Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นิสัยที่ปลูกฝังจากการหัดบรรยาย ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หลายๆคนเป็นกันมั้ย แต่ก่อนเราบรรยายไม่เก่ง พี่ที่รู้จักเลยแนะนำให้หัดสังเกตสิ่งรอบข้างจะได้มีอะไรในหัวให้นึกแล้วบรรยาย เราก็ทำตามที่บอก คือ เวลาใครพูด เราก็ฟังและทำความเข้าใจเพื่อที่จะเก็บมุมมองที่แตกต่างและแปลกใหม่เม็มเข้าหัว นั่งอยู่เฉยๆก็มองนู่นนี่ไปเรื่อยเพื่อเก็บลายละเอียด ในเรื่องของอารมณ์ตัวละครเราก็อ้างอิงจากคนรอบข้างแล้วก็ตัวเองอาศัยวิธีสังเกตอย่างที่พี่เค้าแนะนำ 

และนิสัยที่เริ่มปลูกฝังจากการหัดบรรยายเหล่านี้มันมีข้อดีคือทำให้เราวางตัวถูก คิดก่อนพูดเพราะเดาอารมณ์บุคคลนั้นๆออก รู้ว่าใครเป็นยังไง และควรวางตัวแบบไหนด้วย

แต่ข้อเสียคือ เรื่องเล็กๆน้อยๆที่สังเกตเห็นโดยไม่รู้ตัวก็ทำให้รู้สึกคิดมากเหมือนกัน บางทีก็เห็นอะไรที่ไม่น่าไปเห็นไม่น่าไปสังเกต เพราะเรื่องบางเรื่องเราไม่รู้จะดีกว่า 

ใครเป็นแบบนี้บ้างคะ? มาแชร์กันได้ TT 

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

ผมจริงจังในทุกเรื่อง 11 ธ.ค. 61 เวลา 18:45 น. 1

ผมทำเองโดยไม่มีใครบอก แต่ทำอย่างนั้นแบบเดียวก็ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ผมจึงต้องศึกษาเรียนรู้จากหนังสือ สิ่งที่เรียน นิยายเรื่องอื่นๆ หนังอนิเมะซีรี่ย์เกมส์ ไม่เว้นแม้แต่วิทยาศาสตร์เล็กๆน้อยๆและกีฬา เพราะผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้สามารถประยุกต์มาเขียนได้ทุกแนวรวมถึงเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้

1
CKsmnn 11 ธ.ค. 61 เวลา 19:20 น. 1-1

ที่ว่ามาเราก็ทำค่ะ โดยเฉพาะอ่านนิยาย แต่เคยอ่านๆแล้วติดสำนวน

เลยไม่ค่อยได้อ่านอะไรอีก ทุกวันนี้ก็พยายามบรรยายในแบบของตัวเอง

เพราะพล็อตค่อนข้างดาดดื่นหาได้ทั่วไป 55555

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

แมวต่างมิติ 11 ธ.ค. 61 เวลา 19:27 น. 3

เราก็ช่างสังเกตมากขึ้นนะ​ ของเราไม่ได้​เริ่มจากการบรรยายแต่เป็นการสร้างคาแรกเตอร์


คือเราอยากรู้​ว่า​จะสร้าง​ตัว​ละคร​ที่แตกต่าง​กันหลาย​ๆแบบได้ยังไง​โดยที่ทุกตัวมีความสมเหตุสมผล​ก็เลยเริ่มพยายามสังเกต​คนรอบตัว+หาหนังสือ​เกี่ยวกับศาตร์​จิตวิทยาบุคลิกภาพ​มาอ่าน


ตอนนี้เลยติดนิสัยชอบอ่านใจคนรอบตัวครับ​ ซึ่ง​เราก็รู้สึ​กว่า​มีประโยชน์​ดีเหมือนกัน

2
CKsmnn 11 ธ.ค. 61 เวลา 19:52 น. 3-1

ใช่ค่ะ5555 ติดนิสัยชอบอ่านใจคนรอบข้างนี่แหละ บางทีก็เอาคาแรคเตอร์คนรอบข้างมาผสมกับตัวละครแล้วกก็มีแอบเอาความเป็นตัวเองลงไปด้วย


