Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ที่มาของคำว่า\"ยังเติร์ก\"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ความคิดเห็นที่ 1

เป็นกลุ่มทหารหนุ่มตุรกีที่ล้มล้างระบบสุลต่านจากจักรวรรดิ์ออตโตมาน เรียกตัวเองว่ากลุ่มยังเติร์ก มาในไทยจึงใช้กับกลุ่มคนในทำนองว่าเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ความคิดใหม่

จากคุณ : ยิบยอง - [ 28 ส.ค. 48 11:04:42 A:203.113.81.167 X: TicketID:039458 ]




ความคิดเห็นที่ 2

คำว่ากบฏยังเติร์ก เป็นคำเรียกที่ได้รับอิทธิพลมาจากการปฎิวัติของเคมาล ปาซา นายทหารหนุ่มของตุรกี ที่ไม่พอใจระบบศุลต่านและเห็นว่าเป็นเหตุให้อาณาจักรออตโตมัน (ตุรกีในสมัยนั้น) อ่อนแอและพ่ายแพ้ต่อมหาอำนาจอย่างอังกฤษในสงครามโลก
ภายหลังการปฏิวัติสำเร็จ ทำให้เคมาลและการกระทำของเขาและพรรคพวกได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพลังของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาขับไล่พวกศักดินารุ่นเก่าให้ตกไปจากสังคม และจะช่วยดึงเอาประเทศด้อยพัฒนาหลุดพ้นออกมาเทียมหน้าตาคนอื่นเขาบ้าง
ชื่อยังเติร์กเลยเป็นที่นิยมในการเรียกนายทหารรุ่นใหม่ที่มีความคิดทางการเมือง ซึ่งในไทยช่วงนั้น นายทหาร จปร.รุ่น 7 ที่มี พ.อ.มนูญ รูปขจร พ.อ.จำลอง ศรีเมือง พ.อ.ประจักต์ สว่างจิตรเป็นแกนนำ และมีบทบาทมาตั้งแต่หลัง 14 ตุลา 16 (หรือในเหตุการณ์ด้วยก็ไม่ทราบเพราะไม่มีใครออกมายืนยันนอกจากเอกสารแสดงความคิดเห็นบางแหล่ง เช่น กังหันต้องลม ที่พยายามจะกล่าวถึง พล.ท.วิฑูร ยะสวัสดิ์ ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในวันนั้นด้วย ซึ่ง จปร.7 ส่วนใหญ่จะเป็นทหารที่เข้าร่วมรบในลาวที่มี พล.ท.แม้ว ผู้นี้เป็นผู้นำ)
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 จปร. 7 เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำนายทหารระดับคุมกำลัง (กองพัน) ซึ่งขณะนั้น จปร. 5 ซึ่งเป็นคู่กัดตลอดกาลกำลังเซ อันเนื่องมาจาก พ.อ.ณรงค์ กิติขจร ซึ่งเป็นหัวขบวนรุ่น 5 ต้องระเห็จไปนอกตาม 2 จอมพลไปด้วย
จปร. 7 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรบที่สำคัญและได้รับการกล่วขวัญถึงความกล้าหาญในหมู่ทหารหลายครั้ง เช่น พ.อ.จำลอง ในสมรภูมิภูผาที ฐานเรดาห์ของซีไอเอในลาวที่ถูกทหารเวียดนามเหนือตีแตก (จากบันทึกของซีไอเอ ระบุว่าทหารรบพิเศษของไทยไม่ได้ปะทะกับข้าศึกสักเท่าไร เมื่อเทียบกับทหารม้งของวังเปาและซีไอเอเอง ขณะที่ พ.อ.จำลองถึงกับบันทึกไว้ในประวัติชีวิตของตนเองว่า ถ้าเป็นสงครามที่เปิดเผยเขาจะต้องได้เหรียญซิลเวอร์ สตาร์ ซึ่งเป็นเหรียญกล้าหาญขั้นสูงของสหรัฐจากสมรภูมินี้ไปแล้ว

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:06:52 ]




