Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[สงสัย]แนวทางในการเขียนบทพูดของตัวละคร

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
กำลังสงสัยอีกครั้งครับ
เนื่องจากผมอ่านนิยายในเด็กดีอยู่พักหนึ่ง แล้วสังเกตการเขียนบทพูดที่แตกต่างกัน เลยอยากรู้ว่าบทการเขียนบทพูดที่นิยมใช้กันเป็นแบบไหน?

ตัวอย่าง
แบบที่ 1
"ไงนายเอ"
"ไง สบายดีไหมนายบี"
"อืม สบายดี ทางนั้นละ"
จะเห็นว่าเป็นการเขียนบทพูดเป็นย่อหน้าติดกัน ซึ่งใน ไลท์โนเวลก็ทำแบบนี้ ซึ่งผมชอบแบบนี้มากเพราะมันคุ้นเคย(อ่านไลท์โนเวลบ่อย)


แบบที่ 2
"ไงนายเอ" นายบีกล่าวทักทาย
"ไง สบายดีไหมนายบี" นายเอกล่าวตอบ
ประมาณนี้ เป็นบทพูดแล้วต่อท่ายด้วยการคำอธิบายสั้นๆ

แบบที่ 3
"ไงนายเอ" -หลังจากนั้นก็อธิบายคล้ายแบบที่ 2 แต่มีความยาวมากกว่า-

หรือมีแบบสนทนาแบบอื่นก็สามารถคอมเม้นต์ได้นะครับ

[ อันนี้ถามเล่นๆนะครับ ไม่ต้องจริงจังก็ได้ ]

 

แสดงความคิดเห็น

>

15 ความคิดเห็น

theBEREZANT 13 ม.ค. 62 เวลา 17:10 น. 1

อันนี้ขึ้นกับอะไรหลายอย่างมาก ของเราส่วนใหญ่แบบที่ 3 แต่บางทีจะเป็นแบบแรกถ้าเห็นว่าบทสนทนติดกันโดยที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในท่าทางหรืออารมณ์คั่นเลย


เราไม่เขียนแบบที่สอง เพราะอ่านเองยังหงุดหงิด น่ารำคาญมากๆ 555555

1
theBEREZANT 13 ม.ค. 62 เวลา 20:36 น. 1-1

เห็นคนใช้สองกันเยอะ ไม่ได้จะ offense ใครนะคะ เลยมาชี้แจ้งเพิ่มเติมนิดหน่อย


แบบสองที่เราเคยเจอที่หมายถึงว่าน่ารำคาญคือแบบนี้ค่ะ


"เฮ้ย ได้ข่าวยัง"A เอ่ยปากถาม B

"ข่าวอะไร?"B ตอบ

"ก็ที่ว่าเจ้าซีตอนนี้มันเป็นแฟนกับดีไปแล้วไง"A พูดอีกครั้ง

"อ้าว แล้วก็ตามจีบมาตั้งนาน"B ตอบอีกที


สาเหตุของการรู้สึกหงุดหงิดคือมันสิ้นเปลืองเกินไป ไม่จำเป็นต้องเขียนกำกับว่าใครพูดทุกประโยคเมื่อมันอ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่าใครกำลังพูดน่ะค่ะ ทางตรงข้ามคือมันขัดอารมณ์มากๆ (ถ้าเป็นแบบนั้นใช้วิธีแรกน่าจะดีกว่า)


เราเข้าใจว่าที่หลายคนหมายถึงสองคงไม่ใช่การเขียนแบบที่เราพูดถึงเลยมาแจ้งไว้ก่อน แหะๆ

0
RickRK 13 ม.ค. 62 เวลา 17:15 น. 2

ส่วนใหญ่ผมจะใช้แบบที่ 1 นะ


บางทีก็แทรกบรรยายไว้ระหว่างบทสนทนาเป็นบางครั้งก็มี เช่น


"ไงนายเอ"


เสียงของบีดังขึ้น เมื่อหันไปมองก็เจอกับบีที่อยู่ในสภาพ(บลาๆๆ)


