Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรือน้ำแข็งแห่งอังกฤษ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

อ่าน นิยาย การ์ตูน มังงะ ดูอนิเม แนวแฟนตาซีกันไหมครับ? ถ้าเคยดูจะรู้เลยว่ามันจะต้องมีนักเวทที่ใช้เวทมนต์แน่ๆ เก่งไม่เก่งนั้นก็อีกเรื่อง ในบางครั้งเราจะได้เห็นนักเวทเหล่านั้นใช้ความสามารถของตนเองสร้างกำแพงน้ำแข็งขนาดมหึมาเพื่ออะไรก็ตามที่ผู้แต่งต้องการ แต่!!!!คุณรู้ไหมว่าในประวัติศาสตร์เคยจะมีการเอาน้ำแข็งมาสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินในโปรเจค Habakkuk แต่จะเรียกว่าน้ำแข็งเลยก็ไม่ถูกแต่มันคือ Pykrete

ทำความรู้จัก Pykrete

Pykrete คือสมการง่ายๆแต่น่าเหลือเชื่อ แค่นำ ขี้เลื่อย 14% ผสมกับ น้ำแข็งอีก 86% มาผสมกัน ก็ได้เป็น Pykrete แล้ว และมันสามารถทนแรงดึงได้มากกว่าคอนกรีตเสียอีก

มันถูกสร้างมาเพื่ออะไรและโดยใคร?

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ผลงานวิษวกรรมชิ้นเอกหมาป่าใต้น้ำของเยอรมันหรือเรืออู กำลังอาละวาดในทะเลแอตแลนติก ทางอังกฤษต้องการหายุทธวิธีในการกำจัดภัยครั้งนี้เพื่อให้อังกฤษไม่อดตาย อยู่ดีๆ Geoffrey Pyke ก็มาพร้อมแผนสุดแปลกประหลาดสุดจินตนาการ นั้นคือ Project Habakkuk แผนสร้างเรือบรรทุกเครื่องจาก น้ำแข็ง ซึ่งเป็นอะไรที่แปลกประหลาด แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนเป็น Pykrete หรือพูดง่ายๆคือมันถูกสร้างมาด้วยโครงการนี้โดยเฉพาะ มีเรื่องเล่ากันว่าในห้องประชุมได้มีนายทหารคนหนึ่ง หยิบปืนขึ้นมายิงใส่ Pykrete ที่อยู่ตรงหน้า และกระสุนแฉลบไปโดยนายทหารอีกคนในห้อง ซึ่งเชอร์ชิลก็อยู่ในห้องนี้ด้วย เมื่อเขาเห็นจึงอนุมัติแผนการทดลองครั้งนี้

Project Habakkuk

ในช่วงที่มีการพัฒนา M29 Weasel   Pyke ได้รับโจทย์ว่าจะทำยังไงให้สามารถคุ้มกันการยกพลขึ้นบก และเรือขนส่งให้ปลอดภัย แต่ปัญหาคือ เหล็กและอลูมิเนียมจำเป็นต้องถูกนำไปผลิตอย่างอื่น ไม่รู้อะไรดลบันดาล Pyke เขาก็คิดได้ว่า "ก็น้ำแข็งไงล่ะ" ในการผลิตใช้พลังงานแค่ 1% ของการถลุงเหล็ก

จดหมายปิดผลึกลับสุดยอดถูกส่งจากอเมริกาสู่อังกฤษ และโครงการก็ได้รับอนุมัติ

ในช่วงแรกของการทดลองใช้เพียงน้ำแข็งปล่าวของทะเลสาบแพทริเซีย ตัวต้นแบบมีขนาด 18 เมตร หนัก 1000 ตัน สามารถรอดจากฤดูร้อนได้ไม่นานก็ละลาย

แคนาดาคลาดว่าจะต่อเรือเสร็จในปี 1944 วัสดุที้จำเป็นได้ถูกส่งมาได้แก่ เยื่อไม้ 300,000 ตัน ไฟเบอร์บอร์ด 25,000 ตัน ไม้ 35,000  ตันและ เหล็ก 10,000 คลาดว่าต้องใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 700,000 ปอร์น

