Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รีวิวการเรียน วิศวะ จุฬาฯ ปี1 เทอม2/62

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 สวัสดีครับ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคน กลับมาอีกครั้งกับยูจีนนะค้าบบ เราจะบอกว่าวันนี้เป็นปิดเทอมสองอย่างเป็นทางการของเราล่ะ 555 ที่จริงเราต้องปิดเทอมตั้งเเต่กลางๆพฤษภาล่ะ เเต่่เนื่องด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันทําให้การสอบต่างๆจะไม่สามารถกําหนดการสอบเดิมได้ ตอนนี้มหาวิทยาลัยก็คงปิดเทอมหมดล่ะอยู่ในช่วงภาคฤดูร้อนเเละน้องๆ Dek63 ก็อยู่ในช่วงปิดเทอมก่อนที่จะเปิดเรียนเทอมเเรกในชีวิตมหาวิทยาลัย ส่วนน้องๆมัธยมก็เปิดเทอมเดือนหน้ากันอยู่ โดยรีวิวครั้งนี้มีจุดที่น่าสนใจหลายจุด รอติดตามชมได้เลยนะครับ

 

  เทอมนี้เราจะเรียนทั้งหมด 7 วิชา ได้เเก่ เเคลคูลัส2 (Calculus2),ฟิสิกส์ทั่วไป 2 (Gen Phy 2),ปฎิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 2 (Gen Phy lab2),เคมีทั่วไป (Gen Chem),ปฎิบิัติการเคมีทั่วไป (Gen Chem Lab),ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 2 (Exp Eng 2) เเละ เขียนเเบบวิศวกรรม (Eng Drawing)


เเคลคูลัส2 (Calculus2)


     เเคลคูลัส2ก็จะมีเนื้อหาที่ไกลจากมอปลายมากขึ้นจากเเคลคูลัส1 เเต่เนื้อหาวิชานี้อาจจะดูไม่เหมือนเเคลคูลัสนะ เพราะจะมีบทเรียนตอนมัธยมปลายมาเเทรกในเเคลคูลัส2 ด้วย ได้เเก่ ลําดับเเละอนุกรมอนันต์,เวกเตอร์เเละเรขาคณิตวิเคราะห์&ภาพตัดกรวย เเต่จะมีเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมา อย่างลําดับเเละอนุกรมอนันต์ก็จะมีการทดสอบการลู่เข้าของลําดับเเละอนุกรมซึ่งจะมีวิธีการทดสอบที่เยอะมาก เเต่วิธีการทดสอบก็จะมีรูปเเบบที่ต่างกันที่สามารถดูได้ว่าลําดับเเบบนี้  ใช้วิธีอะไรมาทดสอบการลู่เข้า เวกเตอร์ยังเหมือนเดิมอยู่เเต่จะเอาเรขาคณิตวิเคราะห์มาเเทรกด้วย ทั้งมุม,เส้นตรงเเละระนาบ เราจะเเบ่งบทเรียนเป็นสองส่วนคือ ส่วนกลางภาคเเละส่วนปลายภาค ส่วนกลางภาคจะเรียนเรื่อง ลําดับเเละอนุกรมอนันต์ เเละเวกเตอร์ ส่วนปลายภาค จะเรียนเกี่ยวกับ ฟังก์ชันสองตัวเเปร,อินทิเกรตสองชั้นเเละสมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น โดยส่วนปลายภาคจะนําไปต่อยอดในวิชาเเคลคูลัส 3 ต่อไป ซึ่งครึ่งเทอมหลัง จะนําความรู้จากวิชาเเคลคูลัส1 มาใช้กันมาก อย่างอนุพันธ์เเละปริพันธ์มาต่อยอดต่อในวิชานี้ ส่วนคะเเนนของวิชานี้ก็จะเเบ่งเหมือนของวิชาเเคลคูลัส1เลย 50%สําหรับสอบกลางภาค เเละ 50%สําหรับสอบปลายภาค โดยจะเป็น Part A-F เหมือนเดิม ต่างกันเเค่มิดเทอมจะเรียงตามบทที่เรียนเลย ส่วนตัวเราว่ากลางภาคโอเคอยู่นะ สองบทมีหลายระดับ (อาจารย์ช่วยลดความยากของข้อสอบลงจากปีที่เเล้ว555) เเต่เวกเตอร์ก็อยากให้เก็บนะ ถึงเเม้จะเป็นการจําพวกสูตรต่างๆ  ส่วนสอบปลายภาค ก็เป็นการสอบออนไลน์เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ซึ่้งเป็นการสอบเเบบ openbook โดยอาจารย์จะทําเป็นส่วนข้อสอบเเละส่วนของกระดาษคําตอบ เเบ่งเป็นสองช่วง ให้ได้พักตอนครึ่งทาง+เพิ่มเวลาส่งข้อสอบด้วย เป็น PartA-F เหมือนเดิม ก็เหมือนเดิมนะ ทําให้ได้เกินคะเเนนเฉลี่ยให้ได้เพื่อที่จะได้เกรดที่ดีขึ้นเเละลดดอกาสการติดเอฟอีกด้วย เเต่ก้ควรทําเต็มที่ทั้งสอบกลางภาคเเละสอบปลายภาค