"ไง สบายดีไหมบี"


แต่จะไปแทรกบรรยายทุกการสนทนามันก็แปลกๆนะครับผมว่า


ยังไงก็ต้องดูด้วยว่าตรงจุดไหนที่ควรบรรยาย ตรงจุดไหนควรปล่อยผ่านให้คนอ่านจินตนาการเอาครับ

0
แมวยุ่งหลังแป้นพิมพ์ 13 ม.ค. 62 เวลา 17:26 น. 3

เรื่องนี้เราว่าแล้วแต่โอกาสค่ะ เนื้อเรื่องเหมาะกับแบบไหนก็ใช้ไป เรื่องเดียวกันบางทีใช้ทุกแบบที่จขกท.ยกตัวอย่างมาก็มีค่ะ

0
13 ม.ค. 62 เวลา 17:33 น. 4

เราใช้เหมาหมดเลยค่ะ แล้วแต่โอกาส ว่าจะใช้แบบไหนบ้าง ตามสถานการณ์ต่างๆ ตามความเหมาะสมค่ะhttps://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-02.png

0
spinechi 13 ม.ค. 62 เวลา 17:51 น. 5

สำหรับเราขึ้นกับสถานการณ์ค่ะ ถ้าเป็นฉากที่เร่งรีบมาก เช่น หนีตำรวจแล้วบังเอิญเจอ ก็จะต่อบทสนทนากันเลย

แต่ถ้าดำเนินเรื่องตามปกติ จะให้มีการกระทำแทรกไปด้วย มากกว่าบอกว่า นาย A หรือ นาย B เป็นคนพูด


ยกตัวอย่าง หนึ่งในประโยคสนทนาของนิยายเรา


คุณย่าจันทร์เพ็ญดึงผ้าห่มขึ้นคลุมให้หญิงสาวก่อนจะเดินออกมา

เสียงฝนซาลงแล้ว และนางหวังลึกๆว่าอารมณ์คุกรุ่นของหลานชายจะลดลงด้วยเช่นกัน

“บอกย่าได้ไหมว่ามันเกิดอะไรขึ้น” นางทรุดตัวลงนั่งบนเก้าอี้เยื้องทางด้านหลังร่างสูง ที่ยืนเท้าแขนกับขอบหน้าต่าง

ไดอิจิถอนหายใจก่อนจะหันไปคุย “ทะเลาะกันนิดหน่อยครับ”


เนื้อเรื่องดำเนินมาด้วยความกังวลของผู้ถาม

และความอึดอัดใจที่จะเอ่ยตอบคำถามของผู้ตอบ


แล้วก็ตัวอย่างที่สอง คือฉากตัวเอกคุยกับลูกน้อง แน่นอนว่าต้องรีบสื่อสารก่อนโจรเข้ามาในห้องของเขา

“รถตู้หนึ่งคัน ชายฉกรรจ์ห้าคน คนที่ปลอมตัวเป็นหมอกำลังขึ้นตึกครับ”

“อย่าประมาท กระจายคนซุ่มดูต่อ”

“โฮทารุซังครับ ดูเหมือนว่า…คนที่ปลอมเป็นหมอ จะเป็นจิโร่ครับ และมีทริสต้า บราวน์มาด้วย”

ชายหนุ่มพยักหน้าช้าๆ

“เรียบร้อยครับ ผู้ร้ายขึ้นลิฟต์แล้ว เอายังไงต่อดีครับ” ลูกน้องถามผ่านโทรศัพท์

“ปล่อยเข้ามา”

“โฮทารุซังครับ ขอคำสั่งโจมตี ผู้ร้ายมีอาวุธปืนมาด้วยครับ”

“ไม่เป็นไร ฉันจัดการเอง”


เป็นต้น

0
A.L. Lee (ท้องฟ้าฤดูใบไม้ผลิ) 13 ม.ค. 62 เวลา 18:33 น. 6

เราใช้ปน ๆ กันค่ะ

แบบที่ 1 เมื่อมีคนแค่สองคน และไม่ได้แสดงอารมณ์อะไรมาก แต่จะไม่ต่อกันยาวค่ะ แค่ 2-3 ประโยค

