Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วัดดังในจังหวัดนนทบุรี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

วัดสนามเหนือ

เลขที่ 24 ซอย แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 19 ตำบลปากเกร็ด อำเภอ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120
 

วัดสนามเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์หลังขุดคลองลัดเกร็ด เดิมชื่อ “วัดสนาม” เมื่อพม่าบุกยึดนนทบุรีวัดก็กลายเป็นวัดร้างจนได้ตั้งเป็นวัดใหม่เมื่อ 24 มี.ค.2372 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 12 เม.ย. 2412 วัดสนามเหนือ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลัดเกร็ด ภายในวัดมีพระอุโบสถ์ที่งดงามลานพระพุทธรูปใต้ต้นโพธิ์และพระพุทธรูปปางเกศธาตุหรือพระพุทธรูปปางตะเบ๊ะ ที่มีอายุมากกว่า 400 ปีที่ได้นำออมาจากวิหารเก่าเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มากราบสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
 

วัดชลประทานรังสฤษฏ์

ถนนติวานนท์-ปทุมธานี ตำบล บางตลาด อำเภอ ปากเกร็ด นนทบุรี 11120

 

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 เมื่อหม่อมหลวงชูชาติ กำภู “บิดา

แห่งชลกร” อธิบดีกรมชลประทาน ไปเยี่ยมชมวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ ได้ฟังการแสดงธรรมของพระปัญญานันทภิกขุ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดอุโมงค์ในขณะนั้น และเลื่อมใสวิธีการสอนธรรมะแนวใหม่ของท่าน จากเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรม แบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก

กรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ “วัดชลประทานรังสฤษดิ์” เมื่อ พ.ศ 2503 ที่ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อแทนวัดที่ชำรุดทรุดโทรม (วัดเชิงท่า และวัดหน้าโบสถ์) ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ดินเวนคืนเพื่อสร้างกรมชลประทาน และได้อาราธนาพระปัญญานันทภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสใน พ.ศ. 2503
 

วัดบัวขวัญ
 



เลขที่ 1 หมู่ที่ 9 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

 

เป็นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนา ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และพัฒนาเป็นวัดในสมัยของพระครูปรีชาเฉลิม (หลวงปู่แฉ่ง) จากวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นวัดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2435 โดยใช้ชื่อว่า “วัดสะแก"

ต่อมามีผู้บริจาคที่ดินสร้างวัดเพิ่ม คือ นายบัวฉุนเฉียว จึงได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อ “วัดบัวขวัญ” เพื่อเป็นเกียรติแก่นายบัว และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2506 ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 พระมหาไสว สุขวโร (ป.ธ.๔) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางแพรก (เหนือ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโสภณสุตาลังการ ซึ่งได้พัฒนาวัดทั้งด้านถาวรวัตถุ ทางด้านการศึกษาจนเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๑ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ในวันที่ 29 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2551 เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน


วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ซอย วัดเฉลิมพระเกียรติ ตำบล บางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000
 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร" ขึ้นในพื้นที่อันเป็นนิวาสถานเดิมของพระอัยกา (ตา) พระอัยกี (ยาย) และพระราชมารดาของพระองค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่บุคคลทั้งสามวัดแห่งนี้มีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหารสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2390 และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปีพ.ศ.2536 จากสมาคมสถาปนิกสยามภายในวัดมีความน่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นพระอุโบสถแบบไทยผสมจีนที่สร้างขึ้นตามพระราชนิยมหลังคามุงกระเบื้องรางดินเผาเป็นลอนลูกฟูกแบบจีนหน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบสีสดลายใบดอกพุดตานช่อฟ้าใบระกาประดับกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีนซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตานภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมาเป็นพระประธานปางมารวิชัยหล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ข้างพระอุโบสถขนาบด้วยพระวิหารหรือวิหารพระศิลาขาวซึ่งประดิษฐานพระศิลาขาวและการเปรียญหลวงที่ด้านในประดิษฐานพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์ทรงลังกาฐานแปดเหลี่ยมสองชั้นโดยบรรจุพระบรมธาตุไว้ภายใน
 