การเตรียมตัว:ทําโจทย์เยอะๆเลยเพราะวิชาคํานวณก็ต้องฝึกฝนจากประสบการณ์การทําโจทย์ เราเเนะนําหนังสือ เเคลคูลัส 2(เล่มสีม่วง) เเบบฝึกหัดระคน เเละเเบบฝึกหัดเพิ่มเติม ก็ช่วยฝึกฝนทักษะการคํานวณของเรามากขึ้น

คําเเนะนํา: วิชาเเคลคูลัส2 ต้องผ่านจากวิชาเเคลคูลัส1 ก่อนจึงจะสามารถเรียนได้เเละเป็นวิชาตัวต่อของวิชาเเคลคูลัส3ต่อไป ยกเว้นบางภาควิชาที่ไม่ได้เรียนเเคลคูลัส3เเล้ว

ฟิสิกส์ทั่วไป 2 (Gen Phy 2)


  วิชานี้ก็ยังสมคําลํ่าลืออยุ่ เรื่องความเข้มข้นของข้อสอบ เเต่ก็ยังเป็นการอิงเกณฑ์อยู่เหมือนเดิม อาจารย์สอน2คนเหมือนเดิม เเต่คะเเนนของกลางภาคเเละปลายภาคจะเเตกต่างกันเนื่องจากสถานการณ์covid-19 ทําให้เปลี่ยนเกณฑ์คะเเนนจาก 50:50 เป็น 65:35 บอกได้คําเดียวช็อกสิครับ 55555 ซึ่งส่วนของสอบปลายภาค จะมีการสอบย่อยของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า 5% เเละส่วนของสอบปลายภาค 30% เรามาดูเนื้อหากันดีกว่าว่าวิชานี้เรียนอะไรไปบ้าง


  เนื้อหาสําหรับกลางภาคจะเป็นไฟฟ้า 100% ถ้าใครที่ไม่ค่อยถนัดอาจจะอึดอัดหน่อย 5555 ไฟฟ้าจะเเบ่งออกเป็น ไฟฟ้าสถิต,ไฟฟ้ากระเเสตรง,ไฟฟ้าเเม่เหล็กเเละไฟฟ้ากระเเสสลับ ของกลางภาค คะเเนนของส่วนกลางภาคจะมีทั้งหมด102คะเเนน เเบ่งเป็น ชุดละ51คะเเนน ทั้งหมด 2 ชุด ซึ่งเราไม่ค่อยชอบไฟฟ้าซักเท่าไหร่ ตอนสอบเลยเจอเเบบฝันร้าย5555 เเต่พอเป็นเนื้อหาปลายภาคเนื้อหาจะต่างจากเนื้อหาของส่วนกลางภาคเลย เนื้อหาปลายภาคจะเรียนเกี่ยวกับคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า,เเสงเชิงกายภาพเเละเชิงฟิสิกส์,ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ,ฟิสิกส์ควอนตัมเบื้องต้นเเละฟิสิกส์นิวเคลียร์ ครึ่งเเรกเนื้อหาก็จะมีความละเอียดยิบย่อยในเเต่ละบท


