Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "พระบรมโกศ"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

คำนี้ไม่ได้เพิ่งถูกบัญญัติแต่มีมานานแล้ว (ในหนังสุริโยไทก็มีการใช้คำนี้ แสดงว่าคำนี้น่าจะมีมาหลายร้อยปีแล้ว) โกศ ที่ว่ามีลักษณะแบบนี้ค่ะ (บนสุด)

หลายคนคงสงสัยเหมือน จขกท ว่า แล้วจะนำร่างลงไปยังไง ได้ยินว่าลำบากและทุลักทุเลมากค่ะ
ซึ่งกษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงสมัยก่อน เมื่อสิ้นแล้ว ร่างจะถูกนำลงไปในนี้ค่ะ
มีความหมายเพื่อจัดท่าพระศพเหมือนท่านั่งสมาธิ เพราะเชื่อว่าจะได้เสด็จไปสู่ภพที่ดีงาม




 
จนมาถึงพิธีของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระราชินีในรัชกาลที่เจ็ด ในปี 2527 สมเด็จย่า(พระราชมารดาของในหลวง) ได้อยู่ในพิธีที่พาร่างของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีบรรจุโกศ สมเด็จย่าจึงทรงตรัสว่าท่านไม่โปรดแบบนี้ อึดอัดแย่ ดังนั้นร่างของสมเด็จย่าจึงบรรทมอยู่ในโลง ไม่ได้ลงในโกศค่ะ และในหลวงของเราก็ทรงไม่ประสงค์อย่างนั้นเช่นกันค่ะ
(อย่าหาว่า จขกท จาบจ้วงเลยนะคะ จขกทเองก็รู้สึกว่าไม่อยากให้ท่านลงไปในนั้นเลย TT อยากให้ท่านประทับสบายๆ)

 
ในปี 2554  พระราชพิธีของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (พระราชธิดาของรัชกาลที่่หก) เป็นเจ้านายชั้นสูงองค์ล่าสุดที่ประทับลงในพระบรมโกศ



ตามธรรมเนียมนั้น เมื่อกษัตริย์สวรรคตแล้ว ในพิธีจะมีการถวายน้ำสรง ถวายเครื่องขาว และถวายเครื่องทรงเต็มยศ จากนั้นเจ้าพนักงานจะถวายพระสาง(หวี)แก่องค์ประธานเพื่อสางพระเกษาขึ้นหนึ่งครั้ง ลงหนึ่งครั้ง และขึ้นอีกครั้ง จากนั้นจะหักพระสาง เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงามใดๆ ไม่ต้องแต่งกายใดๆ อีกแล้ว จากนั้นจะทาขี้ผึ้งจนเต็มพระพักตร์  ก่อนจะอัญเชิญแผ่นทองคำเพื่อปิดพระพักตร์ เพื่อถวายพระเกียรติพระบรมศพ  ซึ่งในหลวงของพวกเราก็จะได้รับการถวายแผ่นทองคำนี้เช่นกันค่ะ ดังนั้นในพระบรมโกศที่เห็นในพระราชพิธี จะใส่เครื่องถวายหรือสิ่งที่เป็นตัวแทนของในหลวงลงไปแทนค่ะ ส่วนโลงที่ประทับของพระองค์นั้นอยู่หลังฉากกั้นอีกทีค่ะ



ภาพจากหนัง สุริโยไท

 
กลับมาที่เรื่องในพระบรมโกศ แม้ในหลวงของเราจะไม่ได้ประทับในนั้น แต่ก็ถือเป็นเรื่องน่ารู้ค่ะ
......... กษัตริย์ที่สวรรคตแล้ว จะประทับอยู่ในพระบรมโกศจนวันก่อนย้ายขึ้นพระเมรุค่ะ ซึ่งกว่าจะสร้างพระเมรุเสร็จนั้นใช้เวลาหลายเดือน พระบรมศพก็เน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา จึงต้องมีพิธีถวายรูด โดยพิธีถวายรูดคือการนำพระบรมศพในโกศออกมาทำความสะอาดค่ะ พูดตามตรงคือ ณ ตอนนั้นก็จะเหลือเพียงกระดูกและมีเนื้อบางส่วนติดตามกระดูก พนักงานจะต้องนำออกมาแยกเนื้อกับกระดูกออกจากกัน ล้างกระดูกให้สะอาดแล้วบรรจุใส่โกศเช่นเดิม ส่วนเนื้อก็จะแยกไปทำพิธีเหมือนกันค่ะ แต่หากพระบรมศพแห้งสนิทแล้ว ก็จะไม่มีพิธีถวายรูดค่ะ


นำมาฝากเป็นความรู้ค่ะ จขกทเองก็เพิ่งทราบเหมือนกัน

 
ข้อมูลและภาพจากคลิปนี้ค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

ISRI 0731 26 ต.ค. 59 เวลา 20:07 น. 1

เขียนได้เรียบง่ายดีครับ พอดีก็เป็นคนชอบอ่านประวัติศาสตร์ แต่มีอยู่จุดหนึ่ง สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวของ ร.๖ นะครับ

0
Mckinley 27 ต.ค. 59 เวลา 00:02 น. 2

โกศจะมีสองชั้น คล้ายโลงศพซึ่งก็มีสองชั้นเช่นกัน
ที่เห็นชั้นนอกประดับสวยงาม ระดับพระมหากษัตริย์ เจ้าฟ้า มักจะใช้โกศทองใหญ่
ระดับพระยศรองลงมาก็แล้วแต่กาล อาจเป็นโกศทองน้อย
อย่างสมเด็จย่า พระพี่นาง และในหลวงภูมิพล ก็ประดับพระอิสริยยศด้วยโกศทองใหญ่
แต่ร่างประทับพระองค์จริงอยู่ในโลงศพหลังฉากกั้นตามที่ จขกท. บอก

โกศชั้นใน เป็นโลหะ สมัยก่อนใช้บรรจุศพจริงๆ ก็ตามรูปท่านั่งสมาธินั้นเลย
ดูทุลักทุเลจริง ยังนึกอยู่เลยเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเวลาสิ้นพระชนม์หรือสวรรคตแล้ว
กลับต้องอยู่ในโกศที่ไม่ค่อยสบายนัก

แต่ละพระองค์มีพระประสงค์แตกต่างกันไปว่าเมื่อสิ้นพระชนม์จะให้ร่างพระวรกายอยู่ในโกศจิรง
หรืออยู่ในโลงศพแทน

0