Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อะไรคือตัววัดการเขียนเก่งและไม่เก่งค่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เราสงสัยค่ะ ตกลงอะไรคือตัวชี้วัดว่าเขียนเก่ง ไม่เก่งค่ะ 
ไม่ได้มีเจตนาจะสร้างเรื่องดราม่าค่ะ อยากรู้จริงๆ

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

หลับปุ๋ย` 17 ม.ค. 60 เวลา 20:15 น. 1

          แต่ละคนนิยาม "ความเก่ง" ไว้ไม่เหมือนกันนะครับ บางคนก็ว่าเก่งหมายถึงได้ตีพิมพ์ มีชื่อเสียงโด่งดัง บางคนก็อาจเป็นแค่ความสามารถในการสื่อให้ใครก็ตามที่อ่านงานของเราแล้วหัวเราะ,ร้องไห้ หรือซาบซึ้งใจไปกับงานเขียนได้

เหมือนกับความหวัง และความคาดหวัง ที่แต่ละคนก็มีไม่เท่ากัน จะวัดจากรสนิยมของแต่ละคนก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะไม่มีใครชอบหรือไม่ชอบอะไรเหมือนกันไปหมด บางคนอาจอ่านนิยายปลายแถวแล้วสนุกกว่านิยายติดอันดับก็มีเยอะแยะไปนะครับ

ทีนี้มาเข้าเรื่องกันดีกว่า ถ้าถามผมว่าเขียนเก่งในความคิดผมคืออะไร?

"สำหรับผมแล้วคนที่เขียนเก่งคือคนที่สร้างผลงานออกมาได้น่าประทับใจ อ่านแล้วหยุดอ่านไม่ได้ งานนั้นให้ประโยชน์ต่อผู้อ่าน มีทั้งความสนุก สาระ และข้อคิด-คติสอนใจแฝง มอบความรู้คู่ความบันเทิงผสานกันไปได้อย่างแนบเนียน ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าถูกยัดเยียด มีความสมเหตุสมผลในเนื้อหา ไม่ชักนำผู้อ่านสู่อบาย ทั้งเรื่องความรุนแรง เพศ และภาษา สร้างผลงานได้ต่อเนื่องไม่ทิ้งงาน มีวินัยในการแต่งนำเสนอเรื่องราวได้จนถึงตอนจบ"

เนี่ยล่ะครับคำว่าเขียนเก่งของผมล่ะ

3
เรลัล 18 ม.ค. 60 เวลา 01:20 น. 1-3

ผมก็คิดแบบนั้นเหมือนกันครับ แต่สิ่งที่เน้นที่สุดคงเป็นการทำให้คนอ่าน "สนุกจนอยากอ่านต่อไปเรื่อยๆ และยอมลงทุนอ่านซ้ำไปซ้ำมาได้อีกหลายๆรอบไม่รู้เบื่อ" ถ้าทำไม่ได้ผมก็ยังไม่เก่งครับ55

0
peiNing Zheng 17 ม.ค. 60 เวลา 23:06 น. 2

ส่วนตัวรู้สึกว่านักเขียนที่เก่งคือนักเขียนที่สร้างงานละเอียดค่ะ

อธิบายยากอยู่ "งานละเอียด" เป็นคนละเรื่องกับการบรรยายลงรายละเอียดนะคะ ง่ายๆ ก็คือ ทุกการกระทำของตัวละคร ทุกฉากทุกเหตุการณ์ ทุกบทสนทนา ไม่เว้นแม้แต่มุมมองที่ใช้เขียน ทุกอย่างนั้นล้วนมีความหมาย ล้วนผ่านกระบวนการคิดจากคนเขียนมาแล้ว

"งานละเอียด" จึงเป็นงานที่กว้างขวางมาก คำอธิบายที่นึกได้ตอนนี้คือ หยิบมาอ่านกี่ครั้งก็เห็นอะไรใหม่ๆ ตลอด          จะอายุเปลี่ยนไปแค่ไหนก็เหมือนเห็นสิ่งที่อยู่ในงานเขียนชิ้นนี้ได้ไม่หมดสักที ประมาณนี้น่ะค่ะ

