Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รายชื่อและประเภทสัตว์น้ำสงวน​1

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

   สัตว์น้ำในปัจจุบันได้มีการสูญพันธุ์​ของสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น​ เพราะเกิดจากการที่มนุษย์​เราจับมาบริโภค​และสันทนาการในรูปแบบของเอามาโชว์เป็นปลาสวยงาม​ นั้นจึงทำให้มีกฎหมายออกมาคุ้มคองสัตว์เหล่านี้เพื่อลดจำนวนของการ​สูญพันธุ์​ของสัตว์น้ำนอกจากปลาแล้วยังมีสัตว์น้ำประเภทอื่นๆอีกด้วย
  ไรท์ทำกระทู้นี้เพื่อจะให้ผู้ต้องการศึกษาได้รับความรู้มากขึ้นและกระทู้นี้เป็นกระทู้ส่งอาจารย์ค่ะ5555โดยไรท์เขียนเรื่องเกี่ยวกับอนุรักษ์​สัตว์น้ำโดยจะระบุประเภทละ10และข้อมูลของมันพอสังเขปค่ะ
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา​เราไปดูกันเลย
.
.
.
.
เริ่มกันที่
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
.
1.โลมากระโดด​ Spinner Dolphin, Stenella longirostris, (Gray, 1828)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Low Risk/Conservation Dependent

โลมากระโดด

ขนาด

โตเต็มที่ยาว 2-2.35 ม. ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย และหนัก 82 กก. ลูกแรกเกิดยาว 75-80 ซม.

รูปร่าง

เพรียว ลำตัวยาว ปากค่อนข้างเล็กยาว

สี

ลำตัวสีน้ำเงินเข้ม ด้านหลังมีแนวแบ่งสีจางข้างลำตัว แถบสีเข้มพาดจากตาจรดครีบข้าง

ฟัน

ฟันขนาดเล็ก ปลายแหลม จำนวน 40-62 คู่ ที่ขากรรไกรบนและล่าง

ครีบหลัง

สูง และตั้งชัน มีตั้งแต่ทรงเว้าไปจนถึงเป็นรูปสามเหลี่ยม

ชีวประวัติ

วัยเจริญพันธุ์ 4-7 ปี ในเพศเมีย และ 7-10 ปี ในเพศผู้ ยาว 1.7 ม. ตั้งท้องนาน 10 เดือน ระยะเวลาการเลี้ยงลูก 1-2 ปี ออกลูกทุก 3 ปี

พฤติกรรม

มีพฤติกรรมกระโดดแล้วหมุนตัวเป็นเกลียว มักหากินเวลากลางคืน รวมฝูงตั้งแต่ 10 ตัว จนถึง 2,000-3,000 ตัว มักพบรวมกับวาฬนำร่อง และวาฬหัวแตงโม

อาหาร

ส่วนมากหาอาหารในเวลากลางคืน กินปลากลางน้ำ กุ้ง และปลาหมึก

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

บริเวณที่น้ำลึกมากกว่า 200 ม. นอกไหล่ทวีป ในเขตเส้นรุ้งที่ 40oN-40oS ประเทศไทยพบซากเกยตื้นในฝั่งอ่าวไทย ที่ จ.ชลบุรี และระยอง ฝั่งทะเลอันดามันพบซากเกยตื้นเกือบตลอดแนวชายฝั่งยกเว้น จ.สตูล
.
2.โลมาลายแถบ​ Striped Dolphin, Stenella coeruleoalba, (Mayen, 1833)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Low Risk/Conservation Dependent

ขนาด

โตเต็มที่ยาว 2.56 ม. หนัก 156 กก. ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 ม.

