Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

7มหาลัยไทย ดีสุดด้านการแพทย์โดย THE อันนี้จริงมั้ยคะ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
https://campus.campus-star.com/education/136703.html

บางอย่างดูสวนทางคะแนนและความนิยมในไทย อย่าง มอ มน ก็คะแนนไม่สูงแต่ติด วชิระคะแนนสูงกว่า มธ ด้วยซ้ำแต่ก็ไม่ติด หรือเพราะตอนนั้น2020เค้ายังคิดในแนวว่าวชิระยังอยู่ร่วมกับมหิดล??

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

เบล 11 พ.ค. 64 เวลา 16:00 น. 1

คะแนนสูงต่ำในกสพท เป็นคนละเรื่องกับคุณภาพและชื่อเสียง เอามาเทียบกันไม่ได้


มอ คะแนนไม่สูงเพราะมันไกลจากกทม(และคะแนนที่ว่า เป็นคะแนนกสพท ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กกทมที่สมัครโควตาไม่ได้) แต่ในส่วนของโควตา เด็กในพื้นที่ที่คะแนนกสพทสูงๆได้จับจองไว้หมดแล้ว หลายๆคนก็ติดได้ทั้งฬ ศรร รามา บางคนได้ 80+ ก็มี แต่พวกเค้าอยากอยู่ใกล้บ้านเค้าก็เอาโควตา ไม่ได้รอมาถึงรอบกสพท


ถ้าเอาในวงการแพทย์ มหัวเมืองอย่างมช มข มอ ศักดิ์ศรีเป็นtier2 รองจากฬ ศรร รามา มาตั้งนานแล้ว ในบางสาขาวิชา อาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ


ยกตัวอย่างเช่น แพทย์รังสิต ราชวิถี ถ้าดูจากคะแนนสูงต่ำ ก็ต่ำกว่ามรัฐทุกที่ แต่ถ้ามองในแง่คุณภาพ แพทย์รังสิตเปิดมาเกือบสามสิบปี และขึ้นชั้นคลินิกที่รพราชวิถี ซึ่งเป็นรพที่มีทรัพยากรพร้อมมากกว่าคณะแพทย์เปิดใหม่ของมรัฐหลายที่ แต่คะแนนก็ไม่ได้สูง เพราะเป็นเอกชน


มน ไม่ทราบรายละเอียด

4
Narmmon_N 11 พ.ค. 64 เวลา 16:20 น. 1-1

งั้นถ้ามองความเชื่อถือทั่วไป การรับเข้าทำงาน รวมถึงการรับเข้าโรงพยาบาลเอกชน(ซึ่งน่าจะเป็นตัววัดคุณภาพได้มั้งคะ?) จะยอมรับม.หัวเมืองมากกว่าพวกที่ไม่ได้ท็อบมากอย่างวชิระและอื่นๆเหรอคะ

0
เบล 11 พ.ค. 64 เวลา 16:50 น. 1-2

ปัจจัยมันมีอีกหลายอย่างมาก ถ้ารัฐบาลคือไม่ต่างกัน


GPรับจ๊อบเอกชนก็คิดว่าไม่ต่างนะ แต่ถ้าเป็น full-time specialist กรณีเข้าเอกชนนี่ ถ้าไม่ใช่รพระดับรพกรุงเทพ บำรุงราษฎ์ มหาลัยที่จบปตรีไม่ได้มีผลมาก ขึ้นอยู่กับสาขาเฉพาะทางมากกว่า(ซึ่งชื่อมหาลัยมันจะมีผลทางอ้อมอีกทีตอนเข้าเฉพาะทาง) สมมติว่าเค้ารับหมอจบบอร์ดskin ตราบใดที่น้องได้บอร์ดสกิน(ซึ่งทั้งประเทศมีแค่ประมาณสามสิบคน) เค้าก็คงไม่สนใจมหาลัยปตรีน้องแล้วหล่ะ


