Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แชร์ประสบการณ์ก่อนและหลังก้าวออกจากรั้ว KMUTT (วิศวะเครื่องกล) ∽∽∽∽(づ ̄ ³ ̄)づ ∽∽∽∽

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ก่อนจะเริ่มเรื่อง พี่อยากบอกว่า พี่เขียนกระทู้นี้ขึ้นมาเผื่อว่าน้องๆ หลายคนกำลังตัดสินใจเลือกมหา’ลัย แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเอายังไงกับชีวิตดี เรียนยากรึเปล่า เรียนสนุกลุกนั่งสบายอย่างที่คนอื่นเขาว่ากันมั้ย หรือเรียนจบแล้วออกมาจะทำงานแบบไหน พี่จะขอเล่าเรื่องราวในชีวิตของพี่ ช่วงที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ) และอาชีพหลังจากก้าวออกมาจากรั้วมหา’ลัย เป็นฉากๆ ไปแล้วกันน้ะครับ

-- ปี 1 สุดหรรษา --
เรื่องเรียนก็ต้องบอกได้เลยว่ามันจะยากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนตะลุยด่านปราบบอสในเกมนั่นล่ะครับ เทอมแรกๆ ก็สบายๆ เรียนๆ เล่นๆ บ้างก็ยังโอเค ตอนเย็นออกไปเที่ยวไปนั่งกินเหล้ากับเพื่อนๆ ก็ยังไหว วิชาที่เรียนก็มีเนื้อหาซ้ำกับ ม ปลาย อยู่ซะครึ่งนึง อีกครึ่งก็เป็นพื้นฐานเฉพาะทางของวิศวกรรมเครื่องกลโดยเฉพาะ แต่ถ้าขยันหน่อยก็เก็บ A มาได้สบายๆ

-- ปี 2 ลองของจริง --
พอขึ้นปี 2 วิชาเฉพาะทางของทางวิศวกรรมเครื่องกลก็ถาโถมเข้ามาหมด สมัย ม ปลายเราเรียนฟิสิกส์เรื่องกลศาสตร์ 1 กลศาสตร์ 2 กันใช่มั้ย แต่พอปี 2 น้องๆ จะเจอกับการคำนวณระบบกลไกของเครื่องจักรต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น เช่น กลไกแขนรถตักดิน กลไกเครื่องแยกไข่ไก่ กลไกควบคุมการจ่ายน้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์ และอื่นๆ อีกมากมายสุดแต่น้องๆ จะจินตนาการไปถึง
-- นอกจากวิชาที่ว่าด้วยระบบกลไกแล้ว ปี 2 ยังมีวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณก๊าซ ไอน้ำ และการไหลของน้ำในท่อ สำหรับพี่แล้วจัดว่าเป็นกลุ่มวิชาที่ต้องใช้จินตนาการสูงมาก เพราะต้องบอกว่าสมัยนั้นพี่ก็นึกไม่ออกจริงๆ ว่าพฤติกรรมไอน้ำเป็นยังไง เดี๋ยวเป็นน้ำ เดี๋ยวเป็นไอ ปนกันไปหมด แต่สุดท้ายก็สู้จนผ่านมาได้
-- นอกจากการเรียนภาคทฤษฎีในห้องแล้ว วิศวะเครื่องกลบางมดยังมีวิชาทีเด็ดคือวิชา “Automotive Technology” หรือ “เทคโนโลยียานยนต์” ที่น้องๆ จะได้ศึกษาชิ้นส่วนรถยนต์กันอย่างจริงจัง ได้รื้อรถยนต์จริงๆ รื้อเครื่องยนต์จริงๆ ดูกันไปเลยว่าแต่ละชิ้นส่วนออกแบบมายังไง เพื่ออะไร – วิชานี้เป็นที่เฝ้ารอสำหรับเหล่าวิศวกรสายลุยอย่างแน่นอน

-- ปี 3 ท่ามกลางเส้นทางสุดโหด --
สำหรับปี 3 ถือว่ารวมทีมวิชายาก วิชาไหนโหด เครื่องกลเอามารวมกันไว้ในปีนี้ให้หมด – แต่ไม่ต้องห่วงครับ ความยากนี้ คือการฝึกฝนและเตรียมพร้อมก่อนออกไปลุยในสนามการทำงานของจริง – สมัยที่พี่เรียน พี่สู้มาก นั่งทำโจทย์ทุกวัน มีโจทย์ทำให้หมด ใส่พลังไม่ยั้ง ชนิดเบิกเนตรวงแหวนแล้วยังเอาไม่อยู่ แล้ววันนี้ก็รู้แล้วว่าคุ้มค่ามาก ความรู้ที่ได้มาทั้งหมดมันมาเริ่มเชื่อมโยงกันตอนปี 3 นี่ล่ะ
วิชาปี 3 ที่ว่าด้วยการออกแบบสำหรับเอาไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้อย่างเต็มที่ เช่น ออกแบบแผงถ่ายเทความร้อนของแอร์ที่เราใช้กัน ออกแบบเฟือง ออกแบบเพลา แถมได้สร้างชิ้นงานจริงมาทดสอบกันด้วยว่าใครจะออกแบบได้แม่นยำกว่ากันอีกด้วย -- ปี 3 ของพี่นั้น ขอยกให้เป็นปีแห่ง “การเรียนสนุกลุกนั่งสบาย” อย่างแท้จริง

