Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หรือทฤษฎีการเขียน จะไม่จำเป็นต่อการเขียนนิยาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีครับเพื่อนๆ นักเขียน Dek-d ทุกท่าน วันนี้ กระผมขอรบกวนถามคำถามสักนิดนะครับ ขอบพระคุณครับ TwT

1. ท่านมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเขียนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

2. ต่อให้ท่านมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี ท่านคิดว่ามันจำเป็นต่อการเขียนนิยายไหม

3. ถ้าท่านมีความรู้อยู่บ้าง หรือไม่มีเลย แล้วถ้าได้เรียน คิดว่าจะทำให้งานเขียนดีขึ้นไหม

ขอความกรุณาตอบเรียงข้อได้ไหมครับ เช่น..

1. พอมีอยู่บ้าง ประมานว่า การสร้างพลอต การสร้างตัวละคร แต่ก็ไม่มั่นใจนะ ว่ารู้มากแค่ไหน แบบว่าเคยหาอ่านๆ มา

2. คิดว่าไม่น่าจำเป็นนะ ทุกวันนี้ที่เขียนนิยายก็ไม่ได้อิงทฤษฎีอะไรนี่

3. คิดว่าน่าจะเอามาทำให้งานเขียนดีขึ้นได้บ้างแหละ

ประมานนี้...

ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับผม Orz


 

แสดงความคิดเห็น

>

29 ความคิดเห็น

แว่นเงิน 16 ม.ค. 61 เวลา 23:03 น. 1

1. พอมีบ้าง เท่าที่ได้อ่านมานิดหน่อย


2. คิดว่าค่อนข้างจำเป็น เพราะประยุกต์ได้หลากหลาย การไม่รู้ทฤษฎีเลยก็เหมือนมวยวัดอะแหละ คือต่อยได้ ป้องกันตัวได้เหมือนกัน แต่รู้ไว้ยังไงก็ดีกว่า ต่อยได้ทั้งมวยวัดทั้งมวยสากล


3. ต้องดีขึ้นแน่นอน

0
Vor@vit Jessica 16 ม.ค. 61 เวลา 23:27 น. 2

1.พอมีบ้างนะคะ เพราะเคยเรียนเขียนบทภาพยนตร์มา แต่ก็เกือบคืนอาจารย์ไปบ้างแล้ว555

2.ข้อนี้แล้วแต่มุมมองไหมคะ เพราะจินตนาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะนิยายบางเรื่องก็ไม่ได้อิงความจริงนี่คะ ทฤษฎีจึงอาจจะไม่จำเป็นก็ได้นะคะ

3.ถ้าเรารู้มันก็ย่อมจะทำให้เราเขียนงานหรือคิดงานออกมาให้ถูกต้องนะคะ

0
Seesor [COS] 16 ม.ค. 61 เวลา 23:31 น. 3

1. ในแง่การเขียนนิยาย - เท่าหางอึ่งค่ะ และที่ทราบก็ไม่ทราบว่านับเป็นทฤษฎีไหม ส่วนมากก็อ่านจากคอลัมน์ในเด็กดีนี่แหละค่ะ


ในแง่การเขียนทั่วไป - เราไม่ทราบว่าทฤษฎีการเขียนที่คุณเจ้าของกระทู้หมายถึงคืออะไร เลยไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองเรียนไปแค่ไหน+เท่าที่จำได้ ไม่ได้เจอคำว่า 'ทฤษฎีการเขียน' ตอนเรียนเลย (แต่ถ้าจำผิดก็กราบขออภัย)


แต่เอาเป็นว่าอย่างพื้นฐานที่สุด การเขียนรายงานเชิงวิชาการ เขียนบทความวิชาการ การใช้อุปมา การใช้ภาพพจน์ การเขียนแนะนำหนังสือ การเขียนแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ อะไรพวกนี้อย่างคร่าวที่สุดก็พอทำได้บ้างแล้วค่ะ


2. เราคิดว่าค่อนข้างจำเป็นที่ต้องรู้ไว้บ้างค่ะ


3. อาจจะมั้งคะ บางครั้งมันก็ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์ของแต่ละคนด้วย


ไม่ทราบจะยกตัวอย่างจากข้อไหน เอาเป็นว่าปั่นรวมกัน เช่น การสร้างพล็อตให้มีการปูเรื่อง เนื้อเรื่อง ไคลแม็กซ์ จบ, การมีปมขัดแย้ง, มุมมองสรรพนามที่ใช้ในการบรรยาย ฯลฯ นี่พูดอย่างคร่าวนะคะ เพราะอย่างที่บอกว่ามีความรู้แค่หางอึ่ง และไม่ทราบจะเรียกเป็นทฤษฎีได้ไหม แต่อะไรพวกนี้เราคิดว่าจำเป็นและนักเขียนควรต้องรู้ไว้บ้างค่ะ

0
SilverPlus 16 ม.ค. 61 เวลา 23:36 น. 4

1 ตอนเริ่มงานเขียนใหม่ ๆ ไม่มีเลย มีแต่แค่อยากเขียนเท่านั้น ไม่มีอะไรในหัวเลย พล็อตอะไร... ไม่รู้ ตัวละคร... ไม่รู้ ความสมเหตุสมผล... ไม่รู้


