Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แพทย์วชิระพยาบาล แพทย์พระมงกุฎ หรือแพทย์ มศว ดี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
จากทั้ง 3 ที่นี้ ควรเลือกที่ไหนดีครับ

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

Unlimit 25 เม.ย. 63 เวลา 11:16 น. 1

ถ้าจะตัวเลือกนี้่ถ้ามองยาวๆ คิดว่าพระมงกุฏครับ เพราะหลังจบ6ปีแล้วถ้ากลับมาเรียนเฉพาะทาง(อายุรกรรม)จะดี คนอยากมาเรียนกัน(ถ้าเป็นเด็กเก่าอาจได้เปรียบ) แต่ข้อเสียคือตอนเรียนอาจจะต้องมีฝึกบ้างระหว่างเรียนใน6ปี

0
นายมิ่ง 25 เม.ย. 63 เวลา 15:34 น. 2

แล้วแต่จะเลือกนะ ถ้าอยากลำบากตอนเรียนแต่จบแล้วค่อนข้างสบายทั้งการเรียนต่อและการทำงานมีหนทางที่จะไปเยอะ ก็เลือกตามความเห็นข้างบน แต่ถ้าอยากสบายตอนเรียน แต่จบไปแล้วต้องไปต่อสู้ฝ่าฟันหาหนทางหน่อยก็เลือกเอาที่ชอบ

0
mrssomsri 26 เม.ย. 63 เวลา 12:54 น. 3-1

เรียงแบบไม่ต้องดูคะแนนในอดีตเลยหรือ แล้วจะจ่ายค่าสมัครวชิระ กับ มศว ทำไม

0
เป็นกำลังใจให้ทุกคน 27 เม.ย. 63 เวลา 00:46 น. 3-2

อ่านดี ๆ เจ้าของความเห็นนี้ไม่ได้จัดลำดับให้เจ้าของกระทู้เลือกตามนี้นะคะ เจ้าของกระทู้ถามว่า ใน 3 ที่นี้ควรเลือกที่ไหน หมายความว่าต้องการเลือกเพียงที่เดียว เจ้าของความเห็นนี้จึงเรียงลำดับให้ว่ารู้สึกว่าควรเลือกที่ไหนมากที่สุดตามลำดับค่ะ

0
10055 25 เม.ย. 63 เวลา 23:04 น. 4

ดีหมดจ้ะ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลคือเราเองและสังคมรอบข้างเราด้วย

พี่เคยเจอและรู้จักกับทั้งสามสถาบันคิดว่าไม่มีสถาบันไหนด้อยไปกว่ากันเลยจ้ะ


#พี่กำลังจะเรียนจบแพทย์เฉพาะทาง.. พี่เลยคิดว่าสถาบันไหนก็ดีทั้งนั้นจ้ะ ขึ้นอยู่ที่ตัวเรา


##สู้ๆ

0
แวะมาตอบ 27 เม.ย. 63 เวลา 08:30 น. 5

เจ้าของกระทู้ ได้คะแนนรวมเท่าไหร่ครับ บอกได้มั้ย เพราะ ที่เปรียบเทียบมาก วชิระ ไม่น่าจะอยู่ในกลุ่มที่ถูกเปรียบเทียบได้ คะแนนห่างกัน 3-4% ไม่น่าจะเปรียบเทียบกันได้


ตัวอย่างที่เคยเจอในปี 62 คะแนน ได้แค่ 59.xx แต่มาถามว่า ลังเลคิดไม่ตกว่าจะเลือก ศิริราช หรือ รามาฯ ดี เป็นอันดับ 1 เครียดมาก. ผมเลยแนะนำเอาที่อยากเรียนเลยครับ ดีทั้ง 2 ที่


ปล.แอบคิดในใจว่าจะเลือกอะไรอาจจะต้องดูโลกแห่งความจริงด้วยนิสนึง



0
แวะมาตอบ 27 เม.ย. 63 เวลา 08:52 น. 6

เพิ่มเติมข้อมูลสำหรับ แพทย์พระมงกุฏ (วพม.) นะครับ


อย่าเข้าใจผิดว่าจบ วพม. จะได้ติดยศสัญญาบัตรทุกคนนะครับ จะมีแค่บางส่วน 10-15 คนที่เป็นผู้ชายเท่านั้น ที่จะได้ครับทุนและติดดาวหลังจบ ที่เหลือก็ไปจับฉลากใช้ทุนนะครับ ไม่แตกต่าง ดังนั้นจะเห็นว่าทำไมคะแนนสูงสุดของ วพม. เกือบทุกปีจะมากกว่า คะแนนต่ำสุดของ top 3 กลุ่มพวกนี้มี path อยู่แล้วว่าจะไปต่ออย่างไร


