Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มาทบทวนความรู้เรื่องความแตกต่างของ สำนวน-คำพังเพย-สุภาษิต กัน ^-^

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้เราจะมานำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของ สำนวน คำพังเพย และ สุภาษิต กัน...
ความงดงามประการหนึ่งของภาษาไทย คือ เรามีสำนวน-คำพังเพย-สุภาษิต ที่ช่วยให้คำพูดและเขียนมีความหลากหลายและคมคาย ให้แง่คิดที่สละสลวยยิ่งขึ้น 


แต่บางทีสำนวน-คำพังเพย-สุภาษิต ก็ยากที่จะแยกออกจากกันให้ชัดเจน เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัยว่า สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย มีความหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ? มาหาคำตอบกันเลย 
คำพังเพย เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลางๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณะติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน เช่น ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น, เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย,น้ำถึงไหน ปลาถึงนั้น เป็นต้น


     กระต่ายตื่นตูม

    ทำนาบนหลังคน

สุภาษิต เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอน หรือหลักความจริง เช่น  รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ, ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า เป็นคำพูดเชิงเตือนสติว่า อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจ


น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ


ส่วนคำว่า “สำนวน” ที่ใช้ในที่นี้จึงหมายถึงเฉพาะถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตัวอักษร มีความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบ มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า สำนวนเป็นคำพูดชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้วางหลักวิชาหรือให้คติอย่างไร เช่น หนังหน้าไฟ, เกลือจิ้มเกลือ

       ตาบอดได้แว่น 

สรุปก็คือ 

คำพังเพย คือ ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมา มีความเห็นในตัว แต่ไม่ถือเป็นคำสอน 
สุภาษิต คือ ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน กินความลึกซึ้ง มีความหมาย ใช้เป็นคติคำสอน หรือมาจากหลักความจริง
สำนวน คือ ถ้อยคำที่มีความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบ

โอเคค่ะ หลังจากที่เราได้รับความรู้เรื่องนี้เเล้วเนี่ย มาทำแบบทดสอบความเข้าใจกันเถอะ enlightened
คลิ๊ก>>>> https://www.dek-d.com/quiz/supertest/67236/



 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น