สำหรับเรา นักเขียนที่เก่ง ไม่จำเป็นต้องเขียนงานที่เราชอบ บางเรื่องแทบจะชีวิตบัดซบตามตัวละคร แต่เราก็ยังยอมรับว่าเขาเขียนเก่ง ในทางกลับกัน คนเขียนที่เขียนเรื่องสนุก เรายอมรับว่าเขามีความสามารถที่เขียนได้แบบนี้ แต่ในความสนุกนั้น เราอ่านแค่ครั้งเดียวแล้ววาง ไม่คิดจะหยิบมาอ่านอีกเพราะมันไม่มีอะไร ตีหัวเข้าบ้านจบ สำหรับเราเลยไม่ได้มองว่าเก่งน่ะค่ะ

คำนิยามแต่ละคนไม่เหมือนกันเนาะ :)


3
เรลัล 18 ม.ค. 60 เวลา 01:25 น. 2-1

"งานละเอียด" ผมเข้าใจว่าเป็น "ความเอาใจใส่" ของคนเขียนคงไม่ผิดใช่ไหมครับ

ถ้าใช่ ผมเห็นด้วยทุกประการเลยครับ จะเขียนฉากบางฉากได้ผมเคยต้องหาข้อมูลจนเต็มแฟลชไดร์ฟ แต่บอกตามตรงครับเมื่อเขียนฉากนั้นออกมาแล้วแทบไม่อยากเชื่อว่าตัวเองเป็นคนเขียนเอง ถึงจะเสียเวลาไปมาก แต่ไม่รู้สึกเสียดายเลย

0
peiNing Zheng 18 ม.ค. 60 เวลา 13:04 น. 2-2

ความเอาใจใส่เป็นส่วนหนึ่งค่ะ แต่คำว่าละเอียดสำหรับเราความหมายมากกว่านี้ เพราะเรามองว่าเรื่องความเอาใจใส่ในผลงานตนเอง คนเขียนทุกคนเอาใจใส่อยู่แล้ว นั่นคือ สิ่งพื้นฐานที่นักเขียนแต่ละคนพึงมี

ความละเอียดคือความลุ่มลึกที่มาจากการวางหมากหลายซับหลายซ้อน โดยเฉพาะการแสดงถึงความเป็นมนุษย์ของตัวละคร และคนเขียนก็มีทักษะมากพอที่จะแสดงความคิดของตัวเองออกมาเป็น story โดยที่ไม่ทำให้สูญสารที่ต้องการสื่อไป

ความซับซ้อนก็คือ คนที่อ่านได้ระกดับผิวก็อ่านได้ด้วยความรู้สึกโอเค คนที่มีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้นก็สามารถโอเคกับสารระดับกลาง และคนอ่านปรมาจารย์ หรือคนอ่านที่มีประสบการณ์ชีวิตลึกซึ้งก็สามารถอ่านได้โอเคกับสารระดับลุ่มลึก ทั้งที่หยิบหนังสือเล่มเดียวกัน

คนเขียนที่สร้างงานประเภทนี้มักมีประสบการณ์การเขียน ประสบการณ์ชีวิตที่มองคน มองโลกมาไม่น้อย เป็นประสบการณ์ที่บางครั้งนักเขียนรุ่นเยาว์ไม่สามารถทำได้เพราะขาดประสบการณ์ชีวิต แต่ใช่ว่าพวกเขาไม่มีความสามารถนะคะ เพียงแค่สำหรับเรา พวกเขายังไม่อยู่ในจำพวก "เก่ง" ในความรู้สึกของเรา แต่พวกเขาเป็นคน "เก่ง" เมื่อเทียบกับอายุน่ะค่ะ

จะว่าไป เราก็เคยอ่านงานของนักเขียนเก่งที่อายุไม่มากนะคะ ประเด็นคือ คนเขียนเป็นคนช่างสังเกต ความคิดละเอียดอ่อนมากจนสามารถจับบางสิ่งบางอย่างที่คนทั่วไปมองข้าม แบบนี้ก็มีเหมือนกัน

เป็นการอธิบายความคิดของตัวเองที่ยากอยู่เพราะมันนามธรรมมากๆ บางคนอาจถามว่าแล้วอะไรคือความลุ่มลึกที่เราหมายถึง เราก็บอกไม่ได้ชัดเจนอีกแต่เรารู้ว่ามันมีน่ะค่ะ

