Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แนะนำการเตรียมตัวสอบทุนคิงสายศิลป์คำนวณ+ทุนไทยวิวัฒน์

ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีครับ วันนี้พี่ก็จะมาแนะนำการเตรียมตัวทุนคิงในสาย”ศิลป์คำนวณ”และทุนวิวัฒน์ไชยานุสรณ์นะครับ

ก่อนอื่นก็ต้องขอเกริ่นก่อนเลยว่าพี่ผ่านการคัดเลือกในรอบข้อเขียนของทั้ง2ทุนนี้มาก่อนนะครับเลยหวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวเหล่านี้ที่พี่หามาได้และจากประสบการณ์ของพี่เองจะเป็นประโยชน์แก่น้องๆรุ่นต่อไปครับ

 

อันนี้ช่วงแนะนำเครือญาตินะครับ555ลิงค์ด้านล่างนี้อันแรกจะเป็นอันที่มีประโยชน์กับพี่มากกกกเพราะตั้งแต่ตอนที่พี่เริ่มเตรียมตัวสอบทุนนี้เนี่ยพี่ก็ยึดถือกระทู้ของพี่เขาเป็นแนวทางมาตลอดส่วนอีกอันนึงก็เป็นกระทู้ที่เพื่อนพี่เขียนซึ่งพี่แกก็เก่งม๊ากกฉะนั้นคนที่สอบสายวิทย์ก็ไปอ่านกระทู้เพื่อนพี่ด้วยนะครับ

https://www.dek-d.com/board/view/3755496/

https://www.dek-d.com/board/view/3961695/

 

คะแนนของทุนคิงสายศิลป์คำนวณรอบข้อเขียนทั้งหมดแบ่งตามนี้นะครับ

1 คณิตศาสตร์ 100 คะแนน

2 ภาษาไทย 100 คะแนน

3 สังคม 100 คะแนน

4 อังกฤษ 100 คะแนน

5 writing 100คะแนน 

โดยข้อสอบเก่าเนี่ยสามารถหาได้จาก scholar2.ocsc.go.th เลยครับแต่บางช่วงตัวเว็บเค้าจะไม่เปิดข้อสอบให้ดูนะครับพี่เลยแนะนำว่าให้โหลดตัวข้อสอบมาเก็บไว้เลยจะดีกว่าครับ

 

ต่อไปพี่จะอธิบายข้อสอบรวมไปถึงการเตรียมตัวในแต่ละวิชานะครับแต่พี่ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่าพี่ไม่ใช่เด็กสายแข่งขันพวกสอบเลขไรพวกนี้นะครับก่อนคิดจะสอบทุนเนี่ยชิวิตชิวมากกฉะนั้นถ้าเทียบกับกระทู้ของคนอื่นๆเนี่ยการเตรียมตัวของพี่น่าจะ“ถึกทน”กว่าของคนที่ผ่านทุนคิงรอบข้อเขียนคนอื่นๆนะครับ พี่จะบอกคร่าวๆด้วยว่าในวิชานั้นๆก่อนจะเตรียมตัวสอบทุนพี่ถนัดวิชานั้นมากขนาดไหนน้องจะได้เอาไปพิจารณานะครับว่าน้องควรเตรียมตัวมากหรือน้อยกว่าพี่ขนาดไหน(บางครั้งอาจจะดูเหมือนพี่โม้ๆนะครับพี่ก็ต้องขอโทษด้วยแต่ทั้งหมดก็เพื่อให้น้องเข้าใจภาพรวมการสอบทุนนี้มากที่สุดครับ)

 

1 คณิตศาสตร์ 

ส่วนตัวพี่ว่านี่เป็นวิชาที่ง่ายที่สุดในบรรดา5วิชาที่พี่ต้องสอบครับ (เพราะวิชาอื่นยากกว่า)

 

