Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(มาถกกัน) ความต่อเนื่องของ POV

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่ะชาวบอร์ดทุกท่าน

วันนี้เรามาเปิดประเด็นเกี่ยวกับความต่อเนื่องของ POV หรือมุมมองของตัวละครค่ะ มาชวนคุยกันเล่นๆ เนาะ นำเสนอความคิดเห็นกันอย่างเสรีเลยค่ะ เราชอบการถกเถียง(ที่มีเหตุผล)55 เนื้อหายาวหน่อยนะคะ

วันก่อนเราไปเจอกระทู้ใน Reddit มา OP ตั้งถามว่า "เราจะอธิบายลักษณะตัวละครหลักจากมุมมองของตัวละครนั้นได้ยังไง" ลิ้งค์ข้างล่างตามนี้เลยค่ะ เผื่อใครอยากอ่านความเห็น

https://www.reddit.com/r/writing/comments/89dysd/how_to_describe_mcs_appearance_from_that_mcs_pov/

สรุปเนื้อหาของกระทู้นี้คือเวลาเราใช้มุมมองบุคคลที่ 1 หรือ 3 แบบ limited (กล้องอยู่เหนือบ่าตัวละคร เห็นเท่าที่ตัวละครเห็น ไม่ใช่พระเจ้าเห็นทุกอย่าง) เราจะแอบแทรกลักษณะภายนอกของตัวดำเนินเรื่องยังไงโดยที่ไม่ทำให้สูญเสียความต่อเนื่องของ POV ไป เช่น หากเป็นมุมมองบุคคลที่ 1 แล้วเราอยากให้นักอ่านรู้ว่าตัวละครของเราผมดำ ตาฟ้า จะสื่อยังไงไม่ให้มันขัดกับมุมมอง เพราะตัวละครย่อมมองไม่เห็นตัวเอง และการบรรยายของเขาก็มักจะไม่พูดถึงลักษณะภายนอกของตัวเองโดยไม่มีเหตุผล ลองคิดดูนะคะ ตัวละครคงไม่อยู่ๆ คิดว่า "ผมมีผมสีดำ ตาสีฟ้า" เหมือนรู้คิวว่าต้องแนะนำตัวอยู่แล้วหรอกจริงไหม แล้วเราจะทำยังไงดี??

1. ให้ตัวละครมองกระจก จะได้ถือโอกาสบรรยายสิ่งที่เห็น ซึ่งอันนี้เชยมากกกก เข้าเราเต็มๆ เพราะนิยายเราเองก็มี (อยากเห็นตัวอย่าง เชิญที่นิยายเราได้ค่ะ มีการโปรโมท55) ในกระทู้นั้นเขาบอกกันว่าอย่าทำนะ อย่า! อย่าเด็ดขาด! มันดูไม่เป็นธรรมชาติ อันนี้เรา guilty ตามที่กล่าวหา ฮา
2. รอโอกาสที่มีคนทักตัวละคร เช่น "แฮร์รี่เธอตาสีเขียวเหมือนแม่เลย" หรือแอบแทรกไปในเหตุการณ์แบบเนียนๆ เช่น ตัวละครหยิบของบนชั้นไม่ถึง ก็เป็นการเผยนัยๆ ว่าตัวเตี้ย ในตัวอย่างกระทู้นั้นมีเทคนิคพอสมควร ลองไปส่องได้ค่ะ
3. ไม่ต้องบรรยายลักษณะภายนอกของตัวละครเลย ยกเว้นแต่จำเป็นจริงๆ

ซึ่ง 2. กับ 3. มีปัญหาตรงที่ มันไม่ถูกใจนักอ่านค่ะ55 จริงๆ นะ เราเคยเจอมากับตัว นักอ่านบอกว่าอยากให้รู้สีผมสีตาตัวละครของเรา ทั้งที่เราโปรยไว้ตามทางอยู่แล้ว แต่เหมือนเขาอยากได้หนึ่งย่อหน้าที่อธิบายอย่างละเอียด แบบพรรณนาดวงหน้า เรือนผม นัยน์ตา แบบครบเซ็ต การที่เราใส่ไว้ตามทางทำให้เขาไม่สังเกตซะงั้น อันนี้เป็นจุดหนึ่งที่นักอ่านไทยกับฝรั่งต่างกัน เพราะนักอ่านไทยดูจะให้ความสำคัญกับลักษณะภายนอกของตัวละครมาก ส่วนฝรั่งเขาจะชอบแบบคลุมเครือ จินตนาการเองมากกว่า แต่ประเด็นนี้ขอเก็บไว้ก่อน

เราเลยสงสัยว่าเอ๊ะ แล้วคนอื่นเขาทำกันยังไงกัน เลยไปสุ่มนิยายหมวดแฟนตาซีมาประมาณห้าหกเรื่อง

ปรากฏว่า POV กระจุยกระจายมากเลยค่ะ

ตั้งแต่ตัวละครอยู่ๆ ก็บรรยายสีผมสีตาตัวเองขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผล (แล้วก็ชมด้วยว่าตัวเองหล่อ เหมือนรู้ว่ามีคนอ่านอ่านอยู่555) หรือมุมมองกล้องเหนือไหล่แต่แอบใส่ "ดวงตาสีฟ้าดุจน้ำทะเลของเขา" หรือ "ร่างสูง" เข้ามาได้ ทั้งที่ตัวละครมองไม่เห็นลูกกะตาหรือร่างตัวเอง และไม่ใช่แค่ลักษณะภายนอกนะคะ เรื่องอื่นๆ เช่น มุมมองกระโดดไปมา แบบย่อหน้าหนึ่งบรรยายความคิดตัวละครอีกตัว ย่อหน้าถัดมาดันไปบรรยายอีกตัว มากมายไปหมด

เราอ่านแล้วตากระตุกเลยค่ะ มันไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นธรรมชาติ และทำให้ภาพรวมของนิยายสะเปะสะปะ แต่เท่าที่เห็น น้อยคนมากๆ ที่จะติงเรื่องพวกนี้ขึ้นมา และเวลามีคนตั้งกระทู้ถามว่าไม่ชอบอะไรในนิยายสมัยนี้ ก็ไม่ค่อยมีคนตอบเรื่องนี้ เราเลยมาชวนคุยค่ะ (หลังจากเกริ่นมายาวมาก) ว่าทุกท่านเคยเห็นปัญหาแบบนี้ผ่านตามากันบ้างไหม คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่หรือสำคัญไหม หรือมาแชร์วิธีบรรยายลักษณะตัวละครโดยที่ไม่ดูจงใจเกินไปกันค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

15 ความคิดเห็น

คุณพีทคุง พิธันดร 5 ต.ค. 61 เวลา 22:19 น. 1

เอาเรื่องกระจุยกระจายนะครับ


มันเป็นลักษณะหลักของนิยายสมัยนี้ไปแล้วครับ ฮ่าๆๆ เจอได้ทั่วไป เพื่อนๆ ผมก็เป็นกันหนัก แก้กันจนปวดหัวก็ยังตามกันไม่หวาดไม่ไหว