รูปร่าง

คล้ายโลมากระโดด แต่ลำตัวอ้วนป้อมกว่า จะงอยปากใหญ่สั้นกว่าเล็กน้อย โคนหางเล็กเป็นสันแบน ครีบข้างค่อนข้างเล็ก ปลายแหลม

สี

หลังสีน้ำเงินเข้มจางลงข้างลำตัว แถบสีเข้มจากตาตรงไปถึงโคนครีบข้าง แนวสีน้ำเงินเข้มและจางตัดกันเป็นลายแหลมข้างลำตัว เป็นลายรูปตัววี แถบสีเข้มเป็นแนวจากลูกตาไปตามข้างลำตัวและโค้งลงตรงบริเวณช่องก้น ด้านท้องขาว จึงมองจากข้างตัวเห็นมีลายเป็นแนวหลายแนว

ฟัน

แหลมเล็ก มี 40-55 คู่ บนขากรรไกรบนและล่าง

ครีบหลัง

ค่อนข้างโค้งลาดเอียง

ชีวประวัติ

วัยเจริญพันธุ์ เพศผู้อายุ 7-15 ปี เพศเมีย 5-13 ปี ตั้งท้องนาน 12-13 เดือน ลูกหย่านมเมื่ออายุ 18 เดือน อายุยืน 58 ปี

พฤติกรรม

ชอบรวมฝูงตั้งแต่ 100-1,000 ตัว ลำดับชั้นในฝูงโดยอายุและเพศ ดำน้ำได้ลึก 200-700 ม. เพื่อหาอาหาร

อาหาร

ปลาหมึก และปลาทั่วไป ทั้งปลาผิวน้ำ ปลากลางน้ำ และปลาหน้าดิน

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

บริเวณน้ำลึกไหล่ทวีปลงไป ไม่อยู่ใกล้ฝั่ง แพร่กระจายระหว่างเส้นรุ้งที่ 50oN-40oS ประเทศไทยพบเกยตื้นตลอดแนวชายฝั่งอันดามัน

.
3.โลมาฟราเซอร์​ Fraser’s Dolphin, Lagenodelphis hosei, (Fraser,1956)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Data Deficient

- CITES: Appendix II

ขนาด

โตเต็มที่ ตัวผู้ยาว 2.7 ม. ตัวเมียยาว 2.6 ม. หนัก 210 กก. ลูกแรกเกิดยาว 1.0-1.1 ม. และหนัก 19 กก.

รูปร่าง

ลำตัวอ้วน จะงอยปากมีขนาดใหญ่ สั้น แต่เห็นได้ชัดเจน ครีบหางและครีบข้างมีขนาดเล็ก ปลายแหลม

สี

มีแถบหนาสีเข้มพาดจากหน้าไปยังก้น และอีกแถบพาดจากกลางขากรรไกรล่างไปยังโคนครีบข้าง แถบสีนี้ต่างกันตามเพศและวัย อาจเห็นไม่ชัดเจนในวัยเด็ก

ฟัน

มีฟันที่ขากรรไกรบนและล่างจำนวน 38-44 คู่

ครีบหลัง

ขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมตั้งอยู่กลางลำตัว

ชีวประวัติ

วัยเจริญพันธุ์ เพศผู้อายุประมาณ 7-10 ปี (ขนาด 2.2-2.3 ม.)เพศเมีย 5-8 ปี (ขนาด 2.1-2.2 ม.) อายุยืน 18 ปี

พฤติกรรม

รวมกลุ่มกันขนาดใหญ่ จำนวน 400-500 ตัว และพบรวมกลุ่มกับชนิดอื่น เช่น วาฬหัวแตงโม วาฬนำร่อง โลมาริสโซ โลมาลายจุด และโลมากระโดด มีนิสัยขี้อาย เข้าใกล้ได้ยาก และจะว่ายน้ำหนีเรือ

อาหาร

ปลาขนาดเล็ก ปลาหมึก และCrustaceans

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

บริเวณน้ำลึกในเขตร้อน ระหว่างเส้นรุ้งที่ 30oN-30oS ประเทศไทยพบเกยตื้นที่ จ.ภูเก็ต ตรัง และสตูล
.
4.โลมาลายจุด​ Spotted dolphin, Stenella attenuate, (Gray, 1846)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Low Risk/Conservation Dependent

ขนาด

โตเต็มที่ ตัวเมียยาว 1.6-2.4 ม. ตัวผู้ยาว 1.6-2.6 ม. หนัก 119 กก. ลูกแรกเกิดยาว 0.8-0.85 ม.

รูปร่าง

คล้ายโลมากระโดด ลำตัวเพรียว ปากเรียวเล็ก หน้าผากค่อนข้างลาด จึงดูหัวเล็ก

สี

สีเทาดำตลอดตัว ครีบหลังสีดำ มีจุดประด่างสีเทาประปรายที่ปากล่างและลำตัวซึ่งเห็นได้ชัดในเพศผู้ตัวเต็มวัย

ฟัน

ซี่เล็ก คม ปลายแหลม จำนวน 34-48 คู่ ที่ขากรรไกรบนและล่าง

ครีบหลัง

ตั้งตรง เว้าเล็กน้อย อยู่ที่กลางหลัง

ชีวประวัติ

ตั้งท้องนาน 11.5 เดือน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 9-11 ปี ในเพศเมีย และ 12-15 ปี ในเพศผู้ ออกลูกทุก 2-3 ปี อายุยืน 46 ปี

พฤติกรรม

ว่ายน้ำเร็วและปราดเปรียว ชอบกระโดด แต่ไม่หมุนตัว บางแห่งพบว่าชอบว่ายน้ำตามหลังเรือประมงเพื่อแย่งปลา

อาหาร

ปลา ปลาหมึก และ Crustaceans

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

ไหล่ทวีปพบเห็นได้ทั่วโลกในน่านน้ำเขตร้อน ระหว่าง เส้นรุ้งที่ 40oN-40oS ประเทศไทยพบซากเกยตื้นในฝั่งทะเลอ่าวไทยที่ จ.ชลบุรี สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และนครศรีธรรมราช ฝั่งทะเลอันดามันพบเกือบตลอดแนวชายฝั่ง ยกเว้น จ.ระนอง และสตูล
.
5.โลมาปากขวด​ Indo-Pacific Bottlenose Dolphin, Tursiops aduncus, (Ehrenberg, 1833)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Data Deficient

ขนาด

โตเต็มที่ยาว 2.7 ม. น้ำหนัก 230 กก. ลูกแรกเกิดขนาด 0.85-1.12 ม.และหนัก 9-21 กก.

รูปร่าง

คล้ายโลมาปากขวดธรรมดา (T. truncatus ยาว 3.8 ม.) แต่ขนาดเล็กกว่า จะงอยปากค่อนข้างสั้นใหญ่ รูปร่างอ้วน หัวกลมมน ครีบข้างเรียวยาว

สี

สีน้ำเงินเข้มอมเทา ด้านท้องมีสีจางหรืออมชมพู เมื่อเข้าวัยเจริญพันธุ์จะมีจุดสีเทาเข้ม ประปรายตามด้านข้างลำตัวและด้านท้อง มีแถบสีดำพาดจากหางตาไปยังครีบข้าง

ฟัน

มีฟันกลมขนาดเล็ก ปลายแหลม จำนวน 21-29 คู่ บนขากรรไกรทั้งสองข้าง

ครีบหลัง

ค่อนข้างใหญ่และโค้ง อยู่กึ่งกลางหลัง

ชีวประวัติ

วัยเจริญพันธุ์อายุราว 12 ปี (ยาว 2.3-2.35 ม.) ตั้งท้อง 12 เดือน ระยะหย่านม 1.5-2 ปี ออกลูกทุก 4-6 ปี อายุยืนกว่า 40 ปี

พฤติกรรม

ชอบว่ายน้ำแข่งกับเรือเดินทะเลและมักแย่งปลาจากเรือประมง ปกติรวมฝูงประมาณ 20 ตัว บางครั้งพบถึงร้อยตัวหรือพันตัว พบพฤติกรรม Breaching, lobtailingและSpyhopping หรือว่ายน้ำเอียงตัวและตีครีบข้าง

อาหาร

ปลา ปลาหมึก และCrustaceans ทั่วไปอาหารมีความยาวน้อยกว่า 20 ซม.