   เพิ่มเติมว่าสอบกลางภาคมีใบสูตรการคํานวณมาให้เเละสอบปลายภาคเป็นการสอบเเบบ openbook สอบย่อยจะเเบ่งเป็นสองครั้ง เนื้อหาคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าอย่างเดียวเลย โดยจะเอาคะเเนนที่ดีที่สุดไปคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 5% สําหระบสอบปลายภาคข้อสอบก็จะมีความยากขึ้น เพราะสามารถเปิดหนังสือได้ โดยคะเเนนเต็ม65คะเเนน คิดเป็น 30%

การเตรียมตัว:เเนะนําหนังสือ survey เลยเพราะวิชาฟิสิกส์ของจุฬา อาจารย์จะใช้หนังสือ survey เป็นหนังสือหลักในการสอน สามารถหาชื้อได้ตามศูนย์หนังสือจุฬาหรือร้านขายหนังสือทั่วไป เอาไว้ทบทวนเนื้อหา+ทําโจทย์เพิ่มเติมก่อนสอบกลางภาคเเละสอบปลายภาค สังเกตได้ง่ายเพราะหนังสือหนามากกก (เวลาโมโหใครก็เอาเล่มนี้เเหละไปทุบหัวได้เลย 55) เป็นเล่มภาษาไทยนะ เเนะนําเหมืิอนวิชาฟิสิกส์ทั่วไป1เลย


ปฎิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 2 (Gen Phy Lab II)


  สําหรับวิชานี้ก็ 1 หน่วยกิต เป็นการนําความรู้จากวิชาฟิสิกส์ทั่วไป2ไปประยุกต์ใช้ในเชิงการทดลองนั่นเอง ซึ่งมีทั้งหมด 10 ปฎิบัติการ โดยจะมีสองปฎิบัติเเรกที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางไฟฟ้า นั่นคือปฎิบัติการที่ I-1 เเละปฎิบัติการที่ I-2 นั่นคือการใช้เครื่องวัดทางไฟฟ้าเบื้องต้นเเละการใช้งานออสซิลโลสโคปเบื้องต้น ส่วนบทปฎิบัติการอื่นๆก็ตามบทเรียนที่ได้เรียนในฟิสิกส์ทั่วไป 2 เช่น ไฟฟ้ากระเเสสลับ,กัมมันตภาพรังสี เป็นต้น เนื่องจากสถานการณ์ covid-19  ทําให้ปฎิบัติการที่ได้ทําที่มหาวิทยาลัยมีทั้งหมด 7 ปฎิบัติการ เเละเป็นปฎิบัติการที่เป็นวิดีโออีก 3 ปฎิบัติการ ซึ่งสองเเบบนี้ต่างกันอย่างชัดเจนเลย จะเหมือนเเลปเเห้ง ประมาณว่าถ้าค่าที่ต้องทําการทดสองเท่านั้นมาให้เเล้ว โดยจะต้องวิเคราะห์คํานวณอย่างอื่นต่อ ส่วนการสอบของวิชานี้ก็จะเป็นสอบปลายภาคอย่างเดียวไม่มีสอบกลางภาค ในสัดส่วนคะเเนนใบงานเเลปเเละคะเเนนสอบปลายภาคเป็น 70:30 โดยคะเเนนปฎิบัติการ 70% เเบ่งเป็น ใบรายงานเเลป 5% เเละ การเข้าเรียน&การเเต่งกายอีก 2% จํานวน 10 ปฎิบัติการ ซึ่งสอบปลายภาคจะเเบ่งเป็นสองช่วง ช่วงเเรกเป็นการสอบ2ปฎิบัติการเเรก เเละ อีก 8 ปฎิบัติการหลัง รวมกันเป็น 30% ข้อสอบก็มีทั้งง่าย ปานกลาง เเละยากในปฎิบัติการต่างๆ ก็ยังดีว่าระบบไม่ค่อยล่ม เเต่การสอบออนไลน์ก็มักจะมีปัญหาต่างๆ เช่น รูปไม่ขึ้น เน็ตช้า เป็นต้น จํานวนคนเข้าสอบประมาณพันคนเลย ส่วนหนึ่งก้เพราะอาจารย์ให้เข้าระบบไม่พร้อมกันด้วย ระบบเลยไม่ล่ม

