Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

10 ข้อควรรู้ ก่อนไปเรียนหมอต่างประเทศ!

ตั้งกระทู้ใหม่


10 อย่างที่ต้องรู้ ก่อนไปเรียน “แพทย์ต่างประเทศ”  ‍‍‍‍

น้องๆคนไหนกำลังคิดว่า อยากไปเรียนแพทย์ต่างประเทศอยู่ หรืออยากรู้ว่าหมอต่างประเทศเป็นอย่างไร? 
กระทู้นี้จะเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อน้องๆอย่างแน่นอน โดยเราอาจจะเน้นตัวอย่างมหาวิทยาลัยแพทย์ในโปแลนด์ ทวีปยุโรปเป็นหลักนะคะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยยค่า...


 


1. Q: มหาวิทยาลัยผ่านการรับรองจากแพทยสภาไทยหรือไม่ 

A: มหาวิทยาลัยที่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาไทย หมายความว่า น้องๆที่ไปเรียนแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยนั้นๆ สามารถทำเรื่องขึ้นทะเบียนกับแพทยสภาก่อนที่จะไปเรียน เพื่อยืนยันสิทธิในการสามารถกลับมาเพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ไทยได้ โดยแบ่งทะยอยการสอบศรว.ทั้ง 3 ขั้นตามช่วงชั้นปีที่เรียนได้ คล้ายคลึงกับการเรียนแพทย์ในไทย หากสอบผ่านทั้ง 3 ขั้นตอน ก็จะได้ใบประกอบวิชาชีพและทำงานในไทยได้

แต่หากหลักสูตรยังไม่รับรอง น้องๆจะไม่สามารถแบ่งสอบใบประกอบได้ จะต้องเรียนจนจบก่อน หรือจะต้องทำเรื่องยื่นกับแพทยสภาโดยตรง ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานในการพิจารณาและหากหลักสูตรไม่ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน น้องๆอาจจะต้องฝึกงานเพิ่มจากปกติ ถึงจะมีสิทธิในการสอบศรว.ขั้นตอนที่ 1 ได้ ฉะนั้น สิ่งที่ควรตรวจสอบเป็นอันดับแรก คือการรับรองจากแพทยสภา 

น้องๆสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ผ่านการรับรองแล้วได้ที่เว็บไซต์ของแพทยสภา:http://tmc.or.th/news06_1.php 

สำหรับมหาวิทยาลัยแพทย์โปแลนด์ในโครงการของเราที่ผ่านการรับรองเป็นที่เรียบร้อย มี 4 แห่ง ดังนี้
1. Medical University of Lublin
2. Poznan University of Medical Sciences
3. Medical University of Warsaw
4. University of Warmia and Mazury in Olsztyn




2. Q: วุฒิการศึกษาได้รับการยอมรับจาก USA/UK/EU หรือไม่ 

A: นอกจากการยอมรับจากประเทศไทยแล้ว เราจะต้องตรวจสอบการรับรองจากองค์กรทางการแพทย์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างแพทยสภาแห่งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป หรือองค์กรระดับโลกอื่นๆ ซึ่งจะบ่งบอกถึงคุณภาพและการยอมรับในระดับสากลและ “โอกาส” ในการต่อยอดการทำงานในอนาคตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น 

ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ส่วนใหญ่ในประเทศโปแลนด์ผ่านการรับรองจากองค์กรสำคัญหลายแห่ง ทำให้สามารถต่อยอดได้ทั้งที่ USA, UK และ EU ตัวอย่างเช่น 

- US Department of Education 
- ECFMG
- Medical Board of California
- Association of American Medical Colleges
- Canada Students Loan Program
- European Union Council
- WHO 
- FAIMER