แต่พอการเขียนเติบโตขึ้น มันก็เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเอง ผ่านการอ่าน การสังเกต ผ่านความผิดหวังที่ถูกปฏิเสธ ผ่านศึกยอดวิวที่ไม่สมหวัง --- การแก้ปัญหาต่าง ๆ ทำให้เกิดทฤษฎีขึ้น ว่าทำแบบนี้แบบนั้นแล้วนิยายจะออกมาดี ..... และถ้าย้อนกลับไปตอนเริ่มแรก ก็อยากจะเอาทฤษฎีในตอนนี้ฟาดหน้า-หมอนั้น(ตัวเอง)เหลือเกิน มันจะได้เขียนเป็นผู้เป็นคนกับเขาหน่อย เขียนมัว ๆ เหมือนคนเมายาคูลมาก


2 จำเป็น จำเป็นขั้นมาก ๆ เพราะหากเราพื้นฐานดี เวลาก้าวเข้าสู่การเขียนแบบที่คนอื่นไม่รู้จัก เช่นแนวแปลก ๆ พล็อตเรื่องประหลาด ๆ เราสามารถพานิยายของเราไปถึงฝั่งได้ แม้มันจะไม่มีต้นแบบใด ๆ ให้ศึกษามาก่อนก็ตาม เราจะมองเห็นภาพพล็อตที่แสนจะยุ่งยากของตัวเราได้ และแก้ไขปัญหาได้ หากมีทฤษฎีการเขียนที่ดีพอ


ยกตัวอย่างก็เช่น พล็อตเกี่ยวกับเวลา หากเรารู้จักคำว่าพล็อตอย่างถ่องแท้ เรียนรู้การวางพล็อตของเรื่องเกี่ยวกับเวลาเรื่องอื่น ๆ มาทุกรูปแบบ เราจะสามารถวางพล็อตเกี่ยวกับเวลาได้อย่างไม่มีปัญหา


3 หากมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเขียน สามารถทำให้เขียนนิยายดีแน่นอน แต่ความรู้ ไม่ได้มาจากการอ่านหนังสือทฤษฎีการเขียนเพียงอย่างเดียว แม้จะท่องจำได้ทุกข้อ ก็อาจจะไม่ได้เขียนเก่งขึ้นมาก็ได้ ส่วนสำคัญของความรู้เกี่ยวกับการเขียนก็คือต้องเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ เข้าใจโดยอาศัยการสังเกต กับประสบการณ์การเขียนของตัวเราเองจะดีที่สุด เป็นทฤษฎีโดยเฉพาะของเราเอง



ทฤษฎีในความเข้าใจของผม คือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียน การวางพล็อต และทิศทางการดำเนินเรื่อง ซึ่งเรื่องพวกนี้ ผันแปลไปตามความรู้ความเข้าใจของแต่ละคน จะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ... เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว แค่อ่านหนังสือทฤษฎีการเขียนดี ๆ เล่มหนึ่ง เราก็สามารถเขียนนิยายดังระดับโลกได้แล้วสิ... หรือเจเคโรลิ่งมาบอกว่าฉันเขียนแบบนี้ ฉันวางแผนแบบนี้ แต่พอเราเขียนตาม กลับล้มเหลวซะอย่างนั้น นั้นคือสาเหตุที่ผมคิดว่า ทฤษฎีการเขียนของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน และนำไปสู่ความสำเร็จที่แตกต่างกันด้วย


นักเขียนดัง ๆ ไม่เคยพูดว่าได้ความสำเร็จมาจากหนังสือทฤษฎีการเขียน พวกเขามักพูดว่าได้อิทธิพลมาจากนิยาย/เรื่องเล่า/ตำนาน ต่าง ๆ เสียมากกว่า


หรือจะพูดให้หล่อ ๆ ก็คือ ทฤษฎีมันอยู่ในหนังสือ/ภาพยนตร์/สื่อบันเทิงแบบเนื้อเรื่อง ทุกเรื่องนั้นแหละ



0
-NemuriHime- 16 ม.ค. 61 เวลา 23:47 น. 5

1.ทฤษฎีการเขียนคืออะไรครับ ผมไม่เคยอ่าน จึงไม่รู้ แต่เท่าที่ผมแต่ง พล็อตมาจากเหตุการณ์ในหัวที่อยากให้เกิด การกระทำ เหตุผลการกระทำ เกิดจากพื้นเพตัวละคร เหตุการณ์ที่เกิด เกิดเพราะปัจจัยของการกระทำของใครสักคนมันจึงเกิด การสร้างตัวละครสำหรับผมคือความชอบ+กับหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นในอดีตตัวละครจะเป็นลักษณะประมาณนี้ (แต่ตัวละครเอกผมดันเป็นตัวละครที่ใช้จินตนาการของผมล้วน ๆ เพราะผมไม่อาจรู้ว่าตัวตนเช่นนั้นจริง ๆ มีความคิดเช่นไร เนื่องจากพื้นฐานความคิดมันอยู่คนละโลกกันเลย)