บอกตรงๆ ว่านิยายที่เขียนมุมมองได้แม่นๆ ตอนนี้เป็นส่วนน้อยจริงๆ


ปัญหาหลักน่าจะมาจากสองอย่างประกอบกันคือ


(1) คนเขียนรู้เรื่องทั้งหมดแล้วก็เลยอยากเล่าทั้งหมด คืออารมณ์จะเป็นมุมมองพระเจ้าแอบแฝงอยู่ตลอดเวลา บางคนก็รู้ตัว บางคนก็ไม่รู้ตัว มันมีจุดน่าสังเกตอยู่ว่า คนที่จงใจใช้มุมมองพระเจ้า เขียนออกมาแล้วก็ยังต่อเนื่องมากกว่าคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองใช้มุมมองอะไร แต่ไหลไปเรื่อยๆ นะครับ


(2) คนเขียนยังขาดประสบการณ์ทั้งในแง่การอ่านและเขียน ถ้าอ่านมาเยอะและอ่านเป็น (และอ่านหนังสือที่ผ่านการจัดทำอย่างมีคุณภาพ) มันจะซึมซับไปเองนะ เรื่องมุมมองนี่ คือถ้าเขียนกระโดดเองแล้วมันจะขัดๆ เอง อาจจะอธิบายไม่ถูก แต่ความรู้สึกมันจะบอก กับประสบการณ์ในการเขียนคือ การคุมมุมมองให้แม่นนี่ ผมว่าไม่ง่ายนะครับ เพราะมันต้องมีสติอยู่ตลอดเวลาว่าตอนนี้ตัวคนเล่าอยู่ตรงไหนในฉาก ใกล้แค่ไหน รู้แค่ไหน คนอ่านควรจะได้รับการบอกเล่าว่าอะไร ซึ่งมันก็เหมือนขับรถ คือมันต้องทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน คนหัดขับใหม่ๆ ก็จะชุลมุนคว้าผิดคว้าถูก แต่ถ้าขับไปนานๆ หลายอย่างมันก็ไปโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องคิด เรื่องมุมมองก็เหมือนกัน แรกๆ คงยังต้องคิดเยอะว่าตอนนี้เราวางกล้องไว้ตรงไหน อาจจะต้องเขียนแบบจริงจังไปนานๆ ถึงจะเป็นอัตโนมัติมากขึ้น


ส่วนปัญหาแรก อยากบอกว่า มันเป็นปัญหาม้าาาาาาาาาก ปวดหัวทุกครั้งที่เปิดเรื่องใหม่เลยครับ


มีกรณีนึงที่จะช่วยได้ง่ายมากคือ กรณีที่มีตัวละครหลักเป็นผู้เล่าหลายคน หรืออย่างน้อยสองคน (เช่นพระเอกกับนางเอก) แล้วสองคนนี้ก็บรรยายกันและกัน เย้


แต่ถ้ามีตัวละครผู้เล่าคนเดียว (บุรุษที่ 1 หรือ 3) ก็... ปวดหัวต่อไป... งืด...

1
Maritian 5 ต.ค. 61 เวลา 22:35 น. 1-1

คนเขียนรู้เรื่องอยู่แล้ว เลยอยากเล่าอันนี้คือจริงมาก55 เราเคยเห็นบางคนตอนแนะนำตัวละครหนแรกแบบจัดเต็มมาก เก่งอย่างนั้นอย่างนู้น ไร้พ่ายทั่วปฐพีนู่นนี่นั่น บางทีอ่านแล้วเหนื่อยแทน อยากจะคอมเม้นต์บอกเขาว่าเก็บไว้บทหลังๆ บ้างก็ได้

0
K.W.E. 5 ต.ค. 61 เวลา 22:25 น. 2

เอ... ปกติผมก็ไม่ค่อยเน้นบรรยายเรื่องสีผม สีตา ให้มากนักด้วยสิครับ

คือถ้าไม่ได้เน้นบทรัก เน้นความโรแมนติก ผมว่าพวกนี้ออกจะเป็นประเด็นรองแฮะ


พอดีเป็นสายแอ็กชัน วางแผน การเมือง ชิงเหลี่ยม ก็เลยทำให้ซีนแอ็กชันเป็นประเด็นหลักมากกว่า...


แต่ถ้าต้องนำเสนอส่วนที่ว่าจริง มันก็ไม่พ้น 2 เงื่อนไขหลักนั่นล่ะครับคือ

1. ตัวเอกพูดเอง

2. คนอื่นพูดให้ / เงื่อนบางอย่างที่เจาะจงชี้นำ


ลูกเล่นการนำเสนอก็มีหลายอย่างอยู่นะครับ

เช่นตัวเอกพูดเองนี่ ถ้าเซ็ทให้มีนิสัยหลงตัวเอง ก็ไม่ต้องมากขั้นตอนเลย


อาทิ

"ชายคนนั้นแววตาสีน้ำเงินสวยดีนะ... แต่ว่ามันก็สวยไม่ได้ครึ่งของกระผมเลยสักนิด"


จะทำเป็นมุกตลกร้ายก็ได้ เช่นฉากต่อสู้แล้วถูกฟันถากหัวแล้วผมแหว่ง

ในจังหวะสะบัดหลบนั้น คมดาบก็เฉี่ยวหัวแบบหวาดเสียวมาก


แล้วมันก็ทำให้ได้เห็นเส้นผมที่ถูกตัดกระจายฟุ้งบนฟ้า

โอว... แสงแดดตัดส่องมาเป็นสีม่วงสะท้อนแวววับปนสีดำชวนลึกลับ... ผมของเรานี่ช่างงดงามเหลือเกิน


ก็อยากพูดแบบนี้หรอก แต่นาทีของเคืองแทนเหอะ!

"เจ้าบ้าเอ้ย! กล้าดียังไง มาทำผมฉันแหว่งได้นะเฟ้ย! เตรียมใจได้เลย ฉันจะกล้อนผมแกให้หมดหัวเลย!!"


เป็นมุกที่เนียนบรรยายสีผมได้เช่นกัน



หรือเงื่อนไขที่เจาะจงชี้นำก็ทำได้เช่นกัน อาทิ


ผมอ่านเงื่อนไขที่เขียนบนบอร์ด 'ผู้ที่จะเข้าเมืองนี้ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องมีผมยาว สีทองสลวยเท่านั้น...'

พออ่านจบเท่านั้นล่ะ ปรากฎว่าเพื่อน ๆ หันมามองผมเป็นตาเดียวกันเลย...