การเตรียมตัว:อ่านจากหนังสือปฎิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป2 เเละวิดีโอการทดลองปฎิบัติการใน echo360 เเต่วิดีโอจะมีปฎิบัติการเเค่8การทดลองหลังเท่านั้น เพราะสองปฎิบัติการเเรกได้เรียนกันไปตั้งเเต่ต้นเทอมเเล้ว เพราะข้อสอบก้เอามาจากหนังสือเล่มนั้น เวลาเรียนเเลปถ้ามีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมหรือน่าสนใจก็ถ่ายรูปหรือจดมาได้ จะได้เข้าใจเกี่ยวกับเเลปนั้นๆมากขึ้น เราชอบจดเนื้อหาที่อาจารย์พูดเเล้วน่าสนใจเเละถ่ายรูปที่อาจารย์อธิบายเเลปบนกระดานขาวก่อนที่จะลงมือทําปฎิบัติการ

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 2(Exp Eng 2)


         วิชานี้ก็เกณฑ์คะเเนนเหมือนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 1 เลย โดยจะเเบ่งเป็น  คะเเนนในห้อง 40% คะเเนนสอบกลางภาค 30% เเละ คะเเนนสอบปลายภาค 30% โดยคะเเนนในห้องก็จะเเบ่งไปอีก presentation เป็นการนําเสนอหัวข้อที่เลือกอ้างอิงจากบทเรียนในหนังสือให้อาจารย์ฟัง เเบ่งเป็น 2 ครั้ง รวมกัน 10% writing เป็นการเขียนบทความ มีทั้งหมด 4 ครั้ง เเละกิจกรรมพิเศษ เป็นการไปทํากิจกรรมที่ศูนย์ภาษาของจุฬานี่เเหละ ไปดูหนัง อ่านหนังสือ เเละไปฝึกพูดภาษาอังกฤษ โดยส่วนนี้ ถ้าไปทําครบก็จะได้ 5% เเบบฟรีๆ เเล้วก็จะมี reflection เป็นการพูดคุยระหว่างอาจารย์เเละนิสิตเเบบตัวต่อตัวว่าไปทํากิจกรรมอะไรมาบ้าง ได้ประโยชน์อะไรจากการทํากิจกรรม ฯลฯ  เเต่เนื่องจากสถานการณ์ covid-19 ทําให้ต้องเปลี่ยนสัดส่วนคะเเนนในส่วนของหลังกลางภาคดังนี้ ในส่วนของการสอบปลายภาค จะเเบ่งเป็น 10% สําหรับส่วนของ vocabulary เเละ 20% สําหรับส่วนของ reading ในส่วนของ vocabulary จะเป็นการเรียน paragarph ทํานองเเต่งเรื่องอะไรก็ได้ เเต่ต้องเอาคําศัพท์จากบทที่8เเละบทที่9 อย่างน้อยบทละ 10 คําศัพท์ อันนี้จะไม่ค่อยเคร่งtense เเต่ขอให้มีคําศัพทืครบ จะขีดเส้นใต้หรือhighlight ในคําศัพท์ที่ยกมาก็ได้ เเละส่วนของ reading จะเเบ่งเป็น 2พาร์ท unseen passage ทั้งสอง2พาร์ทเลย เป็นพาร์ทละบท เเต่คําถามจะเป็นในเชิงวิเคราะห์เขียนตอบไม่มีเป็น choices จะมีหลายรูปเเบบคําถาม เช่น จับใจความสําคัญ,อนุมานต่างๆ เป็นต้น  ในส่วนของคะเเนนเก็บจะเปลี่ยน writing เหลือ 3 ครั้ง 15% ครั้งละ 20 คะเเนน รวมเป็น 60 คะเเนน presentation จะลดคะเเนนส่วนกลุ่มลงจาก 20คะเเนน เป็น 10คะเเนน ทําให้คะเเนนในส่วนนี้ลดจาก 35 คะเเนน เป็น 25 คะเเนน เเละreflection จะเปลี่ยนจากการถามตอบคําถามกับอาจารย์ เป็นการเขียนหนึ่ง paragraph เกี่ยวกับกิจกรรมที่ชื่นชอบที่สุด,เหตุผลที่ชื่นชอบ สามารถนําไปประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง

การเตรียมตัว:หนังสือ unlock4 เป็นหนังสือที่ใช้ในการเรียนนี่เเหละ เอาไว้ทบทวนหรือเป็นรูปเเบบข้อสอบทั้งกลางภาคเเละปลายภาค เเละก็ชีทที่อาจารย์เเจกด้วยนะสามารถไว้เป็นเเนวข้อสอบได้เช่นกัน

เคมีทั่วไป(Gen Chem)


          เคมี๊ เคมี เคมี ก็หนึ่ในเเขนงของวิชาวิทยาศาสตร์นั่นเเหละ คือวิชานี้ถ้าใครไม่ชอบก็อาจจะอึดอัดหน่อยเพราะมีทั้งส่วนของทฤษฎีเเละส่วนของการคํานวณ เนื้อหาก็จะคล้ายกับตอนมัธยมปลายเลย เเต่จะมีบางบทที่เพิ่มเติมมา หรือไม่เคยเรียนมาก่อน อย่างเช่น เทอร์โมไดนามิกส์,เคมีนิวเคลียร์ เเต่มีิยู่บางบทที่เนื้อหาเหมือนตอนมอปลายเลย อย่างเช่น โครงสร้างอะตอม,ปริมาณสารสัมพันธ์,สมดุลเคมี,ไฟฟ้าเคมี ซึ่งบทที่เรียนจะเเบ่งเป้นสองตอน ตอนเเรกคือก่อนกลางภาคก็จะเรียนเกี่ยวกับ โครงสร้างอะตอม,ตารางธาตุ,พันธะเคมีเเละของเเข็ง ของเหลว เเกีส เเละหลังกลางภาคจะเรียนเกี่ยวกับ ปริมาณสารสัมพันธ์,สมดุลเคมี,จลน์ศาสตร์เคมี,เทอร์โมไดนามิกส์,กรดเบส,เคมีไฟฟ้าเเละเคมีนิวเคลียร์ ซึ่งคะเเนนสอบจะเเบ่งเป็น 10:40:40:10 โดย 40% เป็นคะเเนนในส่วนการสอบกลางภาคเเละสอบปลายภาค ส่วน10%มาจากคะเเนนเเบบฝึกหัดในblackboard วิชานี้เป็นวิชาอิงกลุ่มนะ ตัดFที่40% เเล้วที่เหลืออิงกลุ่มหมดเลย ข้อสอบส่วนกลางภาคก้จะเเบ่งเป็นข้อเขียนเเละข้อกา ข้อกาก้จะเป้นพื้นบานของเเต่ละบทเป็นทฤษฎีเเละคํานวณ ข้อเขียนมีทั้งเเสดงวิธีทํา เขียนอธิบายเเละถูกผิด ส่วนของข้อกาก็จะง่ายกว่าส่วนของข้อเขียน วิชานี้ก้จะมีสูตรคํานวณเเละค่าคงที่มาให้ ส่วนของสอบปลายภาคก็เป็นการสอบเเบบออนไลน์ จะเเบ่งเป็น ข้อ 1 คะเเนน 20 ข้อ ข้อ 1.5 คะเเนน 16ข้อ เเละข้อ 2 คะเเนน 3 ข้อ จํานวนของคะเเนนก็จะเเปรผันตามความง่ายยากของข้อสอบ สามารถดูได้ทั้งชีทสอนของอาจารย์ ใบสูตรเเละค่าคงที่ เเละสรุปที่จดด้วยตัวเอง ส่วนปลายภาคจะเป็นการอัดวิดีโอในecho 360 ยกเว้นเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์เพราะได้เรียนในห้องเรียนก่อนที่มหาวิทยาลัยจะปิดการเรียนการสอนเเล้ว เนื้อหาส่วนที่เพิ่มมาคือการนําเเคลคูลัสไปประยุกต์ใช้ อย่างบทจลน์ศาสตร์เคมี ก็จะมีในส่วนกฎอัตราที่เป็นอันดับปฎิบัติการต่างๆที่เอาอนุพันธ์เเละปริพันะ์มาใช้อย่างมาก