เนื้อหาที่ออกสอบ: ปกติแล้วข้อสอบก็จะมี5ข้อใหญ่นะครับแล้วแต่ละข้อใหญ่แบ่งเป็นข้อย่อยลงไปอีกโดยเนื้อหาเนี่ยก็จะออกครอบคลุมเนื้อหาเลขม.ปลายแทบทั้งหมดครับ ระดับความยาก ง่ายกว่า pat1 แต่น้องต้องไม่ลืมนะครับว่านี่คือข้อสอบทุนคิงซึ่งมีการแข่งขันสูงมากฉะนั้นในบางปีที่ข้อสอบวิชานี้ง่ายแล้วน้องทำไม่ได้1ข้อใหญ่แค่นั้นน้องก้มีโอกาสไม่ได้ไปต่อสูงแล้วครับ นอกจากนี้ในบางปีข้อสอบจะยากขึ้นมากกว่าข้อสอบปีอื่นๆครับน้องจึงควรฝึกมาให้เก่งกว่าระดับความยากข้อสอบพอสมควรครับ ข้อสอบเป็นวิธีทำเกือบครึ่งของทั้งหมดครับฉะนั้นน้องจึงควรฝึกเขียนแสดงวิธีทำมาด้วยครับ

 

การเตรียมตัว: ส่วนตัวพี่เป็นคนที่ค่อนข้างถนัดวิชานี้พอสมควรครับอย่างตอนสอบ Dek-D พรีแอดแพท1พี่ก็เคยได้อันดับ13ประเทศมาครับ(อาจจะดูโอเคนะครับแต่น้องต้องไม่ลืมว่ามีเด็กโอลิมปิกเลขมาสอบเยอะแยะครับ) พี่เริ่มเรียนพิเศษเลขตอนปิดเทอมกำลังจะขึ้นม.6ครับคือคอร์สทุนคิง3 ของพี่ตุ้ยที่สถาบัน The Tutor แต่ถ้าคอร์สนี้ปิดไปแล้วน้องลองหาหนังสือของคอร์สนี้มาอ่าน/ฝึกทำเองก็ได้ครับ ถ้าน้องเข้าใจเกิน90เปอร์เซนต์แล้วที่น้องเรียนในห้องเรียนของโรงเรียนทั่วๆไปจะกลายเป็นง่ายไปเลยครับ555 แล้วน้องก็น่าจะทำข้อสอบวิชานี้ของทุนคิงได้ค่อนข้างง่ายเลยครับเนื่องจากว่าเนื้อหาในคอร์สยากพอสมควร ถ้าน้องคนในไม่ถนัดวิชานี้พี่แนะนำให้น้องลองทำหนังสือของคุณ ณัฐ อุดมพาณิชย์คู่กับข้อสอบpat1เก่าไปแทนก็ได้ครับแต่ถ้าน้องมุ่งมั่นจริงๆพี่แนะนำวิธีแรกจะดีกว่าครับ อีกคอร์สนึงที่พี่แนะนำนะครับคือคอร์สทุนคิงของออนดีมานด์ครับเพราะในคอร์สเนี่ยจะมีเฉลยแบบเป็นวิธีทำของข้อสอบเก่าครับเราเลยจะได้ตัวอย่างการเขียนวิธีทำมาพอสมควร สุดท้ายและที่สำคัญที่สุดเลยนะครับก็คือข้อสอบเก่าครับพี่ย้อนทำตั้งแต่ปีล่าสุดที่มีให้ทำไปจนถึงราวๆปี2546(ในเว็บของทางกพ.มีถึงช่วงต้นๆปี50นะครับช่วงก่อนหน้านั้นน้องต้องลองหาจากแหล่งอื่นมาเองครับ)แต่ถ้าน้องมีเวลาไม่พอให้น้องพยายามทำย้อนจากปีล่าสุดไปเรื่อยๆนะครับเพราะข้อสอบจะเหมือนจริงมากที่สุดครับ

 

สิ่งเน้นย้ำ: เพราะข้อสอบวิชานี้ของทุนคิงไม่ยากครับปัญหาเลยอยู่ที่ว่าใครจะพลาดน้อยกว่ากัน แม้น้องจะถนัดวิชานี้มากแต่น้องก็ควรหาเวลาทบทวนอยู่บ้างครับ อย่างพี่เนี่ยเรียนคอร์สที่พี่บอกไปทั้ง2คอร์สเสร็จตั้งแต่ช่วงเดือน7ครับและทำข้อสอบเก่าเสร็จประมาณ1เดือนก่อนสอบครับแต่ช่วงก่อนสอบพี่บริหารเวลาไม่ดีไปทุ่มวิชาสังคมมากเกินไปจึงไม่ค่อยได้กลับมาทวนวิชานี้เพราะนึกว่าทำได้อยู่แล้วจนพี่ไปเจอข้อสอบจริงนั่นแหละครับเกือบแตกละครับ5555พี่มีติดขัดตอนทำมากกว่าที่ควรครับบวกกับที่ตอนสอบพี่ลืมนำนาฬิกาเข้าไปครับพี่เลยเกือบทำไม่ทัน น้องๆก็ทบทวนและเตรียมตัวมาดีๆเก็บเต็มให้ได้อย่ามีพลาดแบบพี่นะครับ

