Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หาข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนนิยายพีเรียด และ การตั้งชื่อคน ภาษาไทยโบราณ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คือเรากำลังจะลองเขียนนิยายแนวพีเรียด แบบย้อนยุคข้ามภพข้ามชาติอะไรทำนองนั้นอะค่ะ แต่ปัญหาคือเราหาชื่อที่เหมาะสมไม่ได้ อยากได้ชื่อทั้งพระเอกนางเอก ตัวละครอื่นๆ ที่เป็นแบบไทยๆ (พระเอกนางเอกมีสองคนนะคะ) มีใครพอจะช่วยแนะนำได้หรือเปล่าคะ แล้วก็อยากได้ข้อมูลสมัยอยุธยา อันนี้เราลองค้นแล้ว แต่ก็อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม แล้วก็ภาษาไทยโบราณที่ใช้ในสมัยนั้น เป็นแบบไหน เป็นคำประมาณไหน อะไรทำนองนี้อะค่ะ รบกวนทุกคนช่วยตอบหน่อยนะคะ

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

Miran/Licht 30 พ.ย. 62 เวลา 12:50 น. 1

ลองไปค้นที่หอสมุดแห่งชาติ อ่านพวกจดหมายเหตุของหลาย ๆ คนดูนะคะ ที่ดัง ๆ ก็มี ลาลูแบร์เป็นหนังสือเล่มนะคะ

0
ขุนผจญ 30 พ.ย. 62 เวลา 13:53 น. 3

-เรื่องชื่อหากเป็นลูกขุนนางชื่อก็จะเพราะมีความหมายหน่อย หากเป็นทาสไพร่ บางคนถือเคล็ดตั้งชื่อขี้เหร่ๆ ถ้าพระตั้งให้ก็จะความหมายดี หรือบางทีอาจตั้งตามสิ่งแวดล้อมครับ

แนะให้เข้าเว็บหรือหาหนังสือตั้งชื่อ มาเปิดดูชื่อไหนที่เราชอบ ความหมายดีและดูโบราณ มี1-2พยางค์ หยิบมาใช้เลยครับ


-เรื่องข้อมูลยุคนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะลงรายละเอียดแค่ไหนครับ พืชพรรณ ข้าวปลาอาหาร ทรงผม ฟัน ปูน อิฐ บล็อก เกวียน ม้า ช้าง วัว ควาย เรือ ลักษณะการเดินทาง การดูเวลา/บอกเวลา

เสื้อผ้า สีไหนทำยากทำง่าย สีไหนราคาแพง ค่าเงินในยุคนั้น ระบบชนชั้น ยศฐาบรรดาศักดิ์ ตำรวจ ทหาร พิธีกรรม ความเร็วในการเดินทางบก ทางน้ำ สมัยนั้นตรงไหนบ้างที่เป็นของอยุธยา ความแตกต่างหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา และประเทศราช การตั้งบ้านเรือน

ผมบอกตามตรงว่าเท่าที่ผมศึกษา ยิ่งเราอยากรู้มากเรื่องยิ่งเจาะมากจนแทบจะเทเวลาศึกษามากกว่าเวลาเขียนเสียอีก นี่ผมตามอ่านตั้งแต่สมัย ม.2 จนตอนนี้ ปี 3 แล้ว ก็ยังอยากรู้ไม่จบไม่สิ้น แนะนำว่าให้กำหนดเป้าหมายเลยครับ ว่าอะไรจะนำมาใช้ในนิยายบ้าง ถ้าเล่นเอาทั้งหมดคงไม่ไหว ตรงไหนปล่อยได้ก็ปล่อย

วิธีหาก็คือ สงสัยอะไรพิมพ์ลง Google ดูครับ แต่ต้องเปรียบเทียบและเช็คข้อมูลให้แน่ใจก่อน


