Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[สงสัย] พวกท่านเขียนย่อหน้าอย่างไรกันหรือ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
กลับมาอีกครั้งกับช่วง... S3RS สงสัยนะครับ(เป็นรายการทีวีรึไง?!)
ผมสงสัยว่า
ทุกท่านเขียนย่อหน้าแต่ละย่อหน้าในนิยายของพวกท่านอย่างไรกันบ้านครับ?
เช่นพวก ความยาว เนื้อหา แบ่งย่อหน้าอย่างไรกัน? น่ะครับ
แค่นี้แหละครับ...เนื่องจากผมอยากรู้สไตล์ของแต่ละคน
เผื่อว่าจะนำมาเป็นแรงบัลดาลใจและตัวอย่างได้น่ะครับ

 
[ ...ไม่มีอะไรจะเขียน...ให้นักอ่านได้อ่านพรุ่งนี้...บนกระดาษก็เลอะ น้ำตา--! ]

แสดงความคิดเห็น

>

21 ความคิดเห็น

yurinohanakotoba 25 ม.ค. 62 เวลา 23:10 น. 1

เพิ่งรู้ว่ามันมีสไตล์ด้วยเหรอ ในหนึ่งย่อหน้าต้องเป็นเรื่องราวเดียวกัน เช่น บรรยายสภาพภายในร้าน ในย่อหน้านี้คือมุ่งบรรยายสภาพภายในร้านอย่างเดียว ถ้ามีกิมมิคก็จะสรุปในประโยคสุดท้าย เป็นอันจบย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่จะเขียนอะไรก็ว่ากันไป แต่งงจริง ๆ มันมีสไตล์จริงเหรอ ท่าทางจะได้เปิดหูเปิดตา

3
S3RS 25 ม.ค. 62 เวลา 23:14 น. 1-1

ไม่รู้เหมือนกันครับ ดังนั้นก็เลยตั้งกระทู้นี้ขึ้น 555+


ไหนๆแล้วเรามาลองเปิดหูเปิดตาด้วยกันนะครับ

ไม่แน่อาจจะเจอแนวการเขียนแปลกๆ...

0
S3RS 25 ม.ค. 62 เวลา 23:40 น. 1-3

ตอนนี้ผมเปลี่ยนเรื่อยๆเลยครับ


ปัจจุบันเป็นแบบสั้นๆ เลือกหนึ่งหัวข้อ แล้วเขียน พอเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนั้นหมดแล้วก็ขึ้นย่อหน้าต่อไป


หัวข้อในที่นี่้หมายถึง

-สภาพรอบๆ

-การเคลื่อนไหวของตัวละครหนึ่ง

-สิ่งของในฉาก

-ข้อมูลเล็กๆ(ปัจจุบันกำลังพยายามให้ข้อมูลกับผู้อ่านผ่านทางบทสนทนาอยู่ครับ)


ประมาณนี้แหละครับ ซึ่งแต่ละย่อหน้าจะสั้นๆ ไม่เป็นบล๊อคยาวๆ

0
TanuJi 25 ม.ค. 62 เวลา 23:23 น. 2

สำหรับผมคงเป็นความรู้สึกล้วนๆ ครับ พอเขียนมาได้สักพักก็จะรู้ตัวว่า "เอ๊ะ มันยาวเกินไปนี่หว่าคนอานคงต้องตาลายเป็นแน่ขึ้นย่อหน้าใหม่แม่มเลย" อะไรประมาณนี้ //ไม่ได้ช่วยอะไรเลยนี่หว่า.. Orz


0
SilverPlus 25 ม.ค. 62 เวลา 23:30 น. 4

ย่อหน้า หมายถึงการขึ้นบรรทัดใหม่ใช่ไหม


ปกติจะไม่ยัดข้อมูลอะไรยาว ๆ ย่อหน้าจึงขึ้นใหม่ได้เยอะ บวกกับที่ใช้ตัวละครเล่าเรื่องราว ทำให้ไม่ต้องขึ้นย่อหน้าใหม่แต่อย่างใด เล่ามันให้จบในประโยคคำพูดนั้นเลย แต่ถ้าเนื้อหายาว ..... ก็จะทำให้มันสั้น พอจะอธิบายได้ภายในย่อหน้าเดียว ถ้ามันเยอะจริง และมีอะไรอยากจะบอก ก็จะให้ตัวละครพักช่วง จะขยับร่างกาย หรือแสดงอารมณ์ทางสีหน้า แล้วจึงเล่าต่อ อันนี้ในกรณีของการเล่าเรื่องโดยตัวละครนะ


