Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไมคณะที่ไม่มีอาชีพรองรับที่แน่นอนอย่าง รัฐศาสตร์ ถึงคะแนนสูงจัง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เหตุผลที่อยากรู้คือ คณะนี้ไม่มีวิชาชีพรองรับอย่าง นิติศาสตร์ซึ่งสามารถสอบการฑูตได้เช่นเดียวกันกับรัฐศาสตร์  บัญชี แม้แต่อักษรศาสตร์ก็มีอาชีพที่รองรับได้หลากหลาย แต่รัฐศาสตร์ไปไม่สุดสักทางเลย ขอร้องอย่าว่าเรานะ ความสงสัยก่อให้เกิดสติปัญญาจากการแลกเปลี่ยนเหตุผล ขอบคุณทุกความคิดเห็นนะ

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

นันเอง 10 ส.ค. 61 เวลา 19:01 น. 1

มันเฉพาะมหาวิทยาลัยค่ะ ไม่ใช่ทุกมหาลัยจะคะแนนสูง การที่เข้าไปอยู่กลุ่มมหาลัยกลุ่มสูง มันเจอทิศทางเส้นสาย โอกาส ค้นตัวตน หลายคนไม่ได้ทำงานด้านที่เรีบน แต่ไปต่อไปและมีเครือข่ายทำงานร่วมกับคนหมู่ต่างๆ ทีีเป็นเพื่อนร่วมคณะกัน

0
Saitip S 11 ส.ค. 61 เวลา 08:24 น. 2

เรียนหนังสือไม่จำเป็นต้องเรียนเป็นวิชาชีพ คิดถึงอาชีพเฉพาะเสมอไป รัฐศาสตร์เรียนกว้าง เหมาะสำหรับคนช่างคิด ช่างตั้งคำถาม อยากรู้สิ่งใหม่ๆ จบรัฐศาสตร์ แล้วไปเรียนกฎหมาย ก็จะเป็นผู้พิพากษาที่เก่ง จบรัฐศาสตร์ไปทำธุรกิจ ก็มีความสามารถในการวิเคราะห์ดี ไม่ได้ติบว่าทำไมคะแนนสูง แต่ตอบว่า คนเราตอนอายุ 18 อาจจะเรียนเพราะอยากรู้ ไม่มองแต่อาชีพเฉพาะทางก็ได้

0
aaaa 11 ส.ค. 61 เวลา 13:08 น. 3

อืมม พูดแบบนี้ก็ยังไม่ถูกทั้งหมดซะทีเดียวนะครับ เพราะว่าเกณฑ์การคัดเลือกของแต่ละคณะใช้คะแนนแต่ละวิชาในสัดส่วนที่ต่างกันครับ ยกตัวอย่างให้ดูง่ายๆครับ

1. คณะรัฐศาสตร์ จุฬา ใช้ GAT 70% + PAT 30%

2. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬา ใช้ GAT 50 % + PAT 1 50 %

3. คณะนิติศาสตร์ จุฬา ใช้ GAT 20% + PAT 20% + วิชาสามัญ (ไทย+อังกฤษ+สังคม) 60%

ดูจากเกณฑ์ข้างบน 3 คณะ ที่เรายกตัวอย่าง ก็ยังไม่สามารถตัดสินได้ครับว่าคณะไหนเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานจริงๆ หรือคณะที่คะแนนสูงสุดแปลว่าเป็นคณะที่คนเก่งสุดเลือก

ไม่ได้แปลว่าคณะไหนคะแนนสูงสุดจะเก่งที่สุดนะครับ คือมันเทียบกันค่อนข้างยากอะครับ

เหมือนเอาหนังสือเล่มนึงมาเทียบกับหนังสืออีกเล่มนึงทั้งๆที่เนื้อหาต่างกัน

0
.... 11 ส.ค. 61 เวลา 13:24 น. 4

จริงๆ อักษรฯ ก็ไม่ได้มีงานรองรับแน่นอนนะ -.- สมมติบอกว่าเก่งภาษา ถ้าคุณไปดูพวกสิงห์ดำ IR (ขออนุญาตยกตัวอย่าง) หลายคนเก่งภาษามากไม่แพ้เด็กอักษรเลย แล้วสองคณะนี้ก็มีเรียนวิชาของกันและกันอยู่บ่อยๆ


อีกอย่าง เราว่าแล้วแต่มอด้วย ไม่ใช่แค่รัฐศาสตร์นะ อักษรฯด้วย ถ้ามอที่คะแนนสูงๆคุณจะรู้เลยว่าเด็กรัฐศาสตร์เก่งมากกก ภาษาเป๊ะ บางคนได้สามสี่ภาษา คิดวิเคราะห์ เขียน paper ได้ research เป็น และมันก็จะเป็นสกิลการทำงานติดตัวไปอะ