 

2 ภาษาไทย

เป็นอีกหนึ่งในข้อสอบภาษาไทยที่แม้น้องจะเป็นคนไทยแต่น้องก็อาจทำไม่ได้5555

 

เนื้อหาที่ออกสอบ: ปกติข้อสอบก็จะมี5ข้อใหญ่ครับแต่ในบางครั้งใน1ข้อใหญ่อาจมีหลายข้อย่อยซึ่งต้องเขียนค่อนข้างยาวทุกข้อครับเนื้อหาที่ออกสอบก้มีหลักๆดังนี้ครับ

 

1ย่อความ - ค่อนข้างเบสิคสุดในทั้ง5ข้อแล้วครับ ที่สำคัญคือน้องต้องรู้แบบฟอร์มในการเขียนย่อความก่อน ดังเช่นในparagraphแรกต้องเขียนว่า “ย่อความเรื่อง...ของ...จาก….ความว่า”เป็นต้นครับ อันนี้คือครูพี่เค้าสอนแบบฟอร์มนี้มาในความเป็นจริงอาจมีวิธีเขียนแบบอื่นนะครับ

 

2เรียงความ - เรียงความภาษาไทยทั่วๆไปนี่แหละครับน้องสามารถดูได้จากข้อสอบเก่าเลยครับ สิ่งที่ยากก็คือแม้เราจะรู้สึกว่าการเขียนของเราโอเคแต่ในความเป็นจริงมันอาจจะไม่โอเคครับดังเช่น เราอาจใช้ไวยากรณ์ต่างชาติในการเขียนของเรา ใช้คำไม่เป็นทางการ หรือจัดลำดับความคิดออกมาไม่ดีครับ ฉะนั้นน้องๆควรพยายามหาคนตรวจดังเช่นครูภาษาไทยที่โรงเรียนก็ได้ครับ 

 

3หลักภาษา - เป็นพาร์ทที่เราเสียคะแนนได้ง่ายมากครับดังเช่นอาจมีคำถามว่าคำไหนสะกดผิด หรือคำไหนไม่เข้าพวก เอาตรงๆก็คือถ้าไม่ท่องมาก็ไม่น่ารอดนะน้อง(พาร์ทนี้พี่เทนะเพราะเชื่อในความเป็นคนไทยของตัวพี่เองและรู้สึกว่าเอาเวลาไปทุ่มส่วนอื่นจะดีกว่า5555)

 

4การอภิปราย - ส่วนตัวพี่ว่าพาร์ทนี้ง่ายที่สุดเพราะในหลายๆครั้งข้อสอบแนวนี้จะให้เราคิดบทพูดในกรณีต่างๆวิธีทำเราก็แค่จินตนาการว่าเราอยู่ในสถานการณ์นั้นๆจริงๆเราจะพูดอะไรบ้าง เทคนิคพี่คือเวลาคิดบทพูดพยายามให้มันtouch emotionของผู้อ่านอะน้อง กรรมการจะได้อินขึ้นมานิดนึง 

 

5 การเขียนจากวรรณคดี - พาร์ทนี้ถ้าไม่ฝึกมาคือแล้วแต่เวรแล้วแต่กรรมจริงๆ ส่วนตัวพี่จะแบ่งข้อสอบแนวนี้ออกเป็น2ชนิด ชนิดแรกคือเค้าจะให้บอกคุณค่าทางวรรณศิลป์ของส่วนนึงของวรรณคดีที่เค้าให้มาครับ น้องต้องแยกย่อยออกเป็นคุณค่าทางเสียง/คำ/โวหารภาพพจน์/รสวรรณคดีแล้วบรรยายแต่ละอันครับซึ่งยากม๊ากกก และอีกชนิดนึงก็จะเป็นแบบคล้ายๆกันครับแต่จะเปลี่ยนคุณค่าทางวรรณศิลป์เป็นคุณค่าชนิดอื่นๆดังเช่นคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งชนิดนี้จะง่ายกว่าชนิดแรกพอสมควรครับคือบอกไปได้เลยว่ามีคุณค่าทางสังคมอะไรบ้างไม่ต้องแยกย่อยลงไปอีก

