Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ควรจะบรรยายแบบบุคคลที่2หรือบุคคลที่3ดี?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เราเป็นนักเขียนคนหนึ่งที่อยากจะแต่งนิยายออกมาให้ดีที่สุด ก็เลยอยากรู้ว่าควรจะบรรยายออกมาเป็นแนวไหนดี เป็นบุคคลที่1หรือบุคคลที่3 หรือรวมเข้าด้วยกันเลย?
ปล.ขออภัยตอนแรกพิมพ์ผิด 

แสดงความคิดเห็น

>

13 ความคิดเห็น

Bad Day Survivor 23 ก.ค. 61 เวลา 19:12 น. 1

เป็นบุคคลที่3หรือบุคคลที่3 หรือรวมเข้าด้วยกันเลย?


... ตอบยากเหมือนกันนะเนี่ย


ล้อเล่นเฉยๆนะ แต่ยังงงอยู่ดี คงต้องรอผู้รู้มาอธิบายต่อไป โดยส่วนตัวผมคิดว่ามันอยู่ที่การนำเสนอมากกว่า

...

0
Miran/Licht 23 ก.ค. 61 เวลา 19:18 น. 2

เดาๆ เอาจากหัวกระทู้ประกอบด้วยเพราะงงตรง เป็นบุคคลที่ 3 หรือบุคคลที่ 3


จริงๆ แล้วไม่ต้องจำกัดมุมมองตายตัวก็ได้นะคะ เพียงแต่ว่าไม่ควรตัดไปตัดมาคนอ่านจะงง

เช่นตอนนี้ต้องการเน้นความรู้สึกหรือความสัมพันธ์ของตลค. ก็ใช้มุมมองของบุคคลที่ 1 ถ้าต้องการภาพรวมใช้มัมมองบุคคลที่ 3 ซึ่งในมุมมองบุคคลที่ 3 บางครั้งเขาก็จะกัดระยะไม่ได้กล่าวถึงทั้งหมดก็มีนะคะ


ส่วนบุคคลที่ 2 ค่อนข้างใช้น้อยเพราะเป็นการเห็นผ่านสายตาคนอื่นซึ่งอาจจะเห็นแบบนั้นแต่เข้าใจเกี่ยวกับตลค.นั้นผิดก็ได้ค่ะ

0
Ma66sJ 23 ก.ค. 61 เวลา 19:39 น. 3

ดีที่สุดสำหรับนักเขียน ขอเป็นบุคคลที่อ่านเข้าใจตรงกับพล็อตของเรา..ออกทะเล~


บุคคลที่ 2 เล่าเนื้อเรื่อง บุคคลที่ 3 เล่ามุมมอง บุคคลที่ 1 แสดงความเข้าใจอีกระดับ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-10.png ..ละเมอพิมพ์~

0
yurinohanakotoba 23 ก.ค. 61 เวลา 19:55 น. 4

บุคคลที่ 2 นี่โคตรจะงง ทั้งคนเขียนคนอ่าน จะเขียน 1 หรือ 3 ก็เอาเถอะครับ 2 นี่ขอผ่านแล้วกัน