ส่วนที่บอกว่าแพทย์ส่วนใหญ่อยากเรียนต่อ อายุรกรรม นั้น บอกเลยนะครับว่า เข้าใจผิด แพทย์ GP ส่วนใหญ่ อยากเรียนต่อ ผิวหนัง กับ จักษุ ทั้งนั้น น้อยคนที่อยากต่อ อายุรกรรม เพราะส่วนใหญ่มันจะไม่ค่อยจบที่อายุรกรรม ส่วนใหญ่ต้องต่อยอด (fellowship) ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนเพิ่มอีก


ส่วนเรื่องลูกหม้อนั้น จริงบางส่วนครับ แต่ก็ต้องดูคะแนน ใบ recommend หรือ อื่นๆ ประกอบด้วย ถ้า จบ วพม.มาเกรดไม่ดี ไม่มีใบ recommend กับ อีกคน จบ ศิริราช เกียรตินิยมมา และมีใบ recommend จากอาจารย์แพทย์ด้วย ลองคิดดูครับ ว่าเค้าจะเลือกใคร ระหว่างลูกหม้อ วพม. หรือ ต่างสถาบันอย่าง ศริราช

6
ผ่านมา 27 เม.ย. 63 เวลา 11:15 น. 6-1

ขอแย้งความเห็นข้างบนหน่อยครับที่ว่ารุ่นนึงได้ติดยศประมาณ 15-20 คนนั้น ขอบอกว่ารุ่นหนึ่งมีทุน ทบ.20 คน กลุ่มนี้ได้ยศน้อยตรีแน่ๆ แต่บังคับว่าจบแล้วต้องเป็นทหารบกเท่านั้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง 80 คนจะเป็นทุนสาธรณสุข กลุ่มนี้เมื่อจบ ปี 6 แล้วจะเลือกว่าจะรับราชการในกองทัพบก,เรือ,อากาศ,ตามจำนวนความต้องการของแต่ละกองทัพ ผู้เข้าสังกัดกองทัพก็จะได้ยศร้อยตรี,เรือตรี,เรืออากาศตรี,แล้วแต่กองทัพที่ไปสังกัด ซึ่งในส่วนนี้แหละที่ผู้หญิงจะสมัครไปได้ด้วย ในแต่ละรุ่นจะมีผู้สมัครไปสังกัดกองทัพประมาณ60-70 คนจะเหือไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รุ่นละประมาณ 30 คนเศษ

0
ตามนี้ 27 เม.ย. 63 เวลา 12:27 น. 6-2

ขอขัดแย้งกับความเห็น6ครับ

เรื่องเฉพาะทาง เอาแฟคจากไหนหรอครับที่อยากเรียนจักษุ ผิวหนังมากกว่าเพราะไม่ต้องเรียนต่อยอด ถ้าเช่นนั้นแล้วไม่นับorthoหรือUro surgeryไปด้วยล่ะครับ ทุกอย่างมีเรียนต่อยอมของมันหมอตาเองก้มีต่อยอดครับ in my opinionมันขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดครับปัจจุบันสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ คิดจริงๆเหรอครับว่าจะไม่มีคนอยากเรียนอายุรกรรม โดยเฉพาะพระมงกุฎเนี่ยแข่งขันกันมากมายทุกปีครับ

และข้อสุดท้าย ผมขอให้รายละเอียดเพิ่มเติมนะครับว่าการรับเฉพาะทาง พระมงกุฎจะสอบหรือสัมภาษณinternที่รับราชการทหารอยู่ก่อน จากนั้นค่อยรับสมัครสาธาให้สอบแข่งกันครับ เพราะฉะนั้นมันแยกกันชัดเจนอยู่แล้วครับ

0
แวะมาตอบ 27 เม.ย. 63 เวลา 13:07 น. 6-3

ถามคุณผ่านมา เป็นความรู้เพิ่มเติมนะครับ พอดีลูกเพื่อนก็เรียนที่ วพม. เหมือนกัน แต่เป็นผู้หญิง เพิ่งเข้าปี 62 ปีที่แล้ว ข้อมูลต่างๆ ก็ได้จากเพื่อนนี่แล้ว (ลูกผมเรียนที่วชิระครับก็เลยพอจะทราบระบบระเบียบตอนใช้ทุนและตอนทำงานอยู่บ้าง)


