Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

TCAS 62 ทปอ จะไปทางไหน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วันนี้(19สค61)ได้เข้าไปตอบแบบสอบถามของ ทปอ ที่ร่วมกับเว็บ Dek-d ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบ tcas 61 ปีที่ผ่านมา ตามลิงค์นี้ https://www.dek-d.com/yourtcas/
แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบ TCAS 61
  • รวบรวมข้อมูลความพึงพอใจและความเห็นต่อระบบ
    เพื่อการปรับปรุงระบบ TCAS ในอนาคต
  • รองรับการใช้งานแบบ Mobile friendly สะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย
  • ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที
  • ห้าม! กด Back บน Browser >>> สามารถกด ก่อนหน้า ได้เท่านั้น
  • แบบสอบถามนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการประเมินระบบกลางเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย (TCAS)

 
 ซึ่งจะหมดเขตให้ตอบรู้สึกว่าจะเป็น 22 สค 2561 นี้ ก็ได้เข้าไปตอบแบบสอบถามตามที่เขาอยากจะถาม แต่รู้สึกว่าไม่ค่อยตรงกับที่เราอยากจะให้ถามเลย และท้ายสุดเขาให้แสดงความเห็นเป็นข้อความได้ 2000 ตัวอักษร ซึ่งก็ได้แสดงความเห็นไปตามที่เห็นว่าควรจะเป็น แต่ขัดใจตรงที่ 2000 ตัวอักษร มันไม่พอที่จะแสดงความเห็นอย่างเข้าเนื้อให้ได้เห็นถึงวัตถุประสงค์ที่เราอยากจะบอก เขียนไปได้แค่ tcas รอบที่ 2 ก็หมดโควตาแล้ว จึงทิ้งติ่งเอาไว้ว่าให้ตามมาอ่านในกระทู้นี้ในนามไอสไตล์ ซึ่งส่วนที่ได้แสดงความเห็นไปบางส่วนอยู่ในนี้ครับ แต่นี่ก็ตัดทอนสาระข้อความไปมากโขอยู่ ลองอ่านและแสดงความเห็นกันมาครับ เผื่อว่า ทปอ เขาตามมาอ่านจริงๆ จะได้เห็นถึงความรู้สึกที่พวกเรามีต่อระบบการรับ และอยากจะให้เป็น ให้ดี dek-d รวบรวมความเห็นตามกระทู้ต่างๆไปมอบให้ ทปอ ก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น เขาจะได้ฟังมุมมองที่หลากหลาย
.........
ความเห็นส่วนที่ 1
  1.   การรับแบบ tcas ก็เป็นการรับแบบเดิมๆที่เอาระบบ Entrance และ Admission มาเรียงให้เป็นระบบเสียใหม่และให้มีการเคลียริ่งกันให้จบในรอบต่อรอบซึ่งเป็นวิธีการที่ดีของระบบ Tcas แต่ รอบปี 2561 เป็นครั้งแรกจึงมีปัญหามากจากการวางระบบที่ไม่รอบคอบ ทำให้มีการกันที่คณะดีมหาวิทยาลัยดังเอาไว้เป็นจำนวนมากจากกลุ่มแพทย์/ทันตะ ( สมัยก่อนหน้านี้ก็มีการกันที่เอาไว้เหมือนกัน แต่เรามองไม่ค่อยเห็นเป็นรูปธรรมเหมือนกับระบบการรับในปี tcas61 นี้ ก็ต้องขอบคุณที่ออกแบบระบบมาจนทำให้มองเห็นการกันที่กันได้ชัดๆยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องแลกด้วยอนาคตของเด็กเป็นจำนวนมาก อนาคตทั้งชีวิตเขาหักเหไปโดยสิ้นเชิง )