เล่าเรื่องโดยคนเขียน อันนี้ผมไม่ทำ แต่เล่าเรื่องผ่านการมองของตัวละคร อันนี้ทำบ่อย ส่วนมากจะแยกจังหวะเรื่องอย่างชัดเจน เช่น


ย่อหน้าแรก ตัวเอกถูกจู่โจมสายฟ้าแลป ศัตรูปล่อยท่า บรา บรา บรา... พระเอกหลบแล้วสวนด้วยท่า บรา บรา บรา


ย่อหน้าสอง จังหวะสำคัญ ตัวเอกถีบศัตรูถอยไปได้


ย่อหน้าสาม ตัวเอกมองศัตรู อธิบายรูปร่าง ลักษณะ


ย่อหน้าสี่ ศัตรูไม่รอช้า เข้าหวดต่อด้วยท่า บรา บรา บรา....


สามารถเปลี่ยนการอธิบายลักษณะตัวละครศัตรู จากย่อหน้าสามไปย่อหน้าแรกได้ แต่ที่ไม่ทำ เพราะมันจะเสียจังหวะ เซอร์ไพร์มาเทอร์เฟคเคอร์ ก็เลยเอาการอธิบายไปไว้ย่อหน้าสามแทน


ส่วนการอธิบายอะไรยาว ๆ ผมมักจะแบ่งตามจังหวะเรื่อง ประมาณ ย่อหน้าแรกตัวละครเดินผ่านตลาด อธิบายตลาด ย่อหน้าต่อมาเจอคนขายของ ก็อธิบายคนขายของ ย่อหน้าต่อมา เจอพรรคพวก ก็อธิบายการเคลื่อนไหวของพรรคพวก แล้วตัดย่อหน้าต่อไปที่บทสนทนาทักทาย จะไม่เอาจังหวะเรื่องมาปะปนกัน เพราะคิดว่าคนอ่านอาจจะแยกจังหวะเรื่องไม่ได้


ที่จริงก็ไม่มีหลักการหรอก ตามความรู้สึกล้วน ๆ ความรู้สึกประมาณ ไม่ตัดย่อหน้าเร็ว และไม่ทิ้งย่อหน้าไว้ยืดยาวจนคนอ่านจับความสำคัญไม่ได้


ส่วนการอธิบายอะไรยาว ๆ แบบความเรียง อันนั้นก็ตามความหมายในหนังสือเรียนเลย


เจ้าของกระทู้ถามอะไรประมาณนี้หรือเปล่า ไม่มั่นใจ


รอคนอื่นมาตอบอีกที...

0
SOUL DRIFTER 26 ม.ค. 62 เวลา 01:39 น. 6

ผมเขียนแล้วรู้สึกว่าถ้าอ่านสบายตาดีก็จะเอาแบบนั้นเลยครับ แล้วพอเขียนของผมจะเว้นเยอะหลายบรรทัด



เพราะมันให้ความรู้สึกว่าเหมือนเราอ่านการ์ตูนมากกว่านิยาย



ก่อนหน้าผมมาเขียนนิยายผมเป็นนักอ่านมังงะคับ ตอนเเรกเพื่อนชวนมาอ่านนิยายผมรู้สึกลายตามาก อ่านไปนานๆละมึนอะครับ



ดังนั้นพอผมเขียนเอง ผมก็พยายามเขียนให้ดูเรียบๆไม่ดูลายตาคับ เหมือนที่ผมพิมพ์อยู่เนี่ยแหละhttps://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-01.png