2.เนื่องจากไม่รู้ จึงคิดว่าไม่น่าจะจำเป็นเท่าไร แต่ผมไม่ชอบนิยายที่...เขาเรียกว่าไรนะ...ตัวละครกระทำไม่สมกับพื้นเพ ฐานะของตัวละคร ถ้าจะเมากาวก็ต้องเมากาวให้ถึงที่สุดแบบมังงะ Brynhildr หลังตอน 100 ไปเลย (ชอบในความกาวของคนแต่งมาก กาวมันต้องกาวแบบนี้ 555) 3.น่าจะทำให้งานเขียนดีขึ้นแหละครับ เพราะของพวกนี้รู้ไว้เยอะดีกว่าไม่รู้สำหรับงานเขียนอยู่แล้ว (แต่กลัวจะรู้เยอะเกินจนไม่กล้าเขียนด้วยเนี่ยสิ[เพราะเขียนออกมาไม่ดีเท่าที่คิด] เฮ้อ...)

0
นัตสึอิโระ1886 17 ม.ค. 61 เวลา 00:07 น. 6

1. ตอนแรกไม่รู้อะไรเลย แต่พอนานวันเข้า ได้อ่านมากขึ้น ก็เริ่มรู้มากขึ้น


2. ตอนที่ไม่รู้ทฤษฎีอะไรเลย คิดว่าทฤษฎีไม่จำเป็นต่อการเขียน แต่พอได้รู้ทฤษฎีก็พบว่า มันช่วยให้เราหาจุดบกพร่องของงานได้มากขึ้น และเขียนดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน (แต่ยังไม่เก่ง)


3. สำหรับเรา ถ้าได้เรียนทฤษฎี ทำให้เขียนดีขึ้นค่ะ เขียนอ่านรู้เรื่องมากขึ้น จะเริ่มรู้ว่าต้องวางพล็อตยังไงถึงจะไม่งง ต้องเขียนยังไงถึงจะไม่งง เปิดเรื่องยังไงให้น่าสนใจ ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความตั้งใจ การฝึกฝน และความพยายามด้วยนะคะ ถ้าเรียนแล้วเอาตำรามานอนกอดเฉยๆก็คงไม่มีวันเก่งขึ้น เมื่อก่อนเราไม่เคยเชื่อเลยนะว่าไปสัมมนานู่นนี่นั่น ไปอบรมนั่นนี่โน่น แล้วความรู้จะดีขึ้น กระทั่งได้ไปอบรมหลายๆอย่าง ทำให้รู้เลยว่า...สนุกและได้ความรู้เพิ่มจริงๆค่ะ หรือถ้ารู้อยู่แล้วก็ช่วยอัดให้แน่นขึ้น ที่สำคัญคือ ช่วยเปิดโลกทัศน์เราให้กว้างขึ้น

0
ผ่านมา.. 17 ม.ค. 61 เวลา 04:47 น. 7

ขอถามคุณผู้ตั้งกระทู้ตรงๆ ครับ คุณตั้งกระทู้นี้เพื่อต้องการคำตอบ หรือเพียงเพื่อตอกย้ำ

สิ่งที่คุณคิด หากสิ่งที่คุณต้องการคือคำตอบ ซึ่งสามารถคิดได้หลากหลายมุมมอง ก็ไม่

ควรถามด้วยคำถามที่คับแคบเช่นนี้ครับ เพราะคุณจะไม่ได้อะไรเลยนอกจากสิ่งที่คุณคิด

ว่าคุณรู้แล้ว ซึ่งก็คือสิ่งที่คุณสื่อไว้ในคำถามเท่านั้น..


การถามที่ต้องการคำตอบควรถามในลักษณะขอความคิดเห็นครับ ไม่ใช่ถามในลักษณะ

ที่กำหนดให้ตอบได้เพียงมีไม่มี จำเป็นไม่จำเป็น ดีขึ้นหรือไม่ราวจูงจมูกให้ตอบเช่นนี้

คนอื่นจะรู้สึกอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมรู้สึกว่าคำถามลักษณะเช่นนี้ในบอรด์นี้ เป็นการ

ถามที่หยาบคาย หากตรงและแรงเกินไปบ้างก็ขอโทษด้วย..

4
ASICH 17 ม.ค. 61 เวลา 06:37 น. 7-1

ถามเพราะอยากรู้คำตอบครับ^^


ปล.รบกวนตั้งคำถามแบบไม่หยาบคายจากประเด็นที่ผมอยากทราบได้ไหมครับ ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่าจะถามให้สุภาพขึ้นได้อย่างไร


ขอบคุณครับ^^

0
ผ่านมา.. 17 ม.ค. 61 เวลา 14:15 น. 7-2

เฮ้ออ..ปากคันจนโดนเข้าแล้ว ก่อนอื่นก็ขอขอบคุณครับที่ไม่ถือโทษโกรธเคืองกัน

หรืออาจจะโกรธแต่ก็คอมเม้นท์ด้วยถ้อยที่สุภาพ ทว่าคนที่มีความรู้น้อยนิดและสื่อ

สารด้วยความรู้สึกเช่นผม คงไม่สามารถจะชี้แนะผู้ใดได้ ผมเพียงคอมเม้นท์จาก

ความรู้สึกที่ได้รับจากคำถาม ตามลำดับดังนี้ครับ..