สุดท้ายก็เป็นเพียงความคิดเห็นของเราเอง ไม่ได้มีหลักการอะไรมารองรับเพราะไม่มีใครสร้างตัวชี้วัดความเก่งขึ้นมาจริงๆ ความเก่งในความคิดเรามันก็แค่ลอยอยู่ตรงนั้น ไม่ขึ้นอยู่กับอายุคนเขียน ไม่ขึ้นอยู่กับชาติพันธุ์หรือภาษาไหน (แต่เราชอบอ่านเวอร์ชั่นออรินจินะ ถ้าแปล สารของคนเขียนจะหายไปบางส่วน) แค่เอื้อมถึงเส้นที่เราตั้งไว้ เราก็จะนับถือว่าเขาเป็นนักเขียนที่เก่งน่ะค่ะ

0
เรลัล 18 ม.ค. 60 เวลา 13:39 น. 2-3

อ่านสิ่งที่คุณอธิบายแล้วทำให้มองเห็นอย่างหนึ่งครับ

ถึงทุกคนจะมีนิยามคำว่า "เขียนเก่ง" ต่างกัน

แต่ตัวชี้วัดที่ทุกคนใช้ร่วมกันมีอย่างเดียว "คนอ่าน"

ทุกความเห็นจากคำตอบของทุกคนทั้งกระทู้มารวมอยู่ที่จุดเดียว "คุณค่าที่คนอ่านมองเห็นในงานเขียนชิ้นนั้น" ถ้ามองมุมกลับแล้วบอกว่า "คนเขียนเก่ง...คือคนที่สามารถสร้างผลงานซึ่งมีคุณค่า" ก็คงไม่ผิดนัก

0
SilverPlus 17 ม.ค. 60 เวลา 23:15 น. 3

เล่าง่ายๆ

เข้าใจง่ายๆ 

------ แค่นี้ก็เก่งแล้ว

เขียนสนุก

เขียนตื่นเต้น

เขียนเร้าอารมณ์

------- เก่งมาก

พล็อต โค-ตะ-ระ แปลก แถมยังน่าติดตามอีกต่างหากๆ + ความสามารถของข้อบนๆ

------- โค-ตะ-ระ เก่ง จนอยากจะไปถามว่ากินอะไรเป็นอาหาร (อัจฉริยะ)


0
♤Mena♤ 18 ม.ค. 60 เวลา 00:38 น. 4

มันวัดกันไม่ได้หรอกครับ[เขียนเก่ง]น่ะ เพราะมันจับต้องไม่ได้ เพราะงั้นสิ่งที่เรียกว่า[เขียนเก่ง]ของเเต่ละคนจึงไม่เหมือนกันเสียทีเดียว
บางคนอาจคิดว่าเขียนเก่งหมายถึง[ภาษาดี สื่อความหมายได้ยอดเยี่ยม เข้าใจง่าย]
อีกคนก็อาจบอกว่า [เนื้อเรื่องเทพ เห็นภาพ เเละเร้าใจ]

เเต่สำหรับผมเขียนเก่งหมายถึง
นักเขียนที่ใช้ภาษาได้ถูกต้อง เขียนให้เราติดหนึบไปกับมันอยู่ตลอดเวลา เเละมีเนื้อหาที่ลึกซึ้ง สุดยอด ครับผม

0
Louis Forest 18 ม.ค. 60 เวลา 02:25 น. 5

'คนเขียนเก่ง' เราต้องไปอ่านงานเขาครับ แต่ถ้า 'คนอวดเก่ง' ต่อให้เราอยู่เฉยๆ เดี๋ยวเขาก็จะมาแสดงความเก่งกาจของเขาให้เราดูเองครับผม

--- Louis Forest 2017


7
เรลัล 18 ม.ค. 60 เวลา 03:26 น. 5-1

ผมชอบทั้ง "คนอวดเก่ง" และ "คนเขียนเก่ง" เลยครับ

เพราะไม่ว่าจะเจอคนแบบไหน ก็คงเข้าไปอ่านงานพวกเขาแล้วขโมยเทคนิคมาให้ได้ ถึงบางครั้งจะน่าหมั้นไส้เล็กน้อยถึงมากที่สุดก็ตาม55

