Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เทคนิค ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำข้อสอบ CU-TEP จากคนที่สอบได้ 113/120!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีครับ พี่ไปสอบ CU-TEP มาเมื่อปี 2018 (ปีที่แล้ว) ได้คะแนน 113/120 (เต็ม writing) เลยอยากจะมาแบ่งเป็นกลยุทธ์ เทคนิคต่างๆ ที่ทำให้ได้คะแนนสูงๆ กับน้องๆ นะครับ
ตอนนี้พี่จบ ม. 6 แล้วเป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง (ทุนคิง) กำลังเรียนที่อเมริกานะครับ ตอนนี้ทำเพจเกี่ยวกับการสอบภาษาอังกฤษอยู่ ไว้แบ่งปันกลยุทธ์การทำข้อสอบ ข้อสอบจำลองเข้ามหาวิทยาลัย + เฉลยละเอียด น้องคนไหนสนใจไปติดตามเพจของพี่ได้นะครับ https://www.facebook.com/ENT-ENG-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2-1729782207320336/?modal=admin_todo_tour
ข้อสอบ CU-TEP เป็นข้อสอบที่ศูนย์ทดสอบทางวิชาการ จุฬาฯ เป็นคนออก ส่วนมากใช้ในการยื่นเข้าภาคอินเตอร์ คณะต่างๆ ของจุฬาฯ เอง หรือใช้แทนคะแนนสอบวัดระดับมาตรฐาน TOEFL IELTS เพื่อให้ครบคุณสมบัติได้ แต่ก็มีมหาลัยที่อื่นๆ ใช้คะแนน CU-TEP เช่นกัน เช่น แพทย์รอบ 1 มช./มข. สามารถใช้ยื่นเป็นคะแนนทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษได้ ปัจจุบันมีอยู่สองเวอร์ชั่นคือ
1. เวอร์ชั่น 120 คะแนน อันนี้จะทดสอบแค่สามทักษะ คือ การฟัง การอ่าน การเขียน เป็นข้อสอบปรนัยทั้งหมด 120 ข้อ สอบเสร็จภายในภาคเช้า แยกกระดาษคำตอบแต่ละ section ค่าสอบไม่แพงมาก 900 บาท
2. เวอร์ชั่น 150 คะแนน เหมือนกับแบบแรกทุกอย่าง แต่มีเพิ่มการสอบ Speaking ที่ต้องรอสอบต่อภาคบ่าย ที่ศูนย์ทดสอบฯ จุฬาฯ ค่าสอบแพงมาก 2,900 บาท (Speaking section ต้องจ่ายเพิ่ม 2,000) ช่วงนี้คณะต่างๆ เริ่มบังคับให้เราต้องมีคะแนน Speaking ด้วยมากขึ้น แนะนำว่าถ้ายังไม่เคยสอบ cu-tep น่าจะลองสอบแบบ 900 บาทก่อน พอแน่ใจว่าคะแนนถึงแล้วค่อยสอบ Speaking ในรอบต่อไป
ส่วนต่างๆ ของข้อสอบ Cu-tep
1. ส่วน listening เป็นส่วนแรกที่น้องจะต้องทำ ใช้เวลาทำข้อสอบ 30 ข้อ 30 นาที ก่อนที่เค้าเริ่มอ่านคำสั่งข้อสอบเค้าจะเปิดเพลงคลาสสิกให้ฟัง 1 เพลง (ให้อารมณ์ดี?) แล้วก็เริ่มทำแบบเครียดๆ
ส่วน listening แบ่งเป็นสามส่วน เริ่มจากง่ายๆ สบายๆ ไปจนถึง ยาก เยอะ ในช่วงข้อท้ายๆ ส่วนแรกจะเป็นบทสนทนาของคน 2 คน สั้นๆ แต่ละบทสนทนาจะตามมาด้วยคำถาม 1 ข้อ ส่วนที่สองเป็นบทสนทนาที่ยาวขึ้น และมีคำถาม 3 ข้อต่อบทสนทนา ส่วนสุดท้ายเป็นบทคนเดียวพูด ยาวๆ ประมาณ 1 บทความได้ ถามคำถาม 3 ข้อต่อบทพูดเช่นกัน ส่วนสุดท้ายจะยากและอาศัยความจำ ความละเอียดมากที่สุด สิ่งสำคัญคือ บทพูดทุกอย่างเค้าจะอ่านให้ฟังแค่รอบเดียว และไม่มีตัวคำถามเขียนไว้ในตัวกระดาษข้อสอบ เทคนิคการทำข้อสอบจึงสำคัญต่อคะแนนส่วนการฟังมากที่สุด
  • Listening พยายามจดเนื้อหาให้ครบที่สุด ใช้คำสั้น คำย่อ สัญลักษณ์ ให้เร็วที่สุดแล้วเราเข้าใจ เน้นว่ากลับมาอ่านต้องรู้เรื่อง เพราะอ่านรอบเดียว ไม่อ่านใหม่ ตัวอย่างการจดโดยใช้คำย่อ (shorthand) เช่น
  • ม้าทำร้ายหมู
               ม –X ก

