Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ผมว่าคนไทยโดนล้างสมองจริงๆ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คนไทยชอบใช้อารมณ์ตัดสินใจทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย
๑. การใช้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning) หมายถึงการใช้เหตุผลแบบคิดเชื่อมโยงจากเรื่องใหญ่ไปหาเรื่องเล็ก หรือจากเรื่องสากลไปหาเรื่องเฉพาะ (from the universal to the specific) จากตัวอย่างเรื่องความตายที่ยกมาข้างต้น ก็คือการใช้เหตุผลแบบนิรนัยนี้เอง เพราะเราคิดจากหลักการที่ยอมรับกันทั่วไปว่า “มนุษย์ทุกคนต้องตาย” แล้วเราก็คิดเชื่อมโยงไปหากรณีเฉพาะคือคนที่อยู่รอบข้างเราว่าพวกเขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าคนรอบข้างเราจะต้องตายในอนาคตแน่ๆ เขียนเป็นประโยคตรรกวิทยาได้ดังนี้

มนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์ที่ต้องตาย

คนรอบข้างเราเป็นมนุษย์

ดังนั้น คนรอบข้างเราจะต้องตาย

จะเห็นว่า สองบรรทัดแรกเป็นข้ออ้างหรือข้อความเรายกขึ้นมาเป็นเหตุผลสนับสนุน ส่วนบรรทัดสุดท้ายเป็นข้อสรุปที่เราถอดออกมาจากข้ออ้างในสองบรรทัดแรก การใช้เหตุผลแบบนิรนัยนี้ถ้าหากข้ออ้างในสองบรรทัดแรกจริง กล่าวคือถ้ามนุษย์ทุกคนต้องตายจริงๆ และคนที่อยู่รอบข้างเราก็เป็นมนุษย์จริงๆ ด้วย ข้อสรุปในบรรทัดที่สามจะต้องจริงอย่างแน่นอน ไม่มีทางที่เราจะสรุปเป็นอย่างอื่นได้ อย่างไรก็ตาม การใช้เหตุผลแบบนี้แม้คำตอบจะดิ้นไม่ได้ แต่ก็มักถูกวิจารณ์ว่าไม่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมา เพราะเป็นเพียงการดึงเอาความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วออกมาพูดทวนซ้ำเท่านั้นเอง กล่าวคือเรายอมรับตั้งแต่แรกแล้วว่า “มนุษย์ทุกคนต้องตาย” ซึ่งการพูดแบบนี้ก็รวมเอาคนทุกคนไว้ในนั้นอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องคิดเชื่อมโยงไปหาใครอีกแล้วสรุปว่าเขาต้องตายแน่ๆ ให้เสียเวลาก็ได้

๒. การใช้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) หมายถึงการใช้เหตุผลแบบคิดเชื่อมโยงจากเรื่องเล็กๆ หรือกรณีเฉพาะไปหาเรื่องใหญ่หรือหลักการสากล (From the specific to the universal) จากตัวอย่างเรื่องดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกที่ยกมาข้างต้น ก็คือการใช้เหตุผลแบบอุปนัยนี้เอง กล่าวคือเราคิดเชื่อมโยงจากประสบการณ์การขึ้นทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ที่เรามีอยู่จำนวนน้อย การขึ้นของดวงอาทิตย์ในอดีตหลายล้านปีเราก็ไม่เคยเห็น และการขึ้นของดวงอาทิตย์ในอนาคตอีกไม่รู้กี่ล้านปีเราก็ยังไม่เคยเห็นเช่นกัน เราเพียงอาศัยประสบการณ์จำนวนน้อยที่เคยเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกแล้วคิดเชื่อมโยงต่อไปว่า วันพรุ่งนี้และวันต่อๆ ไปมันจะต้องขึ้นทางทิศตะวันออกอย่างนี้ตลอดไป อีกตัวอย่างหนึ่งเช่นตะกร้าใบหนึ่งมีส้มจำนวน ๑๐๐ ลูก เราอยากรู้ว่าส้มเหล่านี้หวานหรือเปรี้ยวจึงสุ่มหยิบส้มขึ้นมาชิมทีละลูกไปเรื่อยๆ จนครบ ๑๐ ลูก ปรากฏว่าส้มสิบลูกที่เราชิมหวานทั้งหมด เราจึงคิดเชื่อมโยงจากข้อมูลส้มสิบลูกไปหาส้มอีกเก้าสิบลูกที่ยังไม่ได้ชิมว่ามันมีรสหวานทั้งหมด การใช้เหตุผลแบบอุปนัยนี้ไม่จำเป็นต้องถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนแบบนิรนัย เป็นเพียงความน่าจะเป็นเท่านั้น (probability) เพราะเป็นเพียงการสรุปจากข้อมูลจำนวนน้อยให้ครอบคลุมข้อมูลจำนวนมากที่ยังไม่มี ความถูกต้องจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้อมูลที่เราใช้เป็นฐานในการคิด การใช้เหตุผลแบบอุปนัยนี้ถือว่าเป็นวิธีการใช้เหตุผลที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ และเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ในวงการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ล้วนเกิดมาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนหนึ่งที่ผ่านการพิสูจน์และทดสอบแล้วสรุปเป็นหลักการสากลทั่วไป อย่างไรก็ตาม การใช้เหตุผลแบบอุปนัยนี้มักถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสรุปเกินหลักฐานที่มีอยู่ในมือ เพราะแทนที่เราจะสรุปว่าส้มสิบลูกที่ได้ชิมมีรสหวาน กลับสรุปคลุมไปถึงส้มอีกเก้าสิบลูกที่ยังไม่ได้ชิมว่ามีรสหวานทั้งหมด ดังนั้น ข้อสรุปของการใช้เหตุผลแบบนี้จึงมีความแน่นอนในระดับ “ความน่าจะเป็น”

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

ม.44 23 ต.ค. 59 เวลา 09:21 น. 2

หลังถูกฝรั่งถามว่า คนไทยถูกล้างสมองให้รักในหลวงหรือเปล่า แถมนำไทยไปเปรียบเทียบกับเกาหลีเหนือ ยันไม่ได้เขียนบทความให้คนอื่นมาเคารพ หรือจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัวเหมือนคนไทย เพียงขอให้เข้าใจต่อการสูญเสียของคนไทยทั้งชาติเท่านั้น

0