-- ปี 4 ปีสุดท้ายแห่งชีวิตในรั้ว มจธ --
เข้าปีที 4 แล้วไม่มีอะไรยากไปกว่าบอสใหญ่ของเกมแห่งวิศวะเครื่องกลบางมดอย่างวิชาโปรเจคแล้วล่ะ แต่ละคนจะต้องจับทีมกัน 3 คน ช่วยกันทำงานตามแต่หัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้ หรือตกลงร่วมกันกับอาจารย์ ถ้าใครตักตวงความรู้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาไว้มากก็สบายหน่อย อาจารย์ถามอะไรตอบได้ เหมือนติดโล่ติดเกราะพร้อมลุยกับบอสได้เต็มที่ ส่วนใครคว้าอาวุธมาน้อย ก็ต้องเหนื่อยวิ่งย้อนกลับไปคว้าอาวุธที่ ทิ้งไว้กลางทาง ซะก่อน -- เพราะเป็นทีม 3 คน ช่วยกันทำงาน ที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือความ “ดราม่าาาาา” ไหนอาจารย์ไม่ให้ผ่านสักที ความรู้ก็มาไม่แน่น เพื่อนยังจะขี้เกียจอีก ถึงขนาดมีคนบอกว่า ถ้าเป็นแฟนกันแล้วไม่อยากเลิกกันก็อย่าทำโปรเจคกลุ่มเดียวกัน ...

-- เรียนจบแล้วออกมาทำงานแบบไหน --
จากเรื่องราวตลอด 4 ปี น้องๆ ก็คงเห็นได้ว่าวิชาต่างๆ ที่เรียนจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนกลไก ระบบถ่ายเทความร้อน ระบบแอร์ ซะเป็นส่วนมาก เพื่อนๆ ของพี่ที่จบจากวิศวะเครื่องกลบางมด มีทั้ง ...
ไปทำงานแท่นขุดเจาะกลางทะเล ช่วยดูเรื่องระบบหัวขุด และการติดตั้ง ทำงานร่วมกับทีมวิศวกรรมด้านอื่น
อยู่โรงงานรถยนต์เพื่อออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ให้ประหยัดน้ำมันและมีสมรรถนะมากขึ้น
ออกแบบระบบแอร์ให้กับอาคารและห้างสรรพสินค้าต่างๆ
ออกแบบควบคุมและพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ผลิตไฟฟ้าได้ตามต้องการ
ออกแบบและควบคุมการสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ร่วมกับวิศวกรโยธา
โรงงานผลิตแก้ว ผลิตเมล็ดพลาสติก ผลิตอาหาร – เพราะเครื่องจักรในกระบวนการผลิตสินค้าทั้งหลาย ยังไงก็ขาดวิศวกรเครื่องกลไปไม่ได้
(และยังมีงานอื่นๆ อีกมากมายที่คงจะเล่าไม่หมดภายในกระทู้นี้กระทู้เดียว)

จริงๆ ก็ไม่อยากจะสปอยทั้งหมด แต่ว่าที่เล่ามาก็อยากให้น้องๆ พอเห็นภาพเหมือนเป็น trailer จะได้รู้ว่าควรจะกระโดดลงไปในเกมชีวิตจริงของการเป็นวิศวกรเครื่องกลดีรึเปล่าน้ะครับ สำหรับพี่แล้ว ไม่เคยรู้สึกเสียดายที่เลือกวิศวกรรมเครื่องกลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นอันดับหนึ่งเลย
--- ยังไงก็ขอให้น้องๆ สนุกและโชคดีกับการเตรียมสอบและยื่นคะแนน TCAS น้ะครับ ---

วิศวกรเครื่องกล จากรั้ว มจธ

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

smallfrog99 24 ก.ค. 66 เวลา 00:33 น. 3-1

แล้วแต่ฝีมือเลยครับ ช่วงเริ่มทำงานใหม่ๆ เริ่มต้น 20,000 บาท ถ้าเก่งแบบกลางๆ ก็มีแตะ 25,000 บาท ถ้าเทพเลย อยู่ในอุตสาหกรรมที่ทำงานหนัก มีความเสี่ยงสูง เช่น แท่นขุดเจาะ หรือบริษัทที่เน้น OT รัวๆ ก็มี 30,000 บาท ขึ้นไป (สมัยพี่ มีเพื่อนคนนึงได้ 45,000 บาทต่อเดือน แต่ทำแบบไม่ได้หลับได้นอนเลยทีเดียว)

0