จริงอยู่ที่ว่าการเข้าทำงานในเอกชนมีคอนเนคชั่น แต่มันก็ขึ้นอยู่กับว่าน้องจะไปตั้งหลักปักฐานที่ไหนด้วย อย่างเอกชนในเชียงใหม่ ส่วนมากก็มีแต่หมอมช เอกชนในสงขลา ก็มีแต่หมอมอ เอกชนในกทมก็รวมๆกันไป คือมันแล้วแต่สถานที่ และคอนเนคชั่นกับรรพละแวกนั้น วัดกันไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าน้องต้องการไปทำงานที่ไหน


มชมขมอ กับวชิระ มธ ไม่ได้ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญขนาดนั้น มันขึ้นอยู่กับระหว่างทางด้วย

สมมติน้องอยากเรียนต่อเฉพาะทางที่ฬ


น้องเรียนฬ จบมาด้วยเกรด2นิดๆ ตอนคลินิกperformanceไม่ดี โดดราวน์บ้าง มาสายบ้าง ตอนelectiveก็เลือกแต่รพที่ไปเที่ยวได้ ตกNLไปครั้งนึง ต้องมาซ่อม รพที่ขอทุนไม่ให้ทุนเพราะไม่ค่อยดูคนไข้

กับน้องจบมที่ไม่ได้ดังมาก ด้วยเกียรติ1 เหรียญทองคณะ มาelectiveจนอจจำหน้าได้ แล้วperformanceดี คะแนนNL เปอร์เซ็นไทล์99ของประเทศ ไม่มีทุน เข้าทางฟรีเทรน


เชื่อว่าอจคงเลือกอย่างหลัง



0
Narmmon_N 11 พ.ค. 64 เวลา 18:30 น. 1-3

เข้าใจมากขึ้นค่ะ แต่เคสเอกชนที่คุณเบลพูดถึงคือต่อเฉพาะทางแล้ว แต่ถ้าเป็นหมอทั่วไป จะมีความต่างกันอย่างมีนัยยะไหมคะ ในการพิจารณา ในกรณีเกรดเท่าๆกัน

0
เบล 11 พ.ค. 64 เวลา 18:52 น. 1-4

รพเอกชน กรณีหมอทั่วไป ไม่มีใครเค้าดูเกรดหรอก เค้าขอแค่ใบประกอบโรคศิลป์ อาจจะมีบางที่ที่ไม่รับจากจีน ฟิลิปปินส์ แต่ถ้าจบในประเทศคงไม่มีปัญหาไม่ว่าจากที่ไหน แต่อันนี้คือในกรณีที่ไปรับเวรERหรือไปรับเวรOPDทั่วไป


น้องต้องเข้าใจก่อนว่า รพเอกชนใหญ่ๆ ไม่ค่อยรับหมอทั่วไปอยู่แล้ว เพราะคนไข้เค้าเสียเงินมาแพงกว่ารพรัฐไม่รู้กี่เท่า เค้าก็อยากเจอหมอเฉพาะทาง อย่างเครือรพบำรุงราษฎ์ รพกรุงเทพ รพพญาไทไรงี้ คือปิดจ๊อบไปได้เลย เพราะERเค้าก็มีหมอER,เป็นหวัดเค้าก็มีหมอเมด ในบางครั้ง มีหมออายุรกรรมมารับจ๊อบในคลินิกopdทั่วไปตามโรงพยาบาลเอกชนในกทมด้วยซ้ำ กรณีที่ยังหาตำแหน่งลงไม่ได้