การเตรียมตัว:ชีทอาจารย์เลย สามารถเอาไปอ่านได้ทั้งของกลางภาคเเละปลายภาค + คลิปวิดีโอecho ในส่วนของหลังกลางภาค เเละหนังสือตอนมอปลายก็จะอ่านได้นะ จากที่เรียนพิเศษ เเละหนังสือพวกเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็สามารถเอาไปฝึกทําโจทย์ได้

คําเเนะนํา: ในส่วนของคะเเนนเเบบฝึกหัดในblackboardให้ไปทําด้วยนะ คะเเนนส่วนนี้สามารถช่วยเรื่องเกรดเเละช่วยไปเพิ่มคะเเนนจากคะเเนนสอบกลางภาคเเละปลายภาค เเละอย่าลืมส่งตามกําหนดด้วย ไม่งั้นก็อาจไม่ได้คะเเนนในบทนั้นๆที่ส่งเลยกําหนดการได้

ปฎิบัติการเคมีทั่วไป(Gen Chem Lab)


   วิชานี้ก็จะคล้ายๆกับวิชาปฎิบัติการฟิสิกส์ทั่วไปที่เป็นการนําความรู้จากวิชาหลักไปประยุกต์ใช้ในรูปเเบบการทดลองซึ่งจะใช้สารเคมีเป็นหลักในการทดลอง เป็นวิชาที่เเบบมีความเคร่งครัดอยู่ อย่างเช่น ต้องใส่เเว่นตาการทดลอง,เสื้อปฎิบัติการเคมี,ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารในห้องปฎิบัติการ อาจารย์ก็จะสลับกันสอนไปในเเต่ละสัปดาห์ โดยสัปดาห์ก่อนเริ่มปฎิบัติการเคมีก็ต้องไปทํา lab safety ก่อน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะได้ไปทําปฎิบัติการได้อย่างปลอดภัย โดยปกติวิชานี้จะเเบ่งคะเเนนจาก สอบกลางภาค 30 คะเเนน สอบย่อยทั้งหมด8ครั้ง 10คะเเนน การสอบปฎิบัติการไทเทรชัน 25 คะเเนน การวิเคราะห์สารตัวอย่างไอออน 3 ครั้ง 20 คะเเนน เเละส่วนสุดท้ายมาจากรายงานปฎิบัติการทดลอง 5 คะเเนน การประเมินเข้าเรียน,ความประพฤติในห้องเรียน,เทคนิค 10 คะเเนน เเต่เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบันทําให้ทําปฎิบัติการทดลองเเค่8ครั้ง จึงไม่สามารถสอบปฎิบัติการไทเทรชันเเละการวิเคราะห์ไอออนได้ ทีเเรกอาจารย์ก็ให้เลื่อนการสอบไปก่อนเเล้วสุดท้ายพอถึงสิ้นเดือนที่เเล้ว ที่มหาวิทยาลัยยังปิดอยู่ ทําให้ต้องยกเลิกการสอบทั้งสองอย่าง เเละนําคะเเนนเท่าที่มีไปตัดเกรด นั่นคือ คะเเนนสอบกลางภาค,รายงาน,สอบย่อย8ครั้งเเละคะเเนนในส่วนความประพฤติเท่่านั้น


