Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เส้นทางสอบตรง ปี 61 TCAS รอบ 3 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ในแบบฉบับของ "วา "

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
  ก่อนอื่นก็ต้องบอกว่า “แม้ในขณะนี้ คู่แข่งของคุณกำลังพลิกอ่านหนังสืออย่างไม่หยุด” อย่างแรกก่อนที่น้องๆ จะทำอะไรก็แล้วแต่ น้องๆ ต้องเริ่มค้นหาตัวเองว่า ชอบอะไร ทำอะไรแล้วมีความสุข เพราะบางครั้งสิ่งที่ชอบเราอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราถนัดเสมอไป ฉะนั้นคนที่โชคดี คือ คนที่ชอบในสิ่งที่ใช่ รัฐศาสตร์จะเป็นความฝันของน้องๆ หรือเป็นความจริงของน้องๆนั้น น้องๆ จะต้องขยันในการอ่านหนังสือ ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระอย่างแม่นยำ  และพยายามฝึกเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ในหัวข้อต่างๆ  แล้วน้องก็จะสามารถเปลี่ยนความฝันให้กลายเป็นความจริงได้เหมือนที่ผู้เขียนได้พิสูจน์มาแล้ว
 
"คะแนนของผู้เขียน"

ผู้เขียนได้คะแนนจากการสอบตรงคณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ กากบาทได้ 31 คะแนน ส่วนข้อเขียนได้ 32.5 คะแนน รวมเป็น 63.5 จาก 100 คะแนน หลังจากนั้นนำคะแนนของตนเองไปยื่นในTCAS รอบ 3 ซึ่งจะต้องนำคะแนนไปยื่นที่เว็บไซด์ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ หรือ (ทปอ)  ตอนนี้ผู้เขียนกำลังศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะรัฐศาสตร์สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขั้นตอนการเตรียมตัวการสู้ศึกการเข้าสอบตรงของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

1.เราหาข้อมูลก่อนหาข้อมูลแบบละเอียดว่าการสอบตรงของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระบบ TCAS 5 รอบมีทั้งหมดกี่รอบใน TCAS รอบที่เราสนใจนั้น ซึ่งสาขาที่เราอยาเรียนใช้คะแนนอะไรบ้าง และการสอบตรงของคณะรัฐศาสตร์ข้อสอบในแต่ละปีนั้นออกแบบไหน
 
 
 วิธีการเตรียมตัวในแบบฉบับของ “วา”

1.หาข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด ท่องขึ้นใจว่า ยิ่งมีข้อมูลเยอะยิ่งได้เปรียบ ยิ่งมีโอกาสตัดสินใจมากที่สุด และทำให้เรามีความมั่นในสิ่งที่ตัวเองเลือกมาแล้ว
2.ปรึกษารุ่นพี่ที่เรารู้จักที่เรียนในคณะรัฐศาสตร์ จากธรรมศาสตร์จริงๆเลย และถ้าไม่มีคนรู้จักก็ลองไปหาในทวีตเตอร์แล้ว inbox หาเขาเลย
3.เราพยายามจัดตารางอ่านหนังสือของตนเองให้มีวินัยมากที่สุด และทำมันอย่างสม่ำเสมอ และทุกๆวันจนติดเป็นนิสัยและทำให้ได้จริงๆ ไม่เช่นนั้นน้องก็ไม่ต่างจากคนที่กำลังฝันกลางวัน
4.ทำข้อสอบเก่าๆ บ่อยๆ ให้ชินและจำให้แม่นยำแล้วก็ฝึกการเขียนเรียงความแล้วก็พยายามติดตามข่าวสารการเมืองในประเทศและต่างประเทศให้บ่อยๆผ่านทางช่องทางต่างๆ 

 
หลังจากนั้นเราเริ่มมาศึกษาข้อมูลกันอย่างละเอียดกันเลยนะจ๊ะว่าคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์เป็นยังไง อิอิ อันนี้ผู้เขียนอ้างอิงข้อมูลของปีล่าสุด คือ ปี 2561 นั้นเอง  สำหรับการเปิดรับสมัครในระบบ TCAS รอบที่3 นั้นจะเป็นข้อมูลลักษณะนี้ ซึ่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่