ใช่ มันมีกรณีที่หมอหาที่ลงไม่ได้เช่นกัน (ถ้าน้องเลือกที่ทำงานอ่ะนะ แต่ถ้าทำงานที่ไหนก็ได้ ยังไงมันก็ไม่มีปัญหา) โลกมันไม่ได้สวยงามขนาดนั้น เช่นน้องจบcvt(ผ่าหัวใจมา) แบบฟรีเทรน คือต้องหางานเอง คณะไม่ได้รับเป็นอาจารย์ต่อ แล้วน้องไม่อยากอยู่รพรัฐในต่างจังหวัด อยากอยู่เอกชนในกรุงเทพ เพราะลูกเมียอยู่กทมหมด หรืออะไรก็ตาม มันไม่ใช่ว่าน้องจะเข้าได้เลย เพราะอย่างผ่าหัวใจ มันไม่ได้มีแค่น้องคนเดียวก็ทำได้ ไม่ได้สมัครปุ๊ปเค้ารับทันที เพราะมันต้องมีพยาบาลที่เคยทำเคสพวกนี้ ต้องมีพนงที่ปรับecmoปรับอะไรได้ ต้องมีหมอดมยาที่ดมยาเคสแบบนี้ได้ ต้องมีอุปกรณ์เฉพาะอีกมากมาย เราไม่ได้ทำงานคนเดียว ดังนั้นรพเอกชนที่มีพวกนี้พร้อมมันก็จะจำกัด ตำแหน่งแพทย์ก็ไม่ได้มาก แพทย์บางคนที่จบcvt ก็อาจจะต้องมาตรวจโรคทั่วไปเหมือนหมอทั่วไปไปพลางๆ ก็พบได้เช่นกัน


ส่วนเอกชนที่ไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจว่าตอนนี้ แพทย์ผลิตมาเยอะมากในแต่ละปี จากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มต่างๆ แต่ที่เรียนเฉพาะทางเท่าเดิม ดังนั้นกว่าน้องจะจบ แพทย์ทั่วไปจะมากกว่าตอนนี้หลายพันคน เกรงว่าถึงตอนนั้น แพทย์ทั่วไปที่ไม่ได้เรียนเฉพาะทาง จะแทบไม่มีจุดยืนในเอกชน ยกเว้นว่าเป็นรพเอกชนตามต่างจังหวัดในจังหวัดที่ไม่ใหญ่มาก หรือเปิดคลินิกเองแล้วรุ่ง หรือยอมเปลื่ยนเวลาชีวิต ไปอยู่ERดึก แล้วนอนตอนเช้า


เพราะมันคือกลไกของรัฐ ที่พยายามบีบหมอเข้ารพรัฐทางอ้อม เพื่อกระจายหมอนั่นเอง

0
กัลย์ 11 พ.ค. 64 เวลา 17:12 น. 2

7 มหาลัยไทย ดีสุดด้านการแพทย์ โดย THE

ต้องดูว่าสถาบันนี้ วัดคุณภาพ มาตรฐาน จากข้อมูล รายละเอียด ตัวชี้วัดอะไรบ้าง

สถาบันหลัก ใหญ่ๆ ของรัฐ จะได้เปรียบกว่า สถาบันเล็กๆ


9
กัลย์ 11 พ.ค. 64 เวลา 18:52 น. 2-1

หลักสูตรแพทยศาสตร์ ที่ผ่านการรับรองจากแพทยสภา

และผ่านเกณฑ์มาตรฐานขั้นพื้นฐาน WFME ซึ่งย่อมาจาก World Federation for Medical Education เป็นองค์กรสากลที่รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทย์ทั่วโลก


โรงเรียนแพทย์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานนี้ นักศึกษาที่จบจากโรงเรียนแพทย์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานนี้ ที่ได้รับการรับรองนี้ จะสามารถศึกษาต่อเนื่องในต่างประเทศได้เลย โดยเฉพาะยุโรปและอเมริกา ก็ถือว่า ดีมากแล้ว แม้แต่สถาบันเล็กๆ หลายแห่งเช่น แพทย์แม่ฟ้าหลวง

ที่มา https://www.mfu.ac.th/news/news-detail/detail/News/1835.html


0
เบล 11 พ.ค. 64 เวลา 19:11 น. 2-2

ขอเพิ่มเติมคุณกัลย์ว่า จริงอยู่ที่ว่าแค่มีชื่อในwfmeก็สามารถสมัครได้ แต่ในระหว่างทางมัน แต่ละที่ก็มีอะไรต่างกันอยู่ เพราะสมัครได้ กับได้เรียนมันก็ต่างกัน แต่ก็ต้องสอบ usmle ทั้ง 3 steps ให้ผ่านเหมือนกันทุกที่