ความคิดเห็นที่ 3

คำว่ากบฏยังเติร์ก เป็นคำเรียกที่ได้รับอิทธิพลมาจากการปฎิวัติของเคมาล ปาซา นายทหารหนุ่มของตุรกี ที่ไม่พอใจระบบศุลต่านและเห็นว่าเป็นเหตุให้อาณาจักรออตโตมัน (ตุรกีในสมัยนั้น) อ่อนแอและพ่ายแพ้ต่อมหาอำนาจอย่างอังกฤษในสงครามโลก
ภายหลังการปฏิวัติสำเร็จ ทำให้เคมาลและการกระทำของเขาและพรรคพวกได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพลังของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาขับไล่พวกศักดินารุ่นเก่าให้ตกไปจากสังคม และจะช่วยดึงเอาประเทศด้อยพัฒนาหลุดพ้นออกมาเทียมหน้าตาคนอื่นเขาบ้าง
ชื่อยังเติร์กเลยเป็นที่นิยมในการเรียกนายทหารรุ่นใหม่ที่มีความคิดทางการเมือง ซึ่งในไทยช่วงนั้น นายทหาร จปร.รุ่น 7 ที่มี พ.อ.มนูญ รูปขจร พ.อ.จำลอง ศรีเมือง พ.อ.ประจักต์ สว่างจิตรเป็นแกนนำ และมีบทบาทมาตั้งแต่หลัง 14 ตุลา 16 (หรือในเหตุการณ์ด้วยก็ไม่ทราบเพราะไม่มีใครออกมายืนยันนอกจากเอกสารแสดงความคิดเห็นบางแหล่ง เช่น กังหันต้องลม ที่พยายามจะกล่าวถึง พล.ท.วิฑูร ยะสวัสดิ์ ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในวันนั้นด้วย ซึ่ง จปร.7 ส่วนใหญ่จะเป็นทหารที่เข้าร่วมรบในลาวที่มี พล.ท.แม้ว ผู้นี้เป็นผู้นำ)
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 จปร. 7 เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำนายทหารระดับคุมกำลัง (กองพัน) ซึ่งขณะนั้น จปร. 5 ซึ่งเป็นคู่กัดตลอดกาลกำลังเซ อันเนื่องมาจาก พ.อ.ณรงค์ กิติขจร ซึ่งเป็นหัวขบวนรุ่น 5 ต้องระเห็จไปนอกตาม 2 จอมพลไปด้วย
จปร. 7 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรบที่สำคัญและได้รับการกล่วขวัญถึงความกล้าหาญในหมู่ทหารหลายครั้ง เช่น พ.อ.จำลอง ในสมรภูมิภูผาที ฐานเรดาห์ของซีไอเอในลาวที่ถูกทหารเวียดนามเหนือตีแตก (จากบันทึกของซีไอเอ ระบุว่าทหารรบพิเศษของไทยไม่ได้ปะทะกับข้าศึกสักเท่าไร เมื่อเทียบกับทหารม้งของวังเปาและซีไอเอเอง ขณะที่ พ.อ.จำลองถึงกับบันทึกไว้ในประวัติชีวิตของตนเองว่า ถ้าเป็นสงครามที่เปิดเผยเขาจะต้องได้เหรียญซิลเวอร์ สตาร์ ซึ่งเป็นเหรียญกล้าหาญขั้นสูงของสหรัฐจากสมรภูมินี้ไปแล้ว

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:07:01 ]




ความคิดเห็นที่ 4

นอกจาก พ.อ.จำลองแล้วก็มี พ.อ.มนูญ รูปขจร ที่ว่ากันว่าผู้พันแห่ง มพัน 4 ท่านนี้กล้าหาญยิ่งนัก โดยเฉพาะเมื่อต้องนำกำลังรถถังเข้าปะทะกับทหารเวียดนามแถว ๆ ชายแดนเขมรบ้านเรานี่เอง ซึ่งปกติแล้วผบ.รถถังเมื่อนำเข้าปะทะข้าศึกจะปิดฝาเข้ามาในตัวรถ แต่ พ.อ.มนูญ จะไม่เคยเข้ามาเลย ใชช้วิธียืนบัญชาการอยู่ตลอดเวลาของการสู้รบ ทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชามาก
ส่วน พ.อ.ประจักต์ ก็ไม่น้อยหน้า แค่สมญานาม วีรบรุษแห่งตาพระยา ก็เป็นเครื่องการันตีได้แล้ว วีรกรรมที่โด่งดังมากที่สุดเห็นจะได้แก่กรณีที่พี่ท่านหอบเอาลังใส่ระเบิดมือเดินเข้าทำเนียบรับบาลเพื่อขอเข้าพบ มรว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
พ.อ.จำลอง (และ จปร.7) เข้าร่วมในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ด้วยจากคำบอกเล่าบนเวทีหาเสียงของนางจงกล ผู้สมัครคนหนึ่งของพรรคพลังธรรม ดันไปพูดหาเสียงว่ารู้จักกับ พ.อ.จำลองมาตั้งแต่ 6 ตุลา โดยเห็นว่า พ.อ.จำลองปลอมตัวไปปะปนกับลูกเสีอชาวบ้านที่ท่ชุมนุมที่พระรูปทรงม้า กรรมจริง ๆ หารู้ไม่ว่านี่เป็นภารกิจที่เป็นรอยด่างที่สุดในชีวิตของ พ.อ.จำลอง สงสัยไม่ได้เตี๊ยมกันมา แม่คุณจึงเล่าไปอย่างภาคภูมิใจ ก่อนที่จะรู้ตัวว่าพลาด ก็พบว่าเรื่องของตัวเองเป็นข่าวพาดหัว นสพ.รายวันทุกฉบับในเช้าวันรุ่งขึ้นไปซะแล้ว
ต่ออีกฉบับนะ คราวนี้กบฏแน่

