Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Shinkanzen ที่ว่าแน่ยังแพ้รถไฟฟ้าแม่เหล็ก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
          ชีวิตนี้หลายคนคุณชื่อกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงชินคันเซ็น ในประเทศญี่ปุ่นแดนอาทิตย์อุทัย ที่มีความเร็วสูงถึง 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่ก็ยังแพ้รถไฟพี่จีนชื่อว่า Shanghai Meglev ที่มีความเร็วสูงถึง 431 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลายคนคงสงสัยใช่ไหมล่ะครับ ทำไมมาเร็วได้ขนาดนั้นมายังไงละนั่น “ม้ามืด” แต่มันมีที่มาที่ไปครับ

ด้านบนคือรูปรถไฟฟ้าความเร็วสูง Shinkanzen

ประวัติศาสตร์รถไฟฟ้าแม่เหล็กเริ่มต้นจากลุงหนวดจิ๋มสองคนชื่อว่า “Robert goldard” และ “emile bachelet” ได้เสนอความคิดยานพาหนะลอย ใช้แม่เหล็กทำให้ Hermann kemper นำความคิดต่อยอดจนได้จดสิทธิบัตร levitating train คือรถไฟฟ้าแม่เหล็กที่แกจดไว้เฉยๆแล้วเริ่มทำจริงในปี 1960

รูปด้านบนคือ Robert  กับ Emile ผู้คิดค้นไอเดียยานพาหนะลอยใช้แม่เหล็ก

 รูปด้านบนขวาคือ Hermann kemper ผู้จดสิทธิบัตรรถไฟฟ้าแม่เหล็กคนแรก 

            ประเทศหลายๆ ประเทศเริ่มสนใจในตัวรถไฟฟ้าแม่เหล็กเกิดการแข่งขันระหว่าง เยอรมัน กับ ญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นคิดค้นรถไฟสองแบบคือ ML-500 กับ MLU วิ่งได้ 483 Km/hr ล่าสุด MLX วิ่งได้ 553 Km/hr แต่ยังไม่ได้เปิดบริการทางฝั่งเยอรมนีคิดค้นจนสามารถเปิดตัวรถไฟชื่อ transrapid วิ่งได้ 402 Km/hr แต่เสียดายรัฐบาล ล้มเลิก project นี้ในปี 2000 ทำให้พี่จีนเห็นโอกาสคว้าตัวไปสร้างรถไฟแม่เหล็กในชื่อ shanghai meglev ที่ได้ชื่อว่าเป็นรถไฟฟ้าแม่เหล็กที่เร็วที่สุดในโลกที่ให้บริการอยู่

รูปบนซ้ายคือรถไฟ Transrapid09 ในประเทศเยอรมัน บนขวาคือรถไฟ MLX ของญี่ปุ่น

รูปด้านล่างคือรถไฟ Shanghai Mehlev ในประเทศจีน

โดยหลักการทำงานหกจะแบ่งเป็นฝั่งคือฝั่ง MLX และฝั่ง transrapid จากประเทศญี่ปุ่นกับเยอรมันจะเป็นสามขั้นตอน ลอยตัว (lecitation) พุ่ง/ออกตัว (propulsion) และ นำร่องตามทาง (guidance) 

รูปด้านบนซ้ายคือรูปแรงต่างๆที่กระทำกับตัวรถไฟฟ้าแม่เหล็กทั้ง แบ

รูปด้านขวาเป็นระบบ Electromagnetic Suspension ที่มีทั้งแรงผลักและแรงดูดของรถไฟ MLX

ลอยตัว (Levitation)

-ฝั่ง transrapid จะใช้ระบบ electromagnetic suspension (ems) ไม่ใช่ระบบไปรษณีย์นะครับ 555  โดยใช้แม่เหล็กแรงสูงดูดกันดังรูป ข้อดีคือติดตั้งง่าย แต่ ข้อเสียคือจะไม่เสถียรเท่าความเร็วสูงเนื่องจากมีเพียงแรงที่ทางเดียวที่ยกรถไฟ ต้องติดตั้ง complex feedback Control system ถึงจะไปด้วยความเร็วสูงได้

-ฝั่ง MLX จะใช้ระบบ electrodynamic suspension จะมีโครงลวดสร้างสนามแม่เหล็กอยู่ด้านข้างราง จะเกิดแม่เหล็กเมื่อใส่กระแสไฟฟ้าไปในขดลวดเหมือนกับเรื่องไฟฟ้าแม่เหล็กตอนมอปลายทำให้เกิดแรงคอยผลักและดูดให้รถไฟลอยตัวอยู่ได้ ข้อดี เสถียรที่ความเร็วสูง ช่วงข้อเสียค่าใช้จ่ายการติดตั้งสูงต้องมีความเร็วนึดนึงถึงลอยได้

Propulsion พุ่ง/ออกตัว

รูปด้านซ้ายส่วนประกอบรางรถไฟฟ้าแม่เหล็ก MLX

รูปด้านขวาเป็นหลักการใช้แรงแม่เหล็กขับเคลื่อนรถไฟ

-ฝั่ง MLX การออกตัว จะใช้อุปกรณ์ดังนี้ 1. แหล่งจ่ายไฟ 2. ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (ข้างราง) 3. แม่เหล็กขนาดใหญ่วางอยู่ใต้รถไฟ จะใช้การจ่ายไฟกระแสสลับไปในขดลวดด้านข้างรางเกิดเป็นขั้วแม่เหล็ก N/S สลับไปมาเกิดแรงผลักให้ไปข้างหน้าของรถไฟดังรูป

