Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Part2: รีวิวประสบการณ์เตรียมสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ทั้งภาคไทยและอินเตอร์ (มธ.)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ต่อจากกระทู้นี้นะคะ https://www.dek-d.com/board/view/3861298/   


PART 2:  รีวิวประสบการณ์สอบตรงรัฐศาสตร์ (TCAS รอบ3)  และแนวข้อสอบ

         ขอเริ่มด้วย BMIR ก่อน อันนี้เราไปสอบตั้งแต่ 10 มีนาคม 2018 ละนะ แต่ด้วยความ effective ของระบบทีแคส ผลเลยพึ่งประกาศเมื่อ 13 มิถุนายน ระยะเวลาที่รอผลสอบคือ "สามเดือน"

         โดยปกติข้อสอบจะมีข้อช้อยส์ 50 ข้อ และ essay ประมาณ 1-2 topics (แล้วแต่ปี) ให้เวลา 2 ชั่วโมง

ปีที่เราไปสอบ ออก ความรู้รัฐศาสตร์ 25 ข้อ + Reading 25 ข้อ ส่วนเอสเส ให้เลือกเขียน1 เรื่อง จาก 3 topics
*ทั้งหมดออกเป็นภาษาอังกฤษ* มีน้องถามมาเยอะว่าสอบเป็นภาษาอะไรคะพี่ เราสอบอินเตอร์มันต้องเป็นอิ้งสิคะรู้กก

ความรู้รัฐศาสตร์ : ปีนี้ออกแต่องค์กร เหตุการณ์ต่างๆ และถามลึกมาก แต่ก็มีปล่อยข้อง่ายมาบางข้อ
 ตัวอย่างข้อสอบ *จำช้อยส์ไม่ได้* (ขอขอบคุณเพื่อนในคณะคนนึงมากกก นางจำออกมาเกือบหมด ความจำดีเกินมนุษย์มนา)
- ประเทศอะไรไม่อยู่ใน APEC
- ใครที่ขึ้นเป็นนายกหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา
- OIC คืออะไร
- เหตุการณ์อะไรไม่ได้เกิดขึ้นใน cold war
- ออกเรื่อง SDGs แต่จำไม่ได้ว่าถามว่าอะไร
- ใครไม่ได้เป็น President of USA
- ประเทศอะไร Sunni น้อยที่สุด
- เหตุการณ์อะไรไม่เกี่ยวกับ Richard Nixon
- ประเทศอะไรไม่อยู่ใน G7
- ข้อใดไม่เกี่ยวกับ Paris Agreement 2015 เรื่อง climate change
- ถามเกี่ยวกับ GMS (Greater Mekong Subregion)
- ละก็มีข้อที่ถามว่าข้อใดถูก ช้อยส์พูดถึงวาระที่ปูตินดำรงตำแหน่งมา กับเรื่องที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สีจิ้นผิงดำรงตำแหน่งได้มากกว่า 2 สมัย
- ประเทศในอาเซียนที่บริหารโดย Prime Minister มี่กี่ประเทศ (ไม่ก็โดย president นี่แหละ เราจำไม่ได้ละ)

Reading : เอาจริงเป็นพาร์ทที่ไม่รู้จะรีวิวยังไงเลยเพราะอ่านไม่รู้เรื่องและเสียเวลากับรีดดิ้งเยอะมาก เป็นความรู้สึกแบบที่อ่านจบแล้วหืมมมม อ่านใหม่แล้วก็ยังหืมม เอาไรมาให้อ่านอ่ะยู! ด้วยความที่มันมี technical terms อยู่เยอะประมาณนึงเลยอ่ะ จำบทความไม่ได้เลยค่ะขอโทษจริงๆ เราเก็บพาร์ทนี้ไว้ทำทีหลังสุดเพราะมันเยอะมาก มีหลายหน้า เวลาก็ใกล้จะหมด ยกให้เป็นพาร์ทที่ยากที่สุดในข้อสอบ ถ้าปีหน้าๆโชคดีหน่อยก็อาจจะมีพาร์ทนี้แค่ 5-6 ข้อ  (ตัวอย่างคำถามก็มีถาม tone ของผู้แต่ง, true/ false/ not given, คล้ายๆ SAT ENG เลยแต่เป็นหัวข้อการเมืองแทน)

