Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โรคเบาหวาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
  1.  ความหมายของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือความผิดปกติของตับอ่อนที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือด
 
2.สาเหตุ
เบาหวานมีมากกว่า 1 ชนิด
เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไป โดยโรคเบาหวานจะเกิดขึ้นมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง ซึ่งปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจึงอาจมีผลในการทำลายหลอดเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
หากจะเปรียบเทียบโรคเบาหวานแบบง่าย ๆ ก็คือ ร่างกายเราเหมือนระบบปั๊มน้ำ และน้ำก็คือเลือด โดยปกติแล้วปั๊มน้ำก็จะทำงานอย่างปกติ แต่หากมีการทำให้น้ำในระบบเกิดความข้นขึ้น ซึ่งก็คือการเติมน้ำตาลลงไปในน้ำจะทำให้น้ำในระบบมีความหนืดขึ้น ปั๊มหรือหัวใจ ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น และท่อน้ำหรือหลอดเลือดก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น จึงทำให้คนที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือภาวะที่ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน อันเนื่องมาจากระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ปกติแล้วจะพบในเด็กและผู้ใหญ่อายุน้อย ซึ่งจะต้องได้รับยาอินซูลินเพื่อรักษา
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 คืออะไร
โรคเบาหวานคือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ  น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ได้จากอาหารที่รับประทาน ซึ่งฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนและทำหน้าที่นำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์สำหรับใช้เป็นพลังงาน ส่วนฮอร์โมนกลูคากอน (glucagon) เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายปกติจะต่อสู้กับเชื้อโรคที่ทำลายเซลล์ในตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนหยุดการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อร่างกายไม่มีอินซูลินแล้ว จะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้น้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องได้รับยาอินซูลินทุกวันเพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
เบาหวานชนิดที่ 2 คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ หรือไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปกติมักพบในวัยกลางคนถึงวัยอายุมาก โรคเบาหวานชนิดนี้คือชนิดที่พบได้มากที่สุด
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คืออะไร
เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ  น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ที่ได้จากการรับประทานอาหาร  ฮอร์โมนอินซูลินที่สร้างจากตับอ่อนจะช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์สำหรับใช้เป็นพลังงาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายจะไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการ หรือไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้
เบาหวานเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ก็คือการรับประทานน้ำตาลและไขมันในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้อินซูลินเกิดความผิดปกติ และทำให้เป็นเบาหวานได้ นอกจากนี้ โรคเบาหวานก็ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งเหล่านี้อีกด้วย
1. กรรมพันธุ์
สำหรับผู้ที่มีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เป็นเบาหวานมาก่อน ก็อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้เช่นเดียวกัน แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะหากรู้จักดูแลตนเองให้ดี และควบคุมอาหารโดยหลีกเลี่ยงการรับประทานของหวาน ของมัน คุณก็จะปลอดภัยจากโรคเบาหวานได้มากขึ้น นอกเสียจากว่าจะเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วโดยกำเนิด
2. ความอ้วน
ร้อยละ 80 ของคนที่เป็นโรคอ้วนส่วนใหญ่มักมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานค่อนข้างสูง เนื่องจากไขมันส่วนเกินจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ประสิทธิภาพในการจัดการกับน้ำตาลและไขมันต่ำลง และเป็นผลให้เกิดโรคเบาหวานได้ในที่สุด
3. ความผิดปกติของตับอ่อน
เนื่องจากตับอ่อนจะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน ดังนั้นหากตับอ่อนมีการเสื่อมสภาพหรือเกิดความผิดปกติก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย นอกจากนี้ ในคนที่ดื่มเหล้าหรือรับประทานยาที่มีผลต่อตับอ่อนก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานได้สูงมากทีเดียว
4. อาหารการกิน
เนื่องจากปัจจุบันนั้น วิธีการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป โดยพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งเต็มไปด้วยแป้งและไขมัน รวมไปถึงเครื่องดื่มแต่ละชนิดที่มีน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถขจัดให้หมดไปจากร่างกายได้ใน 1 วัน
5. การออกกำลังน้อย
ผู้คนในยุคนี้มีการขยับตัวกันน้อยจนเกินไป จนร่างกายมีประสิทธิภาพในการกำจัดน้ำตาลได้น้อย เนื่องจากมีกิจกรรมทางกายน้อยจนเกินไป จึงทำให้น้ำตาลถูกสะสมในเลือดได้ง่าย
3.  พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะพบในเด็กและในผู้ใหญ่อายุน้อย แต่ก็สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ หากมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ในสหรัฐอเมริกาพบเบาหวานชนิดที่ 1 ประมาณ 5% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด
อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1
อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะร้ายแรงและเกิดขึ้นเร็ว อาจจะใช้เวลาไม่กี่วันจนถึงสัปดาห์ โดยอาการมีดังนี้
  • กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย
  • หิวบ่อย
  • ตามัว มองภาพไม่ชัด
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดที่หาสาเหตุไม่ได้
บางครั้งอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นสัญญาณเตือนของภาวะที่อันตรายถึงชีวิต คือภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน (diabetic ketoacidosis; DKA) โดยอาการของภาวะนี้ ได้แก่
  • ลมหายใจมีกลิ่นผลไม้
  • ผิวหนังแดง หรือ แห้ง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • หายใจผิดปกติ หายใจลำบาก
  • มึนงง สับสน
  • คุณสามารถเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ทุกช่วงอายุ แม้ว่าจะเป็นวัยเด็กก็ตาม อย่างไรก็ตามเบาหวานชนิดที่ 2 จะพบได้มากที่สุดในช่วงอายุวัยกลางคนจนถึงผู้ที่มีอายุมาก คุณจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าปกติถ้าคุณมีปัจจัยดังนี้ อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป, มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคอ้วน หรือน้ำหนักเกิน
  • การขาดการออกกำลังกายและปัญหาทางสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นอกจากนี้หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน หรือเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะยิ่งเพิ่มโอกาสของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2
อาการของโรคเบาหวาน ได้แก่
  • กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย
  • หิวบ่อย
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ตามองภาพไม่ชัด
  • ชาหรือรู้สึกเสียวตามมือหรือเท้า
  • มีแผลที่ไม่หายขาด
  • น้ำหนักลดแบบหาสาเหตุไม่ได้
อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดอย่างช้า ๆ ซึ่งจะใช้เวลานานหลายปี และคุณอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยโดยไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ผู้ป่วยจำนวนมากไม่มีอาการใด ๆ และบางคนไม่เคยตรวจร่างกายเพื่อหาโรคเบาหวานเลยจนกว่าจะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น เช่น ตามองภาพไม่ชัด หรือโรคหัวใจ
4.โรคที่มาพร้อมโรคเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1
เมื่อเวลาผ่านไป ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปจะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา เช่น
  • โรคหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคไต
  • ปัญหาที่ดวงตา การมองเห็น
  • โรคในช่องปาก
  • ความเสียหายต่อเส้นประสาท
  • ปัญหาที่เท้า แผลที่เท้า
  • ซึมเศร้า
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคเบาหวาน
การปฏิบัติตามแผนการรักษาโรคเบาหวานจะช่วยป้องกันการเป็นโรคแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ได้รักษาโรคเบาหวานที่ดีพอ จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น
  • โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
  • เส้นประสาทถูกทำลาย
  • โรคไต
  • ปัญหาที่เท้า แผลที่เท้า
  • โรคตา มองภาพไม่ชัด
  • โรคเหงือกและปัญหาในช่องปากอื่นๆ
  • ปัญหาทางระบบสืบพันธุ์และกระเพาะปัสสาวะ
 