0
A.L. Lee 26 ม.ค. 62 เวลา 07:11 น. 8

เซนส์ล้วน ๆ เลยค่ะ

ปกติก็ตอนเปลี่ยนประเด็น

หรือไม่ก็เว้นบรรทัดเพิ่อให้ประโยคที่ต้องการเน้นเด่นขึ้นมา

0
ชนุ่น 26 ม.ค. 62 เวลา 09:16 น. 10

ขอตอบใน 3 ประเด็นที่ให้มานะครับ


1. ความยาว


ตัวความยาวนี่ขึ้นอยู่กับผู้เขียนครับว่าจะจัดอย่างไร และมีวิธีจัดอย่างไรให้อ่านง่ายครับ ปรกติอะไรที่มีเนื้อหา ใจความเดียวกันจะรวมไว้ในหนึ่งย่อหน้า จะขึ้นย่อหน้าใหม่ก็ต่อเมื่อเล่าเรื่องใหม่เท่านั้น แต่ย่อหน้าต่าง ๆ รวมกันแล้วต้องสัมพันธ์สอดคล้องกันด้วย ในงานเขียนเชิงวิชาการอาจจะเคร่งส่วนนี้ แต่งานเขียนบันเทิงคดีพวกนี้อาจจะแบ่งย่อหน้าได้หลากหลายตามความเหมาะสมของผู้เขียนครับ



2. เนื้อหา


อันนี้ขอมอบหน้าที่ให้กับตำราของรามคำแหงไปก่อนครับ http://e-book.ram.edu/e-book/t/TH345/th345-2.pdf 5555 ในนั้นอธิบายได้ละเอียดละอี้จนผมเข้าใจไปแล้ว


แต่ถ้าเคยผ่านวิชาภาษาไทยและได้รู้เรื่องการเขียนเรียงความเบื้องต้นก็จะพอทราบบ้างว่า เรียงความที่ดีจะต้องมี

- เอกภาพ คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในตัวย่อหน้า คือในย่อหน้านั้นจะพูดแค่เรื่องที่เราต้องการจะพูดเท่านั้น

- สัมพันธภาพ หมายถึงว่าเนื้อความในย่อหน้านั้น ๆ จะต้องสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

- สารัตถภาพ คือการเน้นใจความสำคัญ กล่าวคือในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีใจความและมีส่วนขยายใจความต่าง ๆ ไป


ทั้งนี้ ในการเขียนนิยายเรื่องนี้คงไม่ต้องซีเรียสมากว่าจะมีใจความอะไร แต่เรื่องความต่อเนื่องเนี่ยผมว่าสำคัญมากกว่าเพราะถ้าเกิดคนเขียนเขียนเรื่องกระโดดไปกระโดดมา เราคนอ่านก็คงจะมึนใช่มั้ยล่ะครับ



3. การแบ่งย่อหน้า


ประเด็นนี้ผมว่าง่ายสุดแล้ว 555 ถ้าจัดย่อหน้าโดยปรกติ เวลาขึ้นย่อหน้าใหม่ในเวิร์ดก็เคาะลงมาแล้วกดแท็บให้มันเข้าใน ถ้าจะขึ้นตอนใหม่ก็เคาะเว้นมาอีกหนึ่งบรรทัดแล้วก็เริ่มใหม่เลยครับ แต่บางอันถ้าจะให้นำเทรนด์ ย่อหน้าแรกของตอนใหม่จะม่กดแท็บให้เข้าในครับ


https://image.dek-d.com/27/0493/8881/128196090


ประมาณนี้ครับ


หวังว่าจะเป้นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ (สรุปจะมากรึจะน้อยวะ 5555)

0
peiNing Zheng 26 ม.ค. 62 เวลา 10:15 น. 11

ย่อหน้าเป็นเรื่องสำคัญในการกำหนดจังหวะของเรื่อง ถ้าให้ระบุชัดกว่านั้น เราว่ามันเป็นการกำหนดจังหวะลมหายใจ อารมณ์ และสมาธิในการจดจ่อของคนอ่านน่ะค่ะ


ส่วนตัวเรา กำหนดเป็นใจความก็ใช่แหละ แต่หลักๆ เราดูที่จำนวนบรรทัดที่ปรากฏสู่สายตาคนอ่านค่ะ


เมื่อมองที่จำนวนบรรทัด ก็ต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า สิ่งที่เราเขียนอยู่ในสื่อประเภทไหน ถ้าอยู่ในหนังสือเล่ม หรือ Ebook จะเป็นแบบหนึ่ง หรือแม้กระทั่งการตอบกระทู้แบบนี้ การย่อหน้าของเราก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เอาให้คนอ่านสบายสายตาที่สุดในเครื่องมือที่คนอ่านกำลังอ่าน (พอดีตอบในคอม เราก็จะยึดตามสิ่งที่ปรากฏในหน้าจอ เราไม่ได้ใช้แอพ เลยไม่รู้ว่ามันแตกต่างกันไหม)