1.ท่านมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเขียนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด


คำถามข้อนี้ให้ความรู้เหมือนไม่ได้ถาม คล้ายคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เพราะรู้คำ

ตอบอยู่แล้วว่าย่อมต้องมีทั้งกลุ่มที่ไม่มีและมี ส่วนกลุ่มที่มีย่อมมีทั้งมากและน้อยต่าง

กันหลายระดับ


2.ต่อให้ท่านมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี ท่าคิดว่ามันจำเป็นต่อการเขียนนิ

ยายไหม


คำถามทำให้ต้องตรึกตรองเล็กน้อย และแม้จะคิดว่าความรู้ด้านทฤษฎีการเขียนที่ต้อง

ร่ำเรียนในชั้นเรียน เพียงสามารถครอบคลุ่มการเขียนนวนิยาย ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ

วิถีชีวิต อารมณ์ และการกระทำต่างของมนุษย์ ที่สามารถปรวนแปรได้ตามภาวะตาม

สถานะที่เร่งเร้าได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่มีความสำคัญถึงระดับที่สามารถจำกัดความ

ด้วยคำ "จำเป็น" ได้ แต่ก็ไม่อาจปฏฺเสธได้ว่าความรู้ในศาสตร์ทุกสาขา ย่อมสามารถ

เอ้อประโยชน์แก่ผู้ทั้งสิ้น ทว่าความสงสัยเริ่มเพื่มระดับเป็นความรู้สึกถึงการชี้นำ


3.ถ้าท่านมีความรู้อยู่บ้าง หรือไม่มีเลย แล้วถ้าได้เรียน คิดว่าจะทำให้งานเขียนดีขึ้น

ไหม


คำถามนี้ก็เช่นกันเป็นคำถามที่ทุกคนต่างก็รู้คำตอบ ดั่งที่กล่าวในข้อสองคือ ความรู้

ไม่ว่าจะเป็นสาขาใด ย่อมสามารถเอื้อประโยชน์ต่อผู้รู้ได้ทั้งสิ้นครับ ทั้งหมดนี้คือสิ่ง

ผมรู้สึกและคอมเม้นท์ไป หากทำให้ขุ่นเคืองก็ขอโทษอีกครั้ง คงต้องขอตัวไปหลับ

นอนแล้วครับ เพราะตั้งแต่เช้าเมื่อวานจนบัดนี้ยังไม่ได้นอนเลย..บายครับ






0
ASICH 17 ม.ค. 61 เวลา 16:15 น. 7-3

ใจเย็นครับ ไม่ได้เคืองอะไรเบอร์นั้น


เพียงแต่ การใช้คำถามก็เป็นเรื่องของ 'ความต้องการได้รับคำตอบเพื่อวิเคราะห์ครับ'


1.ท่านมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเขียนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด


คำถามข้อนี้ให้ความรู้เหมือนไม่ได้ถาม คล้ายคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เพราะรู้คำ

ตอบอยู่แล้วว่าย่อมต้องมีทั้งกลุ่มที่ไม่มีและมี ส่วนกลุ่มที่มีย่อมมีทั้งมากและน้อยต่าง

กันหลายระดับ


------- จากข้อนี้ จะทำให้ผมได้คำตอบว่า มี และ ไม่มี


จากคำถามข้อนี้ มันจะทำให้ได้คำตอบที่เป็นไปได้ 2 แบบ



2.ต่อให้ท่านมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี ท่าคิดว่ามันจำเป็นต่อการเขียนนิ

ยายไหม


-------- ใจเย็นครับ คำถามมันปลายปิด แล้วคนที่ตอบว่า 'จำเป็น' ก็ไม่ได้แปลว่า 'คิดว่าจำเป็น 100%' ส่วนคนที่ตอบว่า 'ไม่จำเป็น' ก็ไม่ได้แปลว่า 'คิดว่าไม่จำเป็น 100%'


ผู้ตอบเมื่อชั่งใจแล้ว ว่าความคิดฝั่งไหนของตนกินน้ำหนักมากกว่า ก็จะตอบออกมาในฝั่งนั้น


เช่น คิดว่าไม่จำเป็น 60% แต้ก็คิดว่าจำเป็น 40% ก็จะตอบออกมาว่า 'ไม่จำเป็น หรือ ไม่ค่อยจำเป็น'


จากคำถามข้อนี้ ผมจะได้ความเป็นไปได้อีก 2 ครับ


3.ถ้าท่านมีความรู้อยู่บ้าง หรือไม่มีเลย แล้วถ้าได้เรียน คิดว่าจะทำให้งานเขียนดีขึ้น

ไหม


----- อันนี้ก็ไม่ต่างกันข้อ 2 ครับ แล้วผมต้องเรียนว่า 'ไม่ใช่ทุกคนจะตอบเหมือนกันนะครับ' ลองดูที่คอมเม้นท์ได้เลย