แบบ 2 และ 3 จะเริ่มใช้เมื่อบรรยายอารมณ์ด้วย หรือไม่ก็เอามาคั่นแบบที่ 1


แต่ที่ใช้เยอะที่สุด เวลาบทพูดยาว แบบนี้ค่ะ


“ไงนายเอ ไม่เจอกันเสียนานเลยนะ” นายบีเอ่ยเสียงร่าเริง “ยังทำตัวติงต๊องเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า”

“แกเองเรอะ” นายเอบุ้ยปาก “ทำไมต้องเจอคนที่เหม็นขี้หน้าแต่เช้าด้วยเนี่ย”


ประมาณนี้อ่ะค่ะ 555

0
Noirgard 13 ม.ค. 62 เวลา 19:41 น. 9

ของผมเป็นแบบที่ 2 กับ 3 นะ จะ 1ใช้ก็ต่อเมื่อตัวละครพูดกันรัวๆอารมณ์แบบเถียงกันน่ะครับ
ความจริงผมว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องของทักษะการเขียนเฉพาะตัวมากกว่าเพราะจากที่ผมเคยอ่านๆมาแต่ละคนก็ใช่ไม่เหมือนกันนะครับ เท่าที่สังเกตนักเขียนอาชีพเก่งๆจะใช้ 3 เยอะเป็นพิเศษ จะบรรยาความรู้ตัวละครออกมาชัดเจนมาก (ผมยังไม่ถึงขั้น)


ว่าแล้วก็โฆษณาหน่อย 555 นิยายเรื่องแรกติชมได้ตามสะดวกเลยครับ แนวแฟนตาซี
https://writer.dek-d.com/Noirgard/writer/viewlongc.php?id=1902587&chapter=4

0
white cane 13 ม.ค. 62 เวลา 21:24 น. 10

ผมใช้แบบผสมผสาน ขึ้นอยู่กับว่าฉากในนิยายอยู่ในสถานการณ์ไหน ถ้าฉากนั้นต้องการให้นักอ่านเข้าถึงจิตวิญญาณของความรู้สึกตัวละคร จะเน้นที่บรรยายความรู้สึกมากกว่าการใช้คำพูด โดยเฉพาะการใช้ประโยคต่อท้ายห้วนๆ นั้นจะไม่พยายามใช้เด็ดขาด เพราะจะทำให้ตัวละครของเราไม่ต่างจากหุ่นกระบอกที่แสดงสีหน้าไร้ความรู้สึกครับ


เมื่อกี๊ลืมไป สำหรับในกรณีที่หนึ่ง มีแต่บทพูด อันนั้นผมจะพยายามไม่ใช้ให้มีเกินสี่ครั้ง เพราะถ้าเกินจากนี้นักอ่านจะต้องหลงว่าบทนี้ใครพูด จึงต้องมีการกระทำบางอย่างสอดแทรกอยู่ด้วย หรือไม่ก็เขียนว่าใครพูดต่อท้ายอีกที โดยเฉพาะในฉากที่มีหลายตัวละคร มันจำเป็นมาก เนื่องจากนักอ่านจะแยกแยะไม่ออกว่าใครพูด แล้วก็ผมจะไม่ใช้สีในการสื่อให้รู้ว่าใครเป็นคนพูด เพราะคนที่เห็นเขาบอกว่าแสบตา บางคนตาลายก็มี

0
วัลล์เวฬา 13 ม.ค. 62 เวลา 22:19 น. 11

เราชอบเขียนแบบนี้


“นี่คุณทำอะไรกับรถผม” เขาถามเสียงเข้ม พลางกวาดสายตาสำรวจภายในรถ หญิงสาวเหลือบมองเจ้าปลั๊กไฟเล็กน้อยก่อนจะตอบ

“ฉันเปล่านะ...เจ้าอ้วนนั้นต่างหากที่เปิดประตูรถของคุณ” หญิงสาวตอบอย่างโมโห ที่อยู่ก็กลายเป็นคนผิดทั้งๆที่หวังดีแท้ๆ