-เรื่องภาษาถือว่า ค่อนข้างยากเลยนะครับ คงต้องใช้เวลาหลายปี หากนำมาเขียนคนอ่านอาจเข้าไม่ถึง อย่างตัวผมเองเคยไปอ่านแนวอิงประวัติศาสตร์มาถือว่าปวดหัวพอสมควร ทั้งที่ชอบประวัติศาสตร์ บางเล่มถึงกับอ่านไม่จบ เพราะ 1 ประโยค เข้าใจแค่ 70-80% หากจะเขียนแนะนำว่าให้ใช้ภาษาโบราณช่วงรัตนโกสินทร์เอา อย่างละครบุพเพสันนิวาสประโยคเป็นการผสมคำเอา ไม่ใช่อยุธยาเต็มร้อยครับ เขียนให้คนอ่านเข้าใจได้ง่ายจะดีกว่าครับ ยกตัวอย่างคำคร่าวๆ

-ตรง = กง

-สมอง = ขมอง

-ออเจ้า เรียกคนที่น้อยกว่า หรือใช้คำว่า ออ แล้วตามด้วยชื่อก็ได้ครับ

-ตระเวน = กระเวน


ถ้าตรงไหนติดขัดจริงๆ ลองเข้าไปถามครูสังคมให้ท่านชี้แนะก็ได้ครับ ผมเองก็เคยขอคำแนะนำจากคุณครูเหมือนกัน ท่านอาจจะแนะนำให้ได้ไม่มากก็น้อย

0
TunKoB 30 พ.ย. 62 เวลา 15:30 น. 4

นิยายแนวพีเรียด ยิ่งเป็นแนวพีเรียดไทย ถือว่าปราบเซียนพอควรเลยนะครับ ข้อมูลที่มาขอนี่ก็เหมือนกับว่ายังไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านนี้มาเลย ที่มีคือแค่อยากจะแต่ง ถ้าเป็นแบบนั้นคงต้องไปศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองให้หนักแหละครับ ข้อมูลบางอย่างมันไม่ใช่แค่ว่าจะมาถามแล้วได้คำแนะนำแล้วจะเอาไปใช้แต่งนิยายได้เลยนะครับ... เขียนนิยายแนวพีเรียดถ้าข้อมูลไม่แน่นมันก็จะมีผลกับความสนุกและความน่าติดตามของเนื้อเรื่องด้วยและถ้าเกิดไปอิงประวัติศาสตร์ไทยส่วนใดส่วนหนึ่งก็ขอให้ระวังด้วย เพราะเรื่องแบบนี้ในสังคมไทยมันละเอียดอ่อนพอควร


สู้ๆแล้วกันนะครับ

0
.+*Vanessa*+. 30 พ.ย. 62 เวลา 20:24 น. 5

ชื่อของชาวบ้านในสมัยนั้นจะเป็นคำไทย คือคำเรียบๆ พยางค์สองพยางค์ และไม่มีนามสกุลนะคะ นามสกุลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ส่วนยศตำแหน่งจะเป็นคำที่ยืมจากเขมร พวกตัวสะกดสวยๆ ยากๆ แบบชื่อคนไทยสมัยนี้ จะขอแนะนำหนังสือประวัติศาสตร์จากฐานข้อมูลที่เป็น Public เข้าถึงได้ไม่เสียเงิน ก็จะมี... 1. อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง ของอ.ชาญวิทย์ เป็นหนังสือในโครงการมูลนิธิตำราของมธ. ลิ้ง >> http://www.openbase.in.th/files/tbpj165.pdf เล่มนี้ถ้าใครเรียนสายปวศ ก็น่าจะต้องเคยผ่านตา

2. ขุนนางอยุธยา พอดีเล่มนี้อ่านค้างเลยไม่รู้จะแนะนำว่ามันจะช่วยแบบไหนได้บ้าง แต่รวมๆ คงพูดเรื่องขุนนาง ยศ ตำแหน่ง >> http://openbase.in.th/files/tbpj022.pdf


3. นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ เป็นรวมบทความเรียบเรียงเรื่องราวความเป็นอยู่และประวัติศาสตร์ของสยามในอดีตผ่านหลักฐานจดหมายเหตุชาวต่างชาติ มี 2 เล่ม แต่เคยอ่านแต่เล่ม 2 ก็ดูจะมีเรื่องอยุธยาพอตัวอยู่ มีให้อ่านในแอพพลิเคชั่นของคลังดิจิตอลกรมศิลปากร สมัครแล้วอ่านได้ฟรี หรือจะลองเป็นเว็บก็ได้ค่ะ เอกสารเยอะมากๆ ซึ่งแต่ละเล่มค่อนข้างจะหาได้ยาก หาตัวเล่มได้ก็อาจจะราคาสูงมากเพราะเป็นหนังสือเก่า สำนวนภาษาบางเล่มอาจจะแปลกหน่อย แต่เล่มที่แนะนำตรงนี้เป็นหนังสือทำใหม่ ภาษาดูแบบปัจจุบันค่ะ >>http://www.digitalcenter.finearts.go.th/