3. Q: การสอบเข้าสามารถวัดความรู้ของผู้เรียนได้จริงหรือเปล่า 

A: การสอบเข้าแพทย์ต่างประเทศในแต่ละที่มีความแตกต่างกัน หรือบางที่ไม่มีการสอบเข้า หากเรียนจบวุฒิที่มหาวิทยาลัยกำหนดก็รับเข้าได้เลย แต่ลักษณะนี้เป็นสิ่งที่เราไม่แนะนำเท่าไรนัก เพราะการเรียนแพทย์จะต้องมีการทดสอบความรู้ของผู้เรียนโดยสามารถวัดระดับความรู้ได้จริงและบ่งบอกถึงความพร้อมในการเข้าเรียนได้ 

ตัวอย่างเช่น แพทย์โปแลนด์จะเน้นการสอบวัดระดับความรู้วิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ซึ่งเป็นความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับการเรียนต่อแพทย์ในชั้นปีที่ 1 แบ่งออกเป็น

1. สอบข้อเขียน (อัตนัย) 
2. สอบสัมภาษณ์ 

โดยสอบเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อวัดทักษะการอ่านและการฟังภาษาอังกฤษ รวมถึงทดสอบจิตวิทยาของน้องที่จะเป็นนักศึกษาแพทย์อีกด้วย





 
4. Q: “เข้าง่าย” แต่ “จบยาก” หรือไม่

A: สืบเนื่องจากข้อที่แล้วคือ หากการสอบเข้าไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีเกณฑ์การรับเข้าที่ชัดเจน เช่น หากเป็นหลักสูตรที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีการกำหนด requirement ภาษาอังกฤษ อาจทำให้เป็นปัญหาเรื่องการสื่อสารและทำความเข้าใจในระหว่างเรียนได้ หรือรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยโดยไม่มีการสอบเข้าและจัดการเรียนปรับพื้นฐาน (Pre-course) ให้ก่อนเปิดเทอม (ยกเว้นการพิจารณาวุฒิในระดับสูง เช่น จบวุฒิ IB หรือจบปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้ว มหาวิทยาลัยบางแห่งอาจยกเว้นการสอบเข้าหรือ requirement บางประการได้) หรือเรียกง่ายๆว่า “เข้าง่าย” จนเกินไป 

แต่ในทางกลับกัน เมื่อน้องๆเดินทางไปถึงต่างประเทศเพื่อเรียนตามมหาวิทยาลัยเหล่านั้น หลายคนจะประสบปัญหาว่า เรียนยากจนเกินไป หรือเมื่อสอบตก ก็อาจถูกเชิญออกได้ รวมถึงรุ่นพี่ในชั้นปีก่อนหน้า ก็ถูกเชิญออกปีละหลายสิบหรือหลายร้อยคน เพราะมาตรฐานการตัดเกรดที่สูงและเข้มงวดเป็นอย่างมาก เช่น จากชั้นปีที่ 1 รับนักศึกษาเข้าไป 500 คนต่อรุ่น แต่สามารถจบการศึกษาได้ไม่ถึง 100 คนหรือคิดเป็น 20 % หรือเรียกได้ว่า “จบยาก” นั่นเอง

ฉะนั้น น้องๆที่กำลังสนใจไปเรียนต่อแพทย์ต่างประเทศ ต้องมีความระมัดระวังและตรวจสอบให้ชัดเจนว่า เกณฑ์การรับเข้าเป็นอย่างไรและโอกาสที่จะเรียนจนจบได้มีมากน้อยแค่ไหน โดยสำรวจจากจำนวนรุ่นพี่ที่ไปเรียนจนจบการศึกษาได้ มิฉะนั้น อาจทำให้น้องต้องเสียเวลาและเสียเงินโดยไม่จำเป็น หรือบางคนอาจจะเสียกำลังใจ และรู้สึกท้อจนไม่อยากเป็นแพทย์ไปเลยก็ได้