ฝากติดตามด้วยคะ

ที่บ้านเด็กดี กด https://bit.ly/2QAtFhL

ที่บ้านรีด กด https://bit.ly/2FiZjyS

1
mook233tmk 14 ม.ค. 62 เวลา 00:30 น. 13

ใช้รวมๆกันแล้วแต่สถานการณ์ แต่ส่วนใหญ่ใช้แบบที่สาม

เป็นพวกติดบรรยาย สนทนาได้สองประโยคบรรยายอีกละไรงี้

แต่มันแล้วแต่สถานการณ์ด้วย ถ้าฉากอารมณ์ที่ต้องพูดต่อกัน เราจะปล่อยบทสนทนาต่อเนื่อง

แล้วค่อยบรรยายขั้นถึงความรู้สึกในช่วงนั้นๆ แต่จะไม่ปล่อยบทสนทนายาวแบบไม่มีบรรยายเกิน4ประโยค

0
ภีมพิมพ์ 14 ม.ค. 62 เวลา 03:26 น. 14

ขึ้นอยู่กับบริบท อารมณ์ และสถานการณ์ของฉากๆ นั้นแหละครับว่าอยากให้มันเป็นแบบไหน

ถ้าเป็นฉากที่เห็นภาพรวมเยอะๆ มีการเคลื่อนไหวท่าทาง มีบรรยากาศอารมณ์ที่ต้องการจะสื่อระหว่างการสนทนายังไงก็ต้องควรจะเป็น 3

แต่ถ้ามันเป็นบทสนทนาโต้ตอบเร็วๆ ไม่ได้ใช้รายละเอียดมากมาย มัวแต่บรรยายอยู่นั่นมันก็เวิ่นเว้อไม่ใช่เรื่อง ใช้แบบ 1 หรือแบบ 2 ไปจะดีกว่า

และอย่างที่ความคิดเห็นที่ 1 ว่าครับ แบบที่ 2 เนี่ยถ้าเป็นไปได้ใช้แค่พอให้เข้าใจว่าฉากนั้นมีใครพูดก็พอ ย้ำเยอะๆ แล้วมันไม่งาม



0
พี่ตุลา 19 ม.ค. 62 เวลา 20:38 น. 15

ผมอ่านเเละเคยชินกับเเบบที่สาม จนยึดถือว่ามันเป็น"มืออาชีพ"ในความคิดของผมไปซะเเล้ว คือถ้าเคยเล่นเเชทอาจจะเคยได้ยินคำว่าบทโรลซึ่งมีเเต่บทสนทนาที่ใกล้เคียงกับเเบบที่สอง ผมมองว่าเเบบที่หนึ่งนี่มันควรเอาไปโยนใส่จอลดาซะ.. เเต่โดยรวมเวลาผมเเต่งผมจะใช้เเบบที่หนึ่งเพื่อความต่อเนื่อง สลับกับเเบบที่สามเพื่อบรรยายฉากเเละความคิดครับ

1
S3RS 19 ม.ค. 62 เวลา 20:51 น. 15-1

แบบที่ 1 ผมว่าปกติกว่าแบบที่ 3 นะครับ

เพราะ ไลท์โนเวลใช้แบบนั้นกับเยอะ และนักเขียนชื่อดัง อากาธา คริสตี้ ก็ใช้ แน่นอนว่านิยายสากลก็ใช้เยอะเช่นกัน โดยผสมกันกับแบบี่ 2 และ 3 ซึ่งโดยรวมแล้ว ใช้เยอะกว่าแบบที่ 3 ซะอีก

แต่แน่นอนครับว่าแบบที่ 3 นั้นพบเห็นได้ในเด็กดีเยอะ โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบการอธิบายฉากร่วมกับบทพูดเท่าไหร่

ยังไงก็ตาม ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคล อ่านแบบไหนมาก่อน ชินกับแบบไหน อะไรแบบนั้นครับ

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-06.png


0