1.สาขาการเมืองการปกครอง            จำนวนที่รับ 40 คน
2.สาขาการระหว่างประเทศ               จำนวนที่รับ 40 คน
3.สาขาบริหารรัฐกิจ                         จำนวนที่รับ 40  คน
 
 คุณสมบัติเฉพาะ

1.ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการศึกษานั้นๆ เด็กซิวสมัครไม่ได้
2.มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75
3.มีผลคะแนนวิชาสังคมศึกษาและภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 2.50
 
เกณฑ์การคัดเลือก

1.วิชาความถนัดเฉพาะทางรัฐศาสตร์ 50 เปอร์เซ็น (100 ข้อ) 50 คะแนน
2.วิชาเรียงความ 50 เปอร์เซ็น (2 ข้อ) 50 คะแนน  ผู้มีสิทธิ์ได้รับการตรวจวิชาเรียงความจะต้องเป็นผู้สอบวิชาความถนัดทางรัฐศาสตร์ได้คะแนน 120 อันดับแรกของแต่ละสาขา หมายความว่าถ้าเราได้คะแนนกากบาทไม่ติด 120 อันดับแรกของแต่ละสาขา ต่อให้คะแนนเรียงความเราเยอะ เราก็ไม่มีสิทธิ์ในการตรวจข้อสอบ ฉะนั้นเราต้องทำให้ทั้ง 2 แบบ ทั้งกากบาทและเรียงความ แล้วเราสามารถนำคะแนนของตนเองไปยื่นได้ที่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ
3.สอบสัมภาษณ์
 
หลังจากที่เราได้รู้ไปแล้วว่าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TCAS รอบที่3 นั้น เป็นยังไง เรามาดูลักษณะข้อสอบกันดีกว่า

ลักษณะข้อสอบในปี 
2561 ที่ผ่านมา 
1.กากบาทความถนัดทางรัฐศาสตร์มีทั้งหมด 100 ข้อ 50 คะแนน  (ทุกสาขาออกเหมือนกันหมด)  น้องต้องอ่านทั้งหมด เช่น ทางการเมืองการปกครอง ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบริหารรัฐกิจ 


ลักษณะ
 ข้อสอบกากบาท 100 ข้อ จะออกแบบกว้างมากๆ ถ้าเราไม่อ่านหนังสือและดูข่าวบอกเลยเตรียมปิดข้อสอบแล้วนอนได้เลย เพราะว่าข้อสอบแต่ละข้อนั้นจะต้องอาศัยความจำถ้าเราไม่จำมาแล้วมานึกแบบงงๆ ในห้องสอบ เตรียมปิดกระดาษได้เลย น้องต้องพยายามอ่านหนังสือเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ทั้ง 3 สาขาเลย ในห้องสอบแอร์เย็นมาก มีทั้งความกดดัน ต้องแข่งกับเวลาเพราะต้องอ่านข้อสอบและฝนด้วยปากกา2B สีดำด้วย ฉะนั้นถ้าน้องๆ ไม่เตรียมความพร้อมก่อนสอบ ชิบหายแน่ ข้อสอบในกากบาทนั้นถ้าเราจำมาอย่างแม่นยำ เราทำมันได้แน่นอนและไม่ผิดพลาดด้วย แนวข้อสอบที่ออกทุกๆปีมันออกแบบกว้างๆ อารมณ์เหมือนข้อสอบครอบจักรวาล  เลยทำให้ต้องใช้เวลาในการอ่านหนังสือพอสมควร ถ้าน้องๆที่ชอบจำ ชอบวิเคราะห์ ชอบวิพากษ์ แล้วก็ชอบเรื่องการเมืองแล้วก็ติดตามข่าวก็พอได้เปรียบว่าคนอื่นหน่อย