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:07:21 ]




ความคิดเห็นที่ 5

การมีส่วนร่วม(หรือแค่สังเกตการณ์ เพราะนักประวัติศาสตร์บางท่าน วิเคราะห์ว่าเหตุการร์ 6 ตุลา 19 นั้น ทหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติการหลัก เพียงแค่เข้ามายึดอำนาจในตอนเย็นหลังจากเหตุการร์บานปลายไปมากแล้วเท่านั้น) จปร.7 ก็กลายมาเป็นกลุ่มทหารที่มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างล้นเหลือ ถึงขนาดกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีได้โดยการกดดันให้พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อเปิดทางให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นเป็นนายกฯ
ก่อนจะถึงเหตุการร์กบฎยังเติกร์ ขอย้อนกลับมานิดหนึ่งว่า ก่อนหน้านั้นเกิดความพยายามที่จะทำรัฐประหารขึ้นมาครั้งหนึ่ง โดยการนำของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ อดีตรอง ผบ.ทบ. โดยมีนายทหารคนสนิทที่เป็นที่รู้จักกันดีในวันนี้ คือ พ.ท.สนั่น ขจรประศาสน์ ซึ่งได้เข้าร่วมนำกำลังจากเมืองกาญจนบุรี พล.ร.9 เข้ามายึดสนามเสือป่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2521 การก่อการครั้งนั้น เกิดพลาดครั้งใหญ่ คือ พล.อ.อรุญ ทวาทะศิน ถูก พล.อ.ฉลาด ยิงเสียชีวิต ซึ่งม่เป็นที่ชัดเจนว่า พล.อ.อรุณ เข้าไปร่วมด้วยแต่เปลี่ยนใจภายหลัง หรือถูกบังคับแต่ต้น
ผลจากการเสียชีวิตของพล.อ.อรุณ ทำให้ภายหลังเมื่อมีการปราบปรามกบฎลงได้แล้ว ได้มีการประหารชีวิต พล.อ.ฉลาด โดยใช้มาตรา 21
ความเกี่ยวข้องของ จปร. 7 ในครั้งนี้ คือ พ.อ.มนูญ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ไปปราบกบฎ ซึ่งก่อนที่จะนำรถถังเข้าล้อมได้มีการตกลงกับ พ.อ.สนั่น ไว้ก่อนแล้วว่าให้ต่างฝ่ายต่างถอดชนวนปืนเพื่อไม่ให้ยิงใส่กันได้จริง ๆ (ปืนรถถังกับปืนต่อสู้รถถังที่ฝ่ายกบฎนำมาจากกาญฯหลายกระบอก
ประสบการร์ในการปราบกบฎครั้งนั้น คงมีส่วนให้ พ.อ.มนูญ เห็นอะไรบางอย่างจากการรัฐประหารโดยกำลังรถถังบ้าง
และเมื่อ จปร.7ได้ผลักดันให้ พล.อ.เปรมขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรรีเรียบร้อยแล้ว เกิดขัดใจกับ พล.อ.เปรมที่ดูเหมือนจะตั้งให้ จปร.5 ได้ตำแหน่งที่สำคัญมากกว่า ซึ่งจะมีผลให้ดุลอำนาจของ จปร.7ลดลง ประกอบกับการต่ออายุราชการของป๋า ซึ่งส่งผลให้ พล.อ.สันต์ จิตรปฏิมา รองผบ.ทบ.หมดสิทธิขึ้นคุมกองทัพ และต่อมาก็ถูกเด้งเข้ากรุ
เมื่อผู้คุมกำลังระดับกองพันกับหัวขบวนระดับเสธ.ใหญ่มากบารมี เกิดมีความคิดเห็นที่ตรงกัน จึงเกิดการรัฐประหารขึ้น และเนื่องจากได้ทำกันในวันที่ 1 เมษายน 2524 จึงเรียกกันติดปากว่า กบฎเมษาฮาวาย
กาทำรัฐประหารครั้งนั้น เป้นการชุนุมกองกำลังที่ใหญ่ที่สุด เพราะมีทหารระดับกองพันเข้าร่วมถึง 28 กองพัน (ไม่แน่ใจตัวเลขว่าใช่เลขนี้แน่นอนหรือเปล่า) ซึ่งสูงมาก แทบจะไม่มีกองพันเหลืออยู่ข้างรัฐบาล เพราะส่วนใหญ่ถูกคุมโดย จปร.7 หรือน้องรักสายตรงของรุ่นนี้
รัฐประหารครั้งนั้นมี พล.อ.เสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า ซึ่งภายหลังได้แจ้งว่าเข้าร่วมเพือยับยั้งไม่ให้เกิดความรุนแรง และมี จปร. 7 เข้าร่วมครบครัน แต่พลาดไปคือ การเข้าจับตัว พล.อ.เปรม ที่ปล่อยให้กระโดดหน้าต่างหนีไปได้ และไปรวมกำลังกันที่โคราช กอง บก.ทัพภาค 2 ที่มี พล.ต.อาทิตย์ กำลังเอก เป็นรองแม่ทัพ อยู่
การรัฐประหารครั้งนี้เป็นกรณีคลาสิกอีกครั้งหนึ่งของไทย เพราะเป็นการรบกันบนคลื่นวิทยุ โยในวันแรก ต่างคนต่างประกาศปลดกันกลางอากาศ ตามมาด้วยการเรียกให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปรายงานตัว ทั้งที่ สนามเสือป่าและโคราช ซึ่งว่ากันว่า มีหลายคนทีเดียวที่รอให้สถานการณ์ชัดเจนเห็นผู้ชนะรำไรแล้ว ค่อยไปรายงานตัว ซึ่งปรากฏว่าได้ดิบได้ดีกันไปทุกคน สำหรับบรรดานักแทงกั๊ก ส่วนพวกแทงเต็ง ที่เฮงก็รอด ที่พลาดก็เรียบร้อย เข้าซังเตเป็นแถว