การรับแบบ tcas หากมองให้ดีก็คือระบบการรับของมหาวิทยาลัยที่ใช้เพื่อเลือกรับเด็กเก่งเอาไว้ตั้งแต่รอบแรกๆ
ตั้งแต่ รอบที่ 1 รอบยื่นพอร์ท เด็กไม่เก่งและมีคุณสมบัติไม่เลอเลิศพอไม่มีสิทธิ์ติดรอบนี้ก่อน
(หรือมีใครจะเถึยง) รอบที่ 2 ให้โอกาสเด็กต่างจังหวัดได้เลือกเข้าคณะดีๆมหาวิทยาลัยในเขตของตัวก่อน และ รอบที่ 3 การรับร่วมกันทั่วประเทศเป็นอันจบรอบแย่งเด็กเก่งที่รอบนี้ หากยอมรับว่าเราใช้วิธีการนี้ เราก็ให้โอกาสเด็กเก่งได้แข่งกันอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมปัญหาก็จะไม่มาก ต้องยอมรับว่ากลุ่มเด็กเก่งยังนิยมแข่งเข้าเรียนแพทย์/ทันตะเป็นหลัก เราควรจัดการกับกลุ่มนี้ให้รัดกุมก็จะแก้ปัญหาการรับระบบ tcas ได้
  1.  การสอบในระบบ tcas ควรมีเฉพาะ 9 วิชาสามัญและวิชาภาษาต่างประเทศ แค่นี้พอ เพื่อลดภาระการสอบที่มากเกินไป การสอบที่มากหมายถึงเด็กต้องติวมากขึ้นไปตามวิชาที่ต้องใช้สอบ หมายรวมถึงสารพัดวิชาเฉพาะด้วย
  2. เด็กอยากเรียนตามความฝันของตนเอง แต่ทุกคนไม่สามารถเรียนตามที่ตัวเองฝันได้หากสอบสู้เขาไม่ได้ ในความเป็นจริงสุดท้ายเขาก็ต้องเลือกเรียนในสิ่งที่เขาสามารถสอบเข้าตามคะแนนที่ได้ การเอาวิชาเฉพาะต่างๆมาใช้สอบวัดผล ไม่ใช่การตอบโจทย์ที่ถูกต้อง เป็นการสร้างภาระให้เด็กเปล่าๆ หลงทางอย่างชัดเจน มีคนเก่งเพียงไม่กี่คนที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อนี้ 
  3. ( มีความพยายามที่จะสร้างกระบวนการให้เด็กค้นหาตนเองว่าอยากเป็นอะไร อยากเรียนอะไร เพื่อจะได้เตรียมตัวสอบในเรื่องนั้น กับระบบการสอบที่ต้องสอบตั้งมากมายที่มีอยู่นี้ ถามว่าดีไหม ขอตอบว่าดีและดีมากด้วย แต่จะดีกว่าไหมที่เขาอยากจะเรียนอย่างนั้นๆแล้ว เขาไม่ต้องสอบตั้งมากมาย และสุดท้ายคนที่ต้องสอบเป็นพันๆแต่มีคนสมหวังหลักร้อย สุดท้ายคนหลักพันก็ต้องเบนเข็มไปเรียนอย่างอื่น ( หรือว่าไม่จริง) ดังนั้นให้เขาสอบวิชาหลักๆแค่ 9 วิชาสามัญ+วิชาภาษต่างประเทศ ก็ใช้วัดแข่งขันคัดคนเข้าเรียนได้แล้ว เราเคยทำมา และไม่ต้องกลัวว่า่เขาจะทิ้งเพราะปัจจุบัน คณะที่เลือกให้เรียนมีมากมายแทบจะมากกว่าคนสมัครอยู่แล้ว หากยอมรับความจริง คณะดีๆมหาวิทยาลัยดังๆยังรับคนเข้าไม่เต็มเลย ผมได้ยินมา ( แต่ถ้าที่ผมได้ยินมาผิดไปก็ขออภัยด้วย))
ความเห็นส่วนที่ 2
รอบที่ 1 รอบยื่นพอร์ท
1.  รอบยื่นพอร์ท
ไม่ควรมีการใช้คะแนนจากการสอบ โดยเฉพาะการยืมมือต่างชาติจัดสอบ เราไม่ควรสร้างการยอมรับที่ผิดๆ การใช้วิธีการแบบศรีธนญชัย สร้างค่านิยมที่ยอมรับการทำผิดกฏให้เป็นถูกกฏ  ผมได้ตั้งกระทู้เรื่องนี้ตามความเห็นนี้ https://www.dek-d.com/board/view/3792357/
2. หากจะมีการใช้การสอบใดจากรอบการยื่นพอร์ต ควรย้ายวิธีการนี้เอาไปไว้รอบที่ 5
 