0
Bad Day Survivor 23 ก.ค. 61 เวลา 20:04 น. 5

ความเห็นส่วนตัวบ้างไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกไหมนะ บุคคลที่สามน่าจะเป็นบทบรรยายดำเนินเรื่องในนิยายทั่วไป บุคคลที่หนึ่งก็คือเป็นการดำเนินเรื่องโดยตัวเอกเป็นตัวเล่าเรื่องจะบรรยายความรู้สึกเหตุการณ์ต่างๆผ่านมุมมองของตัวเอก อย่างเช่น ศักดิ์ สุริยัน พรานใหญ่ตัวเอกในเรื่องล่องไพร ของ น้อย อินทนนท์ หรือ อลัน ควอเตอร์เมน ใน สมบัติพระศุลี (เรื่องที่เพชรพระอุมาก็อปเค้าโครงเรื่องเขามาและใช้คำว่าแรงบันดาลใจน่ะแหล่ะ) ส่วนมุมมองบุคคลที่สองน่าจะเป็นการเล่าเรื่องของบุคคลผู้หนึ่งถึงตัวเอก ซึ่งก็อาจจะซ่อนปมหรือหลอกให้คนอ่านเข้าใจผิดตามที่ตัวเล่าเรื่องบอกได้ เช่น หมอวัตสัน ในเรื่องเชอร์ล็อค โฮลม์ ... ถ้าเอาเชอร์ล็อค โฮมส์ เป็นคนเล้าเรื่องเองคงไม่มีความลึกลับและความสนุกอะไรแล้ว ... ตามที่ผมเข้าใจก็ประมาณนี้


ผิดพลาดยังไงขออภัยด้วย ผมเองไม่ใช่คนอ่านนิยายอะไรมามากมายนัก ^__^

2
ภีมพิมพ์ 25 ก.ค. 61 เวลา 09:29 น. 5-1

POV2 ถ้าในความหมายของนวนิยายมันคือมุมมองของคนอ่านครับ ใช้สรรพนามบุคคลที่สองเป็นหลักคือ 'คุณ' สื่อถึงตัวคนอ่าน คนอ่านเป็นผู้ดำเนินเรื่อง ส่วนใน เชอร์ลอค โฮลม์ นั่นนับเป็น POV1 ของหมอวัตสันครับ

0
Bad Day Survivor 25 ก.ค. 61 เวลา 09:45 น. 5-2

อ๋อ แบบนั้นเองเหรอครับ งั้นก็เข้าใจยากขึ้นไปอีก

0
SilverPlus 23 ก.ค. 61 เวลา 20:17 น. 6

แล้วแต่ความถนัด

ถนัดอันไหน เขียนอันนั้น


ไม่มีอะไรดีที่สุด ดีที่สุดจริง ๆ คือเขียนมุมมองที่เราถนัด


หากไม่รู้ว่าถนัดมุมไหน ก็ให้ดูนิยายที่เราอ่านบ่อย ๆ หากเราเขียนมุมมองแบบเดียวกับนิยายที่อ่าน ผลลัพธ์จะออกมาดีกว่าไปเขียนมุมมองที่เราไม่เคยอ่าน


และแม้จะอ่านมุมไหนมา แต่พอเขียนเรากลับชอบอีกมุมมากกว่า ก็ให้ยึดตามความชอบของเรา


ผมไม่ถนัดการคละมุมมอง นิยายเรื่องเดียวเขียนมุมมองเดียว


บุคคลที่ 2 ยากอยู่นะ และไม่ค่อยมีนิยายเรื่องไหนเขียนกัน

0
Chloe! 23 ก.ค. 61 เวลา 20:20 น. 7

การใช้บุคคลที่ 2 เนื้อเรื่องต้องเหมาะสมจริงๆ ค่ะ ถ้ามีอะไรที่อยากปิดการใช้บุคคลที่ 2 เป็นคนดำเนินจะเหมาะมาก


ต้องบรรยายทำให้เข้าใจจริงๆ เพราะปกติในนิยายจะเจอแค่มุมมองที่1 (เธอ/ฉัน/ผม) หรือไม่ก็ 3 (ประมาณมุมมองพระเจ้า) พอเจอมุมมองที่2 คนอ่านอาจจะงุนงงในบางครั้ง อาจคิดว่าใครพระเอก-นางเอก?