แต่

"คนที่ทำเหมือนเก่ง" คนจำพวกนี้จะไร้ประโยชน์โดยสมบูรณ์ บวกด้วยความน่ารำคาญสุดๆ

นักเขียนทุกคน "อยากเก่ง" แต่คงเหมือนนักวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะมีเทคนิคแค่ไหนก็คงไม่มีใครยกยอตัวเองว่า "เก่งแล้ว" ได้

อีกอย่างผมชอบ "คนอวดเก่ง" จริงๆนะครับ เพราะพวกเขาจะยอมหงายไพ่ทุกใบที่มีอยู่เพื่อทำให้ทุกคนเชื่อว่าเขาเก่งจริงๆ ไม่ว่าจะด้วยความมีน้ำใจหรือต้องการอวดตัวก็ตาม

0
Louis Forest 18 ม.ค. 60 เวลา 04:01 น. 5-2

ผมเห็นด้วยครับ ขอแต่งกลอนหน่อย //หยิบกู่ฉิน

อันว่าทำเหมือนเก่ง...จะเที่ยวอวดเบ่งว่าข้า
ปมด้อยเจ้าแต่ใดมา...ทำไหมหนาต้องอวดดี
หรือคนคมในฝัก...จำอกหักเพราะพวกพี่
เปิดเข้ามาเว็บเด็กดี...ต้องทุกทีเจอคน...

สายกู่ฉินขาด แต่งต่อไม่ได้แล้วครับ คำสุดท้ายคิดไม่ออก ผมขอตัวลา

Louis Forest

0
Louis Forest 18 ม.ค. 60 เวลา 04:02 น. 5-3

ผมเห็นด้วยครับ ขอแต่งกลอนหน่อย //หยิบกู่ฉิน

อันว่าทำเหมือนเก่ง...จะเที่ยวอวดเบ่งว่าข้า
ปมด้อยเจ้าแต่ใดมา...ทำไหมหนาต้องอวดดี
หรือคนคมในฝัก...จำอกหักเพราะพวกพี่
เปิดเข้ามาเว็บเด็กดี...ต้องทุกทีเจอคน...

สายกู่ฉินขาด แต่งต่อไม่ได้แล้วครับ คำสุดท้ายคิดไม่ออก ผมขอตัวลา

Louis Forest

0
Louis Forest 18 ม.ค. 60 เวลา 04:04 น. 5-4

ผมเห็นด้วยครับ ขอแต่งกลอนหน่อย //หยิบกู่ฉิน

อันว่าทำเหมือนเก่ง...จะเที่ยวอวดเบ่งว่าข้า
ปมด้อยเจ้าแต่ใดมา...ทำไหมหนาต้องอวดดี
หรือคนคมในฝัก...จำอกหักเพราะพวกพี่
เปิดเข้ามาเว็บเด็กดี...ต้องทุกทีเจอคน...

สายกู่ฉินขาด แต่งต่อไม่ได้แล้วครับ คำสุดท้ายคิดไม่ออก ผมขอตัวลา

Louis Forest

0
เรลัล 18 ม.ค. 60 เวลา 04:52 น. 5-6

55ผมไม่มีหัวเข้าใจทางด้านบทกลอนเลยด้วย

ผมไม่ได้มีเจตนาจะแย้งความเห็นคุณแต่อย่างใด แต่บางครั้งความหมายมันค่อมกันอยู่ ระหว่าง "คนที่รู้ไม่เต็มที่แต่มีน้ำใจอยากตอบอยากช่วย" กับ "คนอวดเก่ง" และหลายครั้งการรู้ไม่เต็มที่อาจทำให้พวกเขาดูอวดเก่งเป็นบางครั้งในสายตาของใครบางคน

คนทั้งสองแบบนี้เหมือนกันตรงที่พวกเขาจะยินดีแสดงสิ่งที่รู้โดยที่เราไม่ต้องอ้อนวอน หรือบางครั้งอาจเป็นเวลาที่เราอยู่เฉยๆ มันดูคล้ายกับประโยคที่คุณยกมาโดยไม่ได้แบ่งแยกคนสองแบบนี้ออกจากกัน