4. การแต่งกายของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา เล่มนี้จะเป็นทีสิสของคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร สามารถดาวน์โหลดเอกสารแบบเต็มได้ที่เว็บของหอสมุดวังท่าพระ ทีสิสจะไม่สามารถยืมออกนอกห้องสมุดได้ แต่สามารถดาวน์โหลดได้ค่ะ >> http://www.thapra.lib.su.ac.th/thapra/


5. กฏหมายตราสามดวง อันนี้ไปหาเองเอาล่ะกันค่ะ เป็นกฏหมายที่ตราใช้ในสมัยอยุธยา จะเห็นบางเสี้ยวของวิถีชีวิตของคนในนั้นบ้าง


ุ6. พวกเอกสารจดหมายเหตุการเดินทางของชาวต่างประเทศที่เข้ามาสมัยอยุธยา เช่น บันทึกของบาทหลวงลาลูแบร์ เป็นคนจดละเอียดมากค่ะ อ่านแล้วสนุกดี เป็นฉบับที่พูดถึงคำว่า "ออเจ้า" ที่รอมแพงเอามาใช้ในบุพเพสันนิวาส, จดหมายเหตุพงศาวดารอยุธยาของวัน วลิต (ฟาน ฟลีต) เป็นกลุ่มชาวดัตช์ที่มาทำการค้าบริษัทอีส์อินเดี้ยน รวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงของอยุธยา, จดหมายเหตุของเดอ โชมองต์ ฯลฯ ที่แนะนำพวกนี้เพราะว่าบันทึกเรื่องความเป็นอยู่ของคนไทยในตอนนั้นดีกว่าพงศาวดารที่เขียนขึ้นโดยคนอยุธยาเองที่จะมุ่งไปที่เรื่องของกษัตริย์


นึกไม่ออกแล้ว และก็ไม่รู้ว่าอยากรู้อะไรบ้างนอกจากเรื่องภาษา ส่วนความเป็นอยู่นี่มันกว้างมากนะคะ เลยแบบ...อ่านเอาจากพวกนี้แล้วกันค่ะ เรื่องภาษาเราแนะนำไม่ได้เยอะ เพราะไม่ได้เรียนด้านภาษาศาสตร์ ส่วนอยากได้อะไรเพิ่มเติม แล้วอยากปรึกษา (ไม่รู้จะช่วยได้ไหม55) ลองเข้ามาหย่อนคำถามไว้ในกลุ่มนักเขียนเราบนเฟซก็ได้ค่ะ พอดีติดเฟซ >> https://www.facebook.com/groups/314980749036993/


อ๋อ ลองดูพวกหลักฐานทางโบราณคดีก็ดีนะคะ เพราะการศึกษาเรื่องข้อมูลเครื่องใช้ก็เยอะอยู่ ดูเอาจากพิพิธภัณฑ์ก็ได้ค่ะ เบี้ย หอย เงินตรา และอื่นๆ 555

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

ขุนผจญ 1 ธ.ค. 62 เวลา 18:59 น. 6-1

-รู้สึกดาบใบข้าวส่วนใหญ่จะเป็นของล้านนานะครับ

-ทหารล้อมวังพึ่งมามีสมัยรัตนโกสินทร์เองครับ ถูกย้ายมาจากกรมล้อมพระราชวัง กรมล้อมพระราชวังนั้นจัดอยู่ในฝ่ายพลเรือน ไม่ต้องออกรบ หน้าที่ดูแลวังและป้อมกำแพงเมืองครับ