"จะว่าไป นายก็เข้าเงื่อนไขนะ" เพื่อน A พูดไปก็มองผมไป

"นั่นสิ ฉันก็ว่างั้นล่ะผมเธอทองสลวยจริง ๆ นั่นล่" เพื่อน B ถือวิสาสะลูบผมของผม จนสะดุ้งต้องสะบัดตัวหลบออกมา




ถ้าจะหาทางออก ผมว่าไม่ยากหรอกครับ ถ้าเทียบกับประเด็นคำซ้ำ คำเชื่อม รูปประโยคที่บังคับให้ต้องบรรยายคล้าย ๆ กัน ผมว่าการนำเสนอเรื่องสีผม สีตา ค่อนข้างมีทางออกได้พอตัวเลยล่ะ

1
Maritian 5 ต.ค. 61 เวลา 22:38 น. 2-1

ยกตัวอย่างน่ารักจังเลยค่ะ55


เราเองก็ไม่ค่อยซีเรียสเรื่องลักษณะภายนอกนี่เท่าไรอยู่แล้ว เพราะเขียนแนวนิยายแปล แต่ออกแนวจริงจังหน่อยเลยแทรกมุกไม่ได้มาก55 แต่ที่ตั้งกระทู้นี้ส่วนตัวก็ไม่ได้มีปัญหาบรรยายอะไรขนาดนั้นหรอกค่ะ ชวนคุยเล่นเฉยๆ มากกว่า

0
G.Tenju 5 ต.ค. 61 เวลา 23:07 น. 3

ส่วนตัวผมชอบการบรรยายแบบ POV1 ถึงมุมมองมันจะแคบ แต่มันสัมผัสได้ถึงอารมณ์ลึกๆของตัวละคร เวลาบรรยายมันสามารถใส่มุมมองของตัวละครเข้าไปได้โดยไม่รู้สึกผิดธรรมชาติ แรงบันดาลใจหลักมาจาก bakemonogatari ที่เล่าเรื่องทุกอย่างผ่านปากของพระเอก แต่ก็ยังมองเห็นบรรยากาศโดยรอบได้


แอบฮามุกหาวิธีบรรยายตัวเองด้วยการมองกระจก ตอนแรกก็ว่าจะใช้ แต่มันมีลางสังหรณ์ว่าถ้ามันคิดออกง่ายขนาดนี้ ต้องเคยมีคนทำมาเยอะแน่ๆ แล้วก็ดันจริงซะด้วย 555555+


ผมขอแชร์หลักๆคือเรื่องวิธีบรรยายลักษณะตัวละครก็แล้วกัน


ในนิยายของผมมันแนวโลกคู่ขนานที่เป็นระบบเกม เนื่องจากพระเอกมันเบื่อเกมทั่วไปที่เล่นบนโลกแล้วอยากสร้างเกมเอง แต่คณิตมันไม่เก่ง เลยเขียนเกมเองไม่ได้ จึงหันมาสร้างในลูซิดดรีมแทน(ควบคุมฝัน)


- ใช้การเช็คว่าอยู่ในฝันแล้วหรือยังบรรยายเสื้อผ้าตัวละคร


พอตั้งสติได้ตามผลของการฝึก ผมก้มดูเสี้อผ้าของตัวเองทันที ในความฝันผมกำหนดให้ตัวเองใส่ชุดคลุมง่ายๆเหมือนพวกพ่อมดในนิทาน เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมภาพในหัว แต่ชุดที่ผมสวมอยู่ตอนนี้ยังคงเป็นเสือยืดสีดำแขนยาวล้นมือ กับกางเกงสามส่วนลายทหาร อีกทั้งแสงสว่างที่ทำให้มองเห็นก็มาจากจอคอมที่ลืมปิดอยู่ตรงปลายเท้า ทุกอย่างเหมือนเดิม...


- ใช้ตัวละครอื่นและนิสัยของตัวเองในการบอกส่วนสูง


สาวน้อยร่างเล็กน้ำเสียงอ่อนหวาน ใบหน้าเรียบเฉยคล้ายกำลังเศร้า ดวงตาสีเงินดึงดูดให้จับจ้องราวกับเพชรต้องสาป ทั้งคิ้ว ขนตา และทรงผมหางม้าของเธอล้วนเป็นสีขาวพิสุทธิ์ ร่างกายอ้อนแอ้นอยู่ในชุดแขนกุดกระโปรงสั้น เข็มขัดเหน็บหลอดยาสีแดงกับมีดพกเล่มเล็กดูคล่องตัว บอกได้เลยว่าเธอเตี้ยกว่าผม 14 เซนอย่างแน่นอน เพราะเธอสูงเท่ากับขนาดของหมอนข้างใบโปรดของผมที่ยาว 150 เซนพอดิบพอดี


- ใช้เนื้อเรื่องในการบอกชื่อตัวละคร(กว่าคนอ่านจะรู้ชื่อก็ล่อไป 3 ตอน)


"คุณไม่ได้ฝันไปหรอกค่ะ"

"หะ?"


ไม่ได้ฝัน? หมายความว่ายังไง? เธอพูดออกมายังกับว่าอ่านใจผมได้ อ่านใจ...งั้นเหรอ หรือว่าน้ำตาเมื่อกี้นี้!


"ฉันล่วงล้ำจิตใจของคุณผ่านน้ำตา คุณกำลังเชื่อว่าควบคุมฝันของตัวเองอยู่ แต่นี่คือเรื่องจริงไม่ใช่ความฝันหรอกนะคะ...คุณโช"


- ใช้การพิสูจน์ว่าอยู่ในลูซิดดรีมในการบรรยายลักษณะใบหน้าตัวละคร


วิธีเช็คว่ากำลังฝันอยู่หรือเปล่าตามที่ได้ศึกษามามีหลายวิธี แต่วิธีที่ผมเชื่อถือที่สุดคือ 'เราที่อยู่ในฝันเมื่อมองเข้าไปในกระจกเงา ตัวเราในนั้นจะเบลอหรือไม่มี' ผมภาวนาให้เป็นแบบนั้นขณะยืนลุ้นใจเต้นกับหนองน้ำตรงหน้า


"ถ้าเป็นเรื่องจริง...ฆ่ากันเลยยังดีซะกว่า!"


ผมเดินลุยน้ำลงไปเพราะเห็นว่ามันตื้น โดยไม่สนว่าจะเปียกหรือเท้าเปล่าของผมจะเลอะเทอะอะไรทั้งสิ้น พอเดินมาได้สักพักผมก็หยุดแล้วยืนรอ จากนั้นกลั้นใจค่อยๆก้มมองดูผิวน้ำพลางลุ้นหัวใจแทบระเบิด ช่วงแรกผิวน้ำยังสั่นไหวทำให้ภาพสะท้อนตัวผมนั้นเบลอ… เบลอ… เบลอ… และชัดเจนในที่สุด


"ไม่ใช่ความฝัน...จริงๆด้วย"