ESSAY : อย่างที่บอกว่าให้เลือกทำ 1 ข้อจาก 3 topics โจทย์ที่ออกคือ (จริงๆ โจทย์เป็นอิ้งนะคะ แปลไทยมาให้เฉยๆ)
*คะแนนปรนัยสูงสุด 200 ลำดับแรกถึงมีสิทธิ์ตรวจเรียงความ(อ้างอิงจากของปี2561/ dek61)*
1. โควทคำพูดของสีจิ้นผิงมาออกประมาณว่า “การที่คนจีนทุกคนร่วมมือกัน มีเป้าหมายเดียวกัน จะนำประเทศจีนไปสู่ความสำเร็จ” เห็นด้วยกับโควทนี้หรือไม่ (โจทย์จริงยาวมาก 5 บรรทัดได้)
2. Freedom political is more important than economic equality. Do you agree or disagree?
3. อภิปรายข้อดีกับข้อเสียของ Donald Trump’s American first

 
ต่อไปเป็นรัฐศาสตร์ภาคไทย สาขาการระหว่างประเทศ

(อันนี้เราสอบแบบไม่หวังอะไรเท่าไหร่เพราะไม่ได้อยากเข้าภาคไทยแต่ติดเฉย ติดแบบงงๆ น่าจะโชคช่วย)
               ของภาคไทยสอบเมื่อ 24 มีนาคม 2561 หลัง BMIR 2 อาทิตย์ เราไม่ได้อ่านหนังสือเพิ่มจากตอนสอบอินเตอร์เลย

*ภาคไทยมีแค่พาร์ทความรู้รัฐศาสตร์ 100 ข้อ(ข้อสอบเดียวกันทุกสาขา) กับพาร์ทเรียงความ 2 หัวข้อ หัวข้อของแต่ละสาขาจะแตกต่างกันไป *

ความรู้ก็แนวๆเดียวกับ BMIR แต่มันจะเพิ่มพวกสาขาบริหารรัฐกิจ กับการปกครองมาด้วย ถ้าเทียบกันเราว่าภาคไทยออกกว้างและเยอะกว่าอินเตอร์ ให้เวลาทำมากกว่าด้วย เพราะแบ่งเป็น ข้อช้อยส์สอบเช้า ข้อเขียนสอบบ่าย  So, ไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ทัน

ในส่วนข้อช้อยส์เราแทบจำอะไรไม่ได้55555555555 (จะพยายามไปหาข้อสอบมาแปะเพิ่มให้นะคะ)

-แต่อย่างน้อยก็รู้ว่าสิ่งที่ควรจำไปเพิ่มคือพวกข้อมูลคณะ อธิบการบดี สีประจำคณะ  มีออกนะคะ
- เนื่องจากทุกสาขาใช้ข้อสอบปรนัยชุดเดียวกัน ต่อให้เข้าสาขาการเมืองการปกครอง ก็ควรอ่านข่าวIR อ่านความรู้พื้นฐานของบริหารรัฐกิจไปด้วย เรียกง่ายๆว่าอ่านไปให้หมดจ้า
 
ต่อกันที่พาร์ทเรียงความ มาดูหัวข้อเรียงความของแต่ละสาขากัน (ขอบคุณข้อมูลจากไลน์กลุ่มสิงห์แดง70)
*คะแนนปรนัยสูงสุด 125 ลำดับแรกถึงมีสิทธิ์ตรวจเรียงความ*

สาขาการระหว่างประเทศ

1. นโยบายต่างประเทศของคสช.มีลักษณะอย่างไร สร้างผลกระทบทางบวกทางลบอย่างไรบ้าง และส่งผลยังไงต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2. จากกระแสอนุรักษ์นิยมที่กำลังทวีความรุนแรงและแพร่หลายไปทั่วโลก ผลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งอภิปรายตัวอย่างประกอบ

สาขาการเมืองการปกครอง

1. จงอภิปรายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างกรุงเทพมหานครและขอนแก่นมาพอสังเขป
2. ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน(ปี61) เปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้อย่างไร

สาขาบริหารรัฐกิจ

1. การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน คนรุ่นใหม่จะมีการนำทักษะหรือกระบวนการมาเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและการดำเนินชีวิตการทำงานอย่างไร
2. หวย 30 ล้าน ของครูปรีชากับหมวดจรูญเกี่ยวข้องกับค่านิยมหรือหลักบริหารรัฐกิจอย่างไร

