Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากรู้ความคิดคนที่ใช้ 'นะค่ะ'

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือสงสัยว่าคนที่มักจะใช้คำว่า นะค่ะ หรือ สลับ คะ ค่ะ ผิด เขาเคยเรียนการเขียนภาษาไทย หรือ การใช้วรรณยุกต์มาบ้างรึป่าวคะ แม้แต่แม่ตัวเอง หรืออาจารย์ที่โรงเรียนก็ยังใช้ผิด หรือว่าสมัยนี้ คำว่านะค่ะกลายเป็นคำที่ถูกจริงๆ ไปแล้ว คือสงสัยจริงๆ ค่ะ

ปล.ตั้งผิดหมวดขออภัยค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

Wn_. 24 ก.ย. 61 เวลา 20:57 น. 2

ผมคิดว่า การใช้คะ ค่ะ เสียงสูงต่ำ ตามรูปประโยค เป็นการแนวคิดวิธีออกเสียงมาจากภาษาอังกฤษ

หลักภาษาไทยเดิม ไม่ได้สำเนียงเสียงสูงต่ำตามรูปประโยค

เช่น

Is this a pen ? ประโยคคำถาม ลงท้ายเสียงสูง

คนไทยก็เอาอย่างบ้าง นี่คือปากกาใช่มั้ย , นี่คือปากกาใช่มั้ยคะ ( คำว่า "มั้ย" เป็นการใช้คำที่ไม่ถูกต้อง )

ถ้าหลักภาษาไทยเดิม ควรเป็น นี่คือปากกาใช่หรือไม่ ซึ่งไม่ได้เสียงสูงตามรูปประโยคคำถาม


การออกเสียงสูงต่ำ สำเนียงตามรูปประโยค หรือ ตามอารมณ์ เป็นหลักภาษาต่างประเทศ บางทีหลักวรรณยุกต์ไทยก็ไม่ได้รองรับเสียงที่ตรงตัว


คำว่า "คะ" กับ "ค่ะ" มีให้เลือกใช้แค่เพียงสองคำ อาจจะไม่สอดคล้องกับสำเนียงที่คนออกเสียงจริง และ ไม่มีคำว่า "ขะ , ข่ะ" (เสียงวรรณยุกต์เอก) ด้วย


หลายคนก็ไม่ได้ออกเสียงตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ไทย

คำว่า "ค่ะ"

ค เป็นอักษรต่ำ เมื่อใส่รูปวรรณยุกต์ ไม้เอก ต้องออกเสียง โท (ข้ะ , ข้า )

แต่หลายคนก็มักจะออกเสียงวรรณยุกต์ เอก ( ขะ , ข่ะ , ข่า )


เมื่อก่อน ผมก็สงสัยคนที่ว่า ใช้ผิด "น่ะค่ะ" ว่าผิดแบบนี้ได้อย่างไร

ต่อมาพอเข้าใจมานึกถึงการออกเสียงจริง ตามรูปประโยค ผู้เขียนต้องการสื่อว่า ออกเสียง -หนะ - ขะ (เสียงวรรณยุกต์เอก) จึงใส่ไม้เอก


หมายเหตุ

ผมเคยแสดงความคิดเห็นนี้ใน web pantip.com แล้ว ผม copy ความคิดเห็นของผมเอง (แต่ไม่ได้ใช้ชื่อเล่นนี้) ปรุงแต่ถ้อยคำเล็กน้อยมาโพสที่นี่

0
ซีเอทีแคทแมว 26 ก.ย. 61 เวลา 00:32 น. 3

มันคือความต่าง เวลาพูด กับเขียนค่ะ

เราก็เคยใช้ผิด เหตุผลคือ เวลาเราพิมพ์

เราไม่ได้พูดตามข้อความที่เราพิมพ์ตลอด

มันเกิดจากความเคยชินจากการพิมพ์คำว่า ค่ะ

แต่ถ้าเราออกเสียงด้วยเวลาเราพิมพ์ เราก็พิมพ์ไม่ผิดนะ

แต่ถ้าพิมพ์โดยที่ไม่ได้ออกเสียงไปด้วย ก็จะลืมตัว กด ไม้เอก ไปด้วยตลอด

0