ภาพที่สะท้อนอยู่ในน้ำชัดเจนมาก ใบหน้าที่ดูเหลาะแหละเอนไปทางหวานราวกับผู้หญิง เส้นผมหยักศกสีดำแน่นหัวเพราะไม่ค่อยได้ตัด ดวงตาที่เดิมเป็นสีดำขลับกลับกลายเป็นเหลืองทอง แต่ไม่ว่าจะพูดยังไงมันก็คือตัวผม 'โช' นีทติดเกมผู้เก็บตัวอยู่แต่ในห้องมืด แต่ตอนนี้กลับออกมาอยู่ในโลกอันแปลกใหม่ ได้พบเรื่องราวยังกับนิยายแฟนตาซีต่างโลกอันเกลื่อนตลาด แต่ผมอยู่ตรงนี้จริงๆ


---


ถ้าใช้กระจกไม่ได้... แล้วมีอะไรที่ใช้แทนกระจกได้อีก... อ้อ! น้ำไง! ถ้าใช้น้ำไม่ได้... แล้วมีอะไรอีก... อ้อ! รูปถ่ายไง! ถ้าใช้รูปถ่ายไม่เนียน... แล้วมีอะไรได้อีก... อ้อ! ตัวละครที่ชอบถ่ายรูปไง! ถ้าใช้ตัวละครที่ชอบถ่ายรูปไม่ได้... แล้วมีอะไรอีก... อ้อ! เพื่อนที่แกล้งจับหน้าเราไปแนบกับเครื่องถ่ายเอกสารไง! นักวาดรูป! ภาพหลอนตัวเอง! ฝาแฝดที่หน้าเหมือนกันแต่อีกคนดังอยู่ในโปสเตอร์!


มันต่อยอดได้เรื่อยๆนะ แถมสนุกดีด้วย


ก็ไม่รู้นะว่าถือเป็นตัวอย่างที่ดีหรือเปล่า แต่ส่วนตัวค่อนข้างแฮปปี้กับมัน ผมจำได้แค่ว่าเราไม่ควรบอกคนดูตรงๆถ้าเป็น POV1 เพราะลูกเล่นอย่างเดียวที่มีมันคือ 'สายตาของตัวละครที่ใช้บรรยาย' ผมก็หาทางใช้มันเต็มที่ เล่นส่องกระจกสะท้อนมุมมองกับมัน ทำยังไงให้บอกแต่ไม่บอก(ตรงๆ) ใช้ทัศนคติของตัวละครหลอกการรับรู้ของเนื้อหาให้คนอ่านเชื่อตาม แล้วให้ตัวละครอื่นเฉลยภายหลังว่าไม่ใช่! แกคิดผิด

4
Maritian 5 ต.ค. 61 เวลา 23:59 น. 3-1

ขอบคุณที่มาร่วมแชร์กันนะคะ หลายตัวอย่างเลย เราว่าตรงที่โชบรรยายตัวเองในเงาสะท้อนของน้ำมันยังดูออกว่าจงใจ แต่ก็อย่าเชื่อคำพูดมือสมัครเล่นอย่างเรามากนักเลยค่ะ ฮา


ส่วนหนึ่งที่เราใช้ POV3 limited ก็เพราะอยากหลอกคนดูเหมือนกันค่ะ ชอบเวลาทั้งตัวละครและคนอ่านโดนหลอก พอเรามาเฉลยทีหลังแล้วเจอคอมเม้นต์แบบ "หักมุมมากๆ ไม่อยากจะเชื่อ" นี่มันเป็นอะไรที่ฟินจริงอะไรจริง

0
G.Tenju 6 ต.ค. 61 เวลา 00:25 น. 3-2

- ในแง่นักเขียนยังไงมันก็จงใจบอกอยู่แล้วอานะ (เถียงสิ)


- ที่ตัดมาให้ดูเป็นตัวอย่างของตอนที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงใกล้จบปฐมบท ก่อนจะมาถึงตรงนี้มันก็มีการบิ๊วให้คนอ่านอยากรู้จักตัวละครมากขึ้นมาตลอดทาง เล่นมาอ่านตรงนี้ในหัวข้อว่าเนียนบรรยายยังไง มันก็รู้ตัวอยู่แล้ว + ไม่มีอารมณ์ร่วมแบบนักอ่านที่เราพยายามทำให้ดำดิ่งตามเนื้อเรื่อง


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-big-11.png //บีบน้ำตา ทำทีท่าน้อยใจ "เธอมันใจร้าย!!"


ป.ล. ถ้าตัดข้อความทั้งหมดออกแล้วเหลือแต่รูป + เหลือแต่ข้อความว่า "เธอมันใจร้าย" เธอก็จะคิดว่าเรากำลังน้อยใจ (อารมณ์ร่วม) อารมณ์มันก็ประมาณนี้แหละ มันดูแค่เนียนหรือเปล่าไม่ได้ มันมีองค์ประกอบอื่นเข้ามาร่วมด้วย

0
Maritian 6 ต.ค. 61 เวลา 17:44 น. 3-3

อันนั้นก็อาจมีส่วน แต่อีกส่วนหนึ่งคือเราว่ามันไม่เนียนคือตรงภาษาที่ใช้ค่ะ จะอธิบายยังไงดีล่ะ อย่าง "ดำขลับ" ดูเป็นคำคุณสมบัติที่ออกแนวพรรณนามากกว่าแค่ตัวละครรับรู้ หรือการที่ตัวละครนึกภาพว่าผมดำแน่นหัวเพราะไม่ค่อยได้ตัดก็ดูแปลกๆ เพราะในสถานการณ์นั้น สิ่งที่เขาสนใจคือ->หน้าตัวเองไม่ได้เปลื่ยนไปจากเดิม<- จึงไม่มีความจำเป็นต้องบอกเหตุผลว่าทำไมผมดั้งเดิมถึงแน่นหัว หรือว่าดวงตาสีดำแค่ไหนมาก่อน


ไม่รู้จะเข้าใจเราไหมนะคะ แต่มันก็เป็นสิ่งที่เราคิดล่ะ

0
G.Tenju 6 ต.ค. 61 เวลา 19:06 น. 3-4

เออ... อันนี้เก็ท และไม่เคยสังเกตมาก่อนด้วย ขอบใจมาก 555

0
Death With Love 5 ต.ค. 61 เวลา 23:57 น. 4

ยกมือสองข้างเพราะเห็นด้วยสองเรื่องครับ (ฮา)


เรื่องแรก ผมก็อ่านเจอนิยายที่ POV สลับไปมารัวๆ อยู่บ่อยครั้ง

ถ้าเปลี่ยนไม่ถี่มากก็ยังพออ่านได้ แต่เปลี่ยนทุกครั้งที่นึกอยากสลับก็ไม่ไหว อ่านไปก็ถอนหายใจไป

เจอบ่อยมากคือ นิยายมุมมองบุรุษที่ 3 แต่พอบรรยายลักษณะตัวเอง จะเปลี่ยนเป็นบุรุษที่ 1 แล้วชมตัวเองหล่อสวย(?) หรือกลับกันนิยายมุมมองบุรุษที่ 1 พอบอกรูปร่างหน้าตาตัวเอง พระเจ้าจะมาช่วยบรรยายแทนซะงั้น