 

ในข้อสอบของปีๆหนึ่งไม่ใช่ว่าจะเป็็นหัวข้อละข้อในทุกๆปีนะครับอย่างเช่นบางปีอาจมีเรียงความ2ข้อแล้วไม่มีการเขียนจากวรรณคดีเป็นต้นครับ

 

การเตรียมตัว: พี่มองว่าการเตรียมตัววิชานี้จะแบ่งเป็น2ส่วนหลักๆนะครับคือ1ฝึกการเขียน 2 ศึกษาและจดจำด้านวรรณคดี ในส่วนของการเขียนเนี่ยพี่ไปเรียนกับอาจารย์ท่านหนึ่งแบบตัวต่อตัวครับ พี่เรียนอยู่นานพอสมควรงานเขียนพี่เลยพัฒนาขึ้นค่อนข้างเยอะครับ นอกจากการเรียนแบบตัวต่อตัวแล้วเนี่ยพี่เคยได้ยินมาว่าน้องยังสามารถไปเรียนตามที่เขาสอนพวกการเขียนที่คณะอักษรของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ด้วยนะครับแต่พี่ไม่มีข้อมูลด้านนี้ละเอียดนะครับน้องต้องลองหาข้อมูลเพิ่มเอง นอกจากการเรียนแล้วอีกวิธีที่จะช่วยพัฒนาการเขียนของน้องมากๆก็คือการอ่านครับเพราะส่วนมากเนี่ยคนที่อ่านมาเยอะก้มีแนวโน้มที่จะเขียนออกมาเรียบเรียงความคิดได้ดีครับ ต่อมาคือในด้านวรรณคดีนะครับ พี่ต้องบอกเลยว่าตลอดชีวิตพี่มาเนี่ยพี่แทบไม่เคยตั้งใจเรียนภาษาไทยเลยครับ555 ความรู้ด้านวรรณคดีของพี่เลยบ๋อแบ๋เลยจ้า5555พี่เลยต้องไปนั่งอ่าน+ท่องมาจากหนังสือชื่อว่าพินิจวรรณคดีจากหนังสือแบบเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เล่มสีฟ้าๆครับแล้วในเล่มเนี่ยก้จะมีคุณค่าทางวรรณศิลป์และคุณค่าทางด้านอื่นๆให้อยู่ประปรายด้วยครับจึงเหมาะมากที่จะนำมาเตรียมตัวสอบทุนคิง

 

สิ่งเน้นย้ำ : วิชานี้เป็นวิชาที่หลายๆคนจะเทเพราะรู้สึกว่าทำได้อยู่แล้ว ในความเป็นจริงก็คือในหลายๆครั้งวิชานี้เป็นวิชาที่ตัดเลยนะน้องว่าใครจะได้หรือไม่ได้ทุน แต่ถึงจะพูดอย่างนั้นมันก็มีเพื่อนพี่ที่ผ่านทุนคิงรอบข้อเขียนเหมือนกันโดยไปซุยทั้งภาษาไทยและสังคม5555(ไม่รู้ว่ามันพูดจริงไหมนะ)ฉะนั้นก็แล้วแต่วิจารณญาณน้องละกันครับว่าจะเตรียมตัวหรือไม่ อย่างน้อยที่สุดพี่ก็แนะนำให้น้องลองทำข้อสอบเก่าแบบจับเวลาดูครับเพราะพอเฉลี่ยแล้วเนี่ยน้องจะมีเวลาเขียนแต่ละข้อแค่36นาทีนะครับ ถ้าน้องไม่ฝึกมาน้องก็อาจจะเขียนไม่ทันครับ

 

3 สังคม

ข้อสอบที่ยากที่สุดที่พี่เคยพบเจอมาในชีวิต

 

เนื้อหาที่ออกสอบ: ข้อสอบทุนคิงวิชาสังคมจะมี5หัวข้อหลักดังนี้ครับ

 

1. ศาสนา - ส่วนตัวพี่จะแบ่งpartนี้เป็น2แนว แนวแรกคือเค้าจะให้สถานการณ์มาแล้วให้เราเอาหลักธรรมไปตอบกับอธิบาย อันนี้เราก็แค่ต้องท่องหลักธรรมมาให้เพียงพอที่จะใช้ในหลายๆสถานการณ์ ที่จะยากคืออีกแนวนึงครับ โจทย์จะให้หลักธรรมหรือหลักการคิดนึงทางพระพุทธศาสนาแล้วให้เราอธิบาย อันนี้จะยากตรงที่ว่าถ้าเราไม่รู้จักหลักนั้นๆเราก็แตกจ้า 