ในกรณีนี้พูดถึงอเมริกา


แต่ในสถาบันใหญ่ๆ อาจจะได้เปรียบตรงที่มีรุ่นพี่ที่เคยไป ทำให้มีคนguideและรู้แนวทางได้ดีกว่า เพราะการเรียนต่อเฉพาะทาง มีหลายปัจจัย คร่าวๆก็คือ

1.คะแนนusmle - อันนี้อยู่ที่ตัวเองว่าอ่านมากอ่านน้อย คณะไม่ค่อยมีผล

2.LOR - หรือจดหมายแนะนำ กรณีโรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆ สัดส่วนอจที่จบเฉพาะทางจากเมกาจะมากกว่า ซึ่งจดหมายแนะนำตัวจากอจที่จบจากสถาบันในอเมริกา(โดยเฉพาะที่เดียวกับที่เรายื่น) ก็มักจะstrongกว่าอจที่จบจากในไทย

3.USCE - หรือการไปฝึกงานหรือเรียนวิชาเลือกที่นู่น ซึ่งมีผลต่อการเรียกสัมภาษณ์ โรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆ มีแนวโน้มที่จะทำ MOU กับมหาลัยที่นู่นมากกว่า เช่น top3 ก็มี mou กับ harvard หรืออย่างมชก็มีmouกับstanford

4.research - รรพแพทย์ใหญ่ๆ มักมีงบและเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมกับการทำวิจัยมากกว่า(อจในรรพจะต่างจากรพศตรงที่รพศจะเน้นบริการคนไข้มากกว่า ไม่เน้นการทำวิจัย ซึ่งรพศก็เป็นที่ขึ้นชั้นคลินิกของคณะแพทยหลายที่) และอจในรรพแพทย์ใหญ่ๆ ก็มักมีคอนเนคชั่นกับอจที่นู่นมากกว่า ทำให้เวลาที่เราอยากเพิ่มโปรไฟล์ในการไปเรียนต่อ เราสามารถติดต่ออจได้เลยว่าให้ส่งเราไปทำงานกับคนรู้จักอจที่นู่นหน่อย

5.แพทย์หลายคนมักต้องการเวลาในการเตรียมตัวสอบและอัพโปรไฟล์ก่อนที่จะไปเรียนเฉพาะทางที่เมกา จึงเลือกที่จะใช้ทุนกับภาควิชาพรีคลินิก เพราะค่อนข้างว่าง ซึ่งมีเฉพาะในโรงเรียนแพทย์ใหญ่ๆ การเป็นลูกหม้อก็ย่อมมีโอกาสได้คัดเลือกมาก ทำให้มีเวลาอ่าน


แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนแพทย์เปิดใหม่จะไม่มีโอกาส เมื่อปีก่อนก็มีคนจบจากมบูรพาmatchได้เช่นกัน และมีการworkshopทุกปีโดยไม่ได้แบ่งแยกคณะ นศพทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ แต่จะชี้ให้เห็นว่าคณะแพทย์ใหญ่ๆ มันย่อมมาความสะดวกสบายระหว่างทางมากกว่าคณะแพทย์เล็กๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคณะแพทย์เล็กๆจะทำไม่ได้

0
เบล 11 พ.ค. 64 เวลา 19:23 น. 2-3

ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเผื่อมีเด็กๆคนไหนสนใจ


อย่างปีล่าสุด(2021) คณะแพทย์ในไทยที่มีคนไปเรียนเฉพาะทางที่เมกาได้ มีแค่ ฬ ศรร รามา มช


