Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คิดว่าในคณะวิทยาศาสตร์ สาขาไหนมีงานรองรับมากที่สุด? มาแชร์เป็นแนวทางเลือกสาขากัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เพื่อนๆ คิดว่ายังไงกันบ้างคะ

จริงๆ แล้วพอดีเรากำลังตัดสินใจว่าจะเลือกเพียว เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ หรือจะเลือกประยุกต์ดี ลังเลอยู่ กลัวว่าเลือกเฉพาะมากเกินไปจะหางานยาก แต่ถ้าเลือกกว้างจนเกินไปก็กลัวจากยากเช่นเดียวกัน


เราลองเสิร์ชหางานเล่นๆ ดูแล้ว เหมือนว่าจะเป็น เคมี กับ จุลชีวะ ค่อนข้างมากเลยทีเดียวค่ะ ทุกคนมีความเห็นกันอย่างไรบ้าง มีแนวทาง อยากจะแนะนำเด็ก 64 คนนี้อะไรบ้างมั้ยคะ ;-; ((แล้วก็ไม่ค่อยชอบฟิสิกส์เลยค่ะ))

แสดงความคิดเห็น

>

9 ความคิดเห็น

YummyYum 28 เม.ย. 64 เวลา 15:27 น. 1

ส่วนตัวคิดว่าวิทย์เพียวจริงๆ หางานรองรับยากมากนะ ยกเว้นสาขาที่น้องพูดถึงแหละครับ ที่โรงเรียนพี่คนที่จบวิทย์เพียวมาเป็นครูก็มีเหมือนกันครับ แต่ก็ต้องเป็นสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ พี่เคยเห็นในเน็ตบอกว่าถ้าคิดจะเรียนวิทย์เพียวแบบที่ไม่เป็นครู ก็ต้องเรียนถึงป.เอก อยากให้ลองไปคิดดูดีๆครับ ถ้าชอบจริงๆก็ไม่มีปัญหา ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดู สู้ๆครับ

1
Dek65 29 เม.ย. 64 เวลา 06:35 น. 2

สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

งานรองรับมากที่สุด โอกาสในการเติบโตมากที่สุด


สาขาฟิสิกส์

งานรองรับน้อยที่สุด โอกาสเติบโตน้อยที่สุด ทั้งในไทย และต่างประเทศ

2
มะเฟืองหวาน 29 เม.ย. 64 เวลา 23:10 น. 2-1

ฟิสิกส์ลาดกระบัง ไม่ตกงานค่ะน้อง ตอนนี้หลักสูตรใหม่ เรียนเพิ่มอีก 39 หน่วยกิต จะได้ปริญญาตรี วิศว ไอโอทีด้วยนะคะ ศิษย์เก่าที่นี่ จบไปทำงาน เป็นวิศวกรเต็มเลยค่ะ น้องลองเข้าไปดูที่ อัลบั้ม อาชีพศิษย์เก่า นะคะhttps://web.facebook.com/AppliedPhysKMITL/photos/271193331137672

0
ไม่ไหวแล้วค่ะ 30 เม.ย. 64 เวลา 20:30 น. 2-2

เคยอยากเรียนเหมือนกันค่ะ แต่พอดีไม่ค่อยถนัดฟิสิกส์เลย ไม่ค่อยชอบด้วยค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ

0
Ekaratde 29 เม.ย. 64 เวลา 23:16 น. 3

อยากแนะนำน้องครับ ถ้าชอบ Science นอกจาก Pure Science แล้วยังมี Applied Science ด้วยนะครับ พี่ว่างานยังกว้างอยู่คับ เช่นจบแล้วมีงานทำสามารถตอบโจทย์ 10 S-Curve คับ


ลองดูในสาขาที่เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ดูนะคับ มีสอนหลายที่ทั้ง สจล - ม.เกษตร - มจธ - มจพ เป็นต้นนะครับ


- เคมีอุตสาหกรรม

- จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม

- เทคโนโลยีชีวภาพ

- วิทยาการคอมพิวเตอร์

- คณิตศาสตร์ประยุกต์

- สถิติประยุกต์

- ฟิสิกส์อุตสาหกรรม

- เคมีสิ่งแวดล้อม

เป็นต้น


ยังไงก็เป็นกำลังใจให้น้องเลือกเรียนในสาขาที่ชอบนะครับ

1
ไม่ไหวแล้วค่ะ 30 เม.ย. 64 เวลา 20:33 น. 3-1

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ สนใจเคมีอุตสาหกรรมเหมือนกันค่ะ แต่กลัวจะเรียนส่วนฟิสิกส์ไม่ไหว

