Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เผย 4 เทคนิคการฝึกอ่าน "บทความภาษาญี่ปุ่น"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ใครที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่จะเข้าใจดีว่า
การอ่านและแปลบทความที่เป็นภาษาญี่ปุ่นนั้น เป็นอะไรที่ยากมากๆ

ยิ่งในเวลาที่เรากำลังทำข้อสอบ
เวลาก็น้อย บทความก็ยาว แปลไม่ทัน อ่านไม่ออก ไม่รู้คำศัพท์ ฯลฯ

กว่าจะเข้าใจเนื้อหา และจับใจความได้ ก็แทบจะถอดใจไม่ยอมอ่าน แล้วกามั่วกันเลยทีเดียว

แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ
เพราะวันนี้เรามี 4 เทคนิคง่ายๆ ในการฝึกอ่าน "บทความภาษาญี่ปุ่น"
ให้เข้าใจ แจ่มแจ้ง กระจ่างยิ่งกว่าเดิม!!!
มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

1. แยกประโยคหลัก ประโยคย่อย

  ก่อนอื่นเราต้องแยกประโยคหลักๆออกมาก่อน โดยการขีดเส้นขั้นแต่ละประโยคไว้
ดูจากตัว 。หรือ "มารุ" ที่แสดงถึงการจบแต่ละประโยค ถ้าเจอแล้วก็ขีดขั้นไว้เลยนะคะ
ในตัวอย่างบทความนี้ จะมีประโยคหลักทั้งหมด 10 ประโยคค่ะ
  หลังจากนั้นจะวง หรือ มาร์คประโยคย่อยๆ ที่อยู่ภายในประโยคหลักเอาไว้ด้วยก็ได้
ดูจากตัว 、ที่ใช้คั่นระหว่างประโยค
เพื่อที่เราจะได้อ่าน และแปลความหมายแต่ละประโยคได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างประโยคที่ 4 冬は 雪が 降りますから、白くになります。
ในฤดูหนาวจะกลายเป็นสีขาว เพราะว่าหิมะตก
ประโยคหลัก : 冬は 白く なります。(ตอนฤดูหนาว จะกลายเป็นสีขาว)
ประโยคย่อย : 雪が 降りますから、(เพราะว่าหิมะตก)

2. วงคำช่วย

  การวงคำช่วย จะทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ของคำนาม คำคุณศัพท์ และคำกริยาได้ ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไรในประโยค
  และคำช่วยบางตัวสามารถบ่งบอกความหมายได้เลย เช่น คำช่วย は แสดงประธาน ,
คำช่วย から หมายถึง เพราะว่า... , คำช่วย と หมายถึง กับ... เป็นต้น 

3. จับไวยากรณ์

  เทคนิคนี้ เราอาจจะต้องจำหลักไวยากรณ์ที่เราเคยเรียนมาให้ได้ก่อนนะคะ จากนั้นก็มาดูว่าในบทความ มีไวยากรณ์ตัวไหนบ้าง แล้วทำการมารค์ไวยากรณ์ และเขียนความหมายกำกับไว้
จะทำให้เข้าใจความหมายของประโยคได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
  เพราะถ้าหากเราแปลทุกคำไปตรงๆ ก็อาจจะไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของประโยคนั้นๆ หรือความหมายผิดเพี้ยนไปได้ เช่น
โดยปกติแล้ว คำว่า あります。หมายถึง มี , อยู่  แต่ถ้าหาอยู่ใน
ไวยากรณ์  Verbผันた + ことが あります。จะหมายถึง  เคย... , เคยทำ....  เป็นต้น

4. เน้นคำศัพท์

  การเขียนความหมายของคำศัพท์แต่ละคำ จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาโดยรวม ว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไร ที่ไหน อย่างไร และคำไหนที่เราไม่รู้ความหมาย ก็สามารถวงหรือเน้นคำเอาไว้เพื่อที่เราจะได้เปิดดิกส์ค้นหาเพิ่มเติมต่อไปได้ง่ายๆค่ะ
  จุดที่ต้องระวังก็คือ ชื่อคน หรือ ชื่อสถานที่ต่างๆ เพราะบ่อยครั้งที่เราพยายามหาความหมายของคันจิตัวนั้นๆ(ซึ่งมีแต่ตัวแปลกๆ = =") สุดท้ายแล้วก็กลายเป็นชื่อคนไปซะได้ เสียเวลาไปฟรีๆเลยค่าาา

และเมื่อนำใช้รวมกัน ก็จะหน้าตาประมาณนี้....ดูรกๆหน่อย 555

หวังว่าเทคนิคเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์กับน้องๆที่เรียนภาษาญี่ปุ่นกันอยู่นะคะ
เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ みんな、頑張ってね。

(ตัวอย่างบทความเรื่อง "富士山" จากหนังสือ มินนะโนะนิฮงโกะ เล่ม2 บทที่19)
Smeve ผู้เขียน

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

hispeechless 27 ก.ค. 62 เวลา 21:39 น. 1

กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตัวเองอยู่เลยค่ะ ดูท่าทางยากมากเลย แต่ลองอ่านดูเผื่อจะได้ซึมซับบ้าง555 //คุณ จขกท. มีแฟนเพจหรือช่องทางการติดตามเกี่ยวกับสอนภาษาญี่ปุ่นไหมคะ

2
Smeve 30 ก.ค. 62 เวลา 13:49 น. 1-1

ไม่มีเลยค่า T^T 

เรากะว่าถ้ามีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นอีก ก็จะมาตั้งกระทู้ไว้ที่เวปเด็กดีนี่แหละค่ะ(มือใหม่สุดๆ555)


หวังว่าจะพอช่วยได้นะคะ สู้ๆนะ

0
hispeechless 1 ส.ค. 62 เวลา 11:34 น. 1-2

ขอบคุณที่แชร์ความรู้ดีๆ น้าา ทำต่อเรื่อยๆ เลยเน้อ สู้ๆ ฮะ :)

0