5. Q: การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตรจริงหรือ 

A: การเรียนแพทย์ในหลักสูตรนานาชาติหรืออินเตอร์ คือต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสอน “ตลอดหลักสูตร” แต่จะมีบางประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เปิดสอนหลักสูตรอินเตอร์เฉพาะการเรียนในชั้น Basic science เท่านั้น แต่การจะขึ้นเรียนในชั้นคลินิก จะต้องเรียนเป็นภาษานั้นๆ เพื่อพูดคุยกับคนไข้ หรือบางครั้งสอนปนกัน 2 ภาษา โดยอาจมีการสอบวัดระดับความรู้ภาษานั้นๆก่อนขึ้นชั้นคลินิก ซึ่งข้อนี้อาจเป็นอีกหนึ่ง “อุปสรรค” ที่ทำให้นักศึกษาแพทย์บางส่วนไม่สามารถเรียนจนจบการศึกษาได้ หรือต้องใช้เวลาเพิ่มมากกว่าหลักสูตรที่กำหนดอีกหลายปี นอกจากนั้น ควรพิจารณาว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษนี้ เปิดมายาวนานกี่ปี เพราะจะแสดงถึงความเสถียรของหลักสูตรที่เปิดมาและความพร้อมของคณาจารย์ผู้สอนอีกด้วย 

ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ประเทศโปแลนด์ทั้งที่ Lublin, Poznan และ Warsaw ล้วนเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษมายาวนานกว่า 20 ปี และสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร เมื่อขึ้นชั้นคลินิก จะมีอาจารย์ผู้สอนคอยช่วยแปลความเมื่อพูดคุยกับคนไข้ให้ แต่น้องที่เรียนภาษาโปลิชเพิ่ม ก็จะช่วยทำให้ทราบข้อมูลจากคนไข้ได้มากขึ้น แต่ไม่ถือเป็นการบังคับ

 


6.6.636.7QQ: การเรียนชั้นคลินิกได้ฝึกกับคนไข้จริงหรือไม่ ggr

A: การเรียนแพทย์ ต้องพิจารณาจนถึงการเรียนระดับชั้นคลินิก การฝึกกับคนไข้จริงในต่างประเทศอาจไม่ได้ฝึกในการรักษาเท่ากับแพทย์ที่ไทย เนื่องด้วยกฎหมายการคุ้มครองผู้ป่วยที่แตกต่างกัน แต่อาจจะมีบางแห่งที่กำหนดไม่ให้จับคนไข้เลย เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองที่ค่อนข้างเข้มงวดมาก ซึ่งอาจทำให้ความรู้ในการกลับมาสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับคลินิกที่ไทยไม่เพียงพอ ดังนั้น ต้องพิจารณาประเทศที่อนุญาตให้ฝึกกับคนไข้จริงบ้าง เช่น ประเทศโปแลนด์ เป็นต้น





7 Q: สถิติในการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพแพทย์เป็นอย่างไร 

A: ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเรียนในหลักสูตรของประเทศใด ล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องสอบใบประกอบวิชาชีพของประเทศที่เราต้องการทำงานให้ผ่านทุกขั้นตอน ดังนั้น สถิติในการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนั้นๆถือเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยและหลักสูตรการเรียนการสอนได้อย่างเด่นชัด 

เช่น Poznan University of Medical Sciences ที่โปแลนด์ มีอัตราในการสอบผ่านใบประกอบแพทย์ดังนี้

- อัตราสอบผ่านใบประกอบฯแพทย์อเมริกาขั้นที่ 1 USMLE สูงถึง 85% 
- อัตราสอบผ่านศรว.ขั้นที่ 1 ของไทย 100% 

เหล่านี้ถือเป็นผลมาจากการออกแบบหลักสูตรตามแบบของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเอื้อต่อการสอบใบประกอบวิชาชีพทั้งของอเมริกาและไทย





8. Q: ค่าเทอม-ค่าครองชีพสูงไหม

A: ในส่วนของค่าเทอมแพทย์หลักสูตรอินเตอร์สามารถดูรายละเอียดได้ใน https://www.facebook.com/LIEMGTH/posts/1979480092267769

สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 3 กลุ่ม
1. ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เช่น อเมริกา, อังกฤษ, ออสเตรเลีย ค่าเทอมเฉลี่ยประมาณ 1,800,000 บาทต่อปี ส่วนค่าครองชีพสูงกว่าไทย ประมาณ 2-4 เท่า