0
ผ่านทางมาอ่าน 30 เม.ย. 64 เวลา 01:17 น. 4

คณะ "วิทยาศาสตร์" คือคณะเฉพาะทาง ไม่มีการเรียนแบบกว้าง ๆ แน่นอนครับ ทุกสายมีศาสตร์ที่ลงลึกแบบเฉพาะทางของสาขานั้น ๆ ครับ ขออนุญาตพูดถึงภาคฟิสิกส์แบบเจาะลึกในวิชาเรียนนะครับ ภาคฟิสิกส์โดยทั่ว ๆ ไป จะเรียนเป็น Theoretical based (ขอพูดถึงภาคฟิสิกส์ประยุกต์ทีหลังนะครับ) วิชาที่จะได้เรียน คือ


คณิตศาสตร์ โดยทั่ว ๆ ไปการเรียนคณิตศาสตร์ในภาคฟิสิกส์จะเรียน 4 - 6 ตัวแล้วแต่มหาวิทยาลัย จะแบ่งออกเป็น แคลคูลัส 2 - 3 ตัว, กระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับนักฟิสิกส์ (เป็นวิชาสำหรับฝึกให้เราแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ในรูปแบบสมการทางคณิตศาสตร์), การประมาณการเชิงตัวเลข (วิชานี้สำคัญมาก เนื่องจากในทางฟิสิกส์เรามีสมการที่สามารถหา Solution แบบตรง ๆ ได้มากมายมหาศาล การใช้เทคนิค Numerical Analysis จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาตรงนั้นได้) และถ้าเราชอบคณิตศาสตร์ ในภาคฟิสิกส์มีคณิตศาสตร์ขั้นสูงกว่านี้ให้เลือกเรียนอีกหลากหลายวิชา


ต่อไปจะขอพูดถึงวิชาที่เป็น "ฟิสิกส์" จริง ๆ นะครับ (มันแทบจะคนละมิติกับฟิสิกส์ที่เราได้เรียนในระดับมัธยมเลยครับ) แบ่งได้เป็นวิชาที่เป็น Milestone ทั้งหมด 4 วิชา คือ Classical Mechanics, Electrodynamics, Quantum Mechanics, Thermodynamics and statistical mechanics ทีนี้เราจะมาดูแต่ละวิชากัน


Classical Mechanics หรือกลศาสตร์ทั่วไป คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบ "ทั่ว ๆ ไป" ตั้งแต่พื้นเอียงโง่ ๆ ไปจนถึงการเคลื่อนที่ของดาว เมื่อเรียนวิชานี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงตัวที่ 2 (ถ้าหากเลือกลง) จะพบว่าระบบต่าง ๆ มีพฤติกรรมของคลื่นซ่อนอยู่เสมอ และด้วยการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนจะพาเราไปสู่โลกของกลศาสตร์ควอนตัมได้ในที่สุด


Quantum Mechanics หรือกลศาสตร์ควอนตัม ศึกษารูปแบบการเคลื่อนที่ของอนุภาค และพฤติกรรมของอนุภาคต่าง ๆ เป็นวิชาที่ซับซ้อนมาก และแตกสาขาแยกย่อยออกไปอีกมากมาย


Electrodynamics หรือ Electromagnetic field หรือ electricity and magnetism แล้วแต่ภาควิชาไหนจะเรียกมันว่าอะไร แต่ทั้งหมดคือวิชาเดียวกัน คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของอนุภาคประจุไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก-สนามไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปจนถึงพฤติกรรมแปลก ๆ ของอนุภาคประจุไฟฟ้า เช่น การแผ่รังสีของอนุภาคประจุไฟฟ้าที่กำลังเคลื่อนที่


Thermodynamics and Statistical Mechanics หรือ อุณหพลศาสตร์ และกลศาสตร์สถิติ เป็นวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ของพลังงาน และโลกในระดับไมโคร หนังเรื่อง Tenet คือการหยิบเอา "ส่วนหนึ่ง" ของวิชานี้ไปสร้างเป็นหนัง