0
ครับ 11 ส.ค. 61 เวลา 19:45 น. 5

ไม่ขอตอบเรื่องคะแนนนะครับ คงคิดได้เองว่าทำไม

แต่เรื่องไม่มีอาชีพรับรอง ต้องเข้าใจใหม่ว่าอักษรเองก็ไม่ใช่คณะที่มีวิชาชีพรับรองตายตัวเช่นกัน ขึ้รอยู่กับความสนใจผู้เรียนมากกว่า และต้องขอบอกว่ารัฐศาสตร์เรียนจบไปได้อะไรมากมายครับ อักษรแย่งงานรัฐศาสตร์ทำได้มั้ยทำได้ แต่รัฐศาสตร์เองก็แย่งงานอักษรได้เช่นเดียวกัน


บางคนภาษาเก่งกว่าอักษรอีก ไม่ต้องเอาไออาร์ ภาคอื่นๆเองส่วนมากก็มีพื้นฐานด้านภาษาสูงมากทั้งนั้น สมัยผมเรียนเพื่อนคนนึงเรียนมาตั้งห้าภาษา และคล่องทั้งหมดสามจากห้าด้วย


แต่แน่นอนว่าถ้าจะเอาลงลึกมาก หรือสายวิชาชีพที่เน้นด้านเอกสารหรืออะไรเฉพาะเจาะจง อักษรจะเรียนตรงสายกว่าครับ ส่วนรัฐศาสตร์จะเน้นการดูแล จัดการ วิเคราะห์ ควบคุมซะมากกว่า

0
CHON 11 ส.ค. 61 เวลา 21:44 น. 6

จะอธิบายแบบนี้นะครับ ต้องยอมรับว่ารัฐศาสตร์ไม่ใช้สายอาชีพเฉพาะทาง แบบพวกวิศวะ บัญชี สถาปัตย์ แต่การเรียนรัฐศาสตร์ คือการเรียนสังคมศาสตร์ที่สามารถพ่วงภาษาได้ พื้นเพเด็กรัฐศาสตร์ก็มีหลากหลาย เป็นเด็กกิจกรรม ถนัดด้านการพูด หรือการแสดงความคิดเห็น มี CRETICAL THINKING เวลาพูดจะดูน่าสนใจ ซึ่งอาจจะเหมาะกับการทำงานในศตวรรษที่ 21ทำงานประานงานได้ บุคลิกได้ ลุ๊คค่อนข้าง OUTSTANDING ไปทำงานก็หลากหลาย บางคนก็ไปสายราชการ หลายคนก็สอบปลัด หรือสอบข้าราชการ กพ หรือเจ้าหน้าที่การทูต บางคนที่ชอบวิชาการมากๆก็ไปสายวิชาการ เรียนต่อโท เอก เพราะมี PASSION กับงานวิจัย หาคำตอบใหม่ๆ บางคนก็ไปงานสายบริการงานโรงแรม หรือสายการบิน งานสายทรัพยากรมนุษย์ ทำงานสายข่าว บรรณาธิการ นักข่าว ข้อดีของรัฐศาสตร์คือการเรียนวิชาความคิด การตั้งคำถาม การแอพโพรชไปถึงประเด็นต่างๆในมิติการเมือง ซึ่งจริงๆสายอักษรก็แนวนี้ แต่บางสาขาก็จะเป็นสกิลด้านภาษา รัฐศาสตร์เป็นสายวิชาการแต่ก็มีความยืดหยุ่น แนวการเรียนก็เป็นการวิพากษ์ ดังนั้น ความคิดของเด็กรัฐศาสตร์ค่อนข้างดูว้าวมากเวลาแสดงความคิดเห็น ไอเดียดี มีความลึกซึ้งและมีมุมที่แตกต่าง เด็กรัฐศาสตร์ในยูดังระดับโลกก็ดูว้าวไม่ว่าจะเป็นเครมบริจ อ็อกฟอร์ด เบิรกลีย์ สแตนฟอรด เพราะความคิดค่อนข้างพราว มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความยืดหยุ่น แต่ก็มีจุดยืน

0
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 14 ส.ค. 61 เวลา 16:19 น. 7