ถ้าพล็อตมีปมลับๆ หรือความคิดของตัวละครที่ยังอยากอุ๊บเอาไว้ บุคคลที่2 ก็ดีไม่เบาเลยค่ะ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-12.png

0
yurinohanakotoba 23 ก.ค. 61 เวลา 21:00 น. 8-1

ไม่ถนัดนะครับ ประมาณหนังสือที่เราอ่านพูดว่าเราทำอะไรบ้าง นึกภาพการสะกดจิตที่มีนักสะกดจิตชักจูงคนที่ถูกสะกดจิตก็ใกล้เคียงอยู่

คุณมาได้จังหวะพอดี เรามีศพหนึ่งในห้องรับแขก อีกสองศพในห้องครัว เดินเข้ามาระวังพื้นด้วย ใช้ไฟฉายสิเห็นไหมเลือดนองเต็มพื้น คุณต้องระมัดระวังหน่อย คงไม่อยากให้รองเท้าเปื้อนใช่ไหม คุณจะเห็นว่าเลือดมันมากผิดปรกติ กลิ่นคาวฉุนกึกจนไม่แน่ใจแล้วว่ามันมีน้ำอะไรบ้าง คุณเข้าไปดูที่แผลของศพ ปากแผลถูกยิงเหมือนโดนเจาะด้วยกระสุนปืนลูกซอง แต่คุณคิดว่ามันเป็นการใช้สองมือฉีกหน้าอกของเหยื่อแหวกออกมาจากภายในมากกว่า

ผมไม่แม่น POV2 แต่มันประมาณนี้ จะได้ยินจากสารคดีท่องเที่ยวสมัยก่อนบ่อยอยู่ แต่เอามาเล่าเรื่อง เขียนยากโคตรปวดหัว

0
w.z.moon 23 ก.ค. 61 เวลา 21:10 น. 8-2

เห็นภาพชัดเจนมาก 8 w 8

ไม่ค่อยเจอคนเขียนแนวนี้เลย น่าสนใจมาก


ยังไงต้องขอบคุณมากเลยค่ะ > <

0
w.z.moon 23 ก.ค. 61 เวลา 21:35 น. 8-4

น่าสนใจมาก จะไปลองหาอ่านดูนะคะ

ขอบคุณมากเลยค่ะ > <

0
smile_t2 23 ก.ค. 61 เวลา 21:38 น. 9

ถามผิดรึเปล่าครับ จะถามว่าบุคคลที่ 1 รึบุคคลที่ 3 ดีรึเปล่า ใช่ไหมครับ ถ้าตั้งใจจะถามแบบนี้ ก็จะตอบว่า ต้องดูที่พลอตเรื่องเราก่อน ถ้าพลอตเรื่องไม่ซับซ้อนมาก มีฉากไม่เยอะ ไม่ได้ออกไปผจญภัยนอกสถานที่ 1 หรือ 3 ก็ได้ แล้วแต่ชอบ แต่ถ้าเป็นแฟนตาซี โลกพิศดารต้องบรรยายฉากมาก 3 อาจจะง่ายกว่า ส่วน มุมมองแบบที่ 2 (ที่คนอื่นมองตามตัวเอก) ยังไม่เคยเห็นนิยายที่เขียนรุ่นใช้เลย มันยากมาก ก็ประมาณนี้แหละครับ สู้ๆ :)

0
white cane 24 ก.ค. 61 เวลา 08:18 น. 10

อ่านเนื้อหาแล้วงง ? บุคคลที่สามและก็บุคคลที่สามอีก ตอนแรกนึกว่าหมายถึงการสิงสู่เหมือนผี เข้าสิงซับซ้อน ฮ่าๆ พอย้อนกลับไปอ่านที่หัวข้อกระทู้ อ๋อ....


