Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หัดขับรถ เกียร์ออโต้ หรือ เกียร์ธรรมดา มีขั้นตอนดังนี้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เกียร์ออโต้

1. อันดับแรก

ทำความเข้าใจกับตำแหน่งของเกียร์ก่อน P คือ จอด N คือเกียร์ว่าง R คือถอยหลัง D คือเดินหน้า D2 หรือ L คือเกียร์ต่ำ(แล้วแต่รุ่นรถนะครับ บางรุ่นก็มีแค่ P,R,N,D)

2. การสตาร์ท
ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท หรือกดปุ่ม Push Start

3. การขับเดินหน้า
ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆเปลี่ยนไป เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ

4. การขับขึ้นลง ทางลาดชัน
ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ

5. การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์
L มาเป็น D ผ่อนความเร็ว แล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ

6. การจอดรถ
ค่อยๆ ผ่อน ความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรคมือ ดับเครื่อง

7. การจอดรถในลักษณะกีดขวางคันอื่น
หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้ว แต่ไม่ต้องดึงเบรคมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N

8. การจอดกรณีติดไฟแดง
เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง N

9. การถอยหลัง
เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆ ผ่อนเบรคเพราะรถจะถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจต้องเหยียบคันเร่งเพิ่มความเร็วได้แต่ค่อยๆเหยียบนะ

หัดขับรถ เกียร์ธรรมดา

ก่อนอื่นก็คาดเข็มขัดกันก่อนนะครับ

1. เกียร์ธรรมดาจะมี คลัทช์
เพิ่มขึ้นมาจากรถเกียร์ออร์โต้อยู่ซ้ายสุด ต่อมาอันกลาง คือเบรก และคันเร่งจะอยู่ด้านขวามือสุด

2. เรียนรู้เรื่อง คลัทช์
ว่ามันทำหน้าที่ปลดกำลังเครื่องยนต์ที่กำลังหมุนจากล้อรถยนต์ที่หมุนอยู่ เพื่อยอมให้คุณเปลี่ยนเกียร์ โดยไม่ทำให้เกิดการเสียดสีของฟันเกียร์ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนเกียร์ (เปลี่ยนขึ้น หรือลง) คลัทช์ต้องถูกกดจนสุดพื้นรถ จะเปลี่ยนขึ้นหรือลงให้ดูรอบรถดีๆนะครับ

3. การจะสตาร์ทรถ
ต้องเช็คเกียร์ดูก่อนว่า อยู่ที่เกียร์ว่างหรือเปล่า โดยลองโยกหัวเกียร์ดูว่า สามารถโยกไปซ้ายหรือขวาได้ ซึ่งคุณจะไม่รู้สึกสะดุดเมื่อโยกหัวเกียร์จากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งแล้วจึงค่อยสตาร์ทเครื่องยนต์

4. ปรับเบาะให้พอดี
โดยให้เราเหยียบคลัทช์ได้จนสุด จากนั้นเหยียบแป้นคลัทช์ให้ติดพื้นรถและค้างไว้ เข้าเกียร์ 1แล้วค่อยๆ ใช้เท้าปล่อยแป้นคลัทช์อย่างช้าๆ พอรถเริ่มออกตัวก็ให้เริ่มเหยียบคันเร่ง และฟังเสียงรอบเครื่อง หรือดูรอบเครื่องจากหน้าปัด แล้วเปลี่ยนเกียร์ 2 ,3 ตามลำดับ ซึ่งการเปลี่ยนเกียร์จะใช้วิธีเดียวกันนี้ทุกครั้ง

5.ซึ่งก่อนการออกตัว
หลายๆคนที่ไม่เคยขับรถเกียร์ธรรมดามาก่อนเลยให้ทดลองยกเท้าของคุณออกจากแป้นคลัทช์ช้าๆ จนกระทั่งคุณได้ยินเสียงความเร็วเครื่องตกลง. จากนั้นให้ลองกดแป้นคลัทช์ซ้ำอีกครั้ง ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนกระทั่งคุณสามารถจดจำเสียงนี้ได้ นี่คือจุดที่คลัทช์กดตัวลงบนล้อตุนกำลัง หรือเรียกว่าจุด Friction Point

6.การทำให้รถออกตัว
ให้ยกเท้าของคุณจากแป้นคลัทช์ จนกระทั่งรอบเครื่องตกลงเล็กน้อย และเหยียบแป้นคันเร่งเบาๆ พยายามสร้างสมดุลระหว่างการเหยียบแป้นคันเร่งเบาๆ ในขณะที่ปล่อยแป้นคลัทช์ช้าๆ คุณอาจจะลองดูหลายๆ ครั้งเพื่อหาจังหวะเหยียบแป้นคันเร่ง และปล่อยแป้นคลัทช์ที่สัมพันธ์กัน อีกวิธี คือปล่อยคลัทช์จนกระทั่งถึงจังหวะที่กำลังของเครื่องยนต์ตกลงเล็กน้อย แล้วค่อยเหยียบแป้นคันเร่งเมื่อคลัทช์จับตัว ในตอนนี้รถจะเริ่มเคลื่อนที่ โดยวิธีที่ช่วยป้องกันไม่ให้รถดับได้ดีที่สุด คือการเร่งเครื่องยนต์ เมื่อปล่อยคลัทช์ กระบวนการนี้อาจยุ่งยากสักหน่อย เนื่องจากคุณพึ่งเรียนรู้การใช้รถเกียร์ธรรมดา ที่มี 3 แป้นเหยียบ ดังนั้นคุณควรเตรียมพร้อมที่จะดึงเบรกมือในกรณีฉุกเฉิน จนกระทั่งคุณมีความชำนาญในการขับขี่มากขึ้น

7.ในระหว่างการขับขี่รถยนต์.
เมื่อรอบเครื่องของคุณถึง 2,500 – 3,000 รอบต่อนาที คุณควรเปลี่ยนเป็นเกียร์ 2 จำไว้ว่ามันมันจะขึ้นอยู่กับประเภทรถที่คุณขับขี่ว่าเครื่องวัดความเร็วรอบถูกตั้งให้เปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบเท่าไหร่ เมื่อเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น เครื่องยนต์ของรถจะเริ่มเร็วขึ้น และคุณควรจดจำเสียงนี้ให้ได้ ให้เหยียบแป้นคลัทช์ และโยกหัวเกียร์จากเกียร์ 1 มาเกียร์ 2,3,4,5 ตามลำดับ

8.หากคุณปล่อยคลัทช์เร็วเกินไป
รถจะกระตุก และดับ หากเครื่องยนต์มีเสียงคล้ายจะดับ ให้เหยียบคลัทช์ค้างไว้ หรือกดคลัทช์ให้ลึกขึ้นอีกเล็กน้อย ความเร็วเครื่องยนต์ที่มากเกินไป ในขณะที่ไม่ได้เหยียบคลัทช์จนสุด จะทำให้ชิ้นส่วนของคลัทช์สึกหรอก่อนเวลาอันควร ส่งผลให้เกิดการลื่นไถล หรือทำให้ชิ้นส่วนคลัทช์ที่ระบบส่งกำลังไหม้

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น