ในฐานะที่เรียนอักษรฯ ขอตอบหน่อยละกัน เราเรียนสาขาปรัชญาล่ะ


โดยแนวความคิดที่เรากำลังจะตอบนี้มาจากหนังสือ What Are Universities For? by Stefan Collini ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เพราะฉะนั้นเราไม่ได้มโนแนวคิดขึ้นมาเอง เราตอบตามอาร์ตตัวปู่ล่ะ :) ใครเก่งอังกฤษก็เชิญฟังและศึกษาแนวคิดจากอาจารย์ท่านนี้ได้ตามลิ้งค์ยูทูปข้างล่างนี้ได้


Profile

https://www.english.cam.ac.uk/people/Stefan.Collini/

https://www.clarehall.cam.ac.uk/our-people/professor-stefan-collini


Understanding vs. knowledge - Stefan Collini

https://www.youtube.com/watch?v=7kZBNkg0hSY


The Arts and Humanities. Professor Stefan Collini

https://www.youtube.com/watch?v=6uSo3OPGKWw


Stefan Collini - Making the Case: Universities and their Publics

https://www.youtube.com/watch?v=CrPi2BGuYYI


What Are Universities For?

https://www.youtube.com/watch?v=W5cPBHFwT3Q



ในภาพรวมก็คือ... ขอสรุปเป็น bullet points ซึ่งอาจารย์ท่านนี้น่าจะไม่ปลื้ม ดังนี้


1.มหาวิทยาลัยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวดังที่สาธารณชนชอบคิดว่าการเรียนมหาวิทยาลัยนั้นก็เพื่อสร้างอาชีพ แต่จริงๆเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยมันมีหลายอย่าง วัตถุประสงค์ที่คนมองข้ามไปก็คือ การสร้างทักษะการคิดอย่างละเอียดอ่อนและรอบด้านหรือ critical thinking ซึ่งจะให้ญาณกรณ์ไว้เป็นอุปกรณ์ในสมองและประโยชน์ของมันก็คือเอาไว้ใช้หาความรู้ต่อยอดเพิ่มเติม โดยคนที่มีญาณกรณ์สามารถตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลได้ว่าข้อมูลชิ้นไหนบ้างที่จะจัดให้เป็น "ความรู้" ได้? และเขาก็จะเลือกเชื่อชิ้นข้อมูลที่เป็นความรู้ ไม่ใช่เชื่อความเห็นเลื่อนลอยต่างๆ


2.จากข้อ 1. นั้น ญาณกรณ์มีข้อดีที่ความรู้เชิงเทคนิคไม่มี ก็คือมันเอาไว้ใช้ต่อยอดหรือหาความรู้เชิงเทคนิคด้วยตัวเองได้หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัยไปแล้ว


3. ขอใช้คำจากอาจารย์ Stefan Collini ว่า immediate needs/purposes ซึ่งก็คือเป้าหมายระยะสั้นของมหาวิทยาลัย ดั่งเช่นการสร้างอาชีพนั้น ย่อมจะมีได้ แต่มหาวิทยาลัยจะต้องไม่ลืมว่าสิ่งสำคัญกว่าก็คือ long-term goals ซึ่งก็คือเป้าหมายระยะยาว ดังเช่น การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีญาณกรณ์ ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการเรียนรู้ด้วยตัวเองไปตลอดชีวิต เพราะโลกของเราอัพเดทเรื่อยๆ คนเราก็ต้องอัพเดทความรู้ไปเรื่อยๆให้ตามทันโลก จึงจะปรับตัวและอยู่รอดได้ในสังคม นี่คือจริยธรรมที่สำคัญของมหาวิทยาลัย


4. อาชีพที่กำลัง in demand ต่อไปมันก็อาจจะ low demand ได้ หากเราเลือกเรียนสาขาที่มีลักษณะเป็นวิชาชีพเชิงเทคนิค แล้วถ้าสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป ความต้องการตลาดเปลี่ยนไป คนเราจะปรับตัวกันยังไง มีหลายคนที่เรียน การโรงแรมการท่องเที่ยวเพื่อจบมาแล้วพบว่าหางานตรงสายยากหรือไม่ชอบงาน

เรียนวิศวฯเรือ แล้วไม่มีงานตรงสาย วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์อย่างพวกสาขาชีววิทยางี้ ก็หางานตรงสายลำบาก แล้วก็มีอีกหลายสาขาเลยที่เคย in demand แต่พอสถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วเป็นไง อย่างนิติศาสตร์งี้ มันก็ต้องสอบแข่งขันกันเข้าทำงาน ดีมานด์ก็น้อยลงๆๆๆไปเรื่อยๆแล้วสมัยนี้ ฉะนั้นคนเราจึงไม่ควรมองผิวเผินแค่ว่าจะเรียนอะไรเพื่อให้ได้งาน แต่ต้องมองว่าเราควรเรียนในสิ่งที่ชอบจริงรักจริงแล้วไปให้สุดทางจนได้ญาณกรณ์ไว้ต่อยอดปรับตัวไปเรื่อยๆ คิดอย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ? อย่างคนที่เรียนการโรงแรมแล้วพอไม่ชอบงานโรงแรม มหาวิทยาลัยก็ส่งเสริมให้พวกเขาหาทางต่อยอดปรับตัวไปทางด้านงานการจัดการ/งานบริหารงี้