         Saturn is bigger than Uranus
  1. > u
  • พอบทพูดจบ ให้หยุดจดทุกอย่าง แล้วตั้งสมาธิรอฟังคำถาม พูดรอบเดียว หลายคนมัวแต่ review note ฟังคำถามไม่ทันก็จบ (ไม่มีคำถามบนข้อสอบ)
  • ถ้ารู้สึกเลยว่าตอบไม่ได้ ฟังไม่ทัน ** มั่วไปเลย**** แล้วไปข้อต่อไป อย่าให้ข้อที่เราฟังไม่ทัน 1 ข้อ ทำอีก 3 ข้อที่เราฟังทันพัง
  • คำถาม พูดรอบเดียว หลายคนมัวแต่ review note ฟังคำถามไม่ทันก็จบ (ไม่มีคำถามบนข้อสอบ)
  • พวกบทสนทนาสามข้อ อ่านช้อยส์รอก่อน ช่วงที่เค้าให้เปิดกระดาษหรือช่วงเปลี่ยนบท จะได้ไม่เสียเวลาค่อยๆ.อ่านตอนจะตอบ เพราะเวลาน้อย
  • ถ้ารู้สึกเลยว่าตอบไม่ได้ ฟังไม่ทัน ** มั่วไปเลย**** แล้วไปข้อต่อไป อย่าให้ข้อที่เราฟังไม่ทัน 1 ข้อ ทำอีก 3ข้อที่เราฟังทันพัง
  • แล้วช่วงที่ตอบคำถามทุกข้อเสร็จ เค้าจะให้เวลา review ประมาณ 5 นาที ตรวจทานความเรียบร้อย ข้อไหนที่มั่วหรือเว้นไว้ กลับไปคิดใหม่ได้ช่วงนี้
หมด listening เค้าจะยึดตัวข้อสอบไป แต่ใช้กระดาษคำตอบเดิม * ต้องมั่นใจว่า listening ฝนครบ 30 ข้อ
    -   สมาธิต้องนิ่งมากตลอดเวลาที่ทำข้อสอบส่วนนี้ ถ้าปล่อยใจลอยแค่ชั่ววูบเดียวก็อาจจะทำให้เสียคะแนนในข้อนั้นๆ ได้ ควรฝึกทำข้อสอบจับเวลาจริง แล้วให้ใจจดจ่อมากที่สุดตลอดครึ่งชั่วโมง
2. ส่วน Reading Comprehension มี 45 ข้อ Reading + 15 ข้อ Cloze
เป็นส่วนที่คนทำไม่ทันกันเยอะที่สุด เนื่องจากคนออกข้อสอบกะให้ทำเสร็จทันเวลาพอดี สำหรับคนที่ทำเร็ว ถ้ามีการบริหารเวลาที่ไม่ดีก็จทำไม่ครบ **** เน้นว่า ต้องได้ทำครบทุกบทความ เพราะบทความหลังๆ จะง่ายที่สุด ส่วนใหญ่บทความจะยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ แทบทุกบทความมักเอามาจากเว็บไซต์ข่าว เช่น BBC, Time, National Geographic เป็นต้น สไตล์การเขียนก็จะเป็นแบบเขียนข่าว แนะนำให้ subscribe เว็บพวกนี้ไว้อ่านทุกวันแล้ววันสอบจะพบว่าตัวเองอ่านบทความในข้อสอบได้เข้าใจง่ายและเร็วขึ้นมาก
  • ส่วน reading ต้องรู้จักทำใจข้ามให้เป็น เพราะข้อสอบให้มาตั้งใจให้ทำเสร็จทุกข้อตอนหมดเวลาพอดี ถ้าเราติดที่ข้อใดข้อหนึ่งจะทำให้ข้อหลังๆ (ซึ่งมักจะเป็นข้อง่ายๆ) ทำไม่ทัน
  • ข้อที่ควรข้าม
  • 1) ถามศัพท์ที่น้องไม่รู้เลย เช่น What does “tergiversation” (line 11) mean?
  • 2) ถามรายละเอียดยิบย่อยที่เราไม่คุ้นเลยว่าบอกไว้ตรงไหนใน passage บ้าง (คืออ่านเสร็จก็นึกในใจว่า อันนี้เคยบอกไว้ด้วยหรอ)
เช่น which of the following is true? Which of the following can be inferred? ถ้าตอบไม่ได้ทันทีให้ข้าม โกยข้อง่ายๆ ให้หมดก่อนเสมอ****
3)
  • เก็บข้อง่ายแล้วมั่นใจว่าตุนหมด ก็ค่อยกลับไปดู
  • สมมติอาจเหลือ 5 นาที ต้องตัดสินใจก่อนว่ากลับไปคิดได้ทุกข้อที่เว้น หรือมีเวลาแค่ให้กามั่ว
  • ถ้ามีเวลาน้อยมากๆ แนะนำให้กามั่วทั้งหมด อย่ามัวกลับไปนั่งคิดข้อที่เราค้างไว้ จะมีบางข้อไม่ได้ฝนเลย
 
