Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำไม? ข้าว-ยางพารา-อ้อย-ปาล์ม จึงราคาตกในช่วงรัฐบาล คสช.

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


คนปลูกเยอะเหรอ? ---> มีส่วน
รัฐบาลไม่ช่วย?---> ก็มีส่วนอีกเช่นกัน
แต่นอกจาก 2 เหตุผลดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกดังนี้

#ข้าว: จะสังเกตได้ว่าราคาข้าวก่อนช่วงที่จะมีโครงการรับจำนำ แม้ราคาอาจไม่สูงมากมายเหมือนช่วงรับจำนำ แต่ก็ยังถือว่าราคาดีกว่าในยุคหลังรับจำนำข้าว สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะตลาดซื้อขายล่วงหน้าข้าวที่เคยเป็นกลไกทำให้ข้าวราคาดีเหมือนช่วงก่อนรับจำนำข้าวนั้น ได้พังลงในช่วงที่มีการรับจำนำข้าวนี้เอง จึงทำให้ข้าวราคาตกลงหลังจากหมดนโยบายรับจำนำข้าวแล้ว นอกจากนี้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและกัมพูชาเองก็มีการพัฒนาศักยภาพทางการผลิตข้าวดีขึ้น จึงทำให้ข้าวไทยถูกแย่งส่วนแบ่งของตลาดไปพอสมควร

#ยางพารา: นอกจากนโยบายขยายพื้นที่ปลูกยางไปในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 19 จังหวัดภาคอีสาน ของรัฐบาลในอดีต ที่ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกยางกันมากแล้วขึ้นแล้ว ในปัจจุบันประเทศจีนที่เป็นลูกค้ารับซื้อยางรายใหญ่จากไทย มีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกยางไปในต่างประเทศ ทั้งในพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศแอฟริกา จึงไม่น่าแปลกใจที่ยางพาราไทยจะราคาตกต่ำลงอีก

#อ้อย: แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ราคารับซื้ออ้อยจะไม่ได้สูงมากนัก แต่ทางส่วนราชการเองก็ยังคงไม่หยุดส่งเสริมการขยายเขตการปลูกอ้อยและขยายเขตอุตสาหกรรมอ้อยในช่วงที่ไม่กี่ปีมานี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ราคาจะตกต่ำลงเป็นอย่างมาก

#ปาล์ม: ในปัจจุบันราคาน้ำมันดิบค่อนข้างถูกลงมาก เนื่องจากสหรัฐอเมริกาผลิตน้ำมันดิบได้มาก จึงทำให้ความต้องการที่จะนำปาล์มมาใช้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลลดลงด้วยเช่นกัน ราคารับซื้อปาล์มน้ำมันจึงต่ำลง ผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบนั้นมีผลมาก ถึงขนาดทำให้ประเทศที่พึ่งพาน้ำมันขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างมาเลเซีย มีหนี้สาธารณะสูงถึง 80% ต่อ GDP เข้าขั้นวิกฤตเลยทีเดียว (ในขณะที่ไทยมีหนี้สาธารณะเพียง 41% ต่อ GDP)


ที่มาของเนื้อหาและรูป: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2050712695229240&set=a.1386608111639705&type=3&theater

แสดงความคิดเห็น

>