"แต่ถ้า 'คนอวดเก่ง' ต่อให้เราอยู่เฉยๆ เดี๋ยวเขาก็จะมาแสดงความเก่งกาจของเขาให้เราดูเองครับผม"

ผมไม่ได้มีเจตนาร้ายใดๆ ผมแค่พยายามจะสื่อ "คนสองแบบที่ว่า" พวกเขามีความคล้ายคลึงกันในประโยคที่คุณยกมา "พวกหนึ่งน่าหมั้นไส้เล็กน้อย" "อีกพวกอาจถูกเข้าใจผิดบ้างบางครั้ง" แต่เรื่องที่พวกเขาทำประโยชน์ต่อคนอื่นคงปฏิเสธไม่ได้ แน่นอนว่าคุณไม่ได้เหมารวมพวกเขา เพียงแต่ผมต้องการเน้นย้ำเท่านั้น

ผมแค่คิดว่าคนเราสามารถมองหาข้อดีของคนอื่นได้ แม้ว่าใครบางคนจะไม่แสดงมันออกมาก็ตาม และเมื่อเรามองเห็นข้อดีของใครบางคน สุดท้ายเราจะสามารถนำมันมาเพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป

หลายครั้งผมมีปัญหาในการเขียนและขอความช่วยเหลือในบอร์ด น่าแปลก ที่คนตอบคำถามข้อข้องใจส่วนหนึ่งจะเป็น "คนสองแบบที่ว่า" มีน้อยครั้งมากที่จะได้รับความช่วยเหลือจากคนที่ "เขียนเก่งจริงๆ" จะบอกว่า "คนอวดเก่งและคนมีน้ำใจหลายท่าน" ช่วยผมเอาไว้ก็ไม่ผิด

หากมองในมุมกลับพวกเขายังทำประโยชน์ต่อคนอื่นได้อย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่ค่อยน่าชื่นใจเท่าไหร่ในกิริยาอาการที่แสดงออกเป็นบางครั้ง แต่เท่าที่ไม่ได้ว่าร้ายทำความเดือดร้อนให้ใคร ผมยังอยากได้ความช่วยเหลือจาก "คนอวดเก่งและคนมีน้ำใจ" ทุกคนอยู่

เพราะคนที่ทำประโยชน์ต่อคนอื่นไม่ควรหมดกำลังใจที่จะทำต่อไป นอกเสียจากว่าบางคนจะล้ำเส้นสร้างความเดือดร้อน อย่างหลังคงต้องว่ากันไปตามกรณี

ขอโทษครับถ้าทำให้ใครไม่พอใจ

0
Louis Forest 18 ม.ค. 60 เวลา 08:22 น. 5-7

ผมไม่ได้อะไรหรอกครับ ขอบคุณที่มาแชร์ประสบการณ์นะครับ

จริงๆ คนเก่งแนะนำนั้นดีครับ ต่อให้เขาอวดเก่งก็ตาม ผมเห็นด้วย และพวกอวดเก่งแล้วไม่ช่วยอะไร อันนั้นผมก็ไม่อะไรนะ มันสิทธิ์ของเขา เอาเข้าจริง คนเก่งที่เขาวางเฉย คุณก็ยังไปหาอ่านหาดูงานเขาได้ครับ แต่นั่นแหละ ผมก็ไม่อะไรเช่นกัน

ผมขอฝึกฝนให้เก่งก่อน เพราะถึงวันนั้น (ถ้ามันจะมีน่ะนะ) ผมอาจจะเป็นอะไรก็ไม่รู้เหมือนสินะ



0
pompenkai 18 ม.ค. 60 เวลา 07:21 น. 6

ถ้านักเขียนคิดว่า นืยายที่ตัวเองเขียนดีแล้ว เก่งแล้ว


นักเขียนคนนั้น  จบแล้วครับ
เพราะเค้าจะย่ำอยู่กับที่ไม่ก้าวหน้าไปใหนแล้วครับ


ยิ่งนักเขียนปากดี อนาคตยิ่งจบไวครับ

0
เรลัล 18 ม.ค. 60 เวลา 07:55 น. 7

หากถามว่า "ตัวชี้วัดของการเขียนเก่งคืออะไร?"