มันมีอีกหลายอย่างที่อธิบายได้ลำบาก ต้องบอกว่าเป็นสไตล์ส่วนตัวก็ใช่ อยู่ที่คนเขียนแต่ละคนจะเล่นกับจังหวะกับอารมณ์และความรูัสึกนึกคิดของคนอ่านยังไงด้วยน่ะค่ะ

0
ItsFreakingCool,man! 26 ม.ค. 62 เวลา 10:19 น. 12

เว้น0.5เซนค่ะ

ใจความใหม่ขึ้นย่อหน้าใหม่

พวกคำพูดตัวละครก็ใส่ย่อยๆไปเลย

ก็แล้วแต่คนเขียนออกแบบเลยค่ะ ว่าในวรรคนี้จะใส่เนื้อหาอะไรบ้าง

แต่นักอ่านเขาชอบแบบที่อ่านแล้วสบายตานะคะ

แบ่งทีละน้อย ระหว่างวรรคมีช่องไฟหน่อย

1
ItsFreakingCool,man! 26 ม.ค. 62 เวลา 11:04 น. 12-1

ที่จริง เราว่าคุณก็อาจจะรู้อยู่บ้าง

แต่พอเห็นแต่ละที่เว้นไม่เหมือนกัน ก็ทำให้เกิดความสับสนใช่มั้ยคะ?

ถ้าเอาตามมาตรฐานก็ตามที่หลายๆคห.แนะนำมา

แต่ถ้าอยากรักษาเอกลักษณ์ก็ออกแบบเองเลยค่ะ

0
Miran/Licht 26 ม.ค. 62 เวลา 10:38 น. 14

เราก็ไม่ได้จบเอกภาษาไทยมาน่ะนะ แต่อยากให้ลองนึกถึงการเขียนเรียงความค่ะ เรียงความที่ดีควรประกอบด้วย 3 อย่าง คำนำ เนื้อหา สรุป

ใน 1 ตอน ควรจะมีอะไรบ้าง


1. คำนำ อาจะเป็นบทนำที่เกริ่นถึงตอนที่แล้ว (กรณีที่ดองนานควรมีอย่างมากกันคนอ่านลืม) เล็กน้อย ตามด้วยอร้มภบทตอนต้น


2. เนื้อหา จะมีกี่พารากราฟก็ได้ แต่ใน 1 พารากราฟ ไม่ควรที่จะยาวเกินไป ยาวเกินคนอ่านจะเบื่อเสียก่อน ถ้าเปลี่ยนประเด็นก็ควรขึ้นพารากราฟใหม่ เทคนอคบอกไม่ถูกอาจจะเพราะเขียนจนเคยชินแล้ล่ะมั้ง


3. สรุป สรุปเนื้อหาในตอนนั้น หรือดำเนินเข้าสู่บทสรุปประจำตอน นิยายเรามันจบในตอนอยู่แล้วมีบทสรุปก็ดี


อนึ่ง เข้าใจว่าคุณจขกท.นิยมอ่านแต่ไลท์โนเวทใช่หรือไม่ ไม่ต้องตอบเรา แต่หาคำตอบให้ตัวเองค่ะ

ไลท์โนเวลก็มีข้อดีตรงย่อยง่าย แต่ถ้าคุณไม่เคยอ่านนิยายฟูลออพชั่นประเภทอื่นมา หรืออ่านมาน้อย และยึดแต่ไลท์โนเวลเป็นหลัก คุณก็จะได้แต่ตั้งคำถามซ้ำไปซ้ำมาอยู่ดีแหละค่ะ


อันที่จริงปัญหาหลายๆ อย่างคุณแทบไม่จำเป็นต้องมาถามด้วยซ้ำไป ถ้าคุณมีพื้นฐานที่แน่นอยู่แล้ว คุณยังเรียนมัธยมอยู่จำได้จากกระทู้ก่อน แต่บ่งบอกว่าภาษาไทยคุณก็ไม่แน่นเลย ไม่งั้นคงไม่มาถามด้วยแยกไม่ออกระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน


ที่บอกว่าคุณไม่จำเป็นต้องถามเพราะคุณสามารถกลับไปเปิดหนังสือเรียนภาษาไทยแล้วเรียนรู้ใหม่แต่ต้นก็จะเข้าใจทั้งหมดค่ะ ถ้าหนังสือเรียนเก่าๆ ไม่อยู่แล้วก็เข้าสมุดโรงเรียน/ชุมชนไปค่ะ