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:07:50 ]




ความคิดเห็นที่ 6

ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของ พล.อ.เปรม มีหลายประการที่มี่ส่วนทำให้เกิดชัยชนะ เริ่มจากการที่สามารถหลบหนีออกไปจาก กทม.ไปพำนักยังถ้ำเก่า ที่โคราชได้ และที่สำคัญคือ สามารถอัญเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทรัตราชสุดา ไปถวายอารักขา ณ กองบัญชาการทัพภาค 2 ได้ แค่นี้คนไทยก็รู้แล้วว่าควรเข้าข้างใคร
ส่วนยุทธวิธีแตกหักสุดท้ายอยู่ที่การทยอยนำกำลังทหารแต่งชุดพลเรือนนั่งรถเข้ามา กทม.ทั้งที่มีการตั้งด่านเพียบ (เขาว่ากันว่ามีการรู้เห็นเป็นใจให้เข้ามาด้วย ก็แหมทหารเหมือนกันดูกันไม่ออกเลยหรือ บางคนก็รุ่นเดียวกัน เพื่อนกันทั้งนั้นแหละ) ผลสุดท้ายก็ยึด กทม.ไว้ได้ โดย พ.อ.มนูญ รูปขจร ต้องหนีไปเยอรมัน ส่วร พล.อ.สันต์ ขึ้น ฮ.หนีไปพม่า
ภายหลังเมษาฮอาวายล้มเหลว จปร.7ก็ร่วงโรยไปด้วย เหลือเพียง เดอะซัน ที่โชนแสง สร้างปรากฏการณ์กระโดจาก พล.ต.ขึ้น พล.อ.ภายในปีเดียว และชั่วข้ามไปอีกปีเดียวก็พุ่งขึ้นไปครองตำแหน่ง ผบ.ทบ.หลังจากเอา พล.อ.ประยุทธ มาคั่นไว้ 1 ปี แต่สร้างเกียรติประวัติให้สำนักจักรดาวแบบไม่รู้ลืม เพราะไปเปลี่ยนชื่อ รร.เตรียมทหารเป็น รร.รวมเหล่า เฉยเลย สุดท้าย เดอะซัน ต้องเปลี่ยนกลับ
ความจริง เดอะซัน เองก็ไม่น้อยหน้า เพราะไปเปลี่ยนเครืองแบบทหารเข้าให้เหมือนกัน โดนไปเลียนแบบเครื่องแบบมทหารจากสหรัฐ ใส่เสื้อเชิ๊ตสีเขียวอ่อนแทนเสื้อแบบเดิม ที่ทหารหาญหลายคนบ่อว่าขาดมาดแมนไปเยอะ สุดท้ายก็เปลี่ยนกลับเหมือนเดิม โดย พล.อ.จิ๋ว
เดอะ ซัน สร้างชื่อยาวนนจากปี 2524 จนถึง 2529 มีบทบาทวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลป๋าผ่านหน้า นสพ.จนนักข่าวขี้เกียจเขียนคำว่า พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก เพราะต้องเขียนกันทุกวัน ทุกวรรค เลยเปลี่ยนมาตั้งสมญานามว่า บิ๊กซัน เพื่อให้สอดคล้องกับบทบา จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีที่ต้องตั้งสมญานามบรรดา พล.อ.ของกองทัพโดยเฉพาะเหลา 5 เสือ ว่า บิ๊ก (ความจริงก่อนหน้านั้นก็ตั้งสมญานามให้ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ว่าบิ๊กจอว์ส เหมือนกัน แต่ไม่ได้ต่อเนื่องยาวนานเหมือนยุค บิ๊กซัน