สี่วิชาข้างต้น คือ วิชาที่เป็น Milestone ของภาคฟิสิิกส์ แต่ภาคฟิสิกส์ยังมีอะไรให้เรียนอีกมากตามแต่ความสนใจ เช่น Biophysics (เป็นการนำฟิสิกส์ไปอธิบายระบบทางชีววิทยา เป็นวิชาที่สนุก และซับซ้อนมาก ในไทยมีให้เรียนอยู่ไม่กี่ที่เท่านั้น เช่น ม.เกษตร ม.มหิดล), Semiconductor physics (ฟิสิกส์ของสารกึ่งตัวนำ - สารกึ่งตัวนำคืออุปกรณ์ที่ถูกเอาไปสร้างชิป แผงวงจรต่าง ๆ มากมาย), Astrophysics (ฟิสิกส์ดาราศาสตร์), Solid state physics and condense matter physics (ฟิสิกส์ของของแข็ง และฟิสิกส์ของสารควบแน่น พี่ไม่ค่อยรู้รายละเอียดของสองวิชานี้เท่าไหร่ เนื่องจากไม่เคยลงเรียน), Optics and Photonics (จะเรียนอุปกรณ์ทางแสงที่ "ไม่ได้" มีแค่กระจกและเลนส์, พฤติกรรมของแสง, การนำ "แสง" ไปประยุกต์ใช้, วิชานี้สามารถประยุกต์ไปหาเทคโนโลยีได้หลากหลาย เช่น ควอนตัมคอมพิวเตอร์), Atomic physics, Particles physics, Nuclear physics, Geophysics, Computational physics, Quantum field theory, Theory of relativity, Quantum Information ถ้าสนใจรายละเอียดพวกนี้ search วิกิพีเดียแบบภาษาอังกฤษลองอ่านแบบคร่าว ๆ ได้นะครับ วิชาพวกนี้พี่ไม่เคยลงเรียน (และยังมีวิชาอื่น ๆ ให้ได้เลือกเรียนอีกมาก)


ในบางมหาวิทยาลัยที่เป็นภาคฟิสิกส์ประยุกต์เราอาจได้เรียนวิชา Electronics แบบเข้มข้นอีกด้วย (แต่วิชาสายทฤษฎีอาจตัดทอนลง แล้วแต่หลักสูตรมหาวิทยาลัย)


อันนี้คือพูดถึงเฉพาะภาคฟิสิกส์นะครับ ถ้าเราไปดูเคมี หรือชีวะ เราก็จะเจอวิชาเฉพาะทางของสายนั้น ๆ เช่น เคมีอินทรีย์ และเคมีอนินทรีย์ เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีวิเคราะห์ หรือ อนุกรมวิธาน กายวิภาคศาสตร์ ชีววิทยาระดับโมเลกุล ไวรัสวิทยา หรือวิชาลูกผสมอย่าง ชีวเคมี


"โดยจุดมุ่งหมายของคณะวิทยาศาสตร์แล้ว คือ การสร้างนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยอาชีพ ที่มีความสามารถในแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางระดับสูง เช่น การสร้างวัคซีนต้านไวรัส มิใช่สร้างแรงงานในระบบอุตสาหกรรม"


ถ้าหากอยากทำงานในระบบอุตสาหกรรม ขอแนะนำให้เปลี่ยนไปเลือกเรียนคณะสายวิชาชีพอย่างวิศวกรรมจะตอบโจทย์ได้มากกว่าครับ การเรียนฟิสิกส์ หรือสายอื่น ๆ เพื่อออกมาทำงานเป็นวิศวกร จริงอยู่ที่สามารถทำได้ครับ แต่เราไม่ได้ถูกฝึกมาให้ทำงานด้านวิศวกรรม และความรู้ที่ได้เรียนมาก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานด้านวิศวกรรมด้วยครับ และข้อเสียเปรียบอย่างใหญ่หลวงคือ ถ้าหากเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถสอบรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือ ใบ กว. ได้ครับ แต่ถ้าหากอยากเรียนคณะวิทยาศาสตร์จริง ๆ จะขอแนะนำเป็นภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาสถิติ ภาควิชาการจัดการข้อมูล (จริง ๆ ก็คือ Data Science รู้สึกบางมหาลัยจะมีให้เรียนครับ) ภาควิชารังสีเทคนิค หรือคณิตศาสตร์ประกันภัยจะตอบโจทย์ได้มากกว่าครับ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเรียนในมหาวิยาลัย 4 ปี ไม่ว่าคณะไหน สาขาใด ใช้แรงกายแรงใจในการเรียนสูงมากครับ ขอแนะนำให้เลือกเรียนในสิ่งที่ชอบจะดีที่สุดครับ (ถ้าหากไม่รู้ว่าชอบอะไร แนะนำให้พยายามเข้าคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลครับ ช่วงปีแรกเราจะได้เรียนยำทุกสาขาวิชาแบบลึกซึ้งเท่ากันหมดครับ)

