Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คณะครุศาสตร์ฯ มจพ. MOU Hankyong ประเทศเกาหลีใต้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร.ไพโรจน์ สถิรยากร คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ลงนามความร่วมมือกับ Prof. Dr. Lee Eul Gyu, Dean of Engineering College, Hankyong National University ประเทศเกาหลีใต้ ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (อาคาร 52) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สืบเนื่องจากโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และ Hankyong National University ประเทศเกาหลีใต้ โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ. ได้จัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ Hankyong National University ประเทศเกาหลีใต้ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศให้เข้มแข็ง รวมถึงตอบสนองแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือไปพร้อมกัน ซึ่งมี รศ.ดร.ไพโรจน์ สถิรยากร และ ผศ.ดร.สุชัญญา โปษยะนันทน์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนี้เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
ระหว่างนักศึกษา และคณาจารย์ของทั้งสองมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มประเทศในอาเซียน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 5 ปี ในส่วนของโครงการดังกล่าวมี ผศ.ดร.พนาฤทธิ์ เศรษฐกุล เป็นที่ปรึกษาโครงการ พร้อมคณะทำงานอีกหลายท่าน ได้แก่ รศ.ดร.สมศักดิ์ อรรคทิมากูล รศ.ดร.บัณฑิต สุขสวัสดิ์ ผศ.ดร.จรัญ แสนราช ผศ.ดร.ศักดา กตเวทวารักษ์ อาจารย์วิทวัส ทิพย์สุวรรณ และนางสาวรติภัทร ไกรศรีวรรธนะ
ส่วนการนำเสนอผลงานทางวิชาการระหว่างคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและ Hankyong National University ประเทศเกาหลีใต้ ได้นำเสนอผลงานวิชาการร่วมกัน ได้แก่ การนำเสนอผลงานวิชาการ เรื่องที่ 1 Fine dust escape application เรื่องที่ 2 Manufacture of sunscreen containing CNF-TiO2 เรื่องที่ 3 Development of nutritional Supplement with anti-oxidizing effect using Trapa japonica extract และเรื่องที่ 4 Virtual Glove เป็นต้น
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อาทิ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของ
นักศึกษาและคณาจารย์อันจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษา และคณาจารย์ ที่เกิดจากความร่วมมือเพื่อพัฒนาระห่วางประเทศ ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในอาเซียนด้วย
สอบรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่ คุณรติภัทร ไกรศรีวรรธนะ สำนักงานคณบดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 3201, 3202

แสดงความคิดเห็น

>