วัดท้ายเมือง

เลขที่ 41 ถนน นนทบุรี 1 ตำบล สวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000
 

วัดท้ายเมืองสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2352 เจ้าพระยารัตนาธิเบศ กุน สมุหนายก ในสมัยรัชกาลที่ 2 อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. 2352 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 2 ชั้น วิหารสร้างเมื่อ พ.ศ. 2477 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัย พระประธานประจำศาลาการเปรียญปางสมาธิ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 พระแท่นจำลอง พระเจดีย์รอบอุโบสถ และพระปรางค์ประจำวันเกิด

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

pondza1234 7 มิ.ย. 61 เวลา 09:47 น. 2

ตัวอย่างวิธีการทางประวัติศาสตร์


การปฏิวัติ พ.ศ.2475


https://image.dek-d.com/27/0389/6272/126954591https://image.dek-d.com/27/0389/6272/126954592

https://image.dek-d.com/27/0389/6272/126954836

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก


ทางคณะผู้จัดทำได้ทำตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ ดังนี้


กำหนดปัญหา

ศึกษาเพื่อหาสาเหตุและหลักการของการปฏิวัติ พ.ศ.2475


ค้นหาและรวบรวมข้อมูลหลักฐาน


สาเหตุของการปฏิวัติ

1.เศรษฐกิจตกต่ำ

2.ความขัดแย้งระหว่างสามัญชนกับพระราชวงศ์

3.แนวคิดที่ได้รับจากตะวันตก

4.อิทธิพลของสื่อมวลชน


หลักการของคณะปฏิวัติ

1.หลักเอกราช  จะรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางการศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง

2.หลักความปลอดภัย จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก    และสร้างความสามัคคีของคนในชาติ

3.หลักเศรษฐกิจ จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4.หลักเสมอภาค จะให้ราษฎรมีสิทธิเสมอหน้ากัน ไม่ให้ผู้ใดมีสิทธิเหนือผู้อื่น

5.หลักเสรีภาพ จะให้ราษฎรมีอิสระที่จะใช้สิทธิ ผู้ใดจะบังคับมิได้

6.หลักการศึกษา จะให้การศึกษาแก่ราษฎรอย่างทั่วถึง


การตรวจสอบหลักฐาน

จากการตรวจสอบหลักฐานชั้นรองของเว็บไซต์ต่างก็พบว่ามีหลักฐานที่ใกล้เคียงกัน แสดงว่าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง มีความเชื่อถือได้


ตีความหลักฐาน

จากการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมีข้อดีข้อเสียดังนี้


ข้อดีของประชาธิปไตย


1. เปิดโอกาสให้ประชาชนข้างมากได้ดำเนินการปกครองโดยประชาชนข้างน้อยมีสิทธิคัดค้านการปกครองของฝ่ายข้างมาก

2. เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอภาคกัน

3. ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครองโดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคนไม่ว่าคนมั่งมีหรือยากจน

4. ช่วยระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและระหว่างประชาชนด้วยกันเองโดยสันติวิธี โดยมีศาลเป็นผู้พิพากษาคดีต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายช่วยให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีกฎหมายเป็นกรอบความประพฤติทุกคน


ข้อเสียของประชาธิปไตย


1. มีความล่าช้าในการตัดสินใจทำการต่างๆต้องมีการปรึกษาและผ่านขั้นตอนมากเช่น ต้องแก้ไขปรับปรุงจึงจะบังคับใช้เป็นกฎหมาย

2. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองมากเช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา หรือเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

3. อาจนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายได้ ถ้าประชาชนส่วนมากในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยไม่รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพให้อยู่ภายในกรอบของกฎหมายอาจทำให้ประเทศเจริญช้าลง


https://image.dek-d.com/27/0389/6272/126954590

0