 

2/3/4/5 หน้าที่พลเมืองและการเมือง/ภูมิศาสตร์/ประวัติศาสตร์/เศรษฐศาสตร์ - 4ส่วนนี้พี่ว่าไม่ได้แตกต่างกันมาก ที่สำคัญคือน้องต้องเข้าใจและจำรายละเอียดในแต่ละวิชาให้แม่นครับ ที่ยากก็คือส่วนมากเลยเนี่ยเค้าจะเอาเหตุการณ์ปัจจุบันไปโยงถามเป็นหลักครับ เวลาเราตอบเราค่อยนำเนื้อหาที่เราเรียนมาตอบคู่กับเนื้อหาของเหตุการณ์นั้นๆ

 

การเตรียมตัว: เทคนิคของพี่นะครับคือพี่จะนั่งไล่ทั้งเนื้อหาที่เราเรียนและเหตุการณ์ปัจจุบันเท่าที่พี่จะลิสต์ออกมาได้มาทำสรุปครับโดยสรุปเนี่ยต้องครอบคลุมเนื้อหานั้นๆพอสมควรนะครับดังเช่นในสรุปเรื่อง trade warเนี่ยหัวข้อที่พี่ทำสรุปได้แก่ สาเหตุของwar ผลต่อไทย ผลต่อทั้งโลก การแก้ไข การปรับตัว และแต่ละประเทศทำไรไปแล้วบ้างเป็นต้นครับเพื่อให้ไม่ว่าโจทย์จะถามอะไรมาสุดท้ายก็ควรที่จะอยู่ในส่วนที่พี่ทำสรุปไปแล้วครับ ต่อมาก็คือนั่งจำสรุปของตัวพี่เองครับโดยการจำเนี่ยไม่ใช่จำแค่เข้าใจนะครับแต่พี่นั่งท่องจนพี่จำได้แทบทุกบรรทัดของสรุปของพี่เองเลยครับเพื่อให้เวลาเราไปเจอของจริงเนี่ยเราก็ไล่ได้เลยว่ามีคำตอบกี่ข้อไม่ต้องเสียเวลานั่งนึกครับ(บางทีนึกไม่ครบด้วย) ข้อดีอีกอย่างนะครับคือเวลาโจทย์เอาเรื่องที่เราไม่รู้เลยมาถามเนี่ยเราจะได้มีพื้นสำหรับแถครับ ดังเช่นตัวอย่างข้อสอบปีล่าสุดนี้นะครับที่เค้าถามเรื่องGISว่าควรใช้ข้อมูลชนิดไหนระหว่างvectorกับอีกชนิดนึงซึ่งพี่จำชื่อไม่ได้แต่ไม่ใช่scalarครับ เอาตรงๆคือพี่ไม่เคยรู้เรื่องชนิดข้อมูลเหล่านี้เลยครับพี่เลยเกริ่นโดยอธิบายว่าGISคืออะไรและมีการนำไปใช้ยังไง(พี่ไล่ไป5-6ข้อครับ)แล้วสุดท้ายค่อยสรุปว่าควรใช้ข้อมูลชนิดไหน(ส่วนนี้ต้องเดา+แถให้ดูมีความรู้ครับเพราะเราไม่รู้คำตอบ)

 

แหล่งในการหาข้อมูลสำคัญๆของพี่นะครับก็คือ 1รายการจั๊ดซักทุกความจริง 2 ช่องยูทูบthe matterครับเพราะทั้งสองช่องทางค่อนข้างจะสรุปเนื้อหาข่าวอะไรออกมาได้ค่อนข้างละเอียดแล้ว นำไปทำสรุปง่ายครับ แต่นอกจาก2ช่องทางนี้น้องก็ยังต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆด้วยนะครับ

  

สิ่งเน้นย้ำ: อ่านเนื้อหาที่เรียนให้ครอบคลุมแล้วก็ลึกและคอยติดตามข่าวสารเหตุการณ์ปัจจุบันให้ครบเท่าที่จะหาได้ครับ วิชานี้ต้องทุ่มเวลาและความอดทนพอสมควร

 

