Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แนะเเนวการเรียนต่อสายอาชีพ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

                            

นักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วมีทางเลือกในการศึกษาต่อทางด้านสายอาชีพอีกทางหนึ่ง นั่นก็คือศึกษาต่อในโรงเรียนอาชีวศึกษา ซึ่งใช้เวลาในการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษาวิชาชีพ เพื่อพัฒนากำลังคนระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือและระดับผู้ชำนาญการเฉพาะสาขาวิชาชีพ (ระดับเทคนิค) ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นผู้ปฏิบัติงานหัวหน้างานหรือเป็นผู้ประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระได้โดยเน้นการแก้ปัญหาสร้างองค์ความรู้ในอาชีพ มีบุคลิกภาพ คุณธรรมและเจตคติที่ดี หลังจากศึกษาจบแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อีก 2 ปี หรืออาจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี 4 ปีก็ได้เช่นกัน

สายอาชีพ คือ สายการศึกษาเฉพาะทาง โดยเน้นให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ หรือสมัครงานตามสาขานั้น ๆ ได้ ซึ่งถือว่าผู้ที่เรียนจบสาขาวิชานั้น ๆ เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานสำหรับประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ เช่น

หลักสูตร ปวช. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หลักสูตร ปวช. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

หลักสูตร ปวส. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

ระดับ ปวช. เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้น ๆ ซึ่งมีรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตามความรู้ที่เรียน ส่วนระดับ ปวส. เป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก ปวช. โดยเน้นความรู้เฉพาะมากขึ้นมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น

การศึกษาระดับสายอาชีพสามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญ คือ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งเป็นการพัฒนาการศึกษาตามลำดับขั้นสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไปเพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ

 

คุณสมบัติของผู้ศึกษาต่อในสายอาชีพ

1. เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานระดับมัธยมต้นหรือเทียบเท่า

2. เป็นผู้มีความสนใจศึกษาสายอาชีพ ต้องการประกอบอาชีพตามสาขาที่เรียน

3. เป็นผู้มีระเบียบวินัยในตนเอง

4. ชอบแสวงหาความรู้

5. เคารพและศรัทธาต่อสถาบันการศึกษาที่เรียน

6. อื่นๆ

สถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีพ

สถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีพมีทั้งภาครัฐและเอกชน

สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ยกตัวอย่างเช่น

1.สารพัดช่างตามจังหวัดต่าง ๆ

2.วิทยาลัยเทคนิคต่าง ๆ

3.โรงเรียนพาณิชการต่าง ๆ

4.วิทยาลัยการอาชีพต่าง ๆ

5.มหาวิทยาลัยราชมคลต่าง ๆ

การเรียนสายอาชีพดีกว่าสายสามัญอย่างไรบ้าง?

อย่างที่รู้กันดีว่าระบบการเรียนในประเทศไทยเมื่อจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ ม.3 แล้วก็จะมีเส้นทางการเรียนให้เลือกโดยถูกแบ่งออกหลักๆ เป็น 2 แบบ คือ แบบสายสามัญ กับ แบบสายอาชีพ การเรียนหลักสูตรสายสามัญก็คือการเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือที่เรียกว่าเรียน ม.4 – ม.6 ซึ่งรูปแบบการเรียนก็จะเน้นในเรื่องของวิชาการเป็นหลัก มีสายการเรียนให้เลือกเพื่อเตรียมจะเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป ส่วนสายอาชีพจะเป็นการเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. เป็นรูปแบบการเรียนที่เน้นในเรื่องของการจบไปแล้วสามารถทำงานได้จริงไม่ได้เน้นเรื่องของทฤษฎีมากเท่ากับการเรียนสายสามัญ เน้นภาคปฏิบัติการได้พบเจอกับสถานการณ์ที่จะต้องเจอจริงๆ ในการทำงานว่าเป็นอย่างไร ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจะเลือกเรียนในแบบใด

 

 

             ข้อดีมากกว่าสายสามัญในด้านใดบ้างก็พอสรุปออกมาได้ ดังนี้

 

                       1มีความรู้เฉพาะด้านที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริงดีกว่า – ต้องยอมรับว่าการเรียนสายอาชีพส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นในด้านการเรียนที่เน้นในเรื่องของวิชาชีพแต่ละชนิดโดยตรง เพราะฉะนั้นเมื่อนักเรียนสายอาชีพจบออกจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้จริงทันที อาทิ เรียนสายบัญชี เมื่อจบออกไปก็สามารถทำงานเป็นพนักงานบัญชีได้ทันที เรียนสายช่างยนต์ เมื่อจบออกไปประกอบอาชีพช่างยนต์ได้ ในขณะที่การเรียนสายสามัญส่วนมากจะเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ ทั้งหลาย ที่หากจบออกมาแล้วมันไม่สามารถประกอบอาชีพเฉพาะทางได้

                       2สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้อย่างรวดเร็ว – ต้องเข้าใจว่าหลายคนที่เลือกเรียนสายอาชีพก็มาจากการที่ต้องการมีงานทำได้อย่างรวดเร็วเพื่อหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว เพราะฉะนั้นหากเทียบการเรียน 3 ปี เท่ากับสายสามัญ สายอาชีพจะสามารถหางานที่มีเงินเดือนตามความต้องการของตัวเองได้ ขณะที่สายสามัญหากไม่ได้เรียนต่อก็ยากที่จะหาอาชีพที่ตัวเองต้องการรวมถึงเงินเดือนจะได้ไม่เท่ากับคนที่จบสายอาชีพด้วย

                        3ประสบการณ์ชีวิตที่เยอะกว่า – คำว่าประสบการณ์ชีวิตจริงๆ มันก็ขึ้นอยู่กับบุคคลที่จะเอาไว้เป็นประสบการณ์ของตัวเอง แต่การเรียนสายอาชีพหากมองในภาพของการเรียน ประสบการณ์ชีวิตมักจะได้มากกว่าเด็กสายสามัญ ทั้งในเรื่องของการพบปะกับปัจจัยต่างๆ รอบด้าน การทำงานควบคู่กับการเรียน หรือแม้แต่เพื่อนฝูงที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย สิ่งเหล่านี้เด็กสายอาชีพจะค่อนข้างชำนาญในการใช้ชีวิตมากกว่า

แสดงความคิดเห็น

>