0
.+*Vanessa*+. 1 ธ.ค. 62 เวลา 19:15 น. 6-2

คำว่า "จันทร์" และ "อาทิตย์" ที่ยกตัวอย่างไม่ใช่คำไทย เป็นคำบาลี-สันสฤต ซึ่งคนจะใช้คำยืมพวกนี้ก็เป็นกลุ่มขุนนาง ถ้ายกตัวอย่างแบบนี้คนน่าจะไม่เข้าใจนะคะ และอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ อีกอย่างเรายังไม่แน่ใจนักว่าคนถามต้องการข้อมูลของกลุ่มคนแบบไหนบ้าง เกิดแค่เป็นไพร่สังกัดมูลนายเฉยๆ คงไม่รั้งตำแหน่งหรอกค่ะ แค่พูดกันก็คงกล่าวว่าไพร่ของใคร ตามระบบฟิวดัลในสมัยนั้น


เรื่องชาติพันธุ์มลายูน่าจะเป็นการเหยียดในสมัยที่ใหม่กว่าอยุธยาไหมคะ? มลายูมีบทบาทในราชสำนักค่อนข้างมากโดยมีตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ดูแลการค้าฝั่งเปอร์เซีย และมลายูเป็นหัวเมืองประเทศราชของอยุธยาในบางสมัย เป็น on and off relationship บางทีก็ดีกัน บางทีเธอรบชั้นเท 555 บางทีเหยียดลาวมากกว่าอีกนั่นแน่ะ ลาวที่ว่าก็ล้านนา-ล้านช้างที่ก็ไม่ใช่ลาวอะไรมากมาย เป็นสายเครือญาติชาติพันธุ์กับคนไทย ภาคกลางมองว่ากลุ่มนั้นเป็นไทใหญ่ เป็นเงี้ยว แต่ตัวเองเป็นไทยน้อย งงไปสิคะ แต่ก็ยังมีอิทธิพลของวัฒนธรรมจากล้านนาล้านช้างลงมาบ้างแหละ


แถมอีกนิด เรื่องเหนือธรรมชาติบางอย่างเป็นเรื่องซีเรียสถึงกฏหมายค่ะ เราสามารถพบร่องรอยของเรื่องความเชื่อไสยศาสตร์ในกฏหมายตราสามดวงด้วย ถึงจะมองด้วยสายตาปัจจุบัน แต่เราจะไปตัดสินอดีตว่าเป็นแค่อรรถรสของการเขียน เพราะคนในสมัยนั้นไม่ได้มองเรื่องแบบนี้ด้วยสายตาแบบคนปัจจุบันค่ะ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

.+*Vanessa*+. 1 ธ.ค. 62 เวลา 23:52 น. 6-4

แต่ในการยกตัวอย่างทำให้คนอ่านเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ค่ะ ส่วนตัวไม่ได้ขัดใจหรอกค่ะ แต่คง "แคร์คนอื่น" ที่จะมาอ่านแล้วจำไปใช้มากเกินไป ดังนั้นถ้าจะยกตัวอย่างก็ควรทำให้ชัดเจนทั้งในรูปแบบการเรียงและตัวคำที่ใช้ หรือระบุไปเลยว่าคำนี้อาจไม่ใช้คำที่ควรใช้แต่เอามายกไว้เฉยๆ คนไทยส่วนมากไม่ได้ทราบว่าคำที่ใช้อยู่แต่ละคำในชีวิตประจำวันเป็นคำที่มีืที่มาอย่างไร ความเข้าใจผิดเกิดกันได้ง่ายค่ะ


ส่วนเรื่องชาติพันธุ์ ปัญหาคือมันคงเลี่ยงไม่ได้ค่ะถ้าจะพูดถึงอยุธยา เพราะในอยุธยาประกอบด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์นะ ที่ไม่ได้มีแค่ล้านนา มลายู แต่ยังมีมอญ เขมร ชาวต่างถิ่นอื่นๆ มันไม่ได้มีแค่กลุ่มไทหรือสยามเพียงอย่างเดียว แถมบางชาติพันธุ์มีบทบาทค่อนข้างมากในสังคมและการเมืองของอยุธยาด้วย


หากจะกลัวว่าละเอียดอ่อน ยังมีข้อมูลการศึกษาอีกมากเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในมิติของโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ภาษาศาสตร์ ตรงนี้หากผู้เขียนอยากหยิบยกมาใช้ก็เข้าถึงข้อมูลไม่ยากแล้ว เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเผยแพร่งานออกมาสู่สาธารณะอย่างเปิดกว้าง แค่จริงใจที่จะค้นหา ตั้งใจที่จะศึกษา เราจะเข้าใจความละเอียดอ่อนนั้นได้ไม่ยากค่ะ