4 อังกฤษ

อันนี้ง่ายรองลงมาจากเลขครับแต่จะหาข้อสอบเก่ายาก/ไม่ได้ครับเพราะทางกพ.ไม่เปิดเผยข้อสอบวิชานี้

 

เนื้อหาที่ออกสอบ: ปกติข้อสอบก็จะแบ่งพาร์ทได้ดังนี้ครับ

1 vocabulary 10คะแนน - ความยากคำศัพท์ประมาณtoeflเลยครับแต่ถ้าจะให้ดีควรรู้เกินระดับtoeflไปอีกครับเพื่อให้เก็บเต็มพาร์ทนี้ได้

2/3/4 sentence completion  10คะแนน/Cloze 20 คะแนน/ Error  20 คะแนน - เอาตรงๆคือไม่รู้จะแนะนำยังไงดี555 น้องลองเข้าไปดูในเพจเฟสบุ๊ค Ent Engดูครับเพจนี้เป็นของรุ่นพี่ทุนคิงเก่าครับ เขามีทั้งจำลองข้อสอบทุนคิงวิชานี้แล้วก็แนะนำในส่วนwritingอย่างละเอียดด้วยครับ

5 Reading 40 คะแนน - น้องลองไปฝึกreadingของSATดูก็ได้ครับถ้าน้องได้คะแนนเกิน550/800 พาร์ทนี้น้องก็น่าจะเก็บเต็มได้นะครับ ที่สำคัญคือน้องต้องมีสติตอนทำครับ

 

การเตรียมตัว: เนื่องจากพี่เป็นเด็กอีพีมาก่อนนะครับ วิชานี้พี่เลยไม่ได้ไปเรียนพิเศษเลย พี่เริ่มเตรียมตัวจากการท่องศัพท์ครับตอนปิดเทอมก่อนขึ้นม.6พี่จะท่องศัพท์ประมาณวันละ50-100คำครับแล้วแต่ระดับความยากของคำศัพท์ในวันนั้นๆและพี่ก็ทำสมุดรวมศัพท์ที่พี่คิดว่าพี่อาจลืมแยกไว้ด้วยครับจะได้กลับมาทวนง่ายๆ ต่อมาคือในส่วนของแกรมม่านะครับ พี่เริ่มโดยนำหนังสือข้อสอบของ อ.ศุภวัฒน์เล่มerrorกับเล่มgrammarมานั่งทำปูพื้นฐานก่อนครับแล้วพอพี่ทวนข้อผิดซ้ำๆจนพี่ไม่มีพลาดแล้วพี่ค่อยไปลองหาหนังสือโจทย์grammarของสถาบันต่างๆดังเช่นของ Enconcept มานั่งทำครับโดยหลายๆเล่มพี่จะสั่งมาจากร้านหนังสือในIG ครับ

 

5 writing

ไม่ยากไม่ง่ายนะครับ วิชานี้ทางกพ.ไม่เปิดเผยข้อสอบเก่า

 

เนื้อหาที่ออกสอบ: ตัวข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 1short essay 1 long essayโดยlong essayเนี่ยปกติจะมีกราฟ/pie chartมาให้ข้อมูลสำหรับนำไปเขียนด้วยครับ เนื้อหาที่โจทย์ถามก็จะเป็นพวกcurrent eventsทั่วๆไปครับ สิ่งนี้เน้นตอนทำเนี่ยคือเราต้องเขียนให้ถูกแบบฟอร์มครับ(พี่ได้ยินมาว่าเคยมีคนได้0เพราะลืมเขียนthesis statementด้วยครับ)แล้วก็grammarในงานเขียนไม่ควรมีผิดเลยครับ

 