รูปข้างบนคือ ระบบ Linear Motor ที่เอาจาก Rotary Motor(มอเตอร์แบบหมุนมาแปลงนั่นเอง

-ฝั่ง transrapid ใช้ระบบ Linear motor มอเตอร์แนวราบโดยซึ่งเป็น มอเตอร์ไฟฟ้าที่คลี่ แล้วแผ่ออกในแนวราบปกติจะหมุนตามแม่เหล็กรอบๆ เปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่ไปตรงๆ จากสนามแม่เหล็กในรางเหนียวนำเกิดสนามแม่เหล็กในใต้ท้องรถไฟเกิด แรงแม่เหล็กนั่นเอง (F=ILB) ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้ ในรายละเอียดจริงๆ จะลึกกว่านี้มีศัพท์เฉพาะมากแอดก็ไม่เข้าใจเหมือนกันทำให้พูดได้แค่นี้

Guidance (นำร่องตามทาง)

-ฝั่ง transrapid จะใช้แม่เหล็กสองตัวติดด้านข้างทางรถไฟเพื่อผลักสองข้างให้รถไฟสมดุลได้

-ฝั่ง MLX การนำร่องอยู่ตรงกลางตามทางจะมาพร้อมกับระบบรออยู่แล้วเนื่องจาก เวกเตอร์แรงเฉียงขึ้นเวลาแตกแรง จะมีแรงยกขึ้นและแรงไปทางซ้ายขวาในขนาดเท่ากันทำให้รถไฟอยู่ตรงกลางได้(ตามรูปบนขวา)

หลายคนอาจจะคิดว่าพี่จีนมาแรงแซงทางโค้งจริงๆ” แต่ขอบอกว่า อนาคตอันใกล้นี้จะมีม้ามืดที่เร็วสุดยอดของจริงแบบ ตามไม่ติดฝุ่นก็เลยทีเดียวกลับมาทวงแชมป์คือ “ญี่ปุ่น

จากสำนักงานข่าว CNN วันที่ 19 ตุลาคม 2016  รายงานว่า ญี่ปุ่นทำลายสถิติทดลองรถไฟเร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 603 km/hr วิ่งไปเป็นระยะทาง 1.8 km ประมาณ 20 สนามฟุตบอลในเวลา 10.8 วินาทีโดยจะเปิดบริการในปี 2027 เรียกได้ว่า “เทคโนโลยีต้องยกนิ้วให้พี่เค้าจริงๆ

            จบไปแล้วนะครับกับเรื่องที่ห้าบ้านเขาไปนู่นนนนไกลมากหวังว่าเราจะได้นั่งรถไฟฟ้าแม่เหล็กบ้างนะ 55555 ใครอยากให้ทำเรื่องอะไรฝาก comment ด้านล่างกันด้วยถ้าทำได้นะ อิอิ แล้วอย่าลืมกดติดตามบล๊อกของผม(ตามรูป)https://fishcandidate.blogspot.com/  และ blog  Dek-d https://my.dek-d.com/lol1/blog/?blog_id=10278415 ของผมด้วยจะได้ไม่พลาดเรื่องใหม่ๆด้วยนะครับบบบ

อ้างอิง

-CORNELL WILSONMaglev: Magnetic Levitating Trains.

       สืบค้นจาก https://sites.tufts.edu/eeseniordesignhandbook/2015/maglev-magnetic-levitating-trains/

-จรัส บุญยรรมาระบบขับดันแม่เหล็ก.

       สืบค้นจาก http://www.atom.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/maglev-train/maglev-trainthai1.htm

-Linear Motor มอเตอร์แนวรราบ.

       สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%
B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A

-CNN NEWS. October 19, 2016. Japan maglev train sets world record

อ้างอิงรูปภาพ

       170106193021/95/magnetically-levitated-maglev-trains-by-israfil-jabrayilov-4-638.jpg?cb=148376587018 june 2018

- Hermann kemper. https://alchetron.com/cdn/hermann-kemper-ebe8d7c3-f11a-438e-af3c-8a0560fdcfb-  

       resize-750.jpeg18 june 2018

-Transrapid009 in Germany. https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0f/Transrapid-

       emsland.jpg/1024px-Transrapid-emsland.jpg. 18 june 2018

       fb0d9f2692e3-article.jpeg?=h5fb64c0ca62625b02c784ffe9a6bfc17%20}}. 18 june 2018

       /oxvBmU3Yw0k/s1600/1384363087_6.jpg. 18 june 2018

-Levitation, propulsion, and guidance in maglev. https://sites.tufts.edu/eeseniordesignhandbook/files/2015/04
       /ECE_SHP_Figure04_v1_CornellWilson.jpg18 june 2018

-การลอยตัวแบบ EDS Meglev. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%

       B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%9F#/media/File:JR_Maglev-Lev.png. 18 june 2018

       18 june 2018

-Lee. (2006).Rotary motor versus linear motor. https://sites.tufts.edu/eeseniordesignhandbook

       /files/2015/04/ECE_SHP_Figure07_v1_CornellWilson.jpg18 june 2018

- Lee. (2006). Guidance system of Transrapid and MLX https://sites.tufts.edu/eeseniordesignhandbook/files/

       2015/04/ECE_SHP_Figure08_v1_CornellWilson.jpg18 june 2018

แสดงความคิดเห็น

>