ที่อยากถามคือ เป็นไปได้หรือครับที่ว่า นอกจาก 20 คนที่ได้รับทุน และได้บรรจุดาวทันที ที่เหลืออีก 50 คน ได้ประดับยศสัญญาบัตรทั้งหมด จริงเหรอครับ ถ้าจริงผมก็เป็นอีกคนที่สนับสนุน วพม. (ที่เหลือ อีก 30 คน ไปจับฉลาก) เพราะ ที่ลูกสาวเพื่อน update เค้าก็บอกจาก นอกจาก เทพ 20 คนนั้นแล้ว ที่เหลือต้องไปจับฉลาก หรือ ต้องมีเส้นสาย เพื่อหาตำแหน่งแพทย์ในกองทัพเพื่อบรรจุเอง คือ อาจจะต้องใช้เส้นสายและเวลาบ้าง ยังไงก็ต้องไปจับฉลากก่อนเพื่อมีสังกัด จากนั้นค่อยทำเรื่องย้าย


รบกวนไขข้อข้องใจด้วยครับ








0
ผปค. แพทย์ทหาร 27 เม.ย. 63 เวลา 13:48 น. 6-4

ตอบคำถามข้างบน เพื่อยืนยันเป็นหลักฐานให้หายูทูปพิธีประดับยศร้อยตรีผู้สำเร็จการศึกษาจากพระมงกุฎในทุกๆปี โดยในส่วนของ ทบ.จะมีผู้เข้ารับประดับยศปีละ 50-60 คน มีทั้งหญิงและชาย ซึ่งพวกทุน ทบฺ ก็รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย ในจำนวนนี้ยังไม่รวมพวกที่ไป ทอ.หรือ ทร. ซึ่งแต่ละกองทัพจะไปดำเนินการกันเอง ส่วนของ ทบ. ผบ.ทบ. จะเป็นประทานในการประดับยศ รับพระราชทานปริญญาจากสมเด็จพระเทพ ร่วมกับศิริราช รับพระราชทานกระบี่ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวน่วมกับ จปร.

0
จากที่อื่น 27 เม.ย. 63 เวลา 16:14 น. 6-5

คนที่เข้ามาใช้ทุนกับทอ ทร ส่วนมากเห็นจบมาจากคณะแพทย์ม.อื่นกันซะเยอะโดยเฉพาะผู้หญิง ในจำนวนที่ว่ารับและแต่ละกองทัพดำเนินการกันเองก็คือไม่ได้มีโควต้าอะไรจากวพมถูกมั้ยคะ ไม่ได้จำเป็นต้องจบวพมก็ได้หรือเปล่า

0
ตามนี้ 27 เม.ย. 63 เวลา 20:10 น. 6-6

ขออนุญาตตอบคุณแวะมาตอบครับ ในฐานะของรุ่นพี่ที่เพิ่งจบมาและเป็นทุนทบ. 20คน

.....คำตอบคือเป็นไปได้ครับ 20คนอย่างผมคือคนที่ถูกการันตีตั้งแต่ขึ้นปี2ว่าอยู่ในราชการชัวร์ร้อยตรีแน่ๆ อีก50กว่าคนคือโควต้าของทบ ทร ทอ และกองบัญชาการ ถ้าสมัครใจ+ผ่านการรับสมัครเข้ากองทัพก้คือร้อยตรีเช่นกันครับ ไม่ต้องเส้นสายหรอกครับ ทุกอย่างมากจากเกรดและคะแนนความประพฤติส่วนตัวตลอด6ปีทั้งนั้นครับ คนที่ไปจับฉลากคือคนที่ไม่ต้องการเข้ากองทัพอยู่แล้ว และ คนที่ไปสมัครรับโควต้ากองทัพแล้วแต่ไม่ผ่านครับ

ขออนุญาตตอบคุณจากที่อื่น นะครับ

เข้าใจถูกต้องแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องจบจากวพม เช่น ปีนั้น ทอ.เปิดโควต้า10คน ทั้งวพมและสถาบันอื่นก้สมัครไปพร้อมๆกันเข้าสอบและสัมภาษณ์วันเดียวกันและรู้ผลพร้อมๆกันเลยครับ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของ

mrssomsri 28 เม.ย. 63 เวลา 01:14 น. 8

รบกวนถามผู้รู้ เรื่องไม่มีแอร์ในหอพัก ของ แพทย์พระมงกุฎ หากจะใช้แอร์เคลื่อนที่ไปตั้งเองในหอพักได้ไหมคะ อากาศใน กทม. แถวอนุสาวรีย์ ร้อนมากเพราะรถติดทั้งวัน ไม่เหนอะหนะแย่เลยหรือคะ

