Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ด่วน! รถไฟไทย-จีน นายกตู่ไฟเขียว คนจีนไม่ต้องอยู่ในบังคับกฎหมายไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 
บิ๊กตู่ฟาดม.44 ไฟเขียวจีนสร้างไฮสปีด วิศวกร-สถาปนิกจีนไม่ต้องอยู่ในบังคับกม.ไทย ไม่ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ ดำเนินการใน120วัน ด้านสภาสถาปนิก-สภาวิศวกรไทยสะอึก ค้านไม่ได้

ท่าทางจะเป็นเรื่องใหญ่อีกครั้ง สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลทหารที่ดำเนินการรวบรัดจนหลายฝ่ายเป็นห่วง โดยเฉพาะสภาวิศวกร และสภาสถาปนิก แห่งประเทศไทย ที่ดูทีท่าแล้วจะไม่สามารถตรวจสอบมาตรฐานหรือควบคุมบุคคลากรของจีนได้เลยในโครงการนี้ อีกทั้งคนจีนที่ไม่อยู่ในบังคับกฎหมายไทยก็เป็นประเด็นว่า ไทยกำลังจะเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่จีน เหมือนเมื่อครั้งที่เสียให้ชาติตะวันตกในสนธิสัญญาเบาริงหรือไม่?

"สภาสถาปนิกและสภาวิศวกรได้พยายามทำเต็มที่แล้วที่จะรักษากฎหมายวิชาชีพไว้ แต่รัฐบาลไม่ฟังครับ เพราะจีนบอกว่าถ้าวิศวกรและสถาปนิกจีนต้องสอบเพื่อจะรับใบอนุญาตระดับภาคีพิเศษ จีนก็จะไม่ทำโครงการนี้ รัฐบาลกลัวว่าจีนจะไม่ทำ ก็เลยต้องยอมจีนทุกอย่าง
จีนมองว่าการที่สถาปนิกและวิศวกรจีนต้องสอบใบอนุญาตไทยเป็นการเสียศักดิ์ศรี เพราะจีนออกแบบและสร้างรถไฟความเร็วสูงมาแล้วมากกว่า 20,000 กม. ไทยยังไม่เคยสร้างเลยแม้แต่ 1 กม. จะมีอะไรไปสอบเขา!!!
ทั้ง 2 สภาบอกจีนว่า เราไม่ต้องการสอบความรู้ด้านเทคโนโลยี เพราะรู้ว่าเขาเก่งเรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่เราต้องการทดสอบว่าเขามีความรู้เกี่ยวกับ local condition (เงื่อนไขท้องถิ่น) กฎหมาย และวัฒนธรรมไทย เพียงพอที่จะเข้ามาทำงานในเมืองไทยหรือไม่ แต่เขาก็ยังยืนกรานที่จะไม่สอบ
ที่ผมต้องพูดออกมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ทราบว่า ผมและสภาสถาปนิกได้พยายามต่อสู้เต็มที่แล้ว แต่เราเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ เราไม่สามารถที่จะไปคัดค้านรัฐบาลได้ครับ
ผมคิดว่ารัฐบาลคงมองประโยชน์ที่ประชาชนทั้งประเทศจะได้รับจากโครงการรถไฟความเร็วสูง จึงได้ตัดสินใจใช้ ม.44 เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้"


คำให้การสอดคล้องกับเนื้อหาที่ปรากฏใน ราชกิจจานุเบกษา 15 มิถุนายน 2560 ว่านายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาตัดสินใจออกคำสั่งโดยกฎหมายมาตรา 44 ซึ่งนำมาใช้แทนกฎอัยการศึกตั้งแต่ 1 เมษายน 2558

 
คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๐/๒๕๖๐
เรื่อง มาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง
ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา
 
โดยที่มีความจําเป็นต้องพัฒนาระบบคมนาคมให้ก้าวหน้า ทันสมัย และสอดคล้องกับการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งทางราง ซึ่งรวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง
ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๕

แต่การดําเนินการดังกล่าวยังมี
ปัญหาและอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะข้อจํากัดตามกฎหมาย ซึ่งมีผลกระทบต่อการขับเคลื่อน
โครงการและกรอบระยะเวลาการดําเนินการ และด้วยเหตุที่การดําเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้เป็นการ
ดําเนินการในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งโดยสภาพของข้อเท็จจริงย่อมจําเป็นต้องยกเว้นการปฏิบัติตาม
กฎระเบียบบางเรื่อง ในขณะที่จะต้องดําเนินการด้วยความรอบคอบรัดกุม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และ
สามารถเร่งรัดการดําเนินโครงการให้แล้วเสร็จได้โดยเร็ว จึงจําเป็นต้องกําหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์วิธีการไว้
เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ผู้ใช้บริการ รวมทั้งเป็นการรักษาประโยชน์ของรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบคมนาคมของประเทศ
นําไปสู่การพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อเชื่อมโยง
พื้นที่เศรษฐกิจ ยกระดับศักยภาพการแขงข่ ัน และลดความเหลื่อมล้ําตามยุทธศาสตร์ของประเทศ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับ
มาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้า
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน” หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารร่วมฝ่ายไทย เพื่อกํากับดูแลการดําเนินการ ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ
ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง
ของไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕
 
“โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา” หมายความว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง
ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ที่ดําเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของ
ประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕
หน้า ๒๘
เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๐

ข้อ ๒ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทําสัญญาจ้างรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นตัวแทนแห่งสาธารณรัฐ
ประชาชนจีนที่มีประสบการณ์ตรงด้านการพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่ได้รับการรับรองคุณภาพและ
ประสิทธิภาพจาก National Development and Reform Commission แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา ดังต่อไปนี้
(๑) งานออกแบบรายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา
(๒) งานที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา
(๓) งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร

รัฐวิสาหกิจตามวรรคหนึ่งและบุคลากรของรัฐวิสาหกิจนั้นทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
หากต้องดําเนินการในลักษณะของการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม ให้ได้รับยกเว้น
ไม่อยู่ในบังคับมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และ
มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ และเพื่อประโยชน์
ในการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพ ให้กระทรวงคมนาคมประสานให้สภาวิศวกรและสภาสถาปนิกจัดให้
มีหลักสูตรฝึกอบรมและทดสอบแก่บุคลากรดังกล่าวตามความเหมาะสม
 
ในการกําหนดมูลค่าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา ค่าจ้าง ค่าใช้จ่าย
ที่เกี่ยวข้อง การจัดทําร่างสัญญาจ้างและเงื่อนไขอื่นในการทําสัญญาจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้การรถไฟ
แห่งประเทศไทยใช้ผลการเจรจาต่อรองของคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้อง และผลประชุมของคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน มาเป็นกรอบ
ในการพิจารณา โดยจะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ ให้วงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติสําหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา ถือเป็น
ราคากลางตามมาตรา ๑๐๓/๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
 
ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามวรรคสาม ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
รายงานผลการดําเนินการ รวมทั้งสาเหตุของความล่าช้าไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอ
นายกรัฐมนตรีพิจารณา ในการนี้ นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาขยายระยะเวลาออกไปได้อีกตามที่เห็นสมควร
หากนายกรัฐมนตรีไม่พิจารณาให้มีการขยายระยะเวลาออกไปตามวรรคสี่ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
ยุติการดําเนินการ และให้กระทรวงคมนาคมรายงานผลการดําเนินการไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
การดําเนินการตามข้อนี้ ให้คํานึงถึงประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ ประสิทธิภาพและ
ความคุ้มค่าในการดําเนินกิจการและการใช้ทรัพยากรของรัฐ ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางในการ
ใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ มาใช้
กับการดําเนินการด้วย
หน้า ๒๙
เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๐
 
ข้อ ๓ ในการดําเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา และการทํา
สัญญาจ้างตามข้อ ๒ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ
ดังต่อไปนี้
(๑) กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ
การจัดหาผู้ประกอบการและการเสนอราคา
(๒) กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
(๓) คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๖๐ เรื่อง การกํากับการจัดซื้อ
จัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐
(๔) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(๕) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาด่ ้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙
(๖) ระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทยว่าด้วยการจ้าง พ.ศ. ๒๕๔๔
(๗) ระเบียบการรถไฟแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๔
 
ข้อ ๔ เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทําร่างสัญญาจ้างตามข้อ ๒ วรรคสาม เสร็จแล้ว
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งข้อตกลงการจ้างและร่างสัญญาจ้างให้รัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณา
เห็นชอบก่อนส่งให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา โดยให้สํานักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา
ร่างสัญญาจ้างให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างสัญญาจ้าง และเมื่อสํานักงานอัยการสูงสุดตรวจ
พจารณาร ิ ่างสัญญาจ้างเสร็จแล้ว ให้กระทรวงเจ้าสังกัดนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบกับร่างสัญญาจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องคืนไปยังรัฐมนตรี
กระทรวงเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาทบทวนและเสนอความเห็นประกอบเรื่องทั้งหมดต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อ
พิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างสัญญาจ้าง ให้ส่งร่างสัญญาจ้างให้สํานักงาน
อัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีด้วย โดยให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้การรถไฟ
แห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาจ้างต่อไป
 
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีปัญหาหรืออุปสรรคในการดําเนินงานตามคําสั่งนี้และการรถไฟแห่งประเทศไทย
ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรายงานปัญหาหรืออุปสรรคดังกล่าวให้
คณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน เพื่อพิจารณาหาข้อยุติต่อไป
หากคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ไม่อาจหา
ข้อยุติได้ ให้ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน
เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยปัญหาหรือสั่งการตามสมควร
หน้า ๓๐
เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๐
 
ข้อ ๖ ในกรณีเห็นสมควรหรือมีปัญหาขัดข้องในการดําเนินการ หรือกรณีมีข้อจํากัด
ทางกฎหมายอื่นใด นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลง
คําสั่งนี้ได้
 
ข้อ ๗ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
สั่ง ณ วนทั ี่ ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๐
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


 

แสดงความคิดเห็น

>