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลายรายมีโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (nonalcoholic fatty liver disease) ร่วมด้วย หากคุณมีน้ำหนักเกินหรืออ้วน การลดน้ำหนักจะช่วยให้อาการของไขมันพอกตับดีขึ้น นอกจากนี้โรคเบาหวานยังสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ ได้แก่ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึมเศร้า มะเร็งบางชนิด และภาวะสมองเสื่อม (dementia)
 5.  วิธีการป้องกัน และรักษาการเกิดโรคความอ้วนเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนเราควรปฏิบัติดังนี้
  • เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
  • ระมัดระวังการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต อาหารไขมันสูง ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีความหวาน อาจดื่มน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล แทนน้ำผลไม้ รับประทานโยเกิร์ตแบบไม่เติมน้ำตาล ผลไม้สด หรือถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นของว่างระหว่างวัน เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อขาวที่ไม่ติดมัน อย่างปลา ไก่ หรืออาหารทะเล แทนเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงหรือผลิตภัณฑ์แปรรูป
  • ควรแบ่งมื้ออาหารหลักออกเป็นมื้อย่อย ๆ ในแต่ละวัน เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลิน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และลดระดับน้ำตาลในเลือดลง นอกจากนี้ยังเพิ่มความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด หัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้น

แสดงความคิดเห็น

>