2. ประเทศในโซนยุโรปกลาง เช่น โปแลนด์ ค่าเทอมเฉลี่ยปีละ 400,000 – 500,000 บาทต่อปี ค่าครองชีพใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ 

3. ประเทศในโซนเอเชีย เช่น จีน ฟิลิปปินส์ ค่าเทอมเฉลี่ยปีละ 150,000 – 250,000 บาทต่อปี ค่าครองชีพถูกกว่าหรือใกล้เคียงกับไทย





9. Q: ความปลอดภัยมีมากน้อยเพียงใด 

A: ความปลอดภัยในที่นี้ อาจพิจารณารวมถึงสภาพแวดล้อม อัตราการเกิดอาชญากรรม ตลอดจนระบบการคมนาคมพื้นฐานในแต่ละประเทศ โดยอาจประเมินจากดัชนีสันติภาพโลก (Global Peace Index) อ้างอิงจาก http://visionofhumanity.org/ 

เช่น จากสถิติปี 2016 ประเทศโปแลนด์จัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 22 ของโลก คือความปลอดภัยในระดับสูง และอัตราการเกิดอาชญากรรมต่ำ และจะสังเกตได้ว่า มีหลายประเทศที่อยู่ในลำดับสูงๆจะอยู่ในโซนยุโรปกลาง เพราะเป็นประเทศที่ค่อนข้างสงบและเศรษฐกิจดี จึงไม่เกิดอาชญากรรมมากนัก




10: Q: บริษัทที่แนะนำไปเรียนมีความน่าเชื่อถือและความเชี่ยวชาญในการดูแลตลอดหลักสูตรหรือไม่

A้: ข้อนี้นับว่ามีความสำคัญที่สุดสำหรับการไปเรียนต่อ “แพทย์ต่างประเทศ” เพราะการเรียนแพทย์แตกต่างจากการเรียนสาขาทั่วๆไป เนื่องจากมีขั้นตอนเรื่องของการสอบใบประกอบวิชาชีพที่ค่อนข้างซับซ้อน และต้องอาศัยบริษัทที่แนะนำไปเรียน/ตัวแทนของมหาวิทยาลัย หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความน่าเชื่อถือ และมีประสบการณ์ในเรื่องการแนะแนวการเรียนต่ออย่างถูกต้อง ครอบคลุม และชัดเจน สามารถนำเสนอข้อมูลของนักศึกษา ทั้งการสอบเข้า สถิติการเรียนจบ ขั้นตอนการฝึกงาน การสอบใบประกอบวิชาชีพ และโอกาสในการทำงานทั้งไทยและต่างประเทศได้อย่างแม่นยำ รวมถึงข้อมูลของมหาวิทยาลัยและหลักสูตรโดยละเอียด เพราะข้อมูลทุกอย่างมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจและ “อนาคต” ในการเป็นแพทย์ของน้องๆ นอกจากนั้น จะต้องคำนึงถึงเรื่องการทำ “วีซ่า” ไปเรียนยังต่างประเทศอีกด้วย 

ข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 1-10 นี้เป็นเพียงคำแนะนำส่วนหนึ่งจากบริษัท "Lin’s International Medical Consulting" ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนต่อแพทย์และทันตแพทย์ในระดับแนวหน้าของทวีปเอเชีย ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยแพทย์ในโปแลนด์มากกว่า 6 แห่งและผู้บริการนักศึกษาแพทย์และทันตแพทย์ “ตลอดหลักสูตร” แบบ FULL SERVICE ระยะยาว ตั้งแต่เริ่มสมัครเข้ามาในโครงการ จนกระทั่งเรียนจบการศึกษา และแนะแนวการต่อยอดในอนาคต 

หากน้องๆมีคำถามเพิ่มเติมสามารถส่งเข้ามาได้ในข้อความ DM หรือติดตามข่าวสารการแพทย์ใหม่ๆที่  https://www.facebook.com/LIEMGTH/
 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น