2
ผ่านทางมาอ่าน 30 เม.ย. 64 เวลา 01:25 น. 4-1

เพิ่มเติมนะครับ เห็นเราเข้าใจผิด จุลชีววิทยา และชีวเคมี ไม่ใช่สายประยุกต์นะครับ (จริง ๆ ควรจะเรียก ชีวเคมีว่า Interdisciplinary Science มากกว่าครับ) สายประยุกต์ คือ สาขาอย่างเช่น Food Science, รังสีเทคนิค, นาโนเทคโนโลยี, คณิตศาสตร์ประกันภัย, เคมีสิ่งแวดล้อม, เทคโนโลยีชีวภาพ อะไรงี้ครับ

0
ไม่ไหวแล้วค่ะ 30 เม.ย. 64 เวลา 20:42 น. 4-2

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ พอดีหนูไม่ค่อยชอบฟิสิกส์เท่าไหร่ เลยน่าจะไปสายชีวะ ไม่ก็เคมีค่ะ สต.ยังรู้สึกว่าในไทยไม่ค่อยเปิดสายประยุกต์มากเท่าที่ควรเลยค่ะในป.ตรี ตัวหนูลองหาข้อมูลมาเยอะเหมือนกันแล้ว จะมีในป.โท เท่าที่เห็นนะคะ

0
???? 30 เม.ย. 64 เวลา 09:43 น. 5



มีสาขาใหม่ในไทย เเละบูมมากที่ ต่างประเทศ คือสาขา ภูมิสารสนเทศ หรือ GI GEOINFORMATICS เรียนเกี่ยวกับ RSการรับรู้ระยะทางไกล GIS การบูรณาการความรู้ GNSSดาวเทียว สาขานี้เรียนกับโลกเเละอวกาศ มีหน่วยงานในไทยเช่น GISTDA NARIT อจ.เราเคยไปทำงาน NASAมาด้วย จบมา มีงานทำเเน่นอน เพราะ GI อยู่กับทุกที่บนโลกนี้เลยค่ะ ฝาก คณะวิทยาศาสตร์ สาขา ภูมิสารสนเทศ หรือ GI GEOINFORMATICS มทส ด้วยค่ะ https://fb.watch/5baqv0YmeK/

2
ไม่ไหวแล้วค่ะ 30 เม.ย. 64 เวลา 20:45 น. 5-1

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่า ยังไม่ค่อยเห็นในไทยเท่าไหร่นะคะ กลัวว่าจะไปไม่รอด สมมติถ้าไม่ได้มีทุน หรือขอทุนไปเรียนได้จบขนาดนั้น ขอบคุณค่ะ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

DTI 30 เม.ย. 64 เวลา 13:09 น. 7

เสนอสาขานี้ครับ วุฒิวิทยศาสตร์ อาชีพขาดแคลน รายได้สูง


https://www.facebook.com/DTIsiamU/posts/125381762985349

0
PatY 15 ก.พ. 67 เวลา 07:54 น. 9

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีอาหาร ก็ไม่ตกงาน ยิ่งถ้ามีทักษะด้านภาษาอังกฤษและบริหารจัดการด้วย เงินเดือนสูงมากค่ะ บริษัทถามหาคนกลุ่มนี้ไปทำงานตลอด

ลองไปดูค่ะ https://www.facebook.com/BiotABAC?mibextid=ZbWKwL

0