.3 กับ ร.4 ทรงมีพระชนมายุห่างกันค่อนข้างมากค่ะ

0
พรเลิศ 17 ต.ค. 59 เวลา 21:02 น. 18

ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระชัยนาทนเรนทร ซึ่งทรงชุบเลี้ยงมาตั้งแต่อายุเพียง 12 วัน (พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่๕ ทรงอุ้มมาพระราชทานให้) ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต้องโทษถึงประหาร แต่ภายหลัง เพียงติดคุกอยู่หลายปี พระองค์ท่านทุกข์เป็นอย่างมาก ถึงกับรำพันว่า "ตายแล้วฉันจะไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างไร" ทรงเจรจาต่อรองกับรัฐบาล ยอมที่จะให้ริบทรัพย์สมบัติเพื่อแลกกับอิสรภาพพระโอรส แต่ก็ไม่เป็นผล ทรงเสียพระทัยอย่างมากถึงกับไม่ตรัสกับผู้ใดเป็นเวลานานมาก เพิ่งจะตรัสประโยคยาวๆ เมื่อวันราชาภิเศกสมรส พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ กับหม่อมราชวงค์สิริกิติ์ 28 เมษายน 2493

0
Oonjungh 17 ต.ค. 59 เวลา 21:51 น. 20

งงคะทำไมถึงมีพ่อคือร.4 ทั้งๆที่แต่งงานกะ ร5 แล้ว ร5ก็เป็นลูก ร4 เหมือนกัน คือพี่น้องแต่งงานกันรึป่าวคะ

3
white rabbit 17 ต.ค. 59 เวลา 21:58 น. 20-1

ใช่ค่ะ ท่านเป็นทั้งพระขนิษฐาต่างพระมารดาและพระมเหสีในร.๕ค่ะ

0
นามี 18 ต.ค. 59 เวลา 02:29 น. 20-3

นี่เป็นสาเหตุหนึ่งทีทำให้พระราชโอรสและพระราชธิดาหลายๆพระองค์ชินพระชนม์ตั้งแต่อายุน้อยๆ ตามวิทยาศาสตร์การแต่งงานในเครือญาติทำให้บุตรออกมามีร่างกายไม่แข็งแรง

0