ความรู้สึกตอนสอบ: เหนื่อยค่ะ เราไปหาที่สงบๆนั่งอ่านหนังสือแล้วหาทางกลับไม่ได้ เลยต้องรีบวิ่งกลับมา กว่าจะเข้าห้องสอบ ก็เลทไปประมาณ10 นาที นั่งพักหายใจอีก 10 นาทีแล้วถึงเริ่มทำข้อสอบ ต้องบอกก่อนว่าเราไม่เคยฝึกเขียนเรียงความของภาคไทยมาก่อน เพราะอยากเข้าอินเตอร์ ในเรียงความที่เราเขียนไปเลยมีศัพท์อิ้งปนๆไปด้วย ตรงนี้ทำให้เราคิดว่าตัวเองไม่ติดแน่นอน ไปๆมาๆ ได้คะแนนพาร์ทเรียงความเยอะซะงั้น (+ตอนทำเราไม่รู้สึกรีบอะไรเลยนะ เราว่าเขาให้เวลาเยอะมากถ้าเทียบกะอินเตอร์  คือหักลบกับเวลาที่เราเข้าห้องสาย นั่งชิวแปปๆ เรายังเขียนเสร็จก่อนเวลา ครบตามจำนวนหน้ากระดาษที่เขาให้เขียน)

รีวิวการสอบสัมภาษณ์ BMIR

               เนื่องด้วยสอบตรงของทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์นับเป็น TCAS รอบ3 เหมือนกัน ถึงแม้ว่าเราจะติดทั้งสองภาค แต่เรามีสิทธืยืนยันไปสัมภาษณ์ได้แค่ที่เดียว
หลังประกาศผลแอบลังเลนิดหน่อย เพราะจากที่ฟังมา หลายคนบอกว่าภาคไทยเรียนแน่นกว่า แต่เราอยากได้สภาพแวดล้อมที่มันเป็นภาษาอังกฤษไง สุดท้ายเลยยืนยัน BMIR ไป

                เราไปสอบสัมภาษณ์มาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2561 ที่มธ.ท่าพระจันทร์ค่ะ (ใครขี้เกียจอ่านน้ำๆ ข้ามไปตรงเนื้อหาคำถามที่สัมภาษณ์เลยค่ะ)
(การเดินทางคือเรานั่งบีทีเอสไปลงสถานีราชเทวี แล้วต่อแท็กซี่ไปประมาณ10นาที แปปปปปเดียวถึง)

ตอนไปถึงก็ตื่นเต้นนิดนึง สารภาพว่าใช้ชีวิตปิดเทอมได้คุ้มค่ามาก นอนทั้งวันและไม่ตามข่าวเลยค่ะ ก็เลยนั่งอ่าน BBC ตอนขาไป ช่วงนั้นข่าวดังๆก็มีเรื่องการประชุมของทรัมป์-คิมที่สิงคโปร์วันที่12 มิถุ./ Malaysia Election/ ประชุม G7
พอไปเจอเพื่อนคนอื่นก็ยิ่งกังวลเพราะเขาดูเตรียมตัวกันมาดีมากกกก เพื่อนก็นั่งคุยข่าว แลกเปลี่ยนกัน บลาๆ ฟังตอนนั้นคือไม่เข้าหัวแล้วจ้า ดังนั้นใครไม่อยากกังวลมากก็เตรียมข่าวให้ดี และไม่ควรไปฟังเพื่อนเยอะค่ะ เพราะเราจะแพนิคกับความจีเนียสของเพื่อนบางคน

ต่อมาถึงขั้นตอนลงทะเบียน ทางคณะให้เราเอาแค่บัตรประชาชนและผลสอบภาษาอังกฤษไปค่ะ (พอร์ตไม่ต้องก็ได้ค่ะ ซึ่งถ้าใครประวัติดีมากจะทำไปก็ไม่เสียหาย แต่เราก็ไม่ชัวร์ว่าเขาจะเปิดอ่านมั้ยนะ) ที่ต้องเอาผลสอบภาษาอังกฤษไปด้วย เพราะว่าเราจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเรียนบางวิชาค่ะ (เช่น พวกภาษาอังกฤษพื้นฐาน) ถ้าคะแนนถึงเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้

หลังจากลงทะเบียนเสร็จก็เข้าไปในห้องที่พวกรุ่นพี่เตรียมไว้ให้ค่ะ เป็นช่วงเวลาที่จะกดดันที่สุด รุ่นพี่ก็เปิดเพลงสบายๆให้ฟังค่ะ แต่ตอนนั้นเป็นจุดที่เพลงรีแล็กซ์ไม่ช่วยให้ผ่อนคลายแล้ว เราได้คิวสัมภาษณ์ที่ 34 ค่ะ ตอนแรกก็เบาใจว่าเห้ยเราไม่ใช่คนแรกๆ ไปๆมาๆ รุ่นพี่เขาประกาศว่า ครูที่มาสัมภาษณ์วันนี้มี 17 คน และสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว คือครู1คนต่อนักเรียน1คน ! ผ่านไปสักพัก 17 คนแรกก็ไปสัม หมายความว่าเรารออีกแค่รอบเดียวก็ถึงคิวเราแล้ว555555
พอถึงรอบของเราพี่เค้าก็มาเรียกไปนั่งรอหน้าห้องสัมภาษณ์(เมื่อไหร่จะได้สัม ตื่นเต้นโว้ย) ทีนี้มีคนเคยบอกเราว่าตอนไปสัมไม่ต้องแต่งหน้าไปค่ะ เราก็ไปแบบซีดเป็นศพเลย จนพี่หน้าห้องบอกว่าเติมลิปหน่อยมั้ยรู้ก ดังนั้นน้องผญแต่งหน้าไปนิดนึงก็ดีเด้อ5555555555
 
