Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

"สาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.บูรพา ออกแบบผลงานทางศิลปกรรมและถ่ายทอดผลงานผ่านแหล่งเรียนรู้ใหม่ ในรูปแบบสตรีทอาร์ต(Street Art)"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
" สาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ออกแบบผลงานทางศิลปกรรมและถ่ายทอดผลงานผ่าน แหล่งเรียนรู้ใหม่นอกห้องเรียนในรูปแบบสตรีทอาร์ต (Street Art) "


วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562 นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน
“โครงการออกแบบสื่อปฐมวัยสร้างสรรค์ มหัศจรรย์ท้องทะเลไทย street art styles”
โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ ประธานสาขานิเทศศิลป์ นายสิราวิชญ์ สำนักสกุล ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี  พร้อมด้วย คณาจารย์ บุคลากร นิสิต และนักเรียน เข้าร่วมงาน ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี โดยภายในโครงการ ได้รับความร่วมมือจาก ทางโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี และสาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  ออกแบบผลงานทางศิลปกรรมและถ่ายทอดผลงานผ่านสื่อดิจิทัล ในรูบบInfographic QR Code  เพื่อสร้างสรรค์ และสามารถทำให้เกิดองค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้ใหม่นอกห้องเรียนใน รูปแบบสตรีทอาร์ต (Street Art) 
ซึ่งงานสตรีทอาร์ตนั้นเป็นศิลปะที่เข้าถึงได้ง่ายสามารถพบเห็นได้ตาม ท้องถนน และที่สาธารณะ เป็นงานที่มีความโดดเด่น และเป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น ผู้จัดทำจึงนำเรื่องความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ของสัตว์ใต้ท้องทะเล ซึ่งมีสัตว์มากมายที่ควรศึกษา บางชนิดก็ควรอนุรักษ์ไว้ บางชนิดก็เป็นสัตว์คุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ
ซึ่งในปัจจุบันนี้นักเรียนและเยาวชนส่วนใหญ่ไม่เห็นถึงความสำคัญและขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับสัตว์สงวนและสัตว์น้ำคุ้มครองทางทะเล จึงนำเสนอในผลงานชิ้นนี้ โดยใช้แนวความคิด สนุกสนาน เรียนรู้ มหัศจรรย์ 
โดยมีใช้เทคโนโลยี QR Code เป็นสื่อให้ความรู้ในรูปแบบใหม่ ที่สะดวกและเข้าถึงได้ง่าย
เพื่อที่จะได้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตทางทะเลของสัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครอง ที่เป็นสัตว์น้ำ

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนและเยาวชนที่ศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนอนุบาล เมืองใหม่ชลบุรี และยังเสริมสร้าง ให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปหันมาใส่ใจ อนุรักษ์สัตว์สงวนและสัตว์คุ้มครองทางทะเลมากขึ้น และยังสามารถนำแนวคิดมาประยุกต์ ใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21





 

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น