3. รอบที่ 2  รอบโควตา เป็นรอบที่เปิดโอกาสให้กับเด็ก ตจว. ได้มีโอกาสศึกษาในมหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่ของตนเองก่อนที่จะแข่งกับรอบส่วนกลางอันเนื่องมาจากการเหลื่อมล้ำกันในอดีตที่เด็ก ตจว สู้เด็กส่วนกลางไม่ได้ เพราะที่นั่งในมหาวิทยาลัยมีน้อยน้อยทั้งจำนวนมหาวิทยาลัย น้อยทั้งคณะฯที่เปิดสอน น้อยทั้งจำนวนรับ แต่ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว มหาวิทยาลัยเปิดขึ้นมากมาย จำนวนรับในคณะดังที่เป็นที่นิยมเปิดเพิ่มมากมายทุกสาขาวิชา ( แพทย์ วิศว สถาปัตย์ บัญชี นิติศาสตร์ เกษตร ฯลฯ )ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ กลุ่ม แพทย์และทันตะ ควรพิจารณาการรับให้เป็นบูรณาการทั้งระบบ ทั้งกลุ่มโควตา PI CPIRD และ กสพท ควรนำระบบการรับให้สอดคล้องต้องกัน มีการจำกัดสิทธิ์กันบ้างบางประการ เช่นสอบติดแพทย์รอบโควตา CPIRD PI แล้ว  หากสละสิทธิ์ก็ไม่ควรมีสิทธิ์สมัครแพทย์รอบ กสพท เป็นต้น
2.1 คนที่สมัครและติดแพทย์/ทันตะรอบโควตา PI CPIRD สมัครและติดแพทย์/ทันตะแล้วควรตัดสิทธิ์ที่จะสมัครแพทย์/ทันตะรอบ กสพท หากมั่นใจว่าจะติดทั้งแพทย์/ทันตะ ทั้งรอบ2 และรอบ 3 ก็คิดให้รอบคอบว่าจะสมัครในรอบไหน เหตุที่เอาแพทย์/ทันตะ เป็นตัวตั้งเพราะเป็นกลุ่มเด็กเก่งที่มีผลกระทบต่อระบบการรับในรอบ กสพท และกันที่เด็กโควตาที่เขาควรจะติดแพทย์แต่แพ้กลุ่มนี้ต้องไปติดคณะอื่นที่ไม่อยากได้ สุดท้ายพอกลุ่มนี้สละสิทธิ์ คนที่อยากเรียนที่ได้คะแนนถัดไปก็หมดสิทธิ์เพราะไปติดคณะอื่นลำดับถัดไปแทน จะเห็นว่าถ้ามองแบบผิวเผินก็ไม่มีผลกระทบอะไร แต่ถ้ามองลึกๆ มันกระทบกันมาก ( ลองเอาความคิดเรื่องอยากให้เด็กรู้ตัวตนว่าอยากเรียนอะไรเข้ามาจับดู แล้วจะเห็นถึงสัจธรรม )
 

