Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รัฐศาสตร์ มธ. จุฬา , BMIR - ประสบการณ์ แนวทางและหนังสือที่แนะนำ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีครับ เป็น #dek60 ตอนนี้รอแอดอยู่ครับ มีประสบการณ์สอบรับตรง ข้อเขียนและสัมภาษณ์รัฐศาสตร์ มธ. , สัมภาษณ์ จุฬา และ ข้อเขียน BMIR รวมถึง แนวทางการอ่านหนังสือที่แนะนำมาแชร์กันครับ  
ก่อนอื่นขอแนะนำอีกกระทู้ครับที่เป็นแนวทางและพี่เขาแนะนำหนังสือ (บางเล่มผมก็อ่านตามกระทู้นี้ครับ ขอบคุณมากครับ) - คลิก
ข้อมูลการรับเข้าศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย เข้าไปดูในเว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัยนั้นๆเลยครับ -  จุฬา ธรรมศาสตร์
สอบตรงรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อสอบปรนัย
ขอเกริ่นก่อนนะครับว่าปีการศึกษา 2559 ที่เราสอบใช้ระบบ TU-STAR ที่ต้องสอบวิชาภาษาอังกฤษ การอ่าน โลกปัจจุบัน และคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นมาด้วย แต่สำหรับปีการศึกษานี้(2560) มีการเปลี่ยนระบบกลับไปใช้การสอบตรงเหมือนก่อนปี 2559 คือเป็นความถนัดทางรัฐศาสตร์เพียวๆ (ดูข้อมูลเพิ่มเติม- คลิก คณะรัฐศาสตร์อยู่หน้า 6 ครับ)
ส่วนตัวผมคิดว่าแนวข้อสอบน่าจะเหมือนเดิมครับ คือ ความรู้ทางรัฐศาสตร์เบื้องต้นทั้ง 3 สาขาคือ การเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศ บริหารรัฐกิจ และ ข่าวสารปัจจุบัน

ข้อสอบวิชาความถนัดรัฐศาสตร์ ปี 59 (เท่าที่เราจำได้) : จำนวน ส.ส ส.ว ตามรัฐธรรมนูญ 50 , รัฐธรรมนูญประชามติ , สัญลักษณ์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, ประเทศที่ไม่ได้อยู่ใน EU, Brexit, เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา (ข่าวที่ฮิตในช่วงนั้นครับ) , รัฐเดี่ยว รัฐรวม

ข้อเขียน
เราเลือกสอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครับ มีโจทย์ 2 ข้อครับ ถามเกี่ยวกับ Brexit และ ปธน.ทรัมป์ (รายละเอียดจะมาแก้ไขให้ภายหลังครับ)
สำหรับข้อเขียนเราแนะนำว่าให้ฝึกเขียนเยอะๆครับ ลองให้ครูที่โรงเรียนตั้งโจทย์ หรือ หาโจทย์ในหนังสือ ถ้าไม่มีจริงๆก็ตั้งหัวข้อขึ้นมาเองก็ได้ แล้วลองเขียนดู จับเวลาตามเวลาสอบจริง วันจริงจะไม่ตื่นเต้นมาก เขียนเสร็จแล้วก็ลองให้ครูที่โรงเรียนตรวจดูก็ได้ครับ จะได้รู้ว่าควรปรับตรงไหน เช่น การเกลาภาษาให้อ่านง่ายขึ้น การเน้นเนื้อหาเป็นต้นครับ

สัมภาษณ์
อันนี้ตื่นเต้นผสมกับความถูกข่มโดย Portfolio ของคนอื่นที่หนากว่าไบเบิลอีกครับ ส่วนของเราเตรียมไปแค่เนื้อหาสำคัญๆก็พอ วันสัมภาษณ์ขอให้เตรียมเงินไปสักนิดก็ดีครับ ถ้าอยากซื้อเสื้อหรือสมุดที่พี่ๆเขาโถมเข้ามาขาย (ถถถถถถ)
พอถึงเวลาเข้าไปสัมภาษณ์กับอาจารย์ความตื่นเต้นก็หายไปเลยครับ เพราะ อย่างแรกที่อาจารย์บอกคือ ให้แนะนำตัวแบบแหวกแนว ไม่เอาซ้ำๆเดิมที่บอกแค่ชื่อนามสกุล ชื่อเล่น ทำให้อาจารย์ตื่นเต้น หลังจากนั้นก็เข้าเรื่องเลยครับ คืออาจารย์ถามเกี่ยวกับประเด็นในสังคมไทย เช่นการแก้ไขปัญหาหาบเร่แผงลอยที่ยั่งยืน ,การเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย ,Westernization อาจารย์เพียงอยากฟังแนวคิด ทัศนคติของเราครับ ไม่มีถูกผิดครับ ส่วนคำตอบอาจารย์บอกไว้ไปเรียนด้วยกันแล้วค่อยเฉลย (ถถถถถถถ) 
ปล.อาจารย์ปองขวัญน่ารักมาก เขิน (ถถถถถถถถถถถถถถ)