3. ส่วน writing หรือ Error Identification
เน้นวัดไวยากรณ์ตามแบบเรียน ม. ปลายปกติ หัวข้อฮ็อตฮิตก็มี Subject-Verb Agreement, Prepositional Collocation, Tense, Relative Clause และ Active-passive Voice
  • ส่วน writing ให้เวลาเยอะ มักทำกันทุกคนแต่เป็นพาร์ทที่ตามเวรตามกรรมมากที่สุด 555
  • มีเรื่องนึงคือตอบข้อที่มั่นใจว่าผิดแน่ๆ ตามหลักการ อย่าตอบแค่ข้อที่ฟังดูแปลกๆ
มันมักจะใช้ถูกอยู่แล้ว แต่ตั้งใจเอามาเป็นกับดักคนที่ไม่รู้ว่ามันใช้แบบนี้ได้
  • คือเลือกข้อที่รู้ว่าผิดแน่ๆ ก่อน แต่ถ้าไม่มี ก็ถึงค่อยเลือกข้อที่คิดว่าผิด
  • His current status (1)notwithstanding, he does not (2) has (3) a chance.
  • อาจจะไม่รู้ว่า notwithstanding คืออะไร แต่ต้องเลือกตอบ 3) ที่รู้แน่ๆ ว่าผิด ก่อน เพราะต้องเป็น does not have สามารถเอาหลักการที่เรารู้มาสนับสนุนคำตอบนี้ได้ ข้อนี้น้องหลายคนถ้าไม่มีคำว่า notwithstanding อยู่ก็จะตอบถูกได้ แต่พอมีคำนี้อยู่อาจจะทำให้งงๆ หรือไม่แน่ใจ แล้วโดนหลอกให้เลือกตอบข้อ 1 ได้
  • พูดง่ายๆ คือ อย่าคิดมากจนเกินไป เนื้อหาที่วัดในส่วนนี้ไม่มีอันไหนเกินที่มีสอนในหลักสูตร ม. ปลายอยู่แล้ว
ข้อสอบจำลอง Reading- Writing พร้อมเฉลยวิธีทำละเอียดรายข้อกำลังจะตามมาเร็วๆ นี้ในเพจครับ
  • แนะนำหนังสือโจทย์
เล่มนี้ครับ เป็นเล่มโจทย์อย่างเป็นทางการของจุฬาฯ สั่งซื้อได้จากศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตอนนี้มีสองเล่ม ยังไม่มีท่าทีว่าจะตีพิมพ์เล่มที่สามเร็วๆ นี้ เป็นข้อสอบจริงที่ศูนย์ทดสอบจุฬาฯ เป็นคนออก และใช้ทดสอบมาแล้ว ข้อสอบเป็นชุดๆ แต่ละชุดมี 3 ส่วน (120 ข้อ) แนะนำให้ฝนในกระดาษคำตอบและจับเวลา เหมือนที่ต้องสอบจริงทุกอย่าง ต้นเล่มมีประเด็นสำคัญที่มักเอาไปออกในข้อสอบจริง ใครจะสอบ CU-TEP ต้องอ่าน!


ที่มา: เว็บ Chulabook

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

TU69 9 ก.ค. 62 เวลา 15:22 น. 2

เข้ามาชื่นชมน้องนะครับ

พี่​เป็น​รุ่นพี่เตรียม​อุดม​รุ่น​ 69


จะบอกว่าน้องเก่งมากเลย​ ทำไงได้​ TOEFL​ ตั้ง​ 117 สมัยพี่เรียนใครได้เกิน​ 100 ก็สุดยอดเทพแล้ว​ 555

1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น