// แต่ก็ไม่มีใครทักนะ ทุกคนอ่านได้ตามปรกติ รึว่าผมตามกระแสนิยมไม่ทันเอง (ฮา)


เรื่องที่สอง ผมกำลังหัดเขียนมุมมองที่ 1 ทำให้รู้ว่าการบอกลักษณะตัวเองแบบเนียนๆ นี่ยากสุดๆ

บอกอย่างตรงไปตรงมา ผมก็เลือกใช้กระจกเป็นอย่างแรก (เพราะง่ายดี คิดอย่างอื่นไม่ออก ฮา)

แต่หลังทิ้งไว้สักพักแล้วกลับมาอ่าน รู้สึกว่ามันช่างทื่อมาก ก็เล่นส่องกระจกแล้วบรรยายดื้อๆ


ผมเลยเปลี่ยนมาใช้วิธีแทรกบรรยายลักษณะเฉพาะที่มีแต่ตัวเองในเนื้อหาเลย

'โดนเรียกลูกฝรั่งหัวแดง' 'ก็เส้นผมสีน้ำตาลแดงมันเด่นเตะตาน้อยซะเมื่อไรกัน'

บอกสั้นๆ ให้คนอ่านจำได้ แล้วค่อยหาจังหวะจัดชุดใหญ่ ซึ่งผมเลือกใช้วิธีเปรียบเทียบระหว่างตัวละคร


"ฉันจะไปซื้อของกับเพื่อน อลันกลับบ้านไป อย่าเยอะ! ฉันไม่ชอบ" อเล็กซี่เดินมาประชิดพร้อมจิกสายตาข่มพี่ชายตัวเล็ก เธออยู่ม.สองแต่ดันสูงกว่าผมที่อยู่ม.ห้าถึงห้าเซนติเมตร เธอได้พันธุกรรมจากทางฝั่งพ่อเป็นอย่างดี ใบหน้าเรียวสวย ตาสีน้ำทะเลชวนหลงใหล ผมหนานุ่มเงางามเป็นลอนกำลังดี รูปร่างผอมสูงมีอกเอวตามสไตล์ลูกครึ่งตะวันตก คนจำนวนไม่น้อยจึงบอกเสมอว่า ในอนาคตเธอต้องได้เข้าวงการบันเทิงอย่างแน่นอน


ส่วนผมน่ะเหรอ ได้เชื้อแม่มาเต็มๆ วันนี้อายุครบสิบหก แต่รูปร่างผอมบางยังกับเด็กผู้หญิง ส่วนสูงร้อยหกสิบเซนฯ นั้นก็เตี้ยกว่ามาตรฐานชายไทยปกติด้วยซ้ำ น่าเศร้าที่ใครๆ เอาแต่พร่ำบอกว่าผมก็ดูน่ารักดี ทั้งที่ในใจพวกเขาต่างคิดว่าเจ้าอลันใช่ผู้ชายแท้ๆ หรือเปล่า ดูนุ่มนิ่มซะขนาดนี้ ตั้งแต่เล็กจนโตผมเลยโดนแกล้งเป็นประจำทั้งจากเพื่อนและใครก็ไม่รู้

หนักกว่านั้นก็ยังมี พวกโรคจิตพยายามล่อลวงผมไปทำมิดีมิร้ายถึงสามครั้ง เคราะห์ดีที่ผมไม่ได้ซื่อบื้อหลอกง่าย


// นี่คือดีที่สุดที่ผมพอคิดออกในตอนนี้ครับ (ฮา)

อนึ่ง ไม่ได้โฆษณาแฝงแต่อย่างใด เพราะผมไม่ได้ลงนิยายเรื่องนี้ในเว็บ แค่ฝึกเขียนกับอ่านเอง



1
Maritian 6 ต.ค. 61 เวลา 00:08 น. 4-1

เราว่ามันไม่ใช่ "กระแสนิยม" แล้วนะนั่น ดูเหมือนข้อผิดพลาดที่แสดงออกถึงความด้อยประสบการณ์ของนักเขียนมากกว่าค่ะ//พูดแรงไปมั้ยเนี่ย แต่คิดอย่างนี้จริงๆ นะ เพราะเราว่าเรื่อง POV นี่ไม่ควรพลาดอย่างแรง เราก็สงสัยว่านักอ่านทั่วไปเขาไม่ตงิดๆ เรื่องแบบนี้กันบ้างหรือไง


บรรยายแบบตัวอย่างของคุณเดธนี่ก็ดีนะคะ ใช้การที่ตัวละครอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ตนเองเด่นออกมาให้เป็นประโยชน์ ว่าแต่อเล็กซี่นี่ใช้แชมพูยี่ห้อไหนเหรอคะ55

0
SilverPlus 6 ต.ค. 61 เวลา 00:10 น. 5

นักเขียนหน้าใหม่น่าจะรู้สึกประมาณนี้

อยากเขียนอะไรก็เขียน

เน้นให้เนื้อเรื่องไปข้างหน้า หากมัวโฟกัสที่มุมมองจะทำให้ติดขัด เสียเวลาเปล่า ๆ

คุ้นกับบุคคลที่สามแบบอธิบายทุกอย่าง

การอธิบายแบบมุมมองพระเจ้าคือเขียนอะไรก็ได้ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ใส่มันไปสด ๆ ตอนนั้นเลย


ปัญหาไม่น่าจะมาจากการอ่านน้อย หรืออ่านไม่หลากหลาย แต่มันอยู่ที่อ่านเรื่องอะไรมา เรื่องที่อ่านใช้มุมมองแบบพระเจ้าอธิบายอะไรก็ได้ ก็เลยเขียนแบบมุมมองตามที่ได้อ่านมา


ข้อดีของการเขียนแบบ มุมมองสามผสมหนึ่ง (โฟกัสที่ตัวเอกอย่างเดียว) คือทำให้เนื้อเรื่องเดินไว ไม่กระจายบท หรือบรรยายอะไรที่ไม่สำคัญกับตัวเอก ยิ่งตัวเอกมีเสน่ห์ ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจเป็นทวีคูณ แถมยังทำให้ตื่นเต้นได้อีกด้วย แทนที่เราจะอธิบายอุปสรรค์ ให้ตัวเอกไปเจออุปสรรค์เลยจะดีกว่า ความรู้สึกของคนอ่านเหมือนโดนโยนลงไปอยู่กับตัวเอก ตื่นเต้นสนุกใช้ได้เลย


อย่างว่า มุมมองอะไรก็ไม่สำคัญหรอก ขอแค่เขียนให้เห็นภาพ เข้าใจง่าย อ่านสนุก คนอ่านทั่วไปเขาก็ไม่ว่าอะไรแล้ว จะมีปัญหาก็กับนักเขียนหรือนักวิจารณ์ที่ระเบียบจ๋าเท่านั้นเอง