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

ใกล้ชายฝั่งในเขตอบอุ่นและเขตร้อน บางครั้งอาจเข้ามาในแม่น้ำ ป่าชายเลน แพร่กระจายกว้างในเขตอินโดแปซิฟิก ประเทศไทยพบมากทางฝั่งทะเลอันดามัน เช่น จ.ระนอง อ่าวพังงา และภูเก็ตประชากรราว 20-30 ตัว หากินระหว่างเกาะไข่ จ.พังงา และเกาะไม้ท่อน เกาะเฮ เกาะแอว จ.ภูเก็ต ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2530 ส่วนในอ่าวไทยพบน้อยมาก แต่เชื่อว่าแพร่กระจายตามหมู่เกาะต่างๆ พบเกยตื้นในหลายพื้นที่
.
6.ปลาวาฬบรูด้า​ Bryde’s whale , Balaenoptera edeni , (Anderson, 1879)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Data Deficient

- CITES: Appendix I


ขนาด

โตเต็มที่ยาว 14-15 ม. หนัก 12-20 ตัน ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย ลูกแรกเกิดยาว 4 ม. เป็นวาฬที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2

รูปร่าง

ลำตัวเพรียวยาว ส่วนหัวมีแนวสันนูน 3 สัน ครีบหลังเล็กและปลายแหลม มีร่องใต้คาง 40-70 ร่องยาวเกือบถึงสะดือหรือพ้นแนวสะดือ

สี

ลำตัวสีเทาดำ ท้องสีอ่อนหรือชมพู ขากรรไกรล่างสีเทา

ซี่กรอง

สีเทา จำนวน 250-370 คู่ มีขนาดสั้น โดยยาวสูงสุด 0.4 ม.

ครีบหลัง

อยู่ค่อนไปทางหาง เป็นรูปสามเหลี่ยมค่อนข้างตั้งตรง ปลายครีบแหลม

ชีวประวัติ

วัยเจริญพันธุ์ 8-13 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ทุก 2 ปี ตั้งท้องนาน 11-12 เดือน เลี้ยงลูกประมาณ 2 ปี อายุยืนประมาณ 50 ปี

พฤติกรรม

ส่วนใหญ่หากินตัวเดียว แต่อาจพบได้ 10-20 ตัวในแหล่งอาหาร

อาหาร

ฝูงปลาขนาดเล็ก ปลาหมึก และKrill พบหากินใกล้ชายฝั่งที่ความลึก 4-10 ม. กินปลากะตัก ปลาไส้ตัน และเคยกินแบบ Lunging โดยตั้งส่วนหัวขึ้นมาเหนือผิวน้ำและ แบบตะแคงด้านข้าง

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

เขตร้อนถึงอบอุ่น พบใกล้ฝั่งและนอกฝั่ง ประเทศไทยพบซากเกยตื้น ตลอดแนวชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณ จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรีพังงาและเกาะราชา จ.ภูเก็ต

.

7.ปลาวาฬฟิน

Fin whale , Balaenoptera physalus, (Linnaeus, 1758)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Endangered

- CITES: Appendix I


ขนาด

โตเต็มที่ยาว 27 ม. หนักน้อยกว่า 90 ตัน ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ 5 ม. ลูกแรกเกิดยาว 6-6.5 ม.

รูปร่าง

ค่อนข้างเพรียว ส่วนหัวมีแนวสันนูน 3 สัน ครีบหลังเล็กและปลายแหลม มีร่องใต้คาง 40-70 ร่องยาวเกือบถึงสะดือหรือพ้นแนวสะดือ

สี

ลำตัวสีเทาดำ ท้องสีอ่อนหรือชมพู ขากรรไกรล่างสีเทา

ซี่กรอง

จำนวน 260-480 ซี่ ส่วนหน้าของซี่กรองด้านขวามีสีขาว ส่วนอื่นทั้งหมดมีสีเทาดำ ขนาดยาว 0.7 ม.