จากคำถามข้อนี้ ผมจะได้ความเป็นไปได้อีก 2 ครับ




เมื่อรวมคำตอบทั้ง 3 ข้อ ผมจะได้ความเป็นไปได้ทั้งหมด 2 x 2 x 2 = 8 ความน่าจะเป็น


ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์ครับ



นี่คือเหตุผลที่ใช้คำถามปลายปิดครับ



0
ผ่านมา.. 17 ม.ค. 61 เวลา 20:30 น. 7-4

55555..ขอบคุณครับที่กรุณาอธิบายด้วยถ้อยคำ ซึ่งสื่อถึงอารมณ์อันสงบเยือกเย็น

ทั้งจุดประสงค์ด้วยเหตุผล ทำให้รุ้สึกคลายกังวลและสนกสนานกับการแลกเปลี่ยน

มุมมองของกันและกัน ขอบและโชคดี..บายครับ

0
อัจฉราโสภิต 17 ม.ค. 61 เวลา 05:02 น. 8

อยู่ที่คนอ่านด้วยครับ


มีแล้วงานดีขึ้นไหม วัดด้วยตัวแปรตามทฤษฎีทั้งหลายมันก็ควรจะดีขึ้น


แต่ถ้าคนอ่านไม่สนใจว่าจะดีไม่ดี คำผิดบาน เนื้อเรื่องไม่สมเหตุสมผล ตัวเอกเทพทรู ปมไม่ต้องมีเกรียนไปวันๆ ยังไง แต่ถูกจริตฉันก็จะอ่าน ต่อให้ดีตามทฤษฎีไปก็ไม่มีผลต่อยอดเสียงตอบรับครับ ดีไม่ดีจะแย่ลงเอาด้วย เพราะ “ฉันอ่านนิยายเพื่อคลายเครียด จะเอาความสมเหตุสมผลไปทำไม”


ไม่ใช่แค่ในวงการนิยายไทยเท่านั้น วงการหนังแม้แต่ในต่างประเทศก็มีแบบนี้เหมือนกัน ประมาณว่าหนังเนื้อหาดี แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าเนื้อหางั้นๆ


แต่เท่าที่ดู ในไทยชัดเจนที่สุด ไม่งั้นคงไม่มีละครน้ำเน่าออกมาซ้ำๆ เรื่องเดิมแนวเดิมกันเป็นสิบรอบ และคงไม่มีหนังของผู้กำกับมือทองที่หยาบคายตลอดทั้งเรื่องแถมเอาเด็กด่าตำรวจมาแสดง

0
ผ่านมา.. 17 ม.ค. 61 เวลา 05:23 น. 9

ขอโทษครับพล่ามจนลืม สิ่งที่ผมบอกว่าสามารถมองได้หลายมุมมอง คือที่มาและแง่คิด

ของคำว่าทฤษฎ๊ครับ เพราะผมเชื่อว่าทฤษฎีที่บางคนอาจเข้าว่า เป็นสิ่งที่ต้องร่ำเรียนใน

โรงเรียนหรือจากตำราเท่านั้น ก็สามารถเกิดขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตได้ด้วย ทั้งยังมีประ

สิทธิภาพไม่ยิ่งหย่อนกว่าตำราเรียนแม้แต่น้อย โดยเฉพาะเรื่องวิถีชีวิตและคำว่ามนุษย์

ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่สุดของนวนิยาย..บายครับ

0
lilin4646 17 ม.ค. 61 เวลา 05:32 น. 10

1. มีปานกลาง เคยไปอบรมการเขียนมา 2. ไม่จำเป็นเลย เพราะถ้าอ่านหนังสือมากๆ ทำความเข้าใจมากๆ มันจะเกิดขึ้นเองอยู่แล้ว เดิมผมสร้างทฤษฏีการเขียนของตัวเองขึ้นมาจากสังเกตและอ่านหนังสือทั้งแต่ตอนเริ่มเขียนหนังสือได้สัก 1 ปี ซึ่งมันก็เหมือนกับอะไรที่ไปอบรมมาเลย จนมีช่วงนึงคิดว่าจะไปอบรมทำไมเนี่ย...


3. สำหรับผม ผมอยากไปเรียนเพิ่ม เผื่อจะมีอะไรช่วยให้เขียนได้ดีขึ้นบ้าง แต่ต้องเป็นคอร์สที่อยากไปมากจริงๆ เท่านั้น เอาตรงๆ ผมอยากรู้พวกวิธีการทำตลาด วิธีการเขียนหนังสือให้ขายได้เยอะๆ มากกว่า เพราะถ้าจะยึดอาชีพนักเขียนเป็นหลักเนี่ย การเขียนหนังสือให้จบเป็นเรื่องที่ง่ายสุดแล้ว ขายสิยาก


0
white cane 17 ม.ค. 61 เวลา 08:08 น. 11

1. ท่านมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเขียนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

ตอบ เมื่อก่อนผมไม่มีเลย เขียนไปตามที่คิดว่าถูก แต่ความจริงเขียนผิด โดยเฉพาะใช้คำซ้ำ อย่างเช่น โผล่,ขึ้น,เหนือ,ผลุด,ผุด เป็นต้น แม้ว่าจะมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ใช้ต่างกัน ส่วนเรื่องการวางโครงเรื่อง คิดเอาไว้แค่ ตอนต้น ตอนกลาง ตอนจบ และที่เหลือก็คิดเอาแค่หาเหตุผลรองรับนิดหน่อย สุดท้ายก็ต้องวกกลับมาแก้ไขใหม่ทั้งเรื่อง ตอนนี้แก้ไขมานาน 4 ปี แล้วเนี่ย