ในทางกลับกัน การละเลยที่จะไม่พูดถึงต่างหากที่เป็นการ disrespect เขา เพราะเราไปลดบทบาทตามข้อเท็จจริงออกไป ส่วนเรื่องความเชื่อ การนิยามอรรถรสของคุณคืออะไร เพราะในความเข้าใจทั่วๆ ไปย่อมหมายถึงการใช้คำที่ทำให้อินต่อสิ่งนั้นๆ ซึ่งเป็นส่วนเติมแต่ง แต่ที่เราสื่อไปในคอมเม้นต์ก่อนหน้า ปัญหาของแนวคิดนี้คือคนในสมัยนั้นเขาไม่ได้มองว่าอรรถรสไง มันคือชีวิตของเขา การมองว่ามันเป็นอรรถรสนี่แหละคือการก้าวล่วงแล้ว เพราะความเชื่อมันอยู่ในวิถีชีวิต ไม่ใช่แค่ส่วนปรุงแต่งอย่างอื่น


ถ้าแคร์ในเรื่องความรู้สึกของคนอื่น ก็น่าจะลองแคร์ในความรู้สึกของคนที่อยู่กับสิ่งเหล่านั้นมา แล้วอยู่ๆ มีคนบอกว่านั่นมันไม่เห็นสำคัญอะไรเลย เออ นี่แตะแล้วชอบมีปัญหา งั้นไม่พูดถึงเธอ ไม่ยุ่งกับเธอเลยแล้วกัน จบ... แค่เธอคนนั้นดันไม่ได้หมายถึงคนๆ เดียว เหมือนอย่างกรณีปัจเจกบุคคล แต่คือกลุ่มคน กลุ่มชาติพันธุ์ แถมยังมีข้อมูลว่าพวกเขาเหล่านั้นอยู่ในพื้นที่ อยู่ในเหตุการณ์ด้วย


อย่าตัดสินอดีตด้วยสายตาปัจจุบันค่ะ ย้ำอีกครั้ง สำหรับกรณีความเชื่อ

0
panomtian9724 2 ธ.ค. 62 เวลา 00:03 น. 6-5

คห.6-3 น่าจะยังเจาะลึกรายละเอียดไม่มากเท่า คห.6-1 ครับ


เรื่องทหารหลวง อยุธยาใช้ทหารอาสาเป็นกำลังรบหลักนั่นคือทหารหลวงสังกัดกลาโหม

ยามไม่มีสงครามจะมีเพียงขุนนางทหารตามตำแหน่ง เมื่อเกิดสงครามจะเกณฑ์ไพร่หรือชาวบ้านในสังกัดตนมาเป็นกองทัพหลวง ส่วนล้อมวังก็คือล้อมวังไม่ใช่ทหาร สังกัดกรมวัง มีหน้าที่ดูแลพระราชวัง กำแพงเมืองเท่านั้น กษัตริย์ยกทัพไปไหนก็ไม่ได้ตามไปด้วย

เมื่อมีสงครามหรือขุนหลวงใกล้สวรรคต จะเกณฑ์ไพร่พลมาดูแลกำแพงเมืองและวังเท่านั้นครับ ไม่นับว่าเป็นทหารหลวง หน้าที่ชัดเจน

ทหารหลวงก็คือทหารหลวงครับ ไม่ใช่ทหารล้อมวังไม่งั้นจะตีความหมายผิดเพี้ยนไป


เรื่องดาบนี่เห็นได้ชัดว่ายังไม่เข้าใจหรือเจาะเนื้อหาลึกไม่มากพอ

ดาบใบข้าว คือ ดาบมีลักษณะกว้างและใหญ่ตรงปลายเหมือนใบข้าว หากใครไม่ชอบดาบจริงๆจะแทบแยกดาบใบข้าวกับใบคาไม่ออกเสียด้วยซ้ำ เพราะดาบมีคมเดียวแล้วสะบัดปลายเหมือนกัน แต่ความกว้างของปลายดาบไม่เหมือนกัน