6
ผ่านมา 28 เม.ย. 63 เวลา 01:20 น. 8-1

ไม่ได้ครับ หอพักกำลังปรับปรุงเรื่องการติดตั้งแอรอยุ่ในขณะนี้ครับ

0
mrssomsri 28 เม.ย. 63 เวลา 02:17 น. 8-2

ขอบคุณที่ตอบค่ะ

รบกวนถามเพิ่ม คาดว่าจะติดตั้งแอร์เสร็จทันเปิดเทอมใหม่ปี 2563 นี้ไหมคะ

0
ครับ 28 เม.ย. 63 เวลา 02:45 น. 8-3

ยังตอบไม่ได้ครับ แต่คิดว่าไม่ไว้ก่อนปลอดภัยกว่าครับ

0
ล้อเล่นนะ 28 เม.ย. 63 เวลา 09:40 น. 8-5

ถึงแม้จะติดแอร์เสร็จก็อย่าเพิ่งดีใจนะ โดยเฉเพาะปี 2 อาจถูกสั่งห้ามเปิดแอร์ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝึก หรือช่วงที่ยังเป็นนักเรียนใหม่ 555

0
พ่อคนหนึ่ง 28 เม.ย. 63 เวลา 12:38 น. 8-6

มีลูกสาวเพื่อนเรียนอยู่

1 เอาแอร์เคลื่อนที่ไปติดไม่ได้ครับ ถึงแม้จะขอจ่ายค่าไฟ

2 เรียนหนัก ฝึกทหารหนัก

3 ไม่แน่ว่าจะได้บรรจุทหาร (ผู้หญิง)

4 ถ้าเป็นผู้หญิงที่ไม่ใช่ขาลุย ไม่แนะนำ


ลูกสาวผมเลยเข้าวชิระ ตอนนี้ปี 2 happy ดีครับ

0
มุมมองเคารพผู้อื่น 7 พ.ค. 65 เวลา 03:40 น. 10

ส่วนตัวมองแบบที่นี้เปิดมานานมากนั่งรถเมล์ผ่านมาตั้งแต่เด็กจน.. แพทย์พระมงกุฏ ปัจจุบันมีภารกิจช่วยผลิตแพทย์ซึ่งขาดแคลนให้กับประเทศด้วยจึงมีส่วนที่ไม่ได้รับทุนเป็นทหารแต่แรก มีแบ่งจำนวนรับ ชาย หญิง แต่แรก มีหอในน่าจะติดแอร์หมดแล้วให้อยู่เลย ได้ฝึกระเบียบชีวิตแบบทหารระดับหนึ่ง(ทุกวันนี้นิยมวิ่งเข้ายิมกันอยู่แล้ว) ไม่รู้มีกระโดดร่มมั้ยถ้ามีน่าจะมัน(ไม่ใช่ใครก็ได้ทำ) ช่วงชีวิตวัยรุ่นร่างกายได้ออกกำลังดีกับร่างกายแน่ๆ เอกลักษณ์ ที่เป็นแบบที่นี้ ที่เดียว เรื่องเรียนต้องได้มาตรฐานตามระเบียบแพทย์สภาอยู่แล้ว และ มีรพ.ในสังกัดกองทัพบกของตัวเองทั่วประเทศ เรียนแพทย์แบบปกติทั่วไปก็เลือกอีก2ที่

ท้ายนี้ จะดีมากถ้ามีแพทย์ รพ.สังกัดกองทัพ มารีวิวแนะแนวให้น้องๆ ฟังหน่อยว่าเป็นอย่างไร

0
แนะแนว 30 พ.ค. 65 เวลา 12:08 น. 11

ขออนุญาติแนะนำการเข้าเรียนแพทย์วชิระ ม. นวมิน. ซึ่งอยู่สังกัดกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภายในกระทรวงมหาดไทย

มีรับตรงโควตาพิเศษ

1 นักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

2 นักเรียนของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

4 นักเรียนเป็นบุตรของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำหรือข้าราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร

5 นักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครหรือเทศบาลเมืองที่เทศบาลดังกล่าวเป็นผู้ส่ง

และมีอีก ตรวจสอบปีที่จะสมัครได้



0
เด็กจนโต 24 ก.พ. 66 เวลา 03:06 น. 12

จำได้นั้งรถเมล์ผ่านบ่อย ว่าเคยมีตึกสร้างใหม่คณะแพทย์มศว. ตั้งสูงตระหง่าน อยู่ที่หลังรพ.วชิระหัวมุมด้านถนนขาว ปัจจุบันรื้อทิ้งแล้ว เสียดาย ก่อนจะสร้างรพ.ของมศว.เองเสร็จ ยุคนั้นมศว.น่าจะมีร่วมมือหลายรพ.


ปล.แค่เล่าความทรงจำบ้านเรือนในอดีต ส่วนอยากเรียนที่ไหนก็ขอให้เลือกดีแล้วสอบ ได้ดังหวังนะ

0