ปล.หนังสือเกี่ยวกับศาตร์จิตวิทยานี่ก็ว่าจะหามาอ่านอยู่เหมือนกัน

0
แมวต่างมิติ 11 ธ.ค. 61 เวลา 21:04 น. 3-2

ศาสตร์ในการจำแนกคนเป็นบุคลิกภาพต่างๆนี่มันก็มีหลายเกณฑ์หลายสำนักครับลองศึกษาดู


ส่วนตัวเราจากที่ลองใช้กับทั้งการสร้างตัวละครในนิยายและการเอาไปวิเคราะห์คนรอบตัว เราถูกใจ Enneagram ที่สุด ถึงมันจะเป็น Pseudoscience ก็เถอะ


นอกนั้นก็ยังมี MBTI / จริต6 / ธาตุเกิด / ราศี / ฯลฯ


ลองดูครับ

0
Miran/Licht 11 ธ.ค. 61 เวลา 19:35 น. 4

รวมๆ แล้วก็ได้มาจากอะไรหลายๆ อย่างรอบตัว ทั้งเก็บ exp ทั้งครูยัดใส่หัว ทั้งคนในบอร์ดช่วยกันอบรมสั่งสอนมา // กราบ


เราเลยจับมารวมๆ ได้ประมาณนี้ค่ะ


ตอนที่ 8 : สร้างตัวละครอย่างไรให้สมจริงและมีเสน่ห์

https://writer.dek-d.com/Miran/writer/viewlongc.php?id=1860018&chapter=8

ตอนที่ 9 : บรรยายอย่างไรให้ภาษาสวย/ให้สมจริง

https://writer.dek-d.com/Miran/writer/viewlongc.php?id=1860018&chapter=9

ตอนที่ 10 : การเขียนบทสนทนาในนิยาย

https://writer.dek-d.com/Miran/writer/viewlongc.php?id=1860018&chapter=10

1
CKsmnn 11 ธ.ค. 61 เวลา 19:59 น. 4-1

ขุ่นพระ... น้ำตาจะไหล ขอบคุณสำหรับแนวทางนะคะ จะต้องหาเวลาอ่านให้ละเอียดให้ได้เลย ที่ไล่ๆดูแล้วล้วนแต่มีข้อที่เคยสงสัยแล้วยังไม่รู้แนวทางเยอะพอควรเลย ขอบคุณมากค่ะ TT

0
11 ธ.ค. 61 เวลา 19:39 น. 5

ของเราแบบ ชอบวาดภาพสิ่งของรอบข้างตัวค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง เลยกลายเป็นว่า บรรยายแบบไม่รู้เนื้อไม่รู้ตัวเลยค่ะ555 และเราก็ชอบมองไปรอบๆตัวด้วย เห็นสิ่งใดบรรยายเช่นนั้นค่ะ

2
CKsmnn 11 ธ.ค. 61 เวลา 20:00 น. 5-1

หูววว เราไม่เคยเจอแบบที่บรรยายโดยการวาดเลยค่ะ นี่วาดไม่สวยเลยแปะๆในหัวเอา

เลยกลายเป็นว่าชอบคิดอะไรตลอดเวลา555555

0
11 ธ.ค. 61 เวลา 20:52 น. 5-2

เราเองก็วาดไม่สวยหรอกค่ะ แต่พอได้ค่ะhttps://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-01.png

0
♣ M E E . R ♣ 11 ธ.ค. 61 เวลา 22:53 น. 6

ปกติเวลาเราเขียนบรรยาย

เราจะจินตนาการเป็นภาพยนต์ค่ะ

ได้วิธีมาจาก นข. ที่เขียนเรื่องเกมส์ล่าชีวิต

(จำชื่อไม่ได้ 555)


การฝึกสังเกต การอ่าน และอื่นๆ จะทำให้การบรรยายของเรามีมิติค่ะ

แต่การฝึกบรรยายแบบภาพยนต์ โดยการให้ตัวเองเป็น ผกก.

จะทำให้เรารู้ว่าต้องเล่าอะไรก่อน เล่าอะไรที่หลัง


สมมติ...