แนวทางการอ่านหนังสือส่วนตัว
เรามีเวลาอ่านหนังสือประมาณ 3 เดือนครับ เพราะไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศมาช่วง ม.6 กลับมาถึงไทยเริ่มเรียนกลางเดือนกรกฎาทำให้ต้องเลือกอ่านตำราแค่ไม่กี่เล่มครับ 
สำหรับแนวทางการอ่านที่ผมแนะนำคือ การอ่านเนื้อหาในตำรา,การอ่านข่าวสารเหตุการณ์ปัจจุบัน และ การฝึกทำข้อสอบเก่าครับ สำหรับการอ่านข่าวสำคัญมากๆครับ เพราะจะได้นำเนื้อหาที่เราอ่านมาใช้ พออ่านข่าวแล้วมันจะแบบ อ๋อ แบบนี้เอง อารมณ์นี้ สำหรับเราตื่นเช้าประมาณ ตี 5 มาอ่านข่าวทุกวันก่อนไปโรงเรียนครับ แล้วก็โน๊ตจดไว้ด้วยครับ ส่วนการทำข้อสอบเก่าจะทำให้เราจับแนวทางการออกข้อสอบได้ครับว่าจะมาประมาณไหนถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก

BMIR

ข้อสอบปรนัย
สำหรับปีเราข้อปรนัยจะเน้นพวกข่าวเป็นหลักเลยครับ (ในรายละเอียดการสอบปีที่แล้วเขียนว่า สังคมศาสตร์) อ่านข่าวเป็นประจำก็จะตอบได้ครับ แต่ก็มีเนื้อหารัฐศาสตร์พวกเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง การเมืองไทยหลัง 2475 ปะปนมาบ้าง ส่วนตัวคิดว่าถ้าอ่านเนื้อหาภาษาไทยแล้วก็ลองส่องๆคำเฉพาะที่เป็นภาษาอังกฤษด้วยก็ดีเลยครับ
**พาร์ทหลังสุดของข้อสอบเป็นคำถามเกี่ยวกับการอ่านบทความ และจับใจความสำคัญของบทความและกราฟที่ให้มาครับ เราไม่เคยเจอแบบนี้ก็เด๋อไปหลายวิเหมือนกันครับ ลองฝึกทำข้อสอบ Reading ภาษาอังกฤษครับ ระดับภาษาประมาณ TU-GET

ข้อเขียน 
มีโจทย์สองข้อครับ ข้อแรกถามเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมที่เราคิดว่าสำคัญ และเป็นเรื่องที่ควรพัฒนา ให้อภิปรายเหตุผล และ วิธีการครับ
ข้อสองจำไม่ได้จริงๆครับ - -.

สัมภาษณ์
ไม่ได้ไปครับ เปลืองตัง


แนวทางการอ่านหนังสือส่วนตัว
- ติดตามข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันครับ สำคัญมากๆ
- ถ้าอ่านเนื้อหาภาษาไทยหมดก็ลองดูคำเฉพาะทางด้านรัฐศาสตร์ครับ ตามเว็บเยอะแยะเลย แต่ถ้าเราอ่านข่าวเป็นภาษาอังกฤษก็จะทำให้เราคุ้นเคยกับมันยิ่งขึ้น แรกๆจะยากหน่อยสำหรับคนที่ไม่ได้อ่านข่าวหรืออ่านหนังสือ(ที่ไม่ใช่หนังสือเรียน)เป็นประจำ เอาที่อ่านแล้วเราเอ็นจอยครับ สนุกกับมัน
- ฝึกทำข้อสอบเก่า 

รับตรง รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรายื่น IR อันดับแรกแต่ไม่ติดครับ (ถถถถถถถ) ก็เลยติดอันดับสองเลือก สาขามานุษยวิทยาครับ มีแต่ประสบการณ์การสอบสัมภาษณ์ครับ

สัมภาษณ์

อย่างแรกก็แนะนำตัวเหมือนเดิมครับ แล้วอาจารย์ก็ถามถึงเหตุผล ทำไมเลือกคณะนี้ สาขานี้ครับ ถามแค่นี้จริงๆ (ถถถถถถถ) หลังจากนั้นอาจารย์ก็จะให้เวลาเราถามคำถามที่เราสงสัยเป็นส่วนใหญ่ครับ ไม่มีคำถามเกี่ยวกับการเมืองหรือสังคมอย่างธรรมศาสตร์ครับ บรรยากาศสบายๆครับ ไม่กดดันอะไรเลย