แต่ขอเน้นย้ำว่า นี่ไม่ใช่ตัวบอกคุณภาพคณะ เพราะมีหลายปัจจัย คนเก่งๆหลายคนไม่ไปก็มี เพราะในบางสาขา เช่น ศัลย สูติ ออโถ ตา สกิน ถึงเก่งให้ตายยังไง เค้าก็ไม่รับ สิบปีคนไทยจะได้ซักคน เพราะมันเป็นสาขาแข่งขันสูงที่คนเมกายังแย่งกันเอง คนที่อยากเรียนสาขาพวกนี้เค้าก็เรียนในไทย คนที่ไปเมกาส่วนมากมักจะเป็นคนที่เรียนเมดหรือเด็ก ถึงเน้นย้ำว่า นี่ไม่ใช่ตัวบอกคุณภาพคณะ แต่ยกตัวอย่างเป็นfactเฉยๆ เพื่อให้ดูเทรนและแนวโน้มเรื่องว่าคณะใหญ่ มันอาจจะมีแนวโน้มที่สัมพันธ์กันบางอย่าง

0
Narmmon_N 11 พ.ค. 64 เวลา 22:01 น. 2-5

ขอบคุณทั้งสองท่านค่ะ แต่จากที่คุณเบลพูดดูเหมือนมช จะโอเคกว่า มข มช มีMOU แต่มขไม่มี? แต่เคยอ่านเจอข่าวตอนปี62ของสยามรัฐ ว่ามข ขยับอันดับโลกขึ้นมา และอันดับในประเทศตอนนี้ก็เทียบเท่า มช แต่เอาจริงคงจะมีการเหลื่อมๆกัน ในการมองลึกๆใช่มั้ยคะ

https://siamrath.co.th/n/118326

0
เบล 12 พ.ค. 64 เวลา 07:32 น. 2-6

เอ่อ ชีวิตจริงมันไม่มีใครมานั่งดูขนาดนั้น คือคนเรียนมันก็เรียนไป เพราะพอมาเรียนแพทย์แล้วมันไม่ได้อยากจะเป็นที่ 1 หรืออะไรอีกแล้ว ก็นั่งทำเกรดให้ไม่แย่เฉยๆ ไม่มีใครเค้าสนใจอะไรพวกนี้กันซักเท่าไหร่ว่าอันดับนี้ๆ เพราะแค่การเรียนในชีวิตประจำวันก็ไม่ไหวแล้ว นี่มันหน้าที่ของคณบดีและผู้บริหารที่ต้องมาสนใจ ไม่ใช่นศพ


และเชื่อว่ามข มอ ก็มีเช่นกัน แต่พอดีไม่รู้ว่ามีกับที่ไหนบ้าง เลยไม่ได้พิมพ์ออกไป มหาลัยอื่นๆอาจจะมีด้วยก็ได้ แต่แค่ยกตัวอย่างเฉยๆว่าแนวโน้มคณะใหญ่ๆมักจะมีมากกว่า


อย่างแพทย์ไทยสัญชาติไทยที่matchได้ศัลย์ที่อเมริกาเมื่อสองปีที่แล้ว น่าจะเป็นคนเดียวในรอบสิบปี ก็จบมอ คือคณะมันเป็นแค่ส่วนหนึ่งในหลายๆปัจจัยมากๆ

0
กัลย์ 12 พ.ค. 64 เวลา 08:51 น. 2-7

ความเห็นส่วนตัว

เรื่องการเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทย

โลกแห่งความเป็นจริง เส้นสาย สำคัญมากที่สุด

0
เบล 12 พ.ค. 64 เวลา 10:26 น. 2-9

เส้นสายในวงการแพทย์เยอะจริง ในกรณีที่เป็นเส้นจากคนรู้จัก ลูกอาจารย์ หลานคณบดี อันนี้คงทำอะไรไม่ได้ แต่มันมีเส้นอีกแบบ ที่เราสามารถ "สร้างขึ้นเอง" ได้