อันนี้จะบอกข้อสอบที่ออกในปี 2561 ที่ผมพอจะจำได้นะ

1.กรุงเทพมหานครมีเขตการปกครองทั้งหมดกี่เขต
2.รัฐมนตรีว่าการกระทรงการคลังในยุครัฐบาลพลเอกประยุทธิ์ จันทร์โอชา คือใคร
3.ข้าจะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว คือคำกล่าวของใคร
4.สีประจำคณะรัฐศาสตร์ คือ สีอะไร
5.ประเทศในข้อใดไม่ใช่ประเทศสมาชิก G.8
6.ใครคือผู้ประสาน์การคนแรกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7.ข้อใดคือองค์กรปกครองส่วนภูมิภาคของประเทศ
8.แม่น้ำ5 สายมีอะไรบ้าง
9.ใครเป็นผู้นำรัฐประหารปี 2535
10.การประชุม WTO จัดที่ประเทศใด

อันนี้เป็นเพียงข้อสอบที่ผมจำมาในปีนี้ 2561

ส่วนข้อสอบในแต่ละปีนั้นจะแตกต่าง น้องๆต้องพยายามในอ่านหนังสือรัฐศาสตร์แบบละเอียดเลยนะ
-การเมืองการปกครองของประเทศไทย
-เหตุการณ์สำคัญของประเทศไทย เช่น เหตุการณ์14 ตุลา เหตุการณ์ 6 ตุลา พฤษภาทมิฬ
-นายกรัฐมนตรีคนสำคัญและรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
-การรัฐประหารทั้งหมด
-รัฐธรรมนูญทุกฉบับ เน้นจำฉบับทีมีความโดดเด่น
-เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน 2475
-รูปแบบการปกครองแบบต่างๆ
-องค์ประกอบของรัฐ รัฐรวม รัฐเดียว
-สถาบันทางการเมือง
-รายชื่อนายกรัฐมนตรีคนที่ดังๆ
-องค์การมหาชน/รัฐวิสาหกิจ/ระบบราชการ
-รายชื่อรัฐมนตรียุคปัจจุบัน

-เหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน 
-เหตุการณ์ 11 กันยายน
-องค์การระหว่างภูมิภาค ระหว่างประเทศ และระดับนานาชาติ
-การปฏิวัติของประเทศสำคัญๆในโลก


แล้วก็พยายามติดตามข่าวสารการเมืองในประเทศไทยด้วย ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ประเด็นที่สำคัญให้ความสนใจทางการเมือง คืออะไร รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบาลอย่างไรบ้าง การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นจะเป็นยังไงบ้าง รัฐธรรมนูญปัจจุบันมีเนื้อหาสาระยังไงบ้าง อันนี้พยายามย้ำเลยนะ เพราะสำคัญมากๆ
 
 
2.ข้อเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์มีทั้งหมด 2 ข้อ 50 คะแนน  1 ข้อ มีกระดาษให้เขียน 2 แผ่น (สาขาใครสาขามัน) แต่ละสาขาจะออกข้อสอบแตกต่างกัน