หนังสือ และ แหล่งข้อมูลที่แนะนำ
1. เตรียมสอบเป็น 'สิงห์' คณะรัฐศาสตร์ สำนักพิมพ์ IDC 

2. คู่มือเตรียมสอบตรง คณะรัฐศาสตร์ โดย ฐานุวัชร์ รินนานนท์ 
3. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน : เน้นที่มีการถกเถียงกันในสังคม หรือประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน (เช่น จำนวน ส.ส. ส.ว. อย่างปีที่แล้วก็มีออกมาข้อนึงครับ ถามจำนวนสมาชิกรัฐสภาจากรัฐธรรมนูญปี 50, บทเฉพาะกาล(อันนี้พีค)) ถ้าใครแกร่งพอก็อ่านทั้งฉบับเลยก็ได้ครับ (ถถถถถถ) 
4. ข่าว : แนะนำให้อ่านฉบับภาษาอังกฤษนะครับ จะได้ฝึกภาษาด้วย ส่วนตัวคิดว่าตัวภาษาจะสวยกว่าครับ เช่น BBC, Bangkok Post, Aljazeera แต่ตอนนี้ก็มีสำนักข่าวออนไลน์ภาษาไทยอ่านสนุกหลายที่เลยครับ เช่น BBC Thai, the matter, the standard(ไม่เอาดราม่า), 101, way magazine, the momentum
5. https://ilaw.or.th/ - เว็บไซต์ที่ชำแหละตัวกฎหมายมาให้อ่านง่าย ติดตามแฟนเพจใน Facebook ก็ได้นะครับ
(ไม่ได้รับค่าจ้างใดๆในการโฆษณานะครับ) 

Frequently asked
เคยเห็นหลายกระทู้ที่ถามเกี่ยวกับ ความแตกต่างระหว่าง จุฬา กับ ธรรมศาสตร์ ตอนแรกผมก็เลือกไม่ถูกครับว่าจะเรียนที่ไหนดี เพราะ ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องบรรยากาศแต่ละมหาวิทยาลัย อ่านทุกกระทู้ก็ดีไปหมดเลย แต่ละที่ก็จะมีเสน่ห์แตกต่างกันไปครับ แต่ผมแนะนำให้ลองค้นหาที่ลึกไปกว่านั้นครับคือ หลักสูตรของแต่ละที่ หน่วยกิต วิชา คณาจารย์ต่างๆครับ จะได้ตัดสินใจได้โดยมีเหตุผลรองรับมากขึ้นกว่าการใช้ความรู้สึกครับ
ธรรมศาสตร์
จุฬา

/จบ


โชคดีครับ
 


 

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

เปนคนสวยแย่จัง 9 มิ.ย. 60 เวลา 02:29 น. 2-1

ตอบแทนจ้า ตอนนี้จขกทยื่นแอดเข้า รัฐศาสตร์ ir ของจุฬาค่าาา #เราเปนเพื่อนจขกทที่ว่างมากจนไม่มีอะไรทำ

0
แอปเปิ้ลอาบยาแก้ไอ 9 มิ.ย. 60 เวลา 01:57 น. 3

อยากรู้ว่าสัมของ ฬ ถามกลับส่วนใหญ่เรื่องไรอะจ้ะ ?? อยากรู้รายละเอียด

แล้วทำไม จขกท สละทุกอย่างมาแอดอะจ๊ะ?

แล้วเลือกแอดอะไรอะจ๊ะ??????

2
จขกทตัวปลอมเองจ้า 9 มิ.ย. 60 เวลา 02:33 น. 3-1

คำถามแรกไม่รู้ครับ

คำถามที่2 ให้เจ้าตัวมาตอบเน้อ มันเปนเรื่องส่วนตัวของเค้า 

คำถามสุดท้ายยื่นเข้ารัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครับ



0
team_teerapat 9 มิ.ย. 60 เวลา 07:34 น. 3-2

-สัมภาษณ์ของจุฬา หลักๆเลยคือเท่าที่เขียนเลยครับ คือ ให้แนะนำตัว ถามเกี่ยวกับตัวเราเบื้องต้นเช่น โรงเรียนที่จบ บ้านเกิด(เป็นคนต่างจังหวัด) เหตุผลที่เลือกรัฐศาสตร์และตัวสาขาครับ คำถามหลักๆมีแค่นี้จริงๆครับ นอกจากนั้นอาจารย์ก็จะ follow คำตอบของเรา เหมือนชวนคุยให้รู้จักกันมากกว่าครับ ไม่กดดันเลย

- แรกๆสับสันระหว่างจุฬากับธรรมศาสตร์ครับ เลือกไม่ถูก ก็เลยค้นหาพวกหลักสูตร วิชาที่เรียน ของจุฬาผมชอบและคิดว่าเหมาะกับผมมากกว่าก็เลยสละสิทธิ์ไปรอแอด IR จุฬาครับ

0