ประสบการณ์ส่วนตัวตอนที่พี่รหัสพี่เรียนจบ วันรับปริญญา พี่เอาดอกไม้ไปให้เค้า ตอนนั้นมีอ.หัวหน้าภาคeyeมาหาพี่เค้าพอดี ซึ่งeyeขึ้นชื่ออยู่แล้วเรื่องการแข่งขันสูงและเส้นเยอะ อ.คนนั้นเข้ามาจับมือพี่รหัสพี่ แล้วบอกว่าใช้ทุนเสร็จแล้ว มาอยู่กับพี่นะ มาเรียนที่นี่ ไม่อยากให้ไปไหนเล๊ย พร้อมกอดพี่รหัสพี่ เค้าไม่ได้รู้จักกันมาก่อน ไม่ได้เป็นญาติ ไม่ได้มีผู้ใหญ่ฝากฝัง สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นจากสิ่งที่เราทำตัวตอนเรียนชั้นคลินิกเท่านั้น แน่นอนว่าอีก 2-3 ปีหลังใช้ทุน ถ้าพี่รหัสพี่คนนี้อยากกลับมาเรียนeye แน่นอนว่าสมมติคณะรับ 10ที่นั่ง 1ที่นั่งก็จะเป็นของพี่รหัสพี่ไปแล้ว เพราะมันคือสัญญาใจอย่างนึง สิ่งนี้ คนอื่นจะมองว่าเป็นเส้นเช่นกัน 


หรืออีกครั้งนึง อยู่เวรนั่งคุยกับอ.ในห้องพักแพทย์ เป็นช่วงการสัมแพทย์เฉพาะทาง อ.มีโทรศัพท์จากเพื่อนอ.โทรมาถามว่าcandidateที่สมัครคนเนี้ย เป็นไง อ.พี่ตอบไปว่า guอยากได้มันจะตายแต่มันไม่ยอมมาเรียนที่นี่ ถ้าmgไม่รับมันก็คือโง่มาก


มองในอีกแง่ มันเป็นของตอบแทนจากการทำตัวดีมีความรับผิดชอบของเรา เพราะการเรียนเฉพาะทาง มันไม่ใช่การที่อ.สอน เด็กนั่งฟัง แต่มันคือการที่หาคนมาช่วยเราทำงาน 3-5 ปี เค้าก็อยากได้คนที่ทำงานกับเค้าได้อย่างสบายใจ


ขอยกตัวอย่างเรื่องการสร้างโปรไฟล์การเรียนต่อเฉพาะทางจากเพจ 1412 Cardiology มาบางส่วน(เจ้าของเพจเป็นอ.cardiomedที่ศิริราช)


1412 เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 กำลังจะขึ้น extern ที่สำคัญไม่ได้เรียนอยู่ที่จุฬา โอกาสที่จะได้รับคัดเลือกยิ่งเลือนรางเข้าไปใหญ่ เพราะอาจารย์อาจจะมองๆเด็กของเค้าเอาไว้อยู่แล้ว 1412 จะทำยังไงเพื่อชนะใจอาจารย์คณะกรรมการคัดเลือก เรามาดูกัน

(1) หน้าตา อันนี้ผ่านอยู่แล้วครับ รับรองได้ว่าถ้าอาจารย์อายุรศาสตร์จุฬาได้เห็นตัวจริงผม ผอมๆ ตี๋ๆ ฉายายิ้มไอติมละลาย ซื้อข้าวโพดคั่วตลาดวังหลังมีแถมตลอด โอเค อาจจะดูบ้านๆ ดูห้าบาทสิบบาทไปซักนิดนึง แต่ น่ารัก น่าชัง ใครเห็นก็รู้สึกเอ็นดูนะครับ นิสิตแพทย์ปี 5 จุฬารุ่นนี้ เอาตรงๆนะ ไม่ได้กินผมแน่นอน (เพิ่มเติมจากเพจโดยผมเอง บางสาขามี beauty privilegeจริง หรือแม้กระทั่งอคติทางเพศ)


(2) เกรด และ คะแนนสอบ ศรว. เรื่องนี้ผมอยากพูดมานานแล้ว น้องนักเรียนแพทย์ทุกคนฟังพี่ดีๆนะ ถามว่าเกรดสำคัญมั๊ย "สำคัญ" นะครับ และ สำคัญมากด้วย คำพูดหล่อๆที่ว่า การเรียนแพทย์เกรดไม่ใช่เรื่องใหญ่ ไม่เป็นความจริงนะครับ ยิ่งทุกวันนี้อัตราการแข่งขันเข้าเรียนต่อสูงขึ้นไปเรื่อยๆ บางสถาบันเกียรตินิยมอันดับ 1 เกือบครึ่งรุ่น