บุคคลที่สอง มันเป็นการบรรยายเหมือนหนังสือนำเที่ยวครับ อย่างเช่น "ถ้าวันนี้คุณออกเดินทางไป คุณอาจพบสิ่งมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติที่รออยู่ก็ได้" ซึ่งไม่ค่อยมีคนนิยมใช้กัน เนื่องจากมันไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านได้ดี ด้วยเหตุผลที่ว่า นิยายมักเจาะจงอยู่ที่ตัวละครใดตัวละครหนึ่ง ถ้าเขียนแนวบุคคลที่สอง มักไม่เข้าถึงอารมณ์ครับ



ส่วนบุคคลที่สาม เป็นการเล่าแบบพระเจ้า เดี๋ยวก็ย้ายไปเล่าตัวละครนี้ เดี๋ยวก็ย้ายไปเล่าที่ตัวละครอื่นต่อ แม้จะบอกว่าเป็นการเล่าหลายตัวละคร ส่วนใหญ่จะเจาะจงอยู่ที่ตัวละครเดียวกว่า 70 %


ถ้าจะถามว่าเขียนแนวไหนดีสุด คงเป็นแนวบุคคลที่หนึ่งและบุคคลที่สามครับ แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้บุคคลที่สามมากกว่า


เมื่อครู่นี้ลืม อย่าเอาแนวการเล่ามาปะปนกันเด็ดขาด ไม่อย่างงั้นนักอ่านจะงงได้ครับ ถ้าจะเล่าแบบปะปนกัน ควรใช้แบ่งเป็นตอน และไม่ควรเจาะจงตัวละครหลายตัว โดยการใช้เล่าแบบบุคคลที่หนึ่ง เพราะคนอ่านจะงงเป็นทวีคูณ

0
Ameriey-7993 24 ก.ค. 61 เวลา 13:42 น. 11

การเล่าแบบบุคคลที่หนึ่ง ผ่านบทตัวละครใด ตัว

ละครหนึ่ง


การเล่าแบบบุคคลที่สอง ผ่านบทตัวละครที่เป็น

เพื่อนกับพระนาง หรือ ตัวละครประกอบ


การเล่าแบบบุคคลที่สาม เป็นการบรรยายแบบ

นำภาพรวมความน่าจะเป็นไปของเหตุการณ์นั้นๆ


นักเขียนหลายท่านอาจถนัดไม่เหมือนกัน แต่มีน้อยคนนัก ที่เชียวชาญจริงๆ ใช้ทั้งสามแบบมา