2. ต่อให้ท่านมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี ท่านคิดว่ามันจำเป็นต่อการเขียนนิยายไหม

ตอบ ความจริงถ้ามีความรู้ย่อมดีกว่า ส่วนคนที่ไม่ได้ศึกษาวิธีการเขียน อาจลำบากมากกว่า ซึ่งผมสัมผัสมาแล้ว แล้วบางคนที่เห็นมาก็ออกนอกทะเลไปเยอะเพราะลืมวางเป้าหมายของเรื่องให้ชัดเจน

3. ถ้าท่านมีความรู้อยู่บ้าง หรือไม่มีเลย แล้วถ้าได้เรียน คิดว่าจะทำให้งานเขียนดีขึ้นไหม

ตอบ ถ้าได้เรียนรู้จะทำให้การเขียนดีขึ้น แต่เอาเข้าจริงเรียนไปก็มีส่วนช่วยได้เพียงบางส่วน ถ้ามันเป็นเพียงทฤษฎี ไม่ใช่การปฏิบัติลงมือทำจริงๆ ก็เหมือนการขับรถ ต่อให้ศึกษาในหน้ากระดาษมากแค่ไหนก็ไร้ประโยชน์ ถ้าไม่ได้ลองขับด้วยตัวเอง ซึ่งผมก็ใช้ทั้งสองอย่าง แต่ส่วนใหญ่ผมชอบทำภาคปฏิบัติมากกว่า เพราะมันทำให้เห็นผลได้จริงในการเปลี่ยนแปลงการเขียน ส่วนทฤษฎี เป็นเหมือนอาจารย์คอยชี้แนะเท่านั้น ตัวเราจะสามารถนำไปใช้ได้จริงมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับฝีมือแล้ว

ปล. ส่วนใหญ่ก่อนมาเป็นนักเขียน จะพัฒนามาจากนักอ่านก่อน ฉะนั้นจะมีพื้นฐานอยู่พอสมควรอยู่แล้ว ขาดเพียงการปฏิบัติและคำชี้แนะอีกเล็กน้อยเท่านั้น หัวข้อข้างบนจึงมีส่วนช่วยได้เพียงเล็กน้อย เว้นเสียแต่นักอ่านคนนั้นไม่ชอบเขียนและไม่ชอบอ่านมาก่อนเหมือนอย่างผม

0
ปีศาจหัวโต 17 ม.ค. 61 เวลา 09:42 น. 12

1. ท่านมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเขียนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

มีบ้างฮับ มีหนังสือสองสามเล่มที่เคยอ่าน เพื่อดูเทคนิคการเขียน ^ ^

.

2. ต่อให้ท่านมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี ท่านคิดว่ามันจำเป็นต่อการเขียนนิยายไหม

สำหรับเราจำเป็นเพราะเราไม่มั่นใจในการเขียนเลยต้องศึกษาเพิ่มเติม แต่สำหรับนักเขียนหลายท่านเหมือนจะไม่จำเป็นนะ เพราะพี่เราเริ่มจากเขียนฟิค แล้วก็เขียนนิยายได้หลายเล่มจบ ไม่ได้ศึกษาทฤษฎีอะไรเลยนอกจากอ่านนิยายที่ชอบหลายเล่ม อยากเขียนแล้วก็แค่ลงมือเขียนเท่านั้น (จะสนุกหรือไม่ ดีไม่ดียังไง แต่เขียนจบเป็นเล่มๆ ออกรวมเล่มได้ ก็เรียกได้ว่าเป็นนักเขียนแล้วใช่มั้ยล่ะฮับ)

.

3. ถ้าท่านมีความรู้อยู่บ้าง หรือไม่มีเลย แล้วถ้าได้เรียน คิดว่าจะทำให้งานเขียนดีขึ้นไหม

ความรู้ก็มีอยู่บ้าง อ่านบอร์ดก็ได้ความรู้เยอะแยะแล้วอ่ะฮับ ถ้าสำหรับเรานะ ถ้าได้เรียนเนี่ย ถึงขั้นจริงจังขนาดนั้นก็ต้องเขียนดีขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อยล่ะนะ555

0
anolindee 17 ม.ค. 61 เวลา 10:23 น. 13

1. คิดว่ามีพอสมควรค่ะ เพราะชอบอ่านศึกษาตามเว็บ


2. คิดว่าจำเป็นประมาณหนึ่งค่ะ แต่ไม่คิดว่านักเขียนทุกคนจะตามทฤษฎีเป๊ะ ๆ ทุกคนและทุกครั้ง


3. คิดว่าแล้วแต่คนเลยค่ะ บางคนรู้ทฤษฎีแล้วรู้จักเอามาประยุกต์ใช้แล้วทำได้ดีก็น่าจะเขียนได้ดี บางคนอาจจะไม่รู้ทฤษฎีแต่มีประสบการณ์อ่านและ/หรือประสบการณ์ชีวิตเยอะก็อาจจะเขียนได้ดี บางคนไม่รู้ทฤษฎีซ้ำยังไม่มีประสบการณ์อ่านหรือเขียนอะไรมากมายก็อาจจะมีคนอ่านเพราะปัจจัยอื่น ๆ (เขียนตามกระแส หรือ ดวงดี หรือโปรโมตดี หรือ มีพรสวรรค์ หรืออะไรก็ว่าไป) ส่วนบางคนรู้ทฤษฎี มีประสบการณ์อ่านบ้าง แต่เขียนแล้วไม่มีคนอ่าน (เช่นเราเอง) ก็มีค่ะ