หรือเรียนวิทยาศาสตร์แล้วก็ต้องหาเรียนเขียนโปรแกรมเพื่มเติมด้วยเพื่อสร้างมูลค่าให้ตัวเองในตลาดแรงงาน

หรือคนที่เรียนนิติฯเรียนรัฐศาสตร์ หลังจบการศึกษาพวกเขาก็ต้องอ่านหนังสือต่อยอดความรู้กันไปเรื่อยๆเพื่อสอบแข่งขันกันเป็นอัยการ/ผู้พิพากษา จะเห็นได้ว่ามันไม่ใช่แค่การมองระยะสั้นว่าพอเรียนจบก็ทำงานแบบไม่ลืมหูลืมตาหาความรู้เพิ่มเติม แต่มันคือการต่อยอดความรู้หลังเรียนจบแล้ว สิ่งนี้แหละสำคัญที่สุด


5. คนชอบมองว่าทุกวันนี้คนจบ ป.ตรีกันเกลื่อน แล้วจะเรียนมหาวิทยาลัยกันไปทำไม? แต่จริงๆแล้วมันคือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจต่างหาก การที่คนมีการศึกษาสูงอาศัยอยู่ในสังคมเป็นจำนวนมากก็จะช่วยกันยกระดับจริยธรรมในสังคมขึ้นและชี้แแนะหนทางที่ถูกที่ควรให้บรรดาชาวบ้านผู้โดนเอาเปรียบและโดนหลอกลวงต้มตุ๋นได้ด้วย เช่น อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เขามีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านชีววิทยา เขาก็ช่วยชี้วิถีทางที่เขาเห็นสมควรว่าถูกให้ผู้คนไม่ตกเป็นเหยื่อ เช่น เปิดโปงความเชื่อเรื่องการล้างพิษตับ เปิดโปงการโกงกินในภาครัฐ(เรื่องเครื่อง GT 200) ฉะนี้แล้วการที่สังคมอุดมไปด้วยคนมีการศึกษาสูงนั้นจะเป็นการปูทางให้สังคมพัฒนาขึ้นในแง่จริยธรรมและวิถีชีวิต คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน


6.คนบางคนก็โดนข่มเหงรังแกจากพ่อแม่ในบ้าน คุณอาจจะไม่เชื่อว่ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นจริง แต่เราขอยืนยันว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันทุกคนและหลายคนก็ไม่ได้มอบความรักคุณภาพให้ลูก ไม่ได้รักลูกอย่างเหมาะสมพอเพียง หากไม่เชื่อ กรุณาอย่าลืมนึกถึงหลายๆกรณีพ่อแม่ที่เป็นข่าวฉาว จากเหตุนี้ การที่ลูกจะได้ออกจากบ้านไปเรียนมหาวิทยาลัยจึงเป็นจริยธรรมอย่างหนึ่ง หากเขาเลือกเรียนสายมนุษยศาสตร์ เขาก็จะได้แชร์เรื่องราวร้ายๆให้อาจารย์และเพื่อนๆฟัง และได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มปัญญาชนด้วย วิชาการด้านอักษรศาสตร์ก็จะช่วยให้คุณมี "ภาษาเป็นของตัวเอง" มีเหตุผล สามารถแหวกว่ายไปในโลกแห่งจินตนาการและจับภาพชิ้นส่วนของจินตนาการออกมาเป็นภาษาเพื่อให้สังคมรู้ว่าพวกเขาพลาดความจริงอะไรกันไป


ขอบคุณที่ทนอ่านมาได้ถึงตรงนี้นะ ขอบคุณจริงๆ หวังว่าผู้อ่านคงจะเข้าใจบทบาทของมหาวิทยาลัยกันมากขึ้น


1
1234 14 ส.ค. 61 เวลา 18:40 น. 7-1

คห. นี้ (รวมถึงคห.6) แสดงชัดเจนมากว่าบัณฑิตจากคณะที่ไม่ใช้วิชาชีพอย่างอักษรฯ รัฐศาสตร์ฯ จบมาจะเป็นแนวไหน แนวนี้แหละค่ะ คิดวิเคราะห์ มี source ชัดเจน (และไม่ลืมอ้างอิง555)

0