3. รอบที่ 3
รอบที่ 3 รอบรับส่วนกลางร่วมกันทั่วประเทศ กลุ่มแพทย์/ทันตะ เป็นกลุ่มเด็กที่มีคะแนนสูง ระบบการคัดเลือกที่เด็กกลุ่มนี้เข้าไปเกี่ยวข้องต้องพิจารณาถึงผลกระทบอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบด้าน  ในความเห็นควรแยกการคัดเลือกเฉพาะแพทย์และทันตะเอาออกมาจากคณะอื่นและยิ่งได้มีการคัดเลือกก่อนคณะใครอื่นจะยิ่งดีมากขึ้นไปอีก 
ไม่ควรเอาเภสัช/สัตวแพทย์มารับรวมกับกลุ่มแพทย์/ทันตะ แต่จะใช้ข้อสอบเดียวกันก็ไม่เห็นเป็นไรแต่ขอเถอะ อย่าเอาไปเป็นลำดับหนึ่งในแพทย์/ทันตะเลย  ( ลองทำวิจัยย้อนหลังดูหน่อยปะไร ว่า แต่ละปีคณะแพทย์/ทันตะมีเด็กซิ่วติดเข้าไปในรอบ กสพท มีกี่มากน้อยเท่าไร ถ้าเอาตัวเลขออกมากางแล้วจะตกใจ(เดาเอาจากที่ได้สัมผัสแบบผิวเผินอ่านะ) ) หากว่าแยกเอาออกมารับก่อนไม่ได้ ก็ให้รับแบบเดิมมีเลือกอันดับเหมือนเดิม เพียงแต่ให้มีการเรียงลำดับ ติดได้เพียงลำดับเดียวตามลำดับที่เรียง โดยให้เลือกแพทย์/ทันตะได้ 4 อันดับเหมือนเดิมและติดได้เพียง 1 ที่ ส่วนคณะอื่นๆให้เลือกได้เป็น 1 ลำดับ  วิธีการรับให้เรียงลำดับแทน เช่น ลำดับที่ 1 เลือกวิศวะได้ 1 ที่  ลำดับที่ 2 เลือกแพทย์/ทันตะ ได้ 4 ที่ ลำดับที่ 3 เลือก สัตวได้ 1 ที่ อันดับที่ 4 เลือก เภสัชได้ 1 ที่ รวม 4 อันดับ คะแนนติดอันดับไหนก่อนก็ติดอันนั้นเพียงที่เดียว ถ้าอยากเรียนแพทย์มากกว่าวิศวะก็ให้เรียงแพทย์ไว้อันดับ 1 แทนวิศวะ การสอบใช้ 9 วิชาสามัญอย่างเดียว

รอบที่ 4 รอบแอดมิชชั่น รอบเก็บตก ใช้วิธีการรับแบบเดิมแต่ใช้คะแนน 9 วิชาสามัญและวิชาภาษาต่างประเทศเฉพาะบางภาษาอย่างเดียว หาวิธีคิดคะแนนใหม่ 
การสอบ GAT/PAT เป็นการสอบที่ซ้ำซ้อนกับ 9 วิชาสามัญ การสอบวิชาเฉพาะก็เป็นการเอาโครงสร้างโดยรวมของวิชาชีพนั้นๆเอามาออกข้อสอบ ถ้าจะให้พูดกันตรงๆก็คือเหมือนกับเอาเนื้อหาโดยรวมของวิชาชีพนั้นๆเอามาออกข้อสอบ  ในความเป็นจริงควรเป็นเรื่องที่เขาจะต้องเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยหลังจากที่เขาสอบเข้าไปได้แล้ว กลายเป็นว่าบังคับให้เขาต้องรู้หลักวิชานั้นๆทั้งหมดก่อนเข้าห้องสอบ ถามว่า ถ้าเด็กไม่ได้เรียนพิเศษจากติวเตอร์ที่ได้ประมวลเนื้อหาสรุปรวบยอดมาให้ทั้งหมดแล้ว เด็กคนนี้จะสอบเข้าได้ไหม ตัวอย่างชัดๆเช่นคณะสถาปัตย์ วิชาชีพครู และอื่นๆอีกเป็นต้น ( ตอบได้เลยว่ายากมาก )