1
Maritian 6 ต.ค. 61 เวลา 00:22 น. 5-1

สำหรับเรา ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าใช้มุมมองไหน แต่อยู่ที่เลือกมุมมองแล้วไปกับมันไม่ได้ตลอดรอดฝั่งมากกว่าค่ะ เห็นด้วยว่านักเขียนหน้าใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญตรงนี้ จากที่เห็นในบอร์ด นักเขียนหน้าใหม่มักมาขอความช่วยเหลือด้านการวางพล็อต ตัวละคร เกลาภาษา แต่ด้านมุมมองหรือความต่อเนื่องนี่จะน้อยกว่า ทั้งที่มันก็สำคัญไม่แพ้กันเลย

0
โมจิย่างร้อนๆ 6 ต.ค. 61 เวลา 00:21 น. 6

อาเระ... เราคงเป็นคนหนึ่ง และหนึ่งในกลุ่มคน ที่ไม่คิดว่าการบรรยายรูปร่างตัวเอง โดยมุมมองที่ 1 เป็นปัญหาเลยแม้แต่น้อย คงเพราะการเขียนของเราล่ะมั้ง เราไม่ได้จะใช้มุมกล้อง แต่ใช้การเล่าคล้ายๆ ว่ากำลังเล่าเรื่องราวเกริ่นๆ ให้ผู้อ่านฟัง จึงไม่ได้สะกิดใจถึงเรื่องนี้เลย


ส่วนมุมมองสะเปะสะปะ อันนี้ก็คงเป็นปัญหา เพราะหากเจออย่างนี้ เวลาอ่านจะงงงวยมาก ไม่รู้ว่าตัวละครกำลังหยุดอยู่ที่ใครบรรยาย และไม่รู้ด้วยว่าใครเป็นใคร


2
Maritian 6 ต.ค. 61 เวลา 00:25 น. 6-1

ถ้าในกรณีที่ตัวเอกรู้ตัวว่ากำลังเล่าเรื่องให้คนอ่านฟังก็โอเคอยู่นะคะ มีแนะนำตงแนะนำตัว แต่มันจะเป็นการ break the fourth wall ซึ่งไม่ควรทำเท่าไร (เขาว่ากันอย่างนั้น)

0
โมจิย่างร้อนๆ 6 ต.ค. 61 เวลา 00:39 น. 6-2

เอ่อ.... พอลองมาคิดๆ ดูแล้ว อาจจะติดขัดอย่างที่เจ้าของกระทู้ว่าก็ได้ค่ะ 55555


เพราะตอนเขียน เราก็เล่าลักษณะจำพวกชุดที่สวมใส่ ให้เหตุผลที่บรรยายว่าก้มมองชุด แต่แทบไม่ได้บรรยายถึงลักษณะตัวเองเลย เป็นมุมมองใหม่ๆ มากค่ะสำหรับกระทู้นี้ ในถานะนักเขียนใหม่ ก็พึ่งรู้เหมือนกันว่าคนอื่นคิดอย่างนี้ ตอนที่อ่านตัวละครแนะนำตัวเอง รู้สึกอยู่หน่อยๆ เหมือนกันว่ามันแปลก จึงไม่เคยเขียนให้ตัวละครแนะนำตัวเองแบบละเอียดยิบเลย

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-big-07.png



0
theBEREZANT 6 ต.ค. 61 เวลา 00:45 น. 7

ว่าจะแสดงความเห็นสุดท้ายก็เปลี่ยนใจเพราะไม่รู้ว่าที่ตัวเองเขียนเป็นบุรุษที่ 3 แต่เกาะตัวเอกรึเปล่า.....

คิดไปคิดมามันเหมือนเกาะหลอกน่ะค่ะ บรรยายหลอกคนอ่านไรงี้ 5555

0
yurinohanakotoba 6 ต.ค. 61 เวลา 01:13 น. 8

pov ถูกมองว่าไม่สำคัญคงเพราะไม่มีปัญหากับการเล่าเรื่องเท่าไรในมุมมองของคนเขียน อีกทั้งดูเป็นเรื่องจู้จี้จุกจิกที่จะพูด เป็นผมก็ให้ความสำคัญกับการ “เล่าเรื่องให้เป็นก่อน” เป็นอันดับแรกสำหรับนักเขียนใหม่


แต่กรณีที่เป็นปัญหาก็มี บก. ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า นิยายแฟนตาซีบ้านเรามีเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่อง น่าแปลขายต่างประเทศ แต่มีปัญหาที่เอาไปแปลเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้เพราะคนแปลไม่รู้จะทำอย่างไรกับ pov ที่สลับไปมาทุกย่อหน้าของนักเขียนไทย


ถ้าอ่านตรงนี้แล้วรู้สึกว่า pov เริ่มเป็นปัญหา ก็หันมาเข้มงวดกับมันได้แล้วนะครับ แต่ถ้าไม่ก็เขียนตามสบายไปนั่นละ ผมคิดว่านักเขียนที่อยากเป็นนักเขียนไปจนหมดลมหายใจ เขาจะลุกขึ้นมาพัฒนางานให้มีคุณภาพด้วยตัวเอง


ไม่จำเป็นต้องไปเข้มงวดอะไรกับนักผจนภัยที่ลองมาเป็นนักเขียนหรอก ขอให้เขียนแล้วมีความสุขน่าจะพอแล้ว

ส่วนการใช้ pov1 บรรยายหน้าตาของตัวเองคิดว่าทำได้ โดยการเซ็ทซีนขึ้นมาเพื่อใช้ในงานนี้โดยเฉพาะ แต่ก็ต้องดูบริบทของเรื่องด้วยว่าจะทำได้ยากงายขนาดไหน

1
Maritian 6 ต.ค. 61 เวลา 17:47 น. 8-1

ถ้างั้นในสายตาพวกเขา เราก็ขึ้นแท่นเป็นคนจู้จี้จุกจิกเรียบร้อย55

ขอบคุณสำหรับความเห็นค่ะ

0
White Frangipani 6 ต.ค. 61 เวลา 01:21 น. 9



(มาถกกัน) ความต่อเนื่องของ POV



สวัสดีค่ะ


เป็นกระทู้ถกที่ดีมีสาระด้วยค่ะ


นักเรียนหัดเขียน...เข้ามาร่วมเก็บความรู้...จากคำตอบในเม้นต์ต่างๆด้วยค่ะ



ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆค่ะ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-02.png



https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-12.png



https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-big-10.png


ปล.ภายใต้เม้นต์นี้...นะคะ ได้ทำการกดหัวใจให้คุณเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะhttps://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-06.png


0
ชนุ่น 6 ต.ค. 61 เวลา 10:04 น. 10

อันนี้มีใช้ผสมกันครับ สารภาพเลย แต่จะแบ่งเป็นส่วนๆ เพราะตัวเอกมีการเขียนบล็อกเล่าเรื่องของตัวเองด้วย แต่ถ้าเป็นการบรรยายทั่วไปจะใช้มุมมองบุคคลที่ 3 บางทีแอบๆ ใช้บุคคลที่ 2 (คุยกับคนอ่าน) ตามความเหมาะสมครับ