ในขณะเดียวกันปัญหาก็เริ่มเกิดขึ้น Perutz ได้พิจารณาจากการทดลองของเขาที่ Smithfield Market ว่าคุณสมบัติโครงสร้างที่เหมาะสมได้มาจากการผสมเยื่อไม้ร้อยละ 14 และน้ำร้อยละ 86 เขาเขียนถึง Pyke เมื่อต้นเดือนเมษายน 1943 และบอกว่าหากการทดสอบไม่เสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคมจะไม่มีโอกาสส่งมอบเรือที่เสร็จสมบูรณ์ในปี 1944

เมื่อถึงเดือนพฤษภาคมปัญหาการลั่วของความเย็น ทำให้ต้องมีการเสริมแรงเหล็กมากขึ้นรวมถึงผิวฉนวนที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นรอบ ๆ ตัวถัง สิ่งนี้ทำให้การประมาณการต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ล้านปอนด์ นอกจากนี้แคนาดาได้ตัดสินใจว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะลองทำโครงการ "ฤดูกาลที่จะมาถึงนี้" Bernal และ Pyke พวกเขาไม่มีทางนอกจากบอกว่า Habakkuk จะไม่พร้อมในปี 1944

จากการออกแบบ ผู้ออกแบบนั้นต้องการให้มัน มีระยะปฎิบัติการ 11,000 กม. หรือ 7,000 ไมล์ สามารถทนต่อคลื่นทะเลที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ได้ แถมพลเรือเอกยังต้องการให้มันทนต่อตอปิโดอีกด้วย ซึ่งหมายความว่าเรือจะต้องมีความหนาอย่างน้อย 40 ฟุต (12 เมตร) FAA (Fleet Air Arm) ยังต้องการเป็นฐานสำหรับให้เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักขึ้นบิน หมายความว่าดาดฟ้าต้องยาว 2,000 ฟุต (610 ม.) ซึ่งวิ่งเล่านี้ทำให้การเลี้ยวมีปัญหา มีการตัดสินใจว่าจะเพิ่มความเร็วของมอเตอร์ แต่กองทัพเรือตัดสินใจว่าหางเสือนั้นสำคัญกว่า อย่างไรก็ตามปัญหาในการติดตั้งและควบคุมหางเสือที่สูงกว่า 100 ฟุต (30 เมตร) ก็ไม่เคยถูกแก้ไข

Habakkuk II ได้ถูกเปลี่ยนให้มีความกว้างและยาวเพิ่มขึ้น 180 เมตร และ 1200 เมตรตามลำดับ เพิ่มให้มีความสามารถทนต่อระเบิด 1,000 KG การออกแบบในรุ่นนี้พวกเขาเรียกมันว่า bergship น้ำหนักถูกจำกัดไว้ที่ 2.2ล้านตัน ใช้เครื่องปั่นไฟไอน้ำซึ่งจ่ายไฟได้ 25000 kW ปืนต่อต้านอากาศยานรอบลำ สามารถบรรทุก เครื่องบิน ทิ้งระเบิด/ขับไล่ ได้สูงสุด 150 ลำ

Habakkuk III เพียงแค่ลดขนาดและเพิ่มความเร็วเท่านั้น

แต่น่าเสียดายที่โครงการต้องถูกยกเลิกไปเนื่องจาก

-ความต้องการใช้เหล็กเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนั้นมากเกินไป
-ได้รับอนุญาตจากโปรตุเกสให้ใช้สนามบินในอะซอเรสซึ่งอำนวยความสะดวกในการล่าเรือดำน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก
-ถังน้ำมันรุ่นเดินทางไกลทำให้เครื่องบินอังกฤษสามารถบินในแอตแลนติกได้
-เรือบรรทุกเครื่องบินขนส่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น

อ้างอิง
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Project_Habakkuk




แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น