รอบที่ 5  รอบการรับแบบอย่างไรก็ได้ จะรับแบบพอร์ทมีการสอบ ก็เอามาไว้ที่รอบนี้ คณะใด มหาวิทยาลัยใดยังได้เด็กไม่ครบก็เอามาไว้รอบนี้ รอบยื่นพอร์ทเก่งอังกฤษแบบมีสอบ TOEFL , IELTS , BMAT , SAT ฯลฯ เอามาไว้ที่รอบนี้ได้เลย อย่าเอาไปไว้ที่รอบที่ 1 ให้มันผิดวัตถุประสงค์ สร้างบรรทัดฐานในสังคมต่อไป
....
บทส่งท้าย
1. การใช้คะแนนสอบ O-Net ควรยกเลิก เพราะวัตถุประสงค์ที่นำมาใช้เพราะกระทรวงศึกษาธิการยืมมือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมาใช้สอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของชาติ ( หรือว่าไม่จริง????...ถ้าไม่หลอกตัวเอง ) การสอบยิ่งมาก ภาระอันหนักหน่วงก็ยิ่งไปตกกับเด็กมาก
2. การสอบ GAT/PAT ควรยกเลิก ควรใช้เฉพาะคะแนน 
9 วิชาสามัญ + วิชาภาษาต่างประเทศ อาจจะมีคนแย้งว่า นี่มันเป็นระบบ Entrance แบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วเลยนี่หว่า.... ใช่เลย วิธีการเดียวกันเด๊ะๆ แต่มีคณะจำนวนรับและรอบสอบมีถึง 5 รอบ มีให้เลือกสอบคณิตแบบยาก คณิต กข กับ คณิต ก และสอบอังกฤษยากกับอังกฤษง่าย  ให้เด็กวิทย์กับเด็กศิลป์ได้เลือกสอบตามความสามารถของตนเอง เด็กวิทย์จะสอบวิชาอะไรก็ได้ที่จะต้องใช้ในการยื่นเข้าตามที่คณะกำหนด เด็กศิลป์ก็มีวิชาง่ายให้สอบ ก็ไม่แปลกที่จะย้อนกลับไปใช้วิธีการเดิม ที่เห็นว่าดี
3. ช่วงที่ผ่านมา ทปอ ได้ทำประชาพิจารณ์ เกี่ยวกับการออกแบบระบบการรับ tcas 62 ซึ่งทำจบหมดแล้ว ตามความเห็นของผม เป็นสิ่งที่ ทปอ คิดระบบเอาไว้หมดแล้ว และต้องการฟังความเห็น เห็นด้วยหรือเห็นต่าง คิดว่าความหลากหลายของความเห็นน่าจะไม่มาก ก็แปลกใจว่าทำไม ทปอ ไม่เอาหลักการ เหตุผลและแนวคิดเอามาลงในเว็บของ ทปอ ให้ประชาชนพ่อแม่ผู้ปกครองและตัวนักเรียนได้รับรู้ว่ามันเป็นอย่างไร ทั้งที่มันเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมากๆ มีเหตุผลอะไรที่ไม่ทำช่วยตอบทีเถอะ ในเวลาที่ควรฟังความคิดเห็นอย่างถูกช่องทางง่ายและเป็นวงกว้างทำไมไม่ทำ เอาไว้ค่อยพอคิดเสร็จทำเสร็จแล้วจึงเอามาเปิดเผย ซึ่งก็ไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้แล้ว  ถึงตอนนี้ก็คอยดูเถิด ...  จำความเห็นนี้เอาไว้ดีๆนะครับ
4. มีเรื่องขัดใจ ทปอ อยู่เรื่องหนึ่งที่ติดอยู่ในหัวตลอดมา หากท่านเป็นผู้ติดตามข่าวสารของ ทปอ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อย่างน้อย 2 ช่องทาง คือเว็บไซท์นี้ http://www.cupt.net/tcas  และผ่านเฟซบุ๊ค ที่เว็บนี้ https://www.facebook.com/cuptthailand/ สิ่งหนึ่งที่ท่านจะพบก็คือ ข้อมูลข่าวสารที่ ทปอ อยากจะสื่อที่เป็นทางการ จะมาไม่พร้อมกันในเรื่องที่สำคัญๆ  บางเรื่องไปอยู่ในเว็บไซท์ บางเรื่องไปอยู่ในเฟซบุ๊ค อยากเสนอแนะว่าข่าวสารสำคัญที่เป็นทางการ หากจะนำเสนอขอให้นำเสนอพร้อมๆกันทุกช่องทาง คงไม่มีใครที่จะไปตามทั้งเว็บไซท์ เฟซบุ๊คและทวิทเตอร์(มีป่าว?)หรอก ก็ขอฝากให้ช่วยพิจารณาด้วย
 
.....
ส่วนที่เขาถามมาให้เราตอบ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ส่วนที่เราอยากจะแสดงความเห็นเลย
ส่วนที่เราอยากแสดงความเห็นก็ให้แค่ 2000 ตัวอักษร
เขียนได้เทียมนี้ก็เกิน 2000 ตัวอักษรมาโขละ ตัดออกจนไม่ได้ใจความ
ดูแล้วเขาก็คงแค่อยากจะทำให้ครบกระบวนการกระมัง

ไอสไตล์
 
หมายเหตุ...