โอเค ถึงพาร์ทสัมภาษณ์สักที

                เป็นจังหวะพอดีที่มีคนลุกจากโต๊ะอาจารย์ต่างชาติที่พี่ๆเล่าให้ฟังว่าใจดี เราเลยได้สัมกับจารย์คนนี้ สบายใจขึ้นมาห้าเท่าได้5555555 (อาจารย์ไทยบางคนโหดง่ะ)  เราก็โผล่หน้าไป say hello ปกติแล้วขออนุญาตนั่ง


เริ่มด้วยคำถามเบสิคคือแนะนำตัว

- ทริคตรงนี้คือ เราอยากให้เขาถามเรื่องอะไรให้เราแนะนำตัวแล้วเน้นไปทางด้านนั้นค่ะ เช่นเราสนใจในรัฐศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องจีนอะไรงี้  อาจารย์เขาจะถามต่อเกี่ยวกับจีน ทำให้ต่อยอดบทสนทนากันไปได้เรื่อยๆ ในส่วนของเรานั้น เราบอกไปประมาณว่าเราสนใจรัฐศาสตร์ตั้งแต่เกรด 5 และไม่เคยคิดอยากเข้าคณะอื่นเลย

ทำไมถึงสนใจรัฐศาสตร์ล่ะ เหตุผลอะไรที่ทำให้หลงใหลศาสตร์นี้ (ตอนแรกเราใช้คำว่าว่า fascinated ไป มันทำให้เราดูมีแพชชั่นกับสิ่งนี้มากกว่าแค่คำว่า like)

- เราคิดว่ามันน่าเหลือเชื่อดีที่การตัดสินใจเล็กๆสามารถส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้ได้ แล้วพอเราศึกษาไปลึกๆเราจะเห็นว่าทุกเหตุการณ์บนโลกใบนี้มีความเกี่ยวข้องกันทางใดทางหนึ่ง และเหมือนที่ Aristotle พูดว่า man by nature is a political animal มนุษย์กับการเมืองจึงเป็นสิ่งคู่กัน บลาๆ

ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่มันส่งผลกระทบต่อกัน

- เราก็พูดเรื่องเกาหลีเหนือกับเมกาไป ว่ามันเริ่มยังไง ไปเกี่ยวอะไรกับจีน ส่งผลกระทบต่อเกาหลีใต้ยังไง แล้วมันจะ effect this world ยังไง

ความเป็นไปได้ของสงครามระหว่างมหาอำนาจเมกา-จีน ว่าจะเกิดขึ้นได้มั้ย  

- เราบอกไปว่าถ้าเป็นแบบที่ยิงกันตู้มต้าม โอกาสเกิดน้อยมาก แต่ถ้าเป็นเรื่องของ economic war ในรูปแบบของ cold war ก็เป็นไปได้

ถ้ามันเกิดขึ้นจริง คุณคิดว่าใครจะชนะ

จากความรู้ที่เรามี เป็นไปได้สูงว่าจีนอาจจะได้เปรียบ พร้อมเหตุผลซัพพอร์ตอีกนิด

ตามข่าวฝั่งยุโรปบ้างมั้ย

-  เราบอกว่า G7นี่นับเป็นยุโรปมั้ย เขาบอกไม่นับเพราะมันจัดที่แคนาดาอ่ะ (จากความคิดเราคือมันมีชาติยุโรปเข้ามาเกี่ยวข้องไง เลยคิดว่าได้) ตรงนี้ก็ไปต่อไม่เป็นเหมือนกันไม่ได้เตรียมข่าวยุโรปเลย

ทำไมถึงเลือกมหาลัยนี้

- แน่นอนว่าที่นี่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับด้านนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ call attention เรามา นอกจากคณะนี้จะเป็นจุดแข็งของมหาลัยแล้ว เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการเมืองไทยก็เกิดขึ้นที่นี่  และ make change ให้กับสังคมไทย สักวันนึงเราอยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นบ้าง มหาวิทยาลัยนี้เลยเป็นเหมือน inspiration ของเรา