GPA คือเส้นที่น้องสามารถสร้างเองได้ คือใบเบิกทางให้น้องกระโดดออกมาจากกลุ่ม นักเรียนแพทย์เป็นร้อยเป็นพัน อาจารย์จำน้องไม่ได้ทุกคนอยู่แล้ว GPA จะทำให้เราผ่านสกรีนนิ่งขั้นต้นมาได้ทั้งหมด หรือถ้าไปศึกษาต่อต่างประเทศ GPA จะเป็นตัวกำหนด MSPE หรือ Dean's Letter

อาจารย์เกือบทุกท่านรู้ดีครับว่าเกรดไม่ใช่ตัวชี้วัดที่แม่นยำนักในการบอกความสามารถของเด็ก แต่ก็เป็นตัวที่ดีที่สุดตัวหนึ่งที่เรามีอยู่ ในสายตาอาจารย์ น้องนักเรียนแพทย์ที่ได้เกรดสูงมากๆ เป็นการบอกทางอ้อมว่าเค้ามีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมายดีในระดับหนึ่ง ภาระที่ว่าก็คือการสอบนั่นเอง นอกจากนั้นเกรดในชั้นคลีนิค ยังบอกถึง EQ และการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้อง และ พยาบาล ได้เป็นอย่างดี ส่วนเรื่องความรู้กับเกรดตอนเป็นนักเรียนแพทย์ อาจจะยังบอกยากต้องรอดูไปอีกซักพัก

เทคนิคในการทำเกรดให้ได้ดี อย่างแรกต้องไม่เครียด รู้วิธีเรียน รู้วิธีการทำข้อสอบให้ได้คะแนนสูง วิชาแพทย์นั้นกว้างเป็นทะเล แต่เอามาออกสอบจริงๆไม่ได้มากนัก เปรียบเหมือนยุทธวิธีในการเข้าตีในสนามรบ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ที่สำคัญต้องช่วยกันเรียน แชร์ความรู้ของเราออกไปให้เพื่อนๆมากที่สุด ติวกัน แลกเปลี่ยนกัน ความรู้ทางการแพทย์ ยิ่งแชร์หรือแบ่งปันออกไปเราเองนั่นแหละที่จะยิ่งเก่งขึ้น สำหรับการเรียนในชั้นคลีนิค เชื่อพี่ ให้คิดว่าคนไข้ในความดูแล เป็นคนไข้ของเราจริงๆ ไม่ใช่คนไข้ที่เราถูก assigned ให้มาทำการบ้านส่งครู ถ้าน้องมีอินเนอร์หรือรู้สึกได้แบบนี้ พฤติกรรมจะเปลี่ยนทันที วันนี้ทำไมลุงไม่ดีขึ้น แลบตัวนี้ได้รึยัง ทำไมส่งไปแล้วยังไม่ได้ นัด MRI ได้วันไหน เร่งให้เร็วขึ้นได้มั๊ย คุณลุงย้ายออกได้มั๊ย หน่วยนี้มาดูว่ายังไง ทำไมถึงแนะนำแบบนี้ ตามจิก เก็บงาน รายงานพี่หัวหน้าวอร์ดเราเป็นระยะๆ ด้วยความเป็นห่วงคนไข้ของเราจริงๆ ที่สำคัญ ความรู้ไม่มีไม่เป็นไร แต่ต้องมาทำงานก่อนทุกคน พี่ให้มาหกโมง เรามาตีห้าครึ่ง กลับหลังคนอื่น คอยเคลียร์งานที่ค้างของวอร์ด มีอะไรที่ช่วยเพื่อนหรือพี่ๆได้ อาสาทำให้หมด ถ้าน้องทำได้แบบนี้ นอกจากจะได้ความรู้มากอย่างนึกไม่ถึง และ สนุกในการทำงานแล้ว ซื้อใจพี่ๆและอาจารย์แน่นอน