นางเอกเปิดประตูร้านกาแฟเข้าไป เห็นพระเอกนั่งอยู่บนเก้าอี้ข้างเคาน์เตอร์บาร์

ถ้าเราเป็น ผกก. จะให้ตากล้องเบนภาพไปที่ไหนก่อน


เช่น...

กล้องโฟกัสไปที่มือนางเอก ที่กำลังจับลูกบิด แล้วประตูเปิดออก

กล้องเบนต่อไปที่โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ หรือแผ่นหลังของพระเอก

เสียงกระดิ่งที่ประตู ทำให้พระเอกหันมามองนางเอก อะไรทำนองนี้


การฝึกนึกภาพแบบภาพยนต์

จะทำให้เราลำดับเหตุการณ์ที่จะเล่าในเรื่องได้สมู้ทขึ้นค่ะ

ตั้งแต่ได้เรียนรู้วิธีนี้ เราก็ใช้วิธีในการเขียนบรรยายตลอด

ถึงขั้นติดใช้วิธีนี้ในการเขียนทีสิสกันเลยทีเดียว

จน prof. แซวว่า นี่ทีสิสหรือนิยาย อ่านเพลินเลย 555

1
CKsmnn 12 ธ.ค. 61 เวลา 19:41 น. 6-1

มองเป็นภาพยนตร์ วิธีนี้ก็พึ่งเคยเจอเหมือนกันค่ะ5555 เป็นรูปแบบที่แปลกใหม่มากสำหรับเรา

0
BBBB 12 ธ.ค. 61 เวลา 01:14 น. 7

เวลาที่ผมอ่าน เริ่มแรกผมเปิดคำแนะนำ สารบัญ

อ่านเนื้อหาหนึ่งหน้าแรก หน้าที่สอง คือหน้าสุดท้าย และ นำมาสรุปเอาเอง แล้วก็จบ ผมเป็น

คนขี้เบือ ขี้เกลียจอ่านเยอะ สมัยก่อนอ่านหนังสือ

เรียน ผมอ่านแค่เนื้อหาหลักพอ ครับ

1
CKsmnn 12 ธ.ค. 61 เวลา 19:46 น. 7-1

เวลาอ่านหนังสือนี่ชอบไล่อ่านแบบผ่านๆแล้วค่อยวกกลับมาเมคพ้อยท์หลัก ไม่อ่านพร่ำเพรื่อเหมือนกันค่ะ จะหลับ555

0
Alexandar 12 ธ.ค. 61 เวลา 09:33 น. 8

เราชอบจดชอบเขียนมากขึ้น ไปไหนต้องมีปากกาสมุดติดตัวไปตลอดเลยล่ะค่ะ

เขียนอะไรไปเรื่อยอย่าง 'เช้านี้เมื่อมองท้องฟ้าไป ฉันไม่เห็นพระอาทิตย์เลย ท้องฟ้านั้นเต็มไปด้วยเมฆหนา..บลาๆ' ไม่ก็บรรยายเรื่องสีและการเปรียบเทียบ แม้กระทั้งคำที่คนพูดกันที่ทำงานก็มี ประโยคเด็ดจากหนังก็เขียนลงไป แล้วก็ชอบมองคนที่เดินผ่านไปมา สังเกตแต่ละคน อนุมานเบื้องต้นว่าคนนั้นน่าจะเป็นคนยังไง


เวลามองอะไรก็เหมือนจะเอามาใส่นิยายได้ไปหมดแบบนี้เรียกว่าเป็นข้นเสียได้ไหม

1
CKsmnn 12 ธ.ค. 61 เวลา 19:51 น. 8-1

เรามองว่าไม่ใช่ข้อเสียนะคะ ด้วยความที่เราแต่งนิยายอ่ะเนอะคือเห็นอะไรก็ชอบนึกเป็นพล็อตเป็นฉากขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ คือเป็นเหมือนกัน555555 บางทีกลัวลืมก็ต้องเม็มไว้ ของเราจะใช้การโน้ตใส่มือถือค่ะทั้งประโยคเด็ดที่เจอหรือข้อคิดที่ได้เรียนรู้งี้ บางทีประโยคเดียวต่อเหตุการณ์ในนิยายได้ตอนนึงเลย

0