มาถึงตอนนี้ ก็ได้แก้ไขเนื้อหาตามที่อยากจะแสดงความเห็นครบถ้วนแล้ว อย่าได้แปลกใจที่เนื่้อหาเกิน 2000 ตัวอักษรไปมากโขอยู่ ความเห็นต่างๆที่ได้แสดงไปเป็นความเห็นส่วนตัว นักเรียน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ที่มีความเห็นเป็นเช่นไร ควรแสดงความเห็นออกมา เพื่อเผื่อว่าผู้เกี่ยวข้องจะได้นำไปพิจารณาแก้ไขให้มันดียิ่งขึ้น ความเห็นของท่านมีผลต่อวิธีการรับเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในอนาคตอันใกล้นี้ และต่อๆปครับ

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

ไอสไตล์ 19 ส.ค. 61 เวลา 15:19 น. 1


มาดูกันว่าเด็กคนหนึ่งต้องสอบอะไรบ้าง



https://image.dek-d.com/27/0580/1176/127328658


https://image.dek-d.com/27/0580/1176/127328651

https://image.dek-d.com/27/0580/1176/127328661

https://image.dek-d.com/27/0580/1176/127328655


ถามว่าเด็กคนหนึ่งอยากเรียนหมอ มีอยู่ 30,000.+ คน

เป็นตัวเลขผู้สมัครเข้าสอบ วิชาความถนัดแพทย์/ทันตะปี 2561

( อาจจะอยากเรียนเภสัช/สัตวแพทย์ด้วย)

ถามอีกว่า ในจำนวนนี้ มีเพียง ประมาณ 3,000 - 4,000 คน เท่านั้น

ที่จะได้เรียนตามจำนวนที่รับได้ทั้งหมด

ถามอีกว่า คนอีก 30,000 คน ที่ไม่ติดต้องไปสมัครเรียนอะไรต่อ

หากอยากจะเรียนวิศวะคุณต้องสอบ GAT/PAT สำรองเอาไว้

ถ้าจะเรียนสถาปัตย์คุณก็ต้องสมัครและสอบGAT/PATสาขานั้นๆเผื่อเอาไว้ด้วย

ถ้าจะเรียนบัญชี / นิติศาสตร์ / คณิตประกันภัย / เศรษฐศาสตร์ ล่ะ คุณต้องสอบอะไรเตรียมเอาไว้

หนักแค่ไหนที่เด็กรุ่นใหม่ต้องแบกรับกับระบบวิธีการในปัจจุบันนี้

โลกไม่ได้สวยไปเสียทั้งหมด

คนที่อยากจะเรียนในสาขาที่ตัวเองอยากจะเรียนไม่ได้สมหวังไปเสียทุกคน

ดังนั้นการสอบเผื่อเอาไว้จึงเป็นเรื่องที่พบได้ในชีวิตจริง


นี่ยังไม่นับรวมกับเกรดที่จะต้องทำสะสมให้ดีเอาไว้ระหว่างเรียนด้วยนะ


เหนื่อยแทนจริงๆ


1
ไอสไตล์ 21 ส.ค. 61 เวลา 17:48 น. 2-1

ลองอ่านดีๆนะครับ...



" รอบที่ 5 รอบการรับแบบอย่างไรก็ได้ จะรับแบบพอร์ทมีการสอบ ก็เอามาไว้ที่รอบนี้ คณะใด มหาวิทยาลัยใดยังได้เด็กไม่ครบก็เอามาไว้รอบนี้ รอบยื่นพอร์ทเก่งอังกฤษแบบมีสอบ TOEFL , IELTS , BMAT , SAT ฯลฯ เอามาไว้ที่รอบนี้ได้เลย อย่าเอาไปไว้ที่รอบที่ 1 ให้มันผิดวัตถุประสงค์ สร้างบรรทัดฐานในสังคมต่อไป "


0
รกฺขสฺ 21 ส.ค. 61 เวลา 11:57 น. 3

เห็นด้วยกับคุณแค่ข้อเดียว คือ คะแนนรอบ Add ควรใช้วิชาสามัญ เพราะเจอคณะสายศิลป์ ใช้คะแนน PAT1 มากเกินไป เหมือนเป็นการให้ท้ายสายวิทย์ สร้างค่านิยมผิด ๆ ต่อไป