   มีเรื่องเล่านึงตอนเราทําเเลปนี่เเหละ คือเวลาใช้สารละลายหมดก็ต้องไปเติมที่ถังสารละลาย เเล้วไม่รู้ทําไม เวลาเราไปเติมสารทีไร เเก้วที่ไว้ใส่สารละลายหน้าถังหมดตลอดเลย ทําให้เราต้องยกถังอยู่ตลอด (โคตรหนักครับ 55555) เห็นเพื่อนคนอื่นเติมใส่ได้เลย ไม่ต้องยกถังสารละลาย


ปล.วิชานี้จะมีคู่เเลป 4 คนต่อโต๊ะ1ตัว เเต่ละการทดลองอาจารย์ก็จะกําหนดว่าการทดลองนี้ทําการทดลองทั้งหมดกี่คน ส่วนใหญ่ก็จะทํา2คนในการทดลอง ก็ถ้าคู่เเลปถนัดเคมี มันก็จะดีมากนะ เวลาถามอะไรก็จะได้ถามได้เลย ไม่ต้องถามอาจารย์ 555

การเตรียมตัว:จะมีหนังสือปฎิบัติการเคมี เล่มสีเหลืองๆสามารถเอามาอ่านได้ตอนสอบย่อยเเละสอบกลางภาคได้เลย ข้อสอบก็อยู่ในเล่มนั้นนั่นเเหละ มีทั้งทฤษฎีเเละคํานวณ

เขียนเเบบวิศวกรรม(Eng drawing)


  วิชาสุดท้ายล่ะ (เย่!) วิชานี้ก็ตามชื่อเลย หรือเรียกว่าดรออิ้งก็ได้ มีคําพูดนึงที่พูดๆกันว่า 'วิชาดรออิ้งเป็นวิชาวาดรูป' เราบอกได้เลยว่าคุณมาผิดทาง 55555 วิชานี้ไม่ใช่วิชาวาดรูปนะ เเต่เป็นวิชาเกี่ยวกับการเขียนเเบบทั้งหมดเลย ตั้งเเต่การเขียนมือเปล่า การเขียนเเบบใช้อุปกรณ์ เเละการเขียนโดยใช้โปรเเกรม autocad ซึ่งจะเเบ่งเป็นสองช่วง ช่วงเเรกจะเรียนเกี่ยวกับการมองภาพเป็นส่วนใหญ่เลย พวก front view side view top view คืออะไร มุมมองของรูปเป็นยังไง ช่วงหลังก็จะเรียนเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆเช่น dimension,section,thread จนไปถึง assembly drawing ซึ่งข้อสอบตอนกลางภาคจะออกตามเนื้อหาที่เรียนเลย มีทั้งช้อยส์ ถูกผิด เเละก็วาดรูป ส่วนตอนปลายภาค จะสอบใน MS Quiz (Mircosoft Quiz) เเละใน mycoursevile ซึ่งปกติ คะเเนนกลางภาค 40% คะเเนนปลายภาค 40% งานautocad 5% เเละงานproject 10% เเต่เนื่องจากเหตุการณ์ปัจจุบันทําให้ต้องมีปรับสัดส่วนของคะเเนนเป็น สอบกลางภาค 50% สอบปลายภาค 20% งานautocad 10% งานproject 15% เเละสอบย่อย 5% ส่วนสอบย่อยก็จะเป็นเนื้อหาที่เรียนไปทั้งหมดเลย มีทั้งส่วน MS Quiz เเละ mycoursevile โดยใช้กระดาษกริดวาดรูปในส่วนของmycoursevile วิชานี้สัดส่วนคะเเนนเเละการตัดเอฟจะเปลี่ยนเเปลงในทุกๆปี เเต่ก็เเนะนําให้ทําคะเเนนให้ได้มากๆก่อนเเล้วกัน เรื่องเรียน ครึ่งเเรก ก็เรียนที่ห้องปกติ เเล้วอาจารย์จะอธิบายเกี่ยวกับใบงานที่ได้ เเละครึ่งหลังจะเรียนผ่านzoom เเล้วสั่งงานเป็น autocad ในเเต่ละเรื่องที่ได้เรียน