ส่วนเรื่องบรรยายลักษณะตัวละคร มีหลายเรื่องที่ผมไม่บรรยายนะครับ แต่จะบอกเป็นระยะๆ เช่นนางเอกรวบผมที่ยาวประบ่าผูกเป็นหางม้า หรืออธิบายส่วนสูงว่าผุ้ชายคนนั้นต้องเงยหน้าขึ้นไปพูดด้วย ประมาณนี้ครับ


ส่วนเรื่องความต่อเนื่องของมุมมอง อันนี้เห็นด้วยนะครับ แต่ต้องมองในกรณีว่าเขาจัดสรรให้มันเท่ากันและจัดการให้เราอ่านแล้วไม่งงได้มากแค่ไหน เช่นบทแรกเล่ารวมๆ พอบทต่อไปเปลี่ยนมาฟังมุมมองนางเอก อีกบทมาฟังมุมมองพระเอกบ้าง ถ้าแบบนี้ผมโอเคนะ แต่ไม่ใช่อยู่ๆ อ่านแล้วจากมุมมองที่ 1 เป็นุมุมมองที่ 3 งี้ คือถ้าเอาจริงๆ ความเป็นเอกภาพของการเล่าเรื่องเนี่ยก็นับว่าสำคัญพอดูเลยครับ

2
Maritian 6 ต.ค. 61 เวลา 17:49 น. 10-1

"เอกภาพ" คำนี้คือคำที่เรากำลังคิดตอนเขียนกระทู้นั่นแหละค่ะ แต่ตอนนั้นคิดคำนี้ไม่ออก


ถ้าเปลี่ยนมุมมองตัวละครเราก็โอเคเลยค่ะ อย่าโดดย่อหน้าต่อย่อหน้าก็พอ แต่ถ้าเรื่องเดียวกันมีทั้ง POV1 กับ 3 แม้จะเป็นคนละบทนี่ขอบายจริงๆ

0
ชนุ่น 7 ต.ค. 61 เวลา 07:53 น. 10-2
ถ้าทำแล้วไม่มึนนี่ผมโอเคนะครับ เพราะปกติเวลาอ่านจะอานเร็ว ๆ จนเกือบจับใจความไม่ได้เลย 5555555 แต่เรื่องมุมมองเนี่ยนักเขียนรุ่นใหม่ (แบบผม) ส่วนใหญ๋ก็เป็นปัญหาอยู่ครับ แต่อันนี้ผมองว่าถ้ามีทริกในการนำเสนอผ่านมุมมองนี้แล้วทำให้เรื่องน่าสนใจ ไม่งง ต่อกันยาว ๆ ได้อันนี้ผมถือว่าโอเคนะ


(จำได้ว่าเหมือนมีทริกที่แบบเล่าเรื่องผ่านมุมมองของคนคนหนึ่งไปก่อน แล้วพอตัดไปอีกคนนึว อ้าว หนังคนละม้วนเลยนี่หว่า 5555 แบบราโชมอนอะไรแบบนี้ อันนี้ผมว่าเวิร์คนะ)

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

grayScaleAroma 6 ต.ค. 61 เวลา 17:52 น. 12

ไม่เคยเขียนนิยายมุมมองบุคคลที่ 1 มาก่อน ส่วนตัวเห็นว่ามุมมองบุคคลที่ 1 นั้นเล่าเรื่องลำบากและต้องใช้ชั้นเชิงในการเดินเรื่องมากกว่าการเล่าเรื่องมุมมองบุคคลที่ 3 ซึ่งผู้บรรยายรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง มุมมองบุคคลที่ 1 แม้จะมีข้อดีคือทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครได้ง่ายกว่าเหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วยตัวเอง แต่ด้วยความยุ่งยากหลาย ๆ อย่างทำให้ผมตัดสินใจใช้มุมมองบุคคลที่ 3 มาโดยตลอด แต่อาจจะทดลองใช้มุมมองบุคคลที่ 1 ในอนาคตดูเพื่อท้าทายตัวเอง


สำหรับเรื่องของการเปลี่ยนมุมมองการเล่าเรื่องของนักเขียนหน้าใหม่ที่สลับกันไปมานั้นผมคิดว่าจุดเริ่มต้นของมันคงมาจากการแทนตัวเองเป็นตัวละครของตัวนักเขียนเอง คือมีความต้องการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของตัวเองเหมือนตัวเองเป็นตัวเอกที่เดินเรื่องในนิยาย แต่เนื่องจากตนเองเป็นมือใหม่ที่ยังขาดทักษะในการเล่าเรื่องจึงไม่สามารถบรรยายให้ผู้อ่านทราบได้ถึงหลาย ๆ สิ่งที่บรรยายได้ยากในมุมมองบุคคลที่ 1 อย่างเช่นการแสดงให้ผู้อ่านทราบถึงรูปร่างหน้าตาของตัวเอกที่เป็นเจ้าของมุมมองบุคคลที่ 1 ทางออกที่ง่ายที่สุดก็คือการเปลี่ยนมุมมองการเล่าเรื่องนั่นเอง


สิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยในการบรรยายรูปร่างหน้าตาของตัวเอกได้ก็คือบทสนทนาระหว่างตัวเอกกับตัวละครอื่น หรือการบรรยายความคิดของตัวเองที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะของตนเอง อย่างเช่นมองเห็นผมสีทองของตนเองที่ร่วงหล่นแล้วคิดถึงเหตุการณ์ในวันที่ไปทำผม ความคิดของตัวเอกตอนที่เปลี่ยนเสื้อผ้าหรือแต่งตัวแล้วคิดว่าตนเองสวมใส่ชุดเครื่องแต่งกายอย่างไรแล้วดูดี หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเด่นแบบอื่น ๆ อย่างเช่นประสบการณ์ของการเปลี่ยนรูปแบบการแต่งกายแล้วคนจำไม่ได้ หรือโดนหมาเห่าเพราะจำไม่ได้ หรือแม้แต่การเดินชนคานเพราะตัวสูงหรือการที่ต้องกระโดดข้ามแอ่งน้ำเพราะขาสั้น เป็นต้น


แน่นอนว่าการใช้วิธีบรรยายลักษณะของตัวเองแบบอ้อม ๆ นี้จะต้องใช้เวลา ซึ่งทั้งผู้อ่านและผู้เขียนหลายกลุ่มอาจจะอดทนรอไม่ไหว ทั้งอยากบอกไว ๆ หรือว่าอยากรู้ไว ๆ