เรื่องที่ว่าให้ตัดการสอบ GAT PAT และวิชาเฉพาะออกไป ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ระบบ Entrance สมัยก่อน อาจจะดูเหมือนดี แต่จริง ๆ แล้วมันมีปัญหา เพราะว่าข้อสอบกลางที่เป็นวิชาสามัญ ไม่สามารถวัดความถนัดตามสาขาวิชานั้น ๆ ได้ ให้คุณลองคิดถึงกรณีสอบความถนัดของสถาปัตย์ก็ได้ ว่าถ้าไม่มีแล้วจะเป็นอย่างไร (ความถนัดสถาปัตย์ คือ PAT 4) ซึ่งจริง ๆ แล้วเห็นได้จากสถานการณ์ทุกวันนี้ ว่าถึงแม้ PAT จะมีมากถึง 7 ตัว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ มหาวิทยาลัยต้องจัดสอบวิชาเฉพาะเองอยู่เรื่อยไป


ปล. ฝากถึงใครหลาย ๆ คน ที่พูดประมาณว่า "เด็กเก่ง ๆ กั๊กที่ จะลงรอบ 3 ครบ 4 ช่อง ทำไม ยังไงก็ติดหมอ" ต้องไม่ลืมว่า เด็กเก่ง ๆ ก็ตั้งใจเรียนมาหนักเหมือนกัน การลิดรอนสิทธิ์ของเด็กเหล่านั้น เพื่อให้โอกาสเด็กที่อ่อนกว่า (ทั้งที่บางทีอาจจะไม่สมควรได้รับ) ต้องพิจารณาให้รอบคอบกว่านั้น

1
ไอสไตล์ 21 ส.ค. 61 เวลา 18:08 น. 3-1

ลองดูในความเป็นจริงนะ ผมไม่ได้ดูละเอียด ยกตัวอย่างที่เห็นชัดจากที่ผ่านมา เอาคณะแพทย์เป็นหลัก บังเอิญคณะอื่นผมไม่ได้ตามดูอย่างละเอียด


1. แพทย์ กลุ่มโควตา ของปี 2561 หลายมหาวิทยาลัยรับจากคะแนนดิบของ 7 วิชาสามัญตามน้ำหนักถ่วงที่กำหนดของแต่ละที่ ไม่มีการนำวิชาความถนัดทางแพทย์มาคิด ส่วนใหญ่รับรอบโควตาไปไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นของที่นั่งทั้งหมด

2. แพทย์กลุ่ม กสพท ของปี 2561 ใช้คะแนน 7 วิชาสามัญตามน้ำหนักถ่วงทีี่กำหนด และนำคะแนนวิชาถนัดทางแพทย์มาคิดรวมด้วย

3. จากข้อ 1 และ ข้อ 2 เด็ก 2 กลุ่มเข้าไปนั่งเรียนในชั้นเรียนเดียวกันรุ่นเดียวกัน จบออกมาเหมือนกัน และได้ทำในลักษณะนี้มาก่อนหน้านี้มาเป็นเวลานาน คำถามคือ มีเหตุผลใดที่ใช้วิธีการรับที่แตกต่างกัน ยิ่งของรอบปี 2561 ยิ่งเห็นได้ชัด เพราะใช้คะแนนตัวเดียวสกันเด๊ะๆ กสพท ใช้คะแนนวิชาความถนัด แต่ รอบโควตาไม่ใช้ มองเห็นความขัดแย้งในตัวมันเองไหมครับ

4. ส่วนคณะอื่นๆ ถ้าเป็นวิศวะแบบปีก่อนๆ รอบรับตรงหลายที่ใช้เฉพาะ 7 วิชาสามัญ แต่พอมารอบ แอดมิชชั่น กลับเอา GAT/PAT+GPAX+O-Net สุดท้าย 2 กลุ่มนี้เข้าไปนั่งเรียนด้วยกัน เห็นความขัดแย้งในตัวมันเองไหมครับ