0
sunshadow 17 ม.ค. 61 เวลา 13:04 น. 14

1. ความรู้ด้านทฤษฎีนี่มีน้อยมากจนจะถือว่าแทบจะไม่มีเลยก็ได้ ขอโทษนะ หนูผิดเองที่เรียนสายวิทย์แล้วเขียนนิยายเป็นแค่งานอดิเรก ความรู้พวกการเขียนงานทางวิชาการก็มีอยู่หรอก แต่ความรู้ทางด้านการเขียนนิยายนี่... มันคืออาราย


2. ความรู้ด้านทฤษฏีจำเป็นไหม คิดว่าจำเป็นถ้าอยากให้งานออกมาดีมาก ๆ แต่ถ้าไม่สนใจ จะทำแค่งานอดิเรกก็ไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ หรืออ่านงานเขียนดี ๆ เยอะ ๆ เห็นรูปแบบดี ๆ เป็นแพทเทิร์นซ้ำ ๆ จนวิเคราะห์ออกมาใช้เองได้ก็น่าจะพอทดแทนได้เหมือนกัน


3. ถ้าไม่มีความรู้แล้วได้มาเรียนทฤฏีก็ต้องดีกว่าอยู่แล้วสิ ยังไงรู้ก็ดีกว่าไม่รู้อยู่แล้ว

0
peiNing Zheng 17 ม.ค. 61 เวลา 13:56 น. 16

1. ทฤษฎีการเขียน...ไม่ค่อยมีแฮะ แทบไม่รู้ว่าการเขียนเขามีทฤษฎีแบบไหน รู้แต่ทฤษฎี fiction ซึ่งที่จริงไว้ใช้กับการอ่าน แต่เอามาประยุกต์ใช้กับการเขียน (ถือว่าเข้าข่ายรู้ไหมหว่า)


2. คำถามนี้มากับลอจิกที่ใกล้เคียงกับการถามว่า จะขายของ คิดว่าทฤษฎีการตลาดจำเป็นต่อการขายของหรือเปล่า


3. คำถามนี้ก็คล้ายข้อ 2 ถ้าได้เรียนทฤษฎีการตลาด คิดว่าจะขายของดีขึ้นไหม


คือ คนจะขายของ แค่มีสินค้า มีที่จะขาย แล้วก็ปักหลักนั่งขาย ทำได้ไหม ขายได้ไหม ในแง่ความสามารถ ถือว่าขายได้ ส่วนผลประกอบการ ก็อาจจะได้บ้างไม่ได้บ้างก็ว่ากันไป


ทฤษฎีการตลาด สมมุติว่าเป็น 4P (product price place promotion) ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรใหม่ เวลาขายของก็มีสิ่งนี้อยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้รู้แบบเป็นลายลักษณ์อักษร รู้แบบใช้สัญชาตญาณ (สัญชาตญาณที่ว่าอาจมาจากการสั่งสม เช่น บ้านค้าขาย เห็นมาตั้งแต่เด็ก เป็นประสบการณ์ทางอ้อมมาตลอด)


ทีนี้พอเราเริ่มรู้จัก 4P มันช่วยให้โฟกัสได้มากขึ้นว่าจะขายของ เราควรมองจุดไหนบ้าง แล้วเริ่มใช้เจ้า 4P นี้ลองไปใช้ปรับปรุงการขายแบบลูกทุ่งที่เป้าหมายมีไว้พุ่งชน แต่ไม่ได้วางแผนเป็นกิจจะลักษณะให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น


ฉันใดก็ฉันนั้น การเขียนก็เหมือนกัน คนที่อ่านมาเยอะ ก็เปรียบเหมือนคนที่เห็นคนค้าขายมาเยอะ พอเริ่มลงมือเขียนงานตัวเอง อาจเริ่มได้ไม่ยากเพราะมีต้นทุนประสบการณ์อยู่ แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่ง การพัฒนาจะหยุดลง ของที่สั่งสมมาจะหดหาย (แล้วแต่ใครมีต้นทุนเท่าไร บางคนอาจใช้ไปได้ถึง 20 ปีก็ได้) 


การไม่รู้ทฤษฎี เมื่อถึงเวลาที่ทรัพยากรในตัวหมดลง อาจจะทำให้ข้ามกำแพงนี้ไปได้ยากเพราะไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไงต่อไป 


แต่ถ้ารู้ไว้ ก็เหมือนติดปีกให้ตัวเอง ช่วยให้ตัวเองมีทางเลือก เลือกที่จะชน เลือกที่จะเลี่ยง เลือกที่จะเน้น เลือกที่จะผ่อน หรือแม้แต่เลือกที่จะไม่เลือกก็ยังได้