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:08:24 ]




ความคิดเห็นที่ 7

บิ๊กซันเรืองอำนาจมาจนกระทั่งถึงวันที่ออก ทีวี ประกาศคัดค้านการลดค่าเงินบาทของรัฐบาลป๋า ประกอบกับการเสนอต่อายุราชการให้โดย พล.ท.จุไท แสงทวีป ทำให้ป๋าเคืองหนัก สุดท้ายเมือทุกอย่างพร้อม ป๋าก็ประกาศแต่งตั้ง พล.อ.จิ๋ว ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.แทน ขณะที่ บิ๊กซันยังอยู่ระหว่างการเดินทางกลับจากอังกฤษ เรียกว่าปลดกลางอากาศของจริง หลังจากภารกิจนี้ ป๋าก็เลยได้สมญานามว่า "นักฆ่าแห่งลุ่มเจ้าพระยา" ด้วยกลยุทธิ แบบ แบ่งแยกแล้วปกครอง ที่ไม่ยอมให้เหล่าไหน รุ่นใดเข้ามากุมอำนาจแบบยกแผง ทำให้ป๋าลอยตัวอยู่ได้ถึง 8 ปี ไม่เชื่อลองสังเกตบรรดาลูกป๋าที่ภายหลังวงแตก ต่างทะเลาะกันเป็นแถว ไม่ว่าสายการเมือง นายชวน สายทหาร นายจิ๋ว สายการข่าว ปีศาจคาบไปป์ สายการคลัง ดร.โกร่ง สาย มท.ปลัดฮิเจ้าของวลีแห่งศตวรรษ "น้ำเป็นของนก นายกฯเป็นของป๋า"
อ้อมตะวันซะจนลืม จปร.7 ยังครับ ยังเติร์ก ยังไม่จบ ภายหลังหายเข้าไปในดงไส้กรอก ใครก็คิดว่าหมดฤทธิ์แล้ว แต่ผู้การทหารม้าแห่ง ม.พัน 4 ไม่สิ้นลายง่าย ๆ และแล้วเมื่ออรุณรุ่งของวันที่ 9 กันยายน 2528 ขบวนรถถัง นำโดย ร.อ.ลาน ด่านขุนทด (ไม่แน่ใจว่ชื่อนี้หรือเปล่าแต่ใกล้เคียงแน่ เพราะเขาประกาศเสียงดังฟังชัดว่าชีวิตนี้เขายอมตายเพื่อพี่มนูญได้) ก็เข้ายึดพระรูปทรงม้า พร้อมด้วยกำลังจากเหล่าอากาศโยธิน ของน.อ.มนัส รูปขจร ผู้น้อง
เหตุการณ์ครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความรุนแรง มีการยิงปืนใหญ่รถถังไปที่หน้าบ้านสี่เสาร์เทเวศน์หลายนัด ปรากฏเป็นหลุดลึกบนถนน ซึ่งมีสะเก็ดระเบิดชิ้นหนึ่งปลิวทