Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ขอคำแนะนะเรื่องการเขียนคำบรรยาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่ะ เรามาขอความคิดเห็นค่ะ คือมีคนเคยบอกว่าเราเป็นพวกชอบเขียนเวิ่นเว้อมากไป เราเลยพยายามปรับแก้มาเรื่อยๆ อันนี้ตัวอย่างเรื่องปัจจุบันที่เรากำลังเขียนค่ะ เพื่อนๆ ว่าแบบนี้เป็นยังไงบ้างคะ จะลงทีใจก็ดุ่มๆ ดอนๆ อ่านแล้วแก้หลายรอบมากๆ คือเรากังวลใจนะคะ 

ขอบคุณทุกคนล่วงหน้านะคะ 


แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

น่ารักรมณ์เสีย 31 มี.ค. 64 เวลา 20:51 น. 1

ทำหน้าคลึงขลังเป็นหน้ายังไงอะคะ (ขึงขัง?)

เราคิดว่ามันเป็นสไตล์ของผู้เขียนนะคะ

แต่ถ้าจะแนะนำ ขอออกความเห็นนิดหน่อยว่า ทำประโยคให้สั้นลงอาจจะได้นะคะ แบบ แบ่งออกไปเป็นอีกปย.เลย

ขอลองอะไรนิดหน่อยนะคะ อาจจะไม่ได้ดี

***เราเองไม่แนะนำให้เปลี่ยนอะไรมากเพราะมันเป็นลายเซ็นของผู้เขียนอะ แค่ขอให้หาให้เจอว่าตรงไหนเวิ่นเกินไปก็พอแล้ว***


เพื่อนต่างชักสีหน้าเมื่อได้ฟังเรื่องที่เกิดเมื่อวาน แล้วยิ่งเห็นแผลเล็ก ๆ บนจมูกผม พวกเขาก็ทำหน้าถม ึงทึงเข้าไปอีก แม้ว่ามันจะไม่ได้กว้างหรือลึกมาก...


ส่วนที่สองที่เห็น อืม...อาจจะเป็นถ้าลองใช้ความหมายกำกวมให้น้อยลง แบบไม่ต้องบอกว่าอารมณ์นั้นเหมือนกับ... คล้ายกับ... เอ่อ เช่น สายตาแปลกคล้ายคุกคาม << ตรงนี้เปลี่ยนเป็นสายตาคุกคามเลยได้หรือเปล่าคะ "สายตาคุกคามที่แฝงความนัยบางอย่าง"? มันทำให้สั้นลงหรือเปล่า


วิธีที่เขาใช้แก้กันส่วนใหญ่คืออ่านออกเสียงแหละค่ะ แล้วก็ทำให้ประโยคมันชัด ๆ บางทีบอกคนอ่านตรง ๆ ไปเลยก็ได้ค่ะ เราเคยโดนเพื่อนที่อ่านแก้มาแบบนี้อ่า


โดยรวมเราไม่เห็นว่าการบรรยายของจขกท.มีปัญหาแต่อย่างใดนะ คิดว่ามันเป็นสไตล์ +มีคำผิดนิดหน่อย 555



1
แยกยิ้ม 31 มี.ค. 64 เวลา 21:13 น. 1-1

ขอบคุณมากค่ะ จะนำไปปรับปรุงนะคะ ขอบคุณมากจริงๆ อีกครั้งค่ะ


https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-08.png

0
IzaBelle 31 มี.ค. 64 เวลา 20:51 น. 2

แก้เรื่องคำผิดก่อนนะคะ

คลึงขลัง >> ขึงขัง

นี่น่า >> นี่นา


ส่วนเรื่องของบรรยาย

สำหรับเราแล้วมันค่อนข้างงงนะคะ คือจะบรรยายแบบมุมมองบุคคลที่หนึ่งใช่ไหมแต่บางทีเดี๋ยวก็ใช้ผม เดี๋ยวก็ใช้เรา คนอ่านอย่างเราค่อนข้างสับสนน่ะค่ะ


โดยส่วนใหญ่เราว่ามันก็โอเคนะคะ ดูไม่เวิ่นเว้ออะไร สำหรับเราที่ไม่ได้อ่านมาตั้งแต่ตอนแรกนะ แต่บางทีก็มีงงๆ บ้างเพราะบางทีเราก็ไม่เข้าใจว่าหมายถึงพวกเรารวมเพื่อนรวมตัวละครเอกหรือเปล่า หรือแค่แทนตัวเองว่าเราเฉยๆ

1
แยกยิ้ม 31 มี.ค. 64 เวลา 21:21 น. 2-1

ขอบคุณค่ะ คือเราเขียนในมุมมองของบุคคลที่ 1 คำว่า 'เรา'ที่เจอบางครั้งจึงเป็นคำบรรยายเรื่องราวผ่านตัวเอกสลับกับบางครั้งตัวละครพูดกับตัวเองประมาณนี้ค่ะ ขอบคุณอีกครั้งนะคะ แต่ก่อนอื่น ขอแก้คำผิดก่อน เขินเลย 555

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-08.png

0
เยว่เจี่ยเจีย 31 มี.ค. 64 เวลา 22:45 น. 3

สวัสดีค่ะ เจี่ยเจียไม่แน่ใจว่าตัวเองจะมีประสบการณ์พอจะแนะนำไหม หากลองอ่านดูแล้ว คำว่าเวิ่นเว้ออาจมาจากนิยายที่มีบทสนทนามาก ๆ อาจต้องลองใช้แบบฝึกหัดว่าทุกประโยคที่ตัวละครพูด ทุกการกระทำของตัวละคร เราใส่มาทำไม ถ้าเราตัดคำพูดนี้ออกไป จะกระทบเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือเราอยากให้คนอ่านเข้าใจเกี่ยวกับตัวละครมากขึ้น


เจี่ยเจียเคยดู Master Class ของ Margaret Atwood มีประโยคหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ เกี่ยวกับการเขียนบทสนทนาและการเขียนฉากต่าง ๆ คือ something must happen บทสนทนาต้องนำไปสู่ประเด็น หรือความขัดแย้งบางอย่าง ไม่ใช่บทสนทนาที่มีแค่คนคุยกันแล้วก็ผ่านพ้นไป สรุปคำแนะนำคร่าว ๆ คือ ลองดูว่าเราจะสามารถกระชับบทสนทนาและกระชับเหตุการณ์ในเรื่องได้หรือเปล่าค่ะ อันไหนที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง สามารถลองตัดออกได้หรือไม่ ส่วนเรื่องคำผิด เหมือนที่นักเขียนท่านอื่นได้แนะนำค่ะ

1
doubleFish 1 เม.ย. 64 เวลา 00:38 น. 4

ก็ไม่ได้อะไรมากนะครับ ผมว่ายังดีกว่านิยายที่มีแต่บทพูดเยอะ อ่านแล้วก็ไม่รู้สึกว่าสิ้นเปลืองอะไรมากมาย แต่ถ้าจะให้ดีก็รักษารูปแบบการบรรยายให้เป็นแบบเดียวทั้งหมดเลยน่าจะดีกว่า มุมที่หนึ่งก็หนึ่งไปเลย มุมที่สามก็สามไปเลย สลับไปมาอาจจะทำให้คนอ่านสับสนได้ แต่เท่าที่ผมอ่านในตัวอย่างที่ให้มาก็เปลี่ยนมุมมองได้ลื่นไหลดี ไม่รู้สึกว่าตัดกันอย่างรุนแรงเกินไป

1
แยกยิ้ม 1 เม.ย. 64 เวลา 12:13 น. 4-1

ขอบคุณค่ะ ลองอ่านดูแล้วเหมือนจะสลับความคิดกับบทบรรยายให้ดูงงจริงด้วย ขอบคุณอีกครั้งนะคะ จะนำไปปรับปรุงค่ะ

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-01.png

0
ทิตภากร : กันต์ระพี 1 เม.ย. 64 เวลา 00:41 น. 5

สมาชิกท่านอืื่นๆ แนะนำเรื่องคำผิดกันไปแล้ว งั้นคห.นี้จะแนะนำหลักการเขียนแบบง่ายๆ แทนแล้วกันเนอะ

การใช้คำในบทสนทนากับบทบรรยายจะแตกต่างกันค่ะ จำง่ายๆ ตามนี้ค่ะ

บทสนทนา ก็คือภาษาพูด มักจะใช้คำสั้นๆ ง่ายๆ และกระชับ

บทบรรยาย ก็คือภาษาเขียน จะใช้คำที่เต็มคำค่ะ

ยกตัวอย่างจากงานของจขกท. อาทิเช่น...ซัก-ซักถาม (สอบถาม) ถ้าอยู่ในบทสนทนา (ภาษาพูด) เช่น "เมิงจะซักกูทำไมวะ" แบบนี้...โอค่ะ แต่ไม่เหมาะจะใช้ในบทบรรยาย (ภาษาเขียน) คำที่ควรใช้คือซักถาม หรือสอบถามค่ะ


ส่วนการบรรยายแบบเวิ่นเว้อจะมีอยู่ 2 ประเภทค่ะ

1. น้ำเยอะ

2. ออกทะเล

อยากรู้ว่าเวิ่นเว้อไหม ต้องลองอ่านทวนดูค่ะ ถ้าอ่านแล้วรู้สึกเหมือนไม่ใช่อารมณ์ของตัวละคร ณ ฉากนั้นๆ หรือเกิดความเบื่อหน่าย นั่นหมายความว่าออกแนวเวิ่นเว้อค่ะ

แต่เท่าที่อ่านของจขกท. ไม่ได้ออกไปทางเวิ่นเว้อค่ะ แต่ขาดการบรรยายท้ายประโยคและเปิดประโยคคำพูดลอยๆ อย่างนั้น ทำให้นักอ่านไม่ทราบว่าใครกำลังพูดกับใคร


แต่ทั้งนั้นทั้งนี้...ภาษาเขียน+วิธีเขียนหรือการนำเสนอ ตลอดจนการเดินเรื่องของแต่ละคนก็ต่างกันค่ะ เหมือนที่ใครหลายคนพูดว่าสไตล์ใคร สไตล์มัน ไม่มีต้นแบบอะไรที่เป็นบรรทัดฐานเฉพาะเจาะจงลงไปหรอกค่ะ เพราะฉะนั้น...อย่าซีเรียสหรือเป็นกังวล ถ้าจขกท.ชอบเขียน รักที่จะเขียน ก็เขียนไปเถอะค่ะ


สิ่งที่อยากแนะนำ...

จขกท.ควรหาหนังสือในแนวที่ชอบ หรือแนวที่เขียนมาอ่านให้มากกว่านี้ค่ะ เพื่อสั่งสมประสบการณ์ เพราะเท่าที่สังเกตจากงานเขียน จขกท.ยังไม่มีความชำนาญในการใช้คำสักเท่าไหร่ อ่านบ่อยๆ เก็บเกี่ยวความรู้ จะทำให้เขียนได้ลื่นขึ้นค่ะ ไฟต์ติ้ง!

**แก้ไข เพราะคำโดนเว็บดูด ทำให้ต้องเขียนว่าเมิงแทน**

1
แยกยิ้ม 1 เม.ย. 64 เวลา 12:15 น. 5-1

ขอบคุณค่ะ อะิบายให้เห็นภาพได้ชัดเลย จะนำคำแนะนำไปปรับปรุงนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่่ะ

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-01.png

0