1
Maritian 6 ต.ค. 61 เวลา 19:23 น. 12-1

ใช่ค่ะ มันใช้เวลาจริงๆ ทั้งผู้เขียนผู้อ่านก็ต่างต้องมีความอดทนทั้งนั้น

0
peiNing Zheng 6 ต.ค. 61 เวลา 22:19 น. 13

ทุกท่านเคยเห็นปัญหาแบบนี้ผ่านตามากันบ้างไหม


-- เคยค่ะ บ่อยด้วยเวลาที่ช่วยอ่านงานให้นักเขียน


คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่หรือสำคัญไหม


-- สำหรับเราสำคัญค่ะ คือ เราก็เหมือนนักอ่านทั่วไปเนอะที่อยากอ่านอะไรสนุกๆ ไม่ได้ทำตัวโรคจิตที่หยิบหนังสืออะไรขึ้นมาอ่านก็สาดแสงเลเซอร์จับผิดตลอดเวลา ทีนี้เวลาอ่านไม่ลื่นไหลก็เซ็งๆ หน่อย เหมือนกับเสียตังค์กับเสียเวลาหยิบมาอ่านแล้วก็ต้องมีความคาดหวังเป็นธรรมดา เรื่องสะดุดนี่ไม่ได้เฉพาะ POV นะคะ ใดๆ ก็ตามที่ทำให้สะดุดนับว่าสำคัญหมดค่ะ


มาแชร์วิธีบรรยายลักษณะตัวละครโดยที่ไม่ดูจงใจเกินไปกันค่ะ


-- ถ้าเป็น POV1 โดยมากเราจะพูดถึงรูปลักษณ์ตัวละครเจ้าของสายตาไม่เจาะจงมาก อาจจะบอกคร่าวๆ ว่าสูงต่ำดำผอม ไม่ได้ระบุสีผมสีตาชัดเจนถ้ามันไม่ได้สำคัญมาก แต่ถ้าสำคัญ เช่น เป็นปมเด่นหรือปมด้อย หรือมีสิ่งที่มีผลกับเรื่อง ก็จะระบุโดยการใช้วิธีส่องกระจกบ้าง แต่ไม่ค่อยใช้หรอก (ใช้แค่เรื่องเดียวมั้ง ถ้าจำไม่ผิด นางเอกเป็นคนไม่มั่นใจตัวเองโดยสิ้นเชิงเลยมีนิสัยส่องกระจกดูความเรียบร้อย ออกแนวกังวลกับรูปลักษณ์สุดๆ ว่าดีหรือยัง เหมาะหรือไม่ เลยกำหนดให้ชอบส่องกระจก) ส่วนมากจะมาจากวิธีที่ตัวละครอื่นปฏิบัติต่อตัวเอกมากกว่าค่ะ (และใช้บ่อยหลายเรื่องมาก) เราว่าอย่างหลังนี่คือจุดใหญ่ใจความที่ต้องการใช้ POV1 นี่เลยนะ


ดังนั้น ตามคำถามของเว็บนั่น ใช้ POV3 Limited จะทำยังไง เราคงบอกว่า เราจะบอกเฉพาะจุดสำคัญเท่านั้น ถ้าให้ตัวละครเจ้าของสายตาบอกรูปลักษณ์ตัวเอง มักจะพูดถึงในเชิงเป็นปมด้อย เป็นสิ่งที่อยู่ในใจอยู่ตลอด กับอีกอย่างหนึ่งคือ ภูมิใจในตัวเองสุดๆ มั่นหน้ามากมาย ถึงจะยัดใส่ปากตัวละครเจ้าของสายตา มันทำให้ดูเนียนในการบอกรูปลักษณ์ และอีกวิธีคือ การให้ตัวละครแวดล้อมมีปฏิกิริยาต่อตัวละครเจ้าของสายตาเพื่อบอกให้รู้ว่ารูปลักษณ์ยังไงค่ะ (แบบเดียวกับ POV1 นั่นแหละ)


แต่พูดแบบนี้ก็ไม่ถูกนัก มันกลับกันมากกว่า ที่จริงต้องบอกว่า เป็นเพราะเรากำหนดให้ตัวละครมีนิสัยแบบไหน เราถึงให้เขาแสดงออกมาแบบนั้น เรากำหนดให้ตัวละครมั่นหน้า เราถึงแสดงให้คนอ่านเห็นว่าตัวละครมีทัศนคติอย่างไร จึงให้เขาพูดถึงรูปลักษณ์ตัวเองอย่างภูมิใจเพื่อแสดงความมั่นหน้าของเขา หรือพูดถึงรูปลักษณ์ในเชิงปมด้อยเพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาไม่มั่นใจในตัวเอง


ดังนั้น นี่คือจุดสำคัญที่เราหมายถึง เมื่อใส่รูปลักษณ์เข้ามา ย่อมมีความหมาย ถ้าแค่อยากบอกว่าตัวละครมีรูปร่างหน้าตายังไงลอยๆ โดยที่เนื้อหาไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับรูปลักษณ์นัก เราจะพูดรวมๆ แค่ว่าหน้าตาดี หรือหน้าตาพอไปวัดไปวาได้ หรือไม่หล่อ/สวย แค่นั้นพอ ที่เหลือให้คนอ่านจินตนาการเอาเองค่ะ

1
Maritian 7 ต.ค. 61 เวลา 14:02 น. 13-1

จริงค่ะ หลายความเห็นเขาก็แนะนำให้ไม่ต้องอธิบายหน้าตาไปเลย แต่พอทำอย่างนั้นคนอ่านดันโวยว่าอยากรู้หน้าตาตัวละครซะงั้น ฮา

0
skeleton-king 7 ต.ค. 61 เวลา 19:50 น. 14

มุกกระจกนี่มันเกร่อจริงๆแต่ผมก็ยังใช้ 555 ตอนแรกๆที่เขียนเลยด้วย คิดอยู่เหมือนกันว่าแก้ดีมั้ย


ยอมรับเลยครับ ผมกลัวนักอ่านจินตนาการหน้าตาตัวละครไม่ออกจริงๆเพราะ POV แบบที่ไม่ใช่พระเจ้ามันทำให้การบรรยายหน้าตายาก ถ้าจะยกขึ้นมาบอกคนอ่านเฉยๆก็ไม่เป็นธรรมชาติอย่างที่คุณบอก สุดท้ายพอเขียนได้หลายๆตอนดันได้วิธีแก้ปัญหาโดยไม่ตั้งใจคือสลับ POV บรรยายเอาแบบที่เม้นคุณพีทว่าไว้

1
Octory 8 ต.ค. 61 เวลา 03:02 น. 15

อารมณ์คงคล้ายงานแสดงภาพถ่ายของศิลปินคนหนึ่ง ที่ผู้เข้ามาชมต้องการทราบว่าตัวตนของผู้ถ่ายเป็นเช่นไร ขอให้คนถ่ายบอกชนิดของกล้อง ยี่ห้ออะไร เลนส์แบบไหน บลา ๆ


โดยผู้ชมลืมไปว่าภาพถ่ายทั้งหมดในห้อง มันได้บอกตัวตนของผู้ถ่ายไปทั้งหมดแล้ว


ที่น่าเศร้าคือหลังจากนั้น ผู้ถ่ายแก้ไขโดยการแปะรุ่น ยี่ห้อกล้องไว้ใต้ภาพ ในทุก ๆ ภาพในงานแสดงครั้งต่อไป

0