ทำไมถึงต้องเป็นโปรแกรมนี้ ภาคไทยไม่ดีเหรอ 

-เพราะโลกเราเป็น globalization  ไม่ได้มีแค่ประเทศไทยประเทศเดียว การเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ใช้กันทั่วโลกมันจึงสำคัญ ทั้งต่อชีวิตประจำวันและอาชีพในอนาคต ไม่ใช่ภาคไทยไม่ดี เพียงแต่เราอยากใช้อิ้งให้ได้เหมือนเราเป็น native speaker พร้อมกับเรียนภาษาที่3 ไปด้วย, putting myself in the environment that everyone speaks English, learn in English น่าจะช่วยเราพัฒนาศักยภาพทางด้านนี้ได้ดีกว่า สร้างโอกาสในชีวิตได้มากกว่า

เนื่องจากเราพูดนานกว่าคนอื่นเยอะ(บางคน5นาที ก็เสร็จแล้ว) เค้าเลยบอกเท่านี้พอแล้ว มีคำถามอะไรเพิ่มเติมมั้ย (จริงๆอาจารย์ตอบยาวววววววมาก เราคัดมาแต่ main idea)

        - เราถามพวกภาษาที่3ไปว่าอะไรน่าเรียน ระหว่างญี่ปุ่น เยอรมัน เกาหลี แต่อาจารย์ตอบ จีน! เค้าก็บอกว่าการเรียนภาษาแพชชั่นเป็นเรื่องสำคัญมาก เค้าเคยเรียนสเปนแต่ไม่ค่อยชอบเลยเรียนต่อไม่ได้ กลับกัน เค้าเรียนฝรั่งเศสได้คล่องมาก เพราะมีแพชชั่นกับมัน เราเลยบอกไปว่า เราเรียนจีนไม่ได้หรอก เราเคยเรียนมาหกปีแล้วเรายอมแพ้ ยากเกิน จำไม่หมด5555555555 เค้าก็เลยบอกว่าลองดูไปก่อนแล้วกันว่าชอบวัฒนธรรมหรือประเทศอะไร ค่อยๆศึกษาจนเจอสิ่งที่เราชอบ
         - คำถามที่สองเราคือมีโปรแกรมแลกเปลี่ยนใช่มั้ย ถ้าเราสนใจด้านคสพระหว่างประเทศเราควรไปเรียนที่ไหน เค้าบอกมาหลายประเทศมาก เช่น UK ฝรั่งเศส อะไรราวๆนี้  ละก็บอกข้อดีของแต่ละที่มา
         -สุดท้ายเราถามว่าอาจารย์สอนวิชาอะไรเหรอ เค้าบอกเค้าสอนหลายอย่างมากกกแล้วก็ร่ายมาให้ฟัง สุดท้ายนางก็บอกว่าไว้เจอกันในคลาส เราเลยขอบคุณเค้า appreciateมากที่ให้คำแนะนำเยอะขนาดนี้ have a good day ไว้เจอกันค่า

*ไม่เครียดเลยระหว่างสัม มีลิ้นพันกับนึกคำบางคำไม่ออก คือคำมันง่ายนะ แต่ตอนนั้นนึกไม่ออกจริงๆค่ะ อาจารย์ก็ไม่ได้เร่งหรือกดดันอะไร ผ่านมาได้ด้วยดี ทุกคนที่ออกจากห้องสัมมาบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าชิวมาก!*
ในส่วนของการสอบสัมภาษณ์ภาคปกติ เท่าที่ฟังมาก็ชิวเหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะว่าปีนี้ทางทปอ.ไม่อนุญาติให้คัดเด็กที่ไปสัมภาษณ์ออก คำถามก็จะต่างกันไปแต่ละสาขา เอาเป็นว่าถ้าเขียนเรียงความรอดมาได้ สัมภาษณ์ก็รอดค่ะ ข้อสำคัญคือห้ามร้องไห้ออกจากห้องสัม และมั่นใจในตัวเองค่ะ

จบรีวิวการสัมภาษณ์

อ่านพาร์ท3 >>> https://www.dek-d.com/board/view/3861300/

อ่านพาร์ท1 >>> https://www.dek-d.com/board/view/3861298/   
 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

ออม 18 เม.ย. 66 เวลา 22:10 น. 1

แงง ไม่รู้ว่าพี่จะเห็นคำถามนี้มั้ย แต่หนูอยากรู้ว่า BIR TU INTER สอบสัมที่ไหนคะ ท่าพระจันทร์ หรือ รังสิต

1