 
ข้อสอบข้อเขียนเป็นสิ่งที่คนที่มาสอบตรงต้องทำใจเยอะเหมือนกัน เพราะเราไม่มีวันรู้ว่าข้อสอบแต่ละปีจะออกยากมากและง่ายขนาดไหน ข้อสอบบางปีก็ง่ายข้อสอบบางปีก็ยากฉะนั้นทางที่ดีน้องๆควร พยายามดูโจทย์ข้อสอบที่ผ่านมาว่ามันเป็นยังไง มันออกกว้างจนเราไม่มีวันรู้ว่าจะออกแบบไหนด้วยซ้ำ เพราะมันไม่มีแนวที่ตายตัว น้องจะรู้ข้อสอบก็เมื่อเปิดกระดาษจะเขียนคำตอบแล้ว ฉะนั้นช่วงที่เตรียมตัวน้องๆ จะต้องฝึกการเขียนเรียงความและอาศัยการเขียนคำที่เป็นทางการมากๆ เพราะอะไร เพราะข้อสอบโจทย์ที่ตอบเขาต้องการให้เราได้แสดงศักยภาพความรู้ของเรามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใดในการโจทย์ที่เขามาให้ และความสามารถในเรียบเรียงเนื้อหาสาระ การวางคำนำ เนื้อหา สรุป เราต้องวางโครงสร้างก่อนที่จะเขียนจริงๆ และพยายามเรียบเรียงข้อมูลในสมองก่อน ไม่ใช่ว่าเรานึกอะไรออกไปแล้วเขียนเลยย ไม่ยังงั้นกระดาษของน้องจะเต็มไปด้วยลิดควิกแน่ๆ  เพราะต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นหลักรัฐศาสตร์มาเชื่อมโยงกัน เพราะสาขาเอกการเมืองการปกครอง เราจะต้องมีข้อมูลที่ละเอียดมากๆ เพราะถ้าเราใส่น้ำไปแล้ว แน่นอนคะแนนจะต้องโดนตัด ฉะนั้นทางที่ดีน้องๆควรพยายามฝึกการเขียนเรียงความบ่อยๆ และให้คนที่มีความรู้ด้านนี้ให้เขาอ่านและให้แสดงความคิดเห็นว่าน้องเขียนไปแล้วเป็นยังไงบ้าง คำที่ใช้ ลักษณะการใช้เหตุและผลในการเขียนหรือใช้อารมณ์ในการเขียน ถ้าน้องๆคนไหนที่ไม่ค่อบได้เขียนจะต้องฝึกมากกว่าเพื่อนๆ เพราะเวลาเจอข้อสอบจริง น้องจะต้องอิ้งแน่ๆ  
 
ลำดับแรกเลยเราต้องดูโจทย์ข้อสอบว่าเขาให้มาแบบไหน เราต้องพยายามตีโจทย์ให้แตกว่าผู้ให้ข้อสอบเขาพยายามจะให้เราอธิบายในแบบไหน แล้วก็เราควรจะใส่ข้อมูลแบบไหน ข้อสอบเรียงความมี 2 ข้อ เราเลือกดูไหนที่ง่ายก่อนเพราะจะทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น แล้วก็ไม่เครียด สามารถเขียนได้อย่างลื่นไหล

คำนำ จะต้องเป็นการเปิดตัวหัวข้อที่เราได้รับให้มีความน่าสนใจและเมื่อคนได้อ่านแล้วรู้สึกอยากรู้ อยากจะเห็นเนื้อหาของเราว่าเป็นยังไง การเขียนคำนำ อาจจะไม่ต้องยาวเอาแบบพอประมาณ เพราะว่าเราจะใส่รายละเอียดที่ชัดเจนที่สุดในเนื้อหา ไม่ใช่ใส่ในคำนำไปหมดแล้ว ฉะนั้นคำนำต้องเป็นไปในลักษณะที่อยากเชิญชวนให้คนอื่นรู้สึกอยากจะอ่านในย่อหน้าเนื้อหาต่อไป คำนำจะต้องอธิบายและขยายความหัวข้อและโจทย์ที่เราได้รับให้เกิดความกระจ่าง
 
เนื้อหา อันนี้แหละคือช็อคเด็ดที่จะเอาชนะใจกรรมการ เราต้องพยายามเอาความรู้เนื้อหาสาระต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโจทย์นำมาใส่ ที่สำคัญก็คือ เราต้องพยายามเรียบเรียงคำต่างๆให้เป็นไปในรูปคำทางการ ไม่ควรใช้คำไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ควรเขียนคำกำกวม อ่านแล้วเข้าใจง่าย อย่าวกวน ซ้ำไปซ้ำในคำเดิมๆ พยายามเขียนให้ดีที่สุด
 
สรุป เป็นการเปิดท้ายเนื้อหาสาระต่างๆที่เราได้นำเสนอไปแล้วในเนื้อหาที่เราได้เขียนไปแล้ว การเขียนสรุปเขียนแบบพอประมาณไม่ต้องเยอะจนเกินไป อย่าเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหามาใส่อีก อาจจะจบลงด้วยคำคมทางการเมือง คำพังเพย หรือสุภาษิตก็แล้วแต่ ให้ฝากข้อคิด สะกิดใจ และเขียนให้เกิดความประทับใจมากที่สุดในข้อสรุป
หนังสือที่จะมาแนะนำที่ผมอ่านออกข้อสอบจริงๆด้วย
 