ผมว่า "เราไม่จำเป็นต้องหาคำตอบ" ก็ได้นี่ครับ

สิ่งสำคัญคือ "เราเขียนเพื่ออะไร?"

ยังไง...คงไม่มีใครเริ่มเขียนนิยายเพราะอยากถูกเรียกว่า "เขียนเก่ง" อยู่แล้ว

พอมัวแต่คิดว่าอะไรคือ "ตัวชี้ว่าเขียนเก่ง" ก็เลยลืม "สิ่งสำคัญ" ไปนะครับ

"เก่งไม่เก่ง" ช่างมันเถอะ แค่ "เขียนให้ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ก็พอ"

0
Nomapol 18 ม.ค. 60 เวลา 14:53 น. 8

เนื้อเรื่องแปลกใหม่ น่าติดตาม สำนวนลื่นไหล มีสไตล์เป็นของตัวเองชัดเจน

สำหรับผมแค่นี้ก็ถือว่าเก่งแล้วครับ 

0
virgindevil 18 ม.ค. 60 เวลา 21:20 น. 9

อธิบายยากเนาะ แต่ถ้าอ่านแล้วจะรู้สึกได้ว่าคนนี้เก่ง อธิบายละเอียดๆยากมาก

แต่สรุปง่ายๆว่า

"เอาคนอ่านอยู่"  คำนี้เลยค่ะ

0
นกฮูกเองครับ 18 ม.ค. 60 เวลา 22:06 น. 10

ตัวชี้วัดว่าเขียนเก่งหรือไม่หรอ...
คงเป็น ความสามารถในการสื่อความได้ตรงความที่คิดไว้อย่างครบถ้วน รวมถึงความละเอียดละออในการใช้คำศัพท์อย่างถูกต้องตามบริบทและพจนานุกรม..ละมั้งนะ

ฮะ? เข้าใจยาก? งั้นเป็น.. เก่ง "ภาษาไทย" ใช้ได้ถูกต้องตามหลักภาษาและสื่อสารกับนักอ่านได้อย่างครบถ้วน ..ครับ
เพราะภาษาไทยนะ เรียนยาก ใช้ยากครับ (ไม่ได้ประชด) ไม่มีแกรมม่าตายตัว กลายเป็นช่องว่างที่ใครต่อใครก็หยิบไปใช้อ้างได้ว่าไม่เก่งภาษาไทย อีกทั้งภาษาไทยเป็นภาษาแบบพ่อค้า ดิ้นได้ยิ่งกว่าปลาไหล ประโยคหนึ่งเรียงลำดับคำต่างกันนิดความหมายก็เปลี่ยนได้ ไม่อย่างนั้นคงไม่เกิดศรีธนญชัยขึ้นมา //นี่เป็นผลสรุปจากจากการ discuss ในกลุ่มเพื่อนผมเอง
ดังนั้น การ "เก่งภาษาไทย" ก็น่าจะสามารถใช้เป็นชี้วัดว่าเขียนเก่งได้ครับ

0
mookflower 10 ก.พ. 60 เวลา 19:29 น. 12

แต่ละคนให้นิยามของคำว่า 'เขียนเก่ง' ได้ไม่เหมือนกันค่ะ สำหรับเรา เขียนเก่งคือการใช้สำนวนภาษาลื่นไหล อ่านไม่สะดุด พล็อตเรื่องลึกซึ้ง เชื่อมโยงกัน และสุดท้ายเลยคือ สอดแทรกข้อคิดดีๆไปในเรื่อง
แต่สุดท้ายแล้ว ความเขียนเก่งมันไม่มีจุดสิ้นสุดค่ะ เมื่อไหร่ก็ตามที่นักเขียนคิดว่า ตัวเองเขียนได้เพอร์เฟค นั่นหมายถึงความล่มจมค่ะ เพราะนักเขียนคนนั้นจะไม่พัฒนาอะไรต่อไปเลย แล้วก็หยุดตัวเองไว้ด้วยคำว่าเก่ง สิ่งสำคัญคือทำให้ตัวเองรู้สึกว่าทำเต็มที่แล้วในตอนนั้น รู้สึกว่านี่คือสิ่งที่มากที่สุดแล้วเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คำว่าเก่งก็ตาม

0