สกุลช่างอยุธยานิยมทำดาบหัวบัว ดาบหัวตัด ดาบหัวปลาหลด ดาบหัวปลาซิว

แต่ดาบทรงใบข้าวเป็นที่ติดตาในสมัยรัตนโกสินทร์ ละครจึงนิยมนำมาใช้ถ่ายเพราะหาง่ายและดูสวยงาม โดยส่วนตัวแล้วผมเองก็ไม่ค่อยชอบสไตล์อยุธยาเท่าไหร่นัก


ผมยังไม่เคยเจอข้อมูลเลยว่ามีการจำกัดการใช้งานของมีคมดัง คห.6 เพราะอย่างที่ผมบอก ไพร่หรือชาวบ้านทั่วไปมักมีขุนนางในสังกัดต้องมีฝึกอาวุธกันอยู่แล้ว

มีเพียงการจำกัดอาวุธปืน ดินปืน และปืนใหญ่เท่านั้นที่ห้ามแม้แต่ขุนนางระดับสูงมี

พวกอาวุธมีคมทั้งหลายแบ่งออกตามการใช้งานลักษณะต่างๆ ยาว เล็ก หนาบางต่างกันไปตามหน้าที่ และยศตำแหน่งลักษณะอาวุธก็จะถูกตกแต่งด้วยของมีค่า แกะลาย หรือได้รับพระราชทานมาก็จะบ่งบอกถึงฐานะไปอีก ดาบชาวบ้านทั่วไปลักษณะอาจจะเหมือนทหารก็ได้ แต่ด้ามดาบและเนื้อดาบจะไม่เท่าทหาร จะสังเกตได้ว่ามีสำนักต่างๆเกิดขึ้นมากมายที่ไม่ใช่ของหลวง ทั้งมวยและกระบี่กระบอง


เรื่องที่ว่าไม่ยากเท่าไหร่ผมขอเห็นต่าง

เรื่องค่าเงินนี่ยากพอสมควรเลยนะครับ เพราะแต่ละยุคสมัยค่าเงินไม่เท่ากัน และเราไม่อาจรู้ว่าของแต่ละชนิดมีมูลค่าเท่าไหร่ พวกเรื่องผ้าเองต้องดูด้วยว่าผลิตจากที่ไหน ลายอะไร ทำง่ายก็ราคาถูก ทำยากก็ราคาแพง ของไกลก็แพง จะรู้ความยากง่ายก็ต้องไปศึกษาวิธีการทำ ว่าสีอะไรใช้อะไรย้อม แล้วสีจะโดดเด่นได้มากหรือน้อย ข้อจำกัดของเทคโนโลยี สีอะไรทำไม่ได้บ้าง ข้อมูลพวกนี้เหมือนจะอ่านวันเดียวได้หมด แต่การค้นหาและทำความเข้าใจจะกินระยะเวลาพอสมควร เพราะรายละเอียดเยอะ นักเขียนหลายท่านถึงกับลงเรียนประวัติศาสตร์ก็มี


ไม่ทราบว่าคุณ El Emperedor Armando กับ ขุนผจญ ได้แต่งนิยายแนวโบราณทั้งไทยและเทศไหมครับ ผมอยากติดตามผลงาน เพราะตั้งแต่ศึกษาประวัติศาสตร์มา เวลาเรื่องไหนเขียนไม่สมจริงแล้วจะไม่ค่อยอินเลยครับ เห็นทั้งสองคนมีความรู้มากพอสมควร

0
.+*Vanessa*+. 2 ธ.ค. 62 เวลา 20:39 น. 6-7

หน่าหนี้?! เรามาไม่ทันเม้นคุกคามเหรอ? เราว่าก็ดูเหมิือนการแลกเปลี่ยนกันเฉยๆ นี่นา แค่เห็นต่างกันเท่านั้นเอง หรือการเห็นต่างกันคือการคุกคามคะ? เท่าที่มีประสบการณ์ สิ่งเหล่านี้เป็นแค่การอภิปรายที่มักจะเกิดขึ้นในสายวิชาการอยู่แล้วนะคะ ไม่งั้นเราคงโดนคุกคามมาหนักมาก และคงคุกคามมาเยอะมากจริงๆ ฮ่า

0