การเตรียมตัว: พี่บอกก่อนเลยว่าพี่เป็นเด็กอีพีเก่าฉะนั้นพี่เลยฝึกwritingมามากพอสมควรครับ ก่อนน้องสอบควรเรียนตัวต่อตัวwritingบ้างครับเพื่อให้มีfeedbackว่าการเรียนเราดีพอรึยังและจะพัฒนาต่อยังไงหรือไม่ก็ขอความกรุณาอาจารย์ที่โรงเรียนช่วยให้commentงานเขียนเราดูก็ได้ครับ นอกจากนี้ที่พี่มองว่าสำคัญก็คือเราควรอ่านหนังสือภาษาอังกฤษอยู่สม่ำเสมอครับ(อย่างพี่จะอ่านตอนขึ้นรถไฟฟ้าไปโรงเรียนครับแล้วค่อยเอาเวลาที่เหลือไปเรียน/อ่านวิชาอื่น)เล่มที่พี่แนะนำที่สุดชื่อ Utopia for realists ครับ vocabยากกำลังดีแล้วเนื้อหามันเกี่ยวกับการพัฒนาโลกอะครับเลยมีเนื้อหาที่มันพอเอาไปadaptตอบข้อสอบได้ด้วยครับ สุดท้ายนะครับคือการลองเขียนoutlineของคำถามที่อาจถูกนำมาออกสอบก่อนเข้าสอบครับเพื่อให้เวลาเราเข้าไปเจอจริงในห้องสอบก็แค่รื้อฟื้นความจำแล้วเอามาเขียนเลยครับโดยน้องอาจจะลองหาคำถามwritingจากพวกTOEFLมาลองเขียนดูก็ได้ครับพี่ว่ามันคล้ายๆกัน

 

เว็บไซต์ที่พี่แนะนำสำหรับการพัฒนางานเขียนของน้องๆมีดังนี้ครับ

http://www.freecollocation.com

อันนี้ใช้เพื่อหาcollocationที่เหมาะกับคำศัพท์ที่เราจะใช้ครับ ถ้าเราใช้collocationถูกเนี่ยเราจะดูเป็นnativeมากขึ้นครับแล้วงานเขียนเราก็จะไหลลื่นขึ้นด้วย

https://www.thesaurus.com

อันนี้ใช้หาคำศัพท์ที่ความหมายใกล้เคียงกันครับเผื่อน้องหลายๆคนมีปัญหานึกคำศัพท์ที่ความหมายเหมือนที่ต้องการออกคำเดียว น้องจะได้มีคำศัพท์อื่นมาใช้แทนบ้างครับ น้องจะดูมีvocab lengthมากขึ้นครับแล้วถ้าใช้แต่คำศัพท์ซ้ำๆคะแนนงานเขียนน้องอาจโดนตัดด้วยครับ

 

สิ่งเน้นยำ: vocabตรงจุด grammarดี+หลากหลาย เขียนใช้collocationถูก เขียนถูกแบบฟอร์ม เขียนทันเวลา เนื้อหาmake sense พาร์ทนี้ก็ไม่น่าจะหลุดมือน้องแล้วครับ

 

จบซักทีครับรีวิวทั้ง5วิชาพี่นักเขียนตั้ง2วัน5555

ต่อไปเป็นคำถามที่น้องอาจสงสัยครับ

 

1จะสอบทุนคิงสายศิลป์คำนวณแต่เรียนม.ปลายสายอื่นมาได้ไหม

ตอบ ได้ครับ พี่ก็อยู่สายวิทย์

 

2 สอบ2ทุนนี่ข้อสอบต้องสอบ2ครั้งหรือสอบรวมกันไปเลยครับ

ตอบ รวมกันไปเลยครับแต่น้องต้องดูด้วยว่าทุนที่เราapplyอยู่เนี่ยสอบวิชาอะไรบ้างถ้าวิชาของทั้ง2ทุนตรงกันหมดก็สอบรวมกันไปเลยครับ โดยรายละเอียดของแต่ละทุนน้องสามารถหาได้จาก http://scholar2.ocsc.go.th/ เลยครับ

 

3 ถ้าคะแนนข้อเขียนเราผ่านนี่คือได้ทุนเลยใช่ไหมครับ

ตอบ ไม่ใช่ครับ น้องต้องไปคัดเลือกต่อในรอบสัมภาษณ์โดยถ้าเป็นทุนคิงเค้าจะพาน้องไปทำกิจกรรมค่าย2วัน1คืนครับแล้วเก็บคะแนนน้องในกิจกรรมเหล่านั้นแล้วต่อมาค่อยสัมภาษณ์ต่อครับ ในการสัมภาษณ์นี้น้องควรเตรียมพอร์ทของน้องไว้ให้พร้อมด้วยครับทั้งผลงานทางวิชาการและงานจิตอาสา

แต่ถ้าไม่ใช่ทุนคิงแต่เป็นทุนกพ.อื่นๆดังเช่นทุนวิวัฒน์ น้องจะมีแต่เพียงสัมภาษณ์และกิจกรรมอีก1อย่างดังเช่นgroup discussionเท่านั้นครับ