การเตรียมตัว:ดูคลิปวีดีโอของอาจารย์จากใน mycoursevile เป็นคล้ายๆเเหล่งรวมวิชาเรียนของคณะเเละมี workbook drawing เป็นเเบบฝึกหัดไว้ทําตอนก่่อนสอบกลางภาคเเละสอบปลายภาค ไว้ไปฝึกฝนจากที่ได้เรียนมา


   จบไปเเล้วนะครับ สําหรับการรีวิวการเรียน วิศวะ จุฬา ปี62นี้นะครับ เราก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆคนที่ได้เข้ามาดูนะ https://www.dek-d.com/board/view/3955231/ อันนี้เป็นรีวิวการเรียนวิศวะ จุฬาในส่วนของเทอม1/62 ก็ถ้าน้องๆเรียนส่วนไหนก่อนก็ไปดูได้ ไว้เราจะไปวางลิงค์ในส่วนของรีวิวเทอม2ในกระทู้รีวิวเทอม1 นะ ก็ที่จริงๆน้องๆมออื่นก็มาดูได้นะ ไว้เป็นเเนวทาง ก็จะมีบางเรื่องที่เรียนเหมือนกัน เเต่มีบางเรื่องที่เรียนต่างกัน เราก็เขียนละเอียดประมาณนี้เเหละถ้ามีอะไรเพิ่มเติม เราค่อยมาเขียนเพิ่มเเล้วกัน


  เเล้วก็ขอเเสดงความยินดีกับน้องๆintania104ด้วยนะครับ ที่สามารถสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ เราก็ยินดีต้อนรับเน้อ เเล้วขอให้ใช้ชีวิตที่วิศวะ จุฬาอย่างมีความสุขนะ ส่วนน้องๆคนอื่นก็ไม่เป็นไรนะ พี่ก็ขอเป็นกําลังใจให้นะ สู้ๆ ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยให้คุ้มค่าก็โอเคเเล้ว :))


     น้องๆDek63 ก็พักผ่อนเต็มที่นะ อ่านหนังสือล่วงหน้าได้เลยนะ ก่อนขึ้นมหาวิทยาลัยจะได้ไม่ต้องอ่านหนักมากเเล้วก็ น้องๆ Dek64 ก็สู้ๆนะครับ อ่านหนังสือเต็มที่ ให้เข้าคณะเเละมหาวิทยาลัยตามที่หวังน้า พี่เป็นกําลังใจให้!


ปล.1 ถ้าเราพิมพ์อะไรไปผิดพลาดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ


ปล.2 ถ้ามีคําถามอะไรสงสัยหรือจะปรึกษาเกี่ยวกับการซิ่วหรือเรื่องการเรียนก็มาถามเราได้ตลอดนะ หรือมาติดตามเราก็ที่ IG:_jeandark_ ตามนี้เลย


ยังไงก็ไว้เจอกันกระทู้หน้านะครับ ขอบคุณนะครับ ^^

 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Supasine 14 พ.ค. 64 เวลา 22:52 น. 1

สอบถามค่ะ​ ถ้าสอบเข้าวิศวะคอม​ จุฬาได้ตอนปี1​ เรียนไปแล้วเกิดไม่ชอบ​ สามารถเปลียนไปเรียนไฟฟ้า​ ตอนปี2​ ได้มั้ยคะ

1
Ujean02 15 พ.ค. 64 เวลา 23:56 น. 1-1

เปลี่ยนไม่ได้ครับ มันเป็นเงื่อนไขที่ประกาศเข้ารับศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สําหรับคนที่เข้าภาคโดยตรงไม่ใช่ภาครวมครับ

0