เล่าบรรยายทะลุปรุโปร่ง เช่น คุณยาขอบ เป็น

ต้น ในเรื่องสามก๊ก การเขียนนิยายทัวไปจะผ่าน

แบบบุคคลที่สามกับหนึ่ง ถ้าเป็นนักเขียนระดับ

มือทองหรือมือพระกาฬ เขาใช้ทั้งสามแบบค่ะ

ถ้าใครเคยอ่านสามก๊ก ฉบับยาขอบจะรู้ดี หรือ

ของ คุณพนมเทียน เรื่องเพชรพระอุมา เมื่อก่อน

มีมหาลัยแห่งหนึ่งสอนเรื่องการเขียนวรรณกรรม

ด้วยนะค่ะ แต่ยุคนี้ไม่แน่ใจยังมีอยู่หรือเปล่า ค่ะ

0
ชนุ่น 24 ก.ค. 61 เวลา 16:02 น. 12

งงครับ หัวกระทู้บอกบุคคลที่ 2 หรือบุคคลที่ 3

พอมาอ่านในกระทู้คือบุคคลที่ 3 กับบุคคลที่ 3

สรุปยังไงครับ 55555555



เอาเป็นว่าผมจะสอนเรื่อง POV เอาก็แล้วกันครับ อยากหยิบอะไรไปใช้ก็ตามสบาย

มุมมองการเล่าเรื่องหลัก ๆ ที่แบ่งแบ่่งได้ 3 ประเภทหลักครับ


1. มุมมองบุคคลที่ 1 (first person) ถ้า จขกท เป็นคนเล่นเกมให้นึกถึงเกมยิงแบบที่เราเห็นแค่มือกับปืนผู้เล่น นั่นแหละครับ บุคคลที่หนึ่งคือการเขียนโดยแทนคนอ่านไปเป็นตัวละครนั้นๆ หรือบอกเล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของตัวละครคนใดคนหนึ่ง สรรพนามแทนตัวจะเป็นบุรุษที่ 1 เช่น ผม ดิฉัน ฉัน ข้าพเจ้า ฯลฯ มุมมองจะเขียนง่ายที่สุดเพราะผู้เขียนจะรู้สึกว่าตัวเองได้เข้าไปอยู่ในนั้น และผู้อ่านจะเข้าถึงเนื้อเรื่องได้มากเนื่องจากเราได้เห็นมุมมองของตัวละครนั้น ๆ เลย เพียงแต่จะมีข้อจำกัดคือสามารถนำเสนอความคิดของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น


2. มุมมองบุคคลที่ 2 (second person) อันนี้ค่อนข้างจะพบเห็นยากในนวนิยาย เพราะจะใช้ในลักษณะว่า "คนเขียนเป็นคนเล่า เล่าให้เราฟัง" โดยจะใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 คือ คุณ มักจะมีผสมในนิยายอยู่บ้าง อย่างในการบรรยายบุคคลที่ 1 ก็อาจจะมีคำถามแบบที่ตัวละครถามคนอ่าน เช่น "หากคุณลองคิดดูว่าโลกนี้เต็มไปด้วยคนดี เราจะเป็นอย่างไร?" มุมมองนี้เหมาะกับการบรรยายฉาก สถานที่ เช่น "หากคุณมองไปทางซ้ายมือ จะพบว่ามีภูเขาวางอยู่ ทางขวามือคุณจะเป็นบ้านอิฐหลังเก่า ๆ ตั้งเด่นท่ามกลางป่าใหญ่"


3. มุมมองบุคคลที่ 3 (third person) เป็นมุมมองที่นิยมเขียนมากเพราะเป้นมุมมองที่สามารถเปลี่ยนตัวละครที่จะโฟกัสได้ เพราะมุมมองนี้ จะถือว่าคนอ่านคือ "ผู้ชม" โดยอาจแทนผู้อ่านเป็นพระเจ้า มีหน้าที่บรรยายตัวละคร หรือสมมุติว่าเราได้ติดตามตัวละครตัวใดตัวหนึ่งไปก็ได้ มุมมองบุคคลที่ 3 สามารถเขียนถึงความคิด ความรู้สึกภายในของตัวละครแบบเจาะลึกได้ แต่คนอ่านอาจจะรู้สึกห่างเหิน ไม่รู้สึกร่วมกับตัวละครเท่าการแทนตัวเองไปอยู่ในเรื่องเลย



สำหรับสิ่งที่จะแนะนำ คือหากจะเขียนมุมมองใดมุมมองหนึ่ง ก็พยายามสมดุลให้มันพอดี ไม่ใช่ว่าบทแรกเป็นบุคคลที่ 1 บทต่อไปเป็นบุคคลที่ 3 แล้วสลับไปสลับมาโดยไม่เท่ากัน ไม่กำกับให้รู้ว่าเราจะเปลี่ยนมุมมองก็จะถือเป็นปัญหามากเลยครับ


0
P-ITEM 24 ก.ค. 61 เวลา 17:57 น. 13

อยู่ที่ว่าเราถนัดแบบไหน แบบไหนที่เราเขียนแล้วรู้สึกโอเค

การทำสิ่งที่เราชอบเราจะอยู่กับมันได้นานค่ะ แล้วความคิดเราจะไม่สะดุดไปกลางคันด้วย

เราเคยเขียนมุมมองบุคคลที่1ตัวเดียวแต่ไหลไม่ค่อยไปเลยต้องหันมาเขียนทุกตัวละครผลัดกันอธิบายความรู้สึก

คล้ายๆ นิยายเรื่องโอเวอร์ลอร์ดค่ะ 555 นี่คือการยืดเรื่องและเผางานที่แท้ทรู // ผิดๆ

0