 
ข้อสอบข้อเขียน 3 สาขาที่ออกจริงๆในปีที่ 2561 ซึ่งเอามาจากทวีตเตอร์ที่หลายๆคนแชร์ คือ แบบคราวๆ

สาขาการเมืองการปกครอง

1.จงอภิปรายความเหมือนและแตกต่างระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น มาพอสังเขป
2.จงอธิบายการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของรัฐธรรมนูญในฉบับปัจจุบันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้

สาขาการระหว่างประเทศ
1.จากนโยบายการต่างประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีลักษณะอย่างไร และมีผลบวกและมีผลลบอย่างไรบ้างต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.จากกระแสอนุรักษ์นิยมที่กำลังทวีความรุนแรงและแพร่หลายไปในส่วนต่างๆ ผลที่เกิดในปัจจุบันและผลที่จะตามมาจะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งอภิปรายตัวอย่างประกอบ

สาขาการบริหารรัฐกิจ
1.การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน คนรุ่นใหม่จะมีการนำทักษะหรือกระบวนการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและการดำเนินชีวิตการทำอย่างไร
2.หวย 30 ล้านของครูปรีชากับหมวดจรูญเกี่ยวข้องกับค่านิยมหรือหลักบริหารัฐกิจอย่างไร
 
 
 
หนังสือในการเตรียมสอบตรง คณะรัฐศาสตร์ 

หนังสือแนะนำ ก่อนต้องบอกก่อนเลยว่า หนังสือเหล่านี้มีส่วนช่วยจริงๆ ทำให้เราสามารถทำข้อสอบกากบาทได้ รวมไปถึงข้อเขียน  หนังสือต่างๆที่น้องๆอ่านแล้วสามารถที่จะทำข้อสอบได้อย่างแน่นอน ย้ำต้องอ่านหลายรอบเพื่อให้จำแม่นในเรื่องต่างๆ
 

1.เตรียมสอบเป็น “สิงห์” คณะรัฐศาสตร์  สามารถซื้อได้ ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร้านซีเอ็ด ร้าน B2S ร้านหนังสือนายอินทร์ เป็นต้น



2.คู่มือเตรียมสอบ คณะรัฐศาสตร์ สามารถซื้อได้ ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร้านซีเอ็ด ร้าน B2S ร้านหนังสือนายอินทร์ เป็นต้น




3.หนังสือการเมืองการปกครอง POL 1101 ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยรามคำแหง



4.หนังสือตะลุยโจทย์สิงห์แดง ข้อสอบเก่าย้อนหลัง 10 พ.ศ. คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สามารถสั่งซื้อได้จากแฟนเพจ Utopia Tutor ติวสอบตรงธรรมศาตร์ จุฬาฯ ที่เชียงใหม่


 
แฟนเพจต่างๆที่สามารถติดตามข่าวสารบ้านเมืองได้

1. BBC ไทย
2. Thai PBS
3. THE STANDARD
4. Voice TV


 
น้องๆ ต้องพยายามอ่านหนังสืออย่างหนักและสม้ำเสมอ และทบทวนหลายๆครั้ง เพราะจะทำให้เราคุ้นชินแล้วก็จำข้อมูลได้ง่ายด้วยอะ กว่าพี่จะจำอย่างแม่นยำ พี่ก็พยายามทบทวนหลายครั้งมากๆ จนจบเล่มไปหลายครั้ง แล้วก็พยายามอ่านซ้ำไปซ้ำมาหลายๆครั้ง เราจะได้แม่น เราต้องพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดเลยในหนังสือหลายๆเล่มที่เราได้อ่านไป
 
 
สุดท้ายนี้น้องๆสามารถมารปรึกษาและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Facebook   Anwa    yoosoh
ตอนนี้ผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัย 
 
 

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

waterwall 20 ก.ค. 61 เวลา 13:35 น. 6

พี่สุดยอดมากค่ะหนูก็อยากเข้ารัฐศาสตร์เหมือนกัน

จะนำคำเเนะนำไปปรับใช้ค่ะ

1