ครีบหลัง

โค้งปลายทู่ ทำมุม 45 องศา กับลำตัว อยู่ตำแหน่ง 2 ส่วน 3 ของความยาวลำตัว

ชีวประวัติ

วัยเจริญพันธุ์ 6-12 ปี ตั้งท้องนาน 11-12 เดือน ออกลูกในเขตน้ำอุ่นครั้งละ 1 ตัว ทุก 2-3 ปี ลูกหย่านมอายุน้อยกว่า 6-7 เดือน อายุยืน 90 ปี

พฤติกรรม

พบตัวเดียวหรือรวมฝูง 2-7 ตัว กินแบบ(lunge feeder) คือ พุ่งงับเหยื่อครั้งละมากๆ

อาหาร

กินปลาไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น euphausiids และ copepods ฝูงปลาต่างๆ และ ปลาหมึก เป็นอาหาร

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

เขตอบอุ่นถึงขั้วโลก หากินในเขตน้ำลึก ประเทศไทยพบโครงกระดูกเก่าที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ ซากเกยตื้น จ.จันทบุรี

.
8.ปลาวาฬหัวทุย​ Sperm whale, Physeter macrocephalus, (Linnaeus, 1758)

สถานภาพ

- สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพ.ร.บ.สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535

- IUCN: Vulnerable

- CITES: Appendix I


ขนาด

เป็นวาฬมีฟันที่ใหญ่ที่สุด โตเต็มที่ตัวผู้ยาว 18.3 ม. หนัก 57 ตัน ตัวเมียมีความยาว 12 ม. หนัก 13.5-20 ตัน ลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 ม. และหนัก 1 ตัน

รูปร่าง

ลำตัวแบนด้านข้างเล็กน้อย ส่วนหัวยาวเกือบ 40 % ของความยาวลำตัว ผิวหนังมีรอยย่นตลอดลำตัว ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมาก มีหางรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่

สี

ลำตัวสีเทาดำ เทาน้ำตาล ท้องสีอ่อน

ฟัน

ซี่กลมใหญ่ 18-26 คู่ เฉพาะบนขากรรไกรล่าง ส่วนขากรรไกรบนมีร่องให้ฟันล่าสบ

ช่องหายใจ

มีรูเดียว (S-shaped blowhole) อยู่ด้านซ้ายบนหัว ทำให้ Blow ไปด้านซ้ายเล็กน้อย Blow ปกติสูง 1-2 ม. สูงสุด 5 ม.

ครีบหลัง

เล็ก ปลายมน มีสันลอนๆ จากครีบหลังไปจนเกือบถึงโคนหาง (เรียก Bumpหรือ Crenulation)

ชีวประวัติ

วัยเจริญพันธุ์ ตัวผู้อายุอย่างน้อย 18 ปี (ยาว 11-12 ม.) ส่วนตัวเมียอายุ 7-13 ปี (ยาว 8.3-9.2 ม.) ตั้งท้อง 14-16เดือน อายุยืนอย่างน้อย 70 ปี

พฤติกรรม

ตัวเมียและลูกอ่อนอยู่รวมกันเป็นฝูง 10-80 ตัว ตัวผู้ที่อายุมากมักอยู่ตัวเดียว บางครั้งมีการลอยตัวอยู่คล้ายกับท่อนซุงลอยน้ำ (Logging)
อาหาร

กินปลาหมึกน้ำลึกเป็นอาหารหลัก อาจกินมากถึงวันละ 1 ตัน และบางครั้ง ก็กินปลาน้ำลึก ซากเกยตื้นมักพบเขี้ยวปลาหมึก (Squid beak) ในกระเพาะอาหาร

ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย

อาจพบใกล้ฝั่งที่มีน้ำลึกหรือใกล้กับเขตน้ำลึก มักพบอยู่ลำพังตัวเดียวที่บริเวณขั้วโลก และพบกลุ่มเล็กๆ ถึง 20 ตัว ในทะเลเขตร้อน บางครั้งแพร่กระจาย 10-50 ตัว ในบริเวณกว้างหลายกิโลเมตร ประเทศไทยพบการเกยตื้นใน จ.พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น