Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากแต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์ ขอคำแนะนำหน่อยครับ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ผมวางแผนไว้ว่าจะแต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชวงศ์จักรีสักเรื่อง ก็ได้แรงบันดาลใจจากนิยายอิงประวัติศาสตร์หลายเรื่อง (โดยเฉพาะเรื่องสี่แผ่นดินของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช) แต่ที่ผมอยากแต่งนี่จะเล่าถึงเหตุการณ์ตั้งแต่สมัย ร.5 แล้วเหตุการณ์ดำเนินมาถึงปัจจุบัน ในเรื่องผมอยากพูดถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การเมือง กฎหมาย แล้วก็ปัญหาสังคมในแต่ละยุคสมัย


ความจริงแล้ว ที่มาที่ไปของการอยากแต่งนิยายแนวนี้คือ ปัญหาการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ที่พบเห็นในสังคมปัจจุบัน ผมมองเห็นว่าการไม่เคารพสถาบันหลักของชาติเนี่ยมันเป็นปัญหาสำคัญของชาติบ้านเมืองในขณะนี้ เลยอยากแต่งเรื่องสะท้อนสังคมสักหน่อย แต่กลัวคนไทยจะเข้าใจเจตนาผมผิดว่าเอาเรื่องไม่ดีมาเผยแพร่ (ทั้งๆ ที่ตั้งใจทำเพื่อปกป้องสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของประชาชน) อีกมุมมองหนึ่งที่ผมอยากจะเขียนลงไปก็คือ การสะท้อนให้เห็นภาพการตกเป็นเหยื่อทางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ สำหรับประเด็นนี้ ตอนนี้ผมก็กำลังพยายามศึกษาจากหลายช่องทาง (รวมทั้งสี่แผ่นดินที่ผมบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาด้วย) บางคนอาจจะมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนหากต้องพูดในที่สาธารณะ แต่ผมทนไม่ได้ที่เห็นการโจมตีสถาบันเบื้องสูงมาตั้งแต่รัชกาลก่อน ถึงแม้ว่าในใจอยากจะปกป้องสถาบันแค่ไหน แต่อีกใจก็คิดว่าไม่มีประโยชน์ที่ต้องเถียงกับคนพวกนี้ ก็เลยหาวิธีสู้ทางอื่นด้วยการแต่งนิยายสะท้อนปัญหานี่แหละ (ไม่รู้จะใช้คำว่าเสียดสีดีรึเปล่า)

ที่ผมแพลนไว้คือ อยากจะโฟกัสไปที่ช่วงผลัดแผ่นดินระหว่าง ร.5-ร.6 กับ ร.9-ร.10 (บอกแล้วว่ามีเรื่องของปัจจุบันด้วย) เพราะเคยรับรู้มาว่า ช่วงผลัดแผ่นดิน 2 ช่วงนี้ มีความคล้ายกันหลายอย่าง เลยอยากจะนำสภาพสังคมและวิถีชีวิตคนไทยในช่วงนั้นมาเปรียบเทียบกัน ส่วนเหตุการณ์ในรัชสมัย ร.7-ร.8 ขอเล่าเฉพาะช่วงที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ อย่างการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สงครามโลกครั้งที่ 2 ฯลฯ

อีกประเด็นที่สำคัญก็คือ จะให้ในเรื่องมีการพูดถึงการกลับชาติมาเกิดใหม่ เพราะถ้ามองตามความเป็นจริง คนที่เกิดสมัย ร.5 แล้วยังมีชีวิตอยู่จนถึงตอนนี้จะมีสักกี่คนในประเทศไทย ก็เลยแบ่งเรื่องออกเป็น 2 ช่วง คืออดีตกับปัจจุบัน ตัวละครที่ดำเนินเรื่องใน 2 ช่วงนี้ก็จะไม่เหมือนกัน ยกเว้นพระเอกที่เป็นปู่ทวดกลับชาติมาเกิดใหม่เป็นเหลนตัวเอง (พระเอกตอนเป็นปู่ทวด เกิดในสมัย ร.5 ตายสมัย ร.9 ตอนเป็นเหลนเกิดหลังปู่ทวดตาย 1 ปี) แล้วก็ตั้งใจว่าจะแต่งให้ครอบครัวพระเอกเป็นข้าราชการกันทุกคนด้วย


สุดท้ายนี้ ผมมีชื่อเรื่องอยู่ในใจแล้ว แต่ไม่รู้มันฟังดูโจ่งแจ้งเกินไปไหม ชื่อเรื่องว่า เดจาวู106 ความหมายคือเหตุการณ์สำคัญที่ผมตั้งใจจะเขียนถึงทั้ง 2 ครั้ง เกิดขึ้นในระยะเวลาห่างกัน 106 ปี (ถ้าใครจำได้ ปฏิทินเดือนตุลาคมของทั้ง 2 ปี ตรงกันด้วย)


ใครเป็นเซียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ เคยเขียนหรือชอบอ่านนิยายแนวนี้ ขอคำแนะนำดีๆ ภายใต้ขอบเขตที่ผมวางไว้สำหรับนิยายที่ผมวางแผนจะแต่งหน่อยนะครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

peiNing Zheng 15 พ.ค. 61 เวลา 08:01 น. 1

เอาจริงๆ นะ แนะนำว่าพับโปรเจ็กต์นี้ไว้ก่อนเถอะค่ะ


ระยะเวลาใกล้เกินไปโดยเฉพาะรัชกาลที่แล้ว เขียนที่ห่างออกไป คนในยุคนั้นไม่อยู่แล้วจะดีกว่าค่ะ

0
Death With Love 15 พ.ค. 61 เวลา 10:18 น. 2

ถ้าเป็นเรื่องราวในรัชสมัยที่เพิ่งผ่านพ้นไป ผมคิดว่าเขียนเป็นบทความเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงดีกว่านิยายครับ


ส่วนนิยาย ขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องแต่ง ถึงจะอิงความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ก็ยังหมิ่นเหม่ได้ง่ายครับ

สถาบันเป็นเรื่องละเอียดละอ่อน หากจะเขียนแสดงความเชิดชู ผมมองว่าเขียนบทความเหมาะสมกว่า


// กรณีบุพเพสันนิวาส เป็นประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านมาเนิ่นนาน ความตะขิดตะขวงใจเลยไม่เท่าไร

0