(3) Letter of Recommendation (LoR) 3 ฉบับ เลือกหัวหน้าภาคหนึ่งฉบับ อีกสองฉบับเลือกอาจารย์ที่รู้จักน้องดีที่สุด นี่เป็นหลักการพื้นฐานในการขอจดหมายแนะนำตัวเลย ระดับการเขียนจดหมายแนะนำตัว อาจารย์บางท่านเค้ามี template ดีมาก ดี ปานกลาง ก็ว่ากันไป แต่ถ้าพิเศษจริงๆ อาจารย์จะเขียนใหม่ให้เองเลย LoR จะออกมาเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับ เกรด คะแนนสอบ และ performance บนวอร์ด ระดับสมัครแพทย์ 4 อาจารย์เค้าโทรถามกันอยู่แล้วครับ บางทีโทรก่อนที่น้องจะมาสัมภาษณ์ซะอีก เราต้องทำให้อาจารย์ตอบว่า "... ผมเสียดายเด็กคนนี้ที่สุด เพราะผมอยากได้เค้ามาก" นี่คือระดับสูงสุดของ Letter of Recommendation ทางโทรศัพท์


(4) Publication ในยุคนี้และอนาคตข้างหน้า เรื่องนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ อย่างน้อยอาจารย์จะรู้ว่าเด็กคนนี้มีศักยภาพในการทำวิจัย ศักยภาพที่ว่าไม่ใช่ความรู้นะครับ ถ้าใครเคยทำวิจัยในเมืองไทย จะรู้ว่ามันคือการต่อสู้กับระบบแย่ๆในทุกหน่วยงาน ต่อสู้กับสิ่งต่างๆที่มองไม่เห็นอีกมากมาย รู้วิธีเขียนขอทุน รู้วิธีเขียน manuscript เขียน abstract ให้ได้ accepted ในวารสาร หรือ การประชุมต่างๆ ขึ้นปี 4 เดินไปหาอาจารย์สาขาที่เราอยากเรียนต่อ บอกตรงๆกับอาจารย์เลยว่า ผมอยากช่วยอาจารย์ทำวิจัยครับ เริ่มจากงานเบ๊ทุกอย่างอะไรก็ได้ผมทำได้หมด หรือ ขอเคสอาจารย์มาเขียนหรือ write up ส่งตีพิมพ์วารสารของไทย เป็นต้น


(5) ลูกหม้อ แน่นอนว่าถ้าเป็นนิสิตแพทย์จุฬาหรือลูกศิษย์โดยตรงของอาจารย์เค้า ย่อมได้เปรียบกว่าอยู่แล้ว อันนี้เป็นความจริงที่ต้องยอมรับ แต่เชื่อเถอะว่าอาจารย์ทุกคนเปิดใจรอรับลูกศิษย์ต่างสถาบันแน่นอน ถ้าเจ๋งจริงและหน้าตาดีพอ อย่าง 1412 เป็นต้น


(6) ทัศนคติ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก นอบน้อม ถ่อมตัว มีมารยาท ให้เกียรติคนไข้ เคารพรุ่นพี่ และ ถ้าคุณเก่งมากด้วย นี่คือที่สุดแล้ว ที่อาจารย์อยากได้ จำไว้เลยนะครับ


(7) รู้จุดอ่อนของตัวเอง ไม่มีใครไม่มี weakness อยู่ที่จะรู้ตัวรึเปล่า นอกจากรู้จุดอ่อน ต้องรู้จุดแข็งของตัวเอง รู้ว่าตัวเองชอบอะไร มี passion มีมุมมอง มีเป้าหมาย หรือ position ตัวเองในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้าได้ ว่าต้องการทำอะไร หรือ อยากเป็นอะไร ตรงนี้ถ้าชัดเจนใน personal statement และตอนสัมภาษณ์ อาจารย์ชอบนะครับ โดยเฉพาะยังสตาฟรุ่นใหม่ๆ

( เส้น ... ถ้าผ่านเจ็ดข้อแรกมาได้ พูดตรงๆคุณไม่ต้องไปกลัวคำว่าเส้น ลืมไปได้เลย

1412

0