สรุปว่า ไม่รู้ก็เขียนได้ คนเขาก็เขียนกันเยอะแยะ เผลอๆ สนุกกว่าคนที่แน่นทฤษฎีด้วย รับรองว่าไม่มีใครจะเป็นจะตายในความไม่รู้ทฤษฎีแน่นอนค่ะ เพียงแต่ถ้ารู้ก็เป็นทางเลือกให้ตัวเองในการพัฒนาสิ่งที่ตัวเองมีให้ไปได้ไกลจากเดิม แต่ต้องหัดเอาไปใช้ด้วยนะ ใช้ไม่เป็นก็ออกแนวความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดอีก


ก็แค่นั้นเองค่ะ


0
ปากกาเรืองแสง 17 ม.ค. 61 เวลา 16:03 น. 18
1. ท่านมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเขียนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

ตอบ ช่วงแรกที่มาเขียนนิยายใหม่ๆไม่มีความรู้อะไรเลยค่ะ เขียนแบบตามใจฉัน ไม่วางพล็อต ไม่ลำดับอะไรทั้งสิ้น และแน่นอนว่าล้มเหลวมาเยอะมาก ... เนื้อหาออกทะเล แถมไม่มีคนอ่าน ผูกปมเรื่องไม่น่าสนใจด้วย แต่พอเขียนมาเรื่อยๆ ค่อยๆเก็บสั่งสมประสบการณ์ทำให้เราเรียนรู้อะไรใหม่ๆได้หลายอย่างเลย เรารู้จักเขียนนิยายอย่างเป็นแบบแผนและเรียบเรียงเขียนพล็อตได้ดีขึ้น แน่นอนว่าเรามีทฤษฏีการเขียนอยู่เหมือนกันค่ะ ทั้งคนอื่นๆสอนมาและจากประสบการณ์ของตัวเอง แต่ถามว่ามีมากไหมขอตอบว่าพอๆตัวดีกว่าค่า ..


2. ต่อให้ท่านมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี ท่านคิดว่ามันจำเป็นต่อการเขียนนิยายไหม

ตอบ อันนี้แล้วแต่ความเห็นส่วนบุคคลเนอะ .. ส่วนตัวเราคิดว่ามีความรู้ในเชิงทฤษฏีเอาไว้บ้างมันก็ดีเหมือนกัน ส่วนถ้าถามว่ามันจำเป็นต่อการเขียนนิยายไหม สำหรับเราแล้วจำเป็นค่ะ แต่นักเขียนบางท่านก็ไม่ชอบที่จะยึดติดอยู่กับทฤษฏีอะไรมากมาย แล้วแต่สไตล์ของนักเขียนแต่ละคนมั้งคะ แต่ละคนย่อมมีความคิดและความชอบไม่เหมือนกันอยู่แล้ว


3. ถ้าท่านมีความรู้อยู่บ้าง หรือไม่มีเลย แล้วถ้าได้เรียน คิดว่าจะทำให้งานเขียนดีขึ้นไหม

ตอบ คิดว่าดีขึ้นค่ะ ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วถูกเพิ่มเติมด้วยความรู้ใหม่ๆมันก็ยิ่งทำให้เราเก่งขึ้น พัฒนางานเขียนให้ดีขึ้นตามมานั่นเอง


0
ชนุ่น 17 ม.ค. 61 เวลา 16:13 น. 19

1. ท่านมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเขียนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

>>> พอมีอยู่บ้างครับ้พราะอ่านหนังสือแนวหนังสือเรียนหรือหนังสือวรรณคดีเปรียบเทียบบ้าง แต่ก็ไม่มากเท่าไหร่


2. ต่อให้ท่านมีความรู้ หรือไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฎี ท่านคิดว่ามันจำเป็นต่อการเขียนนิยายไหม

>>> อันนี้ตามความเห็นผม ถ้ารู้ไว้ก็ไม่เสียหลาย มีประโยชน์เวลาอ่านหรือแก้ไขงาน แต่สำหรับการวิเคราะห์วิจารณ์ถ้ารู้องค์ประกอบหรือวิธีเกร็ดความรู้จะมีประโยชน์มาก แต่ถึงจะไม่รู้ก็สามารถสั่งสมหรือเรียนรู้จากประสบการณ์ได้ครับ


3. ถ้าท่านมีความรู้อยู่บ้าง หรือไม่มีเลย แล้วถ้าได้เรียน คิดว่าจะทำให้งานเขียนดีขึ้นไหม

>>> อันนี้จากประสบการณ์ ก็ไม่แตกต่างครับถ้าไม่ได้เขียนบ่อยๆ อ่านบ่อยๆ ฝึกฝนบ่อยๆ แต่อย่างที่บอกถ้าจะอ่านเพื่อวิจารณ์ควรรู้ไว้ดีกว่า



0
Pigeon Dreamer 17 ม.ค. 61 เวลา 16:20 น. 20

1.มีบ้างนะคะ แต่ไม่รู้ว่ามากหรือน้อย เช่น ระดับของภาษา การวางพล็อต พวกscene writing 2.ถึงเวลาก็หลุดออกนอกโลก รู้สึกว่าการทำตามทฤษฏีมันเขียนละไม่สนุกไม่เป็นตัวเรา 3.ถ้าให้เขียนเป๊ะทำไมไ่ด้ แต่ถ้าประยุกต์ใช้ก็ทำได้

0