0
ผู้ปกครอง62 21 ส.ค. 61 เวลา 21:29 น. 4

อยากเสนอให้รอบ port ที่ใช้เกณฑ์ภาษาอังกฤษในเมื่อเรียนในประเทศ ควรบังคับให้ใช้เฉพาะเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย หรือ จะตั้งสถาบันภาษาอังกฤษในประเทศไทยมารองรับดีกว่าเสียดายเงินที่ต้องไปจ่ายแพงๆ เด็กที่ฐานะปานกลางจะได้มีโอกาสมากขึ้นและไม่ต้องเสียเงินให้ต่างชาติครับ

2
ไอสไตล์ 22 ส.ค. 61 เวลา 09:58 น. 4-1


สถาบันภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยของไทยที่จัดสอบรับรองมาตรฐานภาษาอังกฤษก็มีอยู่ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆเกือบทุกแห่งนะครับ เช่น ของจุฬา ก็ CU-TEP , ของเชียงใหม่ก็มี CMU-eTEGS ของ ธรรมศาสตร์ก็มี TU-GET และที่อื่นๆก็น่าจะมีอีกหลายที่ การรับรอบยื่นพอร์ทเก่งอังกฤษ หลายแห่งก็ใช้ของไทยได้ แต่ก็ไม่ใช้รับของทุกสถาบัน ที่เห็นใช้รับหลากหลายที่ก็จะเป็นของ CU-TEP เป็นหลัก เชียงใหม่คือ CMU-eTEGS ก็ใช้กับเชียงใหม่เป็นหลัก ส่วนที่แน่ๆก็คือของต่างประเทศ เกือบทุกที่จะใช้ TOEFL และ IELTS เป็นหลักเหมือนๆกันเกือบทุกแห่ง ดังนั้นก็อย่าแปลกใจว่า ทั้ง TOEFL และ IELTS นับแต่นี้กิจกรรมการเรียนพิเศษ การแย่งกันสมัครเข้าสอบจะมีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แค่ปี 2561 ปีแรกที่ใช้ 2 ตัวนี้เป็นหลักในหลายมหาวิทยาลัยในการยื่นพอร์ท เกือบทุกสนามสอบต่างจังหวัดเต็มหมดในเวลาอันรวดเร็วที่มีการจัดสอบ มีใครจะสอบสถาบันของประเทศไทยไหมครับ ตอบว่ามี แต่ก็ต้องสองของ TOEFL หรือ IELTS ที่เป็นแบบอินเตอร์ติดมือเอาไว้บ้าง เพราะมันใช้ได้กว้างกว่า



0
ไอสไตล์ 22 ส.ค. 61 เวลา 10:18 น. 4-2

กัลยาณมิตรท่านหนึ่งส่งรูปปรัชญาแนวคิดทางการศึกษา

ตามแนวความคิดของไอน์สไตน์ ที่มีต่อการคัดเลือกบุคคลด้วยวิธีการอันจำกัด

ถ้าเปรียบเทียบกับระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยของไทย

ที่ใช้การสอบความถนัดทางวิชาชีพมาใช้วัดผล

รูปนี้ก็อาจจะเป็นต้นแบบของแนวความคิดในการที่นำคะแนนวิชาถนัดทางวิชาชีพมาใช้

เพราะมันตรงกันอย่างพอดิบพอดี

ลองดูนะครับ


https://image.dek-d.com/27/0580/1176/127340208



0
ไอสไตล์ 22 ส.ค. 61 เวลา 13:27 น. 5


กัลยาณมิตรท่านหนึ่งส่งรูปปรัชญาแนวคิดทางการศึกษา

ตามแนวความคิดของไอน์สไตน์ ที่มีต่อการคัดเลือกบุคคลด้วยวิธีการอันจำกัด

ถ้าเปรียบเทียบกับระบบการรับเข้ามหาวิทยาลัยของไทย

ที่ใช้การสอบความถนัดทางวิชาชีพมาใช้วัดผล

รูปนี้ก็อาจจะเป็นต้นแบบของแนวความคิดในการที่นำคะแนนวิชาถนัดทางวิชาชีพมาใช้

เพราะมันตรงกันอย่างพอดิบพอดี

ลองดูนะครับ


https://image.dek-d.com/27/0580/1176/127340208


0