 

ต่อไปนี้เป็นpartคำแนะนำเพิ่มเติมจากพี่นะครับ

 

ถ้าน้องยังอยู่ระดับม.ต้นลงไป พี่แนะนำให้น้องพยายามเข้าเตรียมห้องกิฟแมทครับ เพราะclassเนี่ยถือเป็นclassที่มีเด็กได้ทุนคิงมากที่สุดครับ เวลาเตรียมตัวสอบเนี่ยก็จะมีกลุ่มเด็กที่จะสอบทุนคิงเหมือนกันเลยพาๆกันไปเรียนครับ อย่างพี่เนี่ยไม่ใช่เด็กเตรียมครับเวลาเรียนพิเศษก็จะค่อนข้างaloneมากๆ555ต้องไปหาเพื่อนใหม่เอาแล้วเราก็ต้องหาช่องทางเรียนพิเศษเองด้วยครับซึ่งเอาตรงๆคอร์สเรียนพิเศษทุนคิงก็หายากพอสมควร ถ้าน้องอยู่ม.ปลายแล้ว พี่ก็จะแนะนำให้น้องเคลียร์การยื่นมหาวิทยาลัยไทยตั้งแต่เนิ่นๆครับดังเช่นพี่ถ้าพี่ไม่ได้ทุนเนี่ยพี่ก็น่าจะต่อที่ ISE chulaหรือไม่ก็ BBA chulaครับซึ่งทั้ง2ที่เนี่ยใช้คะแนนสอบของต่างชาติเช่นพวกSATยื่นเอาครับซึ่งสามารถเก็บคะแนนไว้ได้2ปีพี่เลยสอบพวกนั้นเตรียมไว้ทั้งหมดตั้งแต่ก่อนจบม.5เทอม1ครับ แล้วหลังจากนั้นน้องก็เอาเวลาทั้งหมดไปทุ่มทุนคิงได้เลยจ้า 

 

โดยปกติแล้วกระทู้เครือญาติเค้าก็จะให้IGคนเขียนมาด้วยเผื่อน้องจะสอบถามไรเพิ่มเติมนะครับ แต่พี่จะไม่ให้ของพี่ละกัน5555 เพราะพี่รู้สึกว่าพี่ก็เป็นเด็กธรรมดาๆคนนึงอะครับซึ่งอาจตกสัมภาษณ์ไม่ได้ทุนคิงด้วยซ้ำไม่ได้เก่งขนาดที่คู่ควรจะไปให้คำปรึกษาน้องๆเนาะ พี่เลยจะแนะนำว่าให้น้องไปถามพี่ที่เขียนกระทู้เครือญาติจะดีกว่านะครับจากIGนี้เลย ig : bigguuuuu

 

สุดท้ายนี่พี่ก็ต้องขอบคุณน้องๆที่เข้ามาอ่านกระทู้ของพี่นะครับ ถ้าเนื้อหามีส่วนไหนผิดพลาดพี่ก็ต้องขออภัยด้วยครับแต่ทั้งหมดนี้เป็การนำประสบการณ์และสิ่งที่พี่รู้และพี่คิดว่าเป็นประโยชน์แก่น้องๆทั้งหมดมาเขียนครับ ถ้าน้องคนไหนที่เข้ามาอ่านได้ทุนคิงหรือทุนกพ.อื่นๆขึ้นมาพี่ก็หวังว่าน้องจะนำโอกาสที่น้องได้รับไปศึกษาต่ออย่างตั้งใจแล้วนำความรู้กลับมาช่วยพัฒนาโลกและประเทศไทยต่อๆไปนะครับ 














 

 
















 

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

พี่แมวน้ำ 24 ก.พ. 64 เวลา 15:52 น. 1-1

เรียน2ที่ครับๆแต่เอาจริงๆที่จะได้จากการเรียนก็จะเป็นการฝึกเขียนตอบกับแนวข้อสอบอะครับ ส่วนความรู้ยังไงก็ต้องอ่านเองเป็นหลักครับ

0
RenKouha 25 ส.ค. 64 เวลา 12:39 น. 2

ขอบคุณที่ยอมสละเวลามาเขียนนะคะ มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ แงงง ส่วนใหญ่ที่ค้นๆจะมีแต่ข้อมูลของสายอื่น เจอกระทู้นี่แล้วสบายใจขึ้นมากๆเลยค่ะ5555

0