ครูภาษาไทยเราสอนให้ว่าให้อ่านทั้งหมดทั้งดีหรือแย่ ถ้าอ่านหนังสือดีๆ ทั้งหมดจะไม่รู้ว่าหนังสือแย่เป็นแบบไหน ถ้าอ่านหนังสือแน่อย่างเดียวก็จะไม่รู้ว่าดีเป็นแบบไหน อ่านหนังสืออื่นบ้าง อ่านหลายๆ แบบ คำตอบอยู่ในหนังสือนับพันเล่มที่อ่านมาทั้งชีวิตแหละค่ะ

0
Netmilk Pk 26 ม.ค. 62 เวลา 18:44 น. 17

ผมว่าจะเอาหลักของการเขียนย่อหน้า ของการอ่านบนหนังสือ มาใช้ในการอ่านบนหน้าจอคอม/มือถือ แบบ100เปอร์เซ็นไม่ได้หรอก


ควรจะเน้น ความง่ายในการอ่าน ความสบายตาของคนอ่าน เป็นสำคัญ


ถ้าถูกต้องตามหลักเป๊ะๆ แต่เปิดมาเจอตัวหนังสือต่อๆกันนี้ก็ไม่ไหวนะครับ


หนังสือมันมีจังหวะเปลี่ยนหน้ากระดาษให้พักสายตา แต่E-BOOKนี้เหมือนเรากำลังอ่านกระดาษแผ่นเดียวที่มันมีความยาวแบบไร้ขีดจำกัดเลยนะ


0
Nyx 26 ม.ค. 62 เวลา 19:43 น. 18

ถ้าเรื่องราวมันต่อเนื่องกัน เช่นเขียนบรรยายสถานการที่ตัวละครสองคนคุยกัน ผมพยายามใช้คำพูดของตัวละครตัวเดียวให้มากหน่อย+บรรยายท่าทางและสภาพแวดล้อมเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ทั้งย่อหน้ามีหลายบรรทัดและคนอ่านเกิดความรู้สึกร่วมกับตัวละคร แทนที่จะให้ทั้งสองตัวละครจะใช้คำพูดเพื่อคุยโต้ตอบกัน เพราะแต่ละคำพูดมักเป็นการขึ้นย่อหน้าใหม่

0
Philous 27 ม.ค. 62 เวลา 00:40 น. 19

ส่วนตัวของพี่ การย่อหน้าเปรียบเหมือนกับการดูละครภาพยนตร์ และเป็นการส่งต่ออารมณ์อย่างหนึ่งในงานเขียน

ดังนั้นการย่อหน้าจึงสำคัญที่่ว่า "สาร"ที่จะส่งถึงผู้อ่านเป็นอย่างไร และในฉากนั้นๆ ใครกำลังทำอะไรอยู่ รู้สึกอย่างไรอยู่


สมมุติว่ามีตัวละครสองตัวกำลังสนทนากัน ถ้าสนทนากันและเน้นการกระทำ เช่น ต่อสู้ ปะทะทางอารมณ์ พี่จะใส่ไว้ในย่อหน้าเดียวกัน แต่ถ้าสมมุติว่าบรรยายละเอียดมาก เช่น ฉากฟินๆ และตัดมาที่ความรู้สึกของฝ่ายหนึ่ง เราอาจจะย่อหน้าใหม่ก็ได้ เพื่อความง่ายและสบายตาในการอ่านของผู้อ่าน


ดังนั้นก่อนที่จะส่งบทความขึ้นเว็บ พี่จะอ่านทวนอีกครั้งว่าถ้าเราอ่านแล้วสะดุดตรงไหน หรือว่า อ่านแล้วมันเหนือย เราก็ค่อยหาจุดที่จะเคาะย่อหน้าใหม่ ให้คนอ่านสบายตาขึ้นค่ะ


เพราะหัวใจการเขียน คือ การส่งสารไปยังผู้อ่าน

ถ้าเกิดว่าเขาอ่านแล้วเหนื่อย ความคิดลบก็จะมา "เขียนอะไรมาวะเนี่ย เหนื่อยว่ะ ขี้เกียจอ่านแล้ว" อะไรประมาณนี้


เพราะพี่เองก็เคยเป็นเหมือนกันจ้ะ :)


ลองเอาไปปรับใช้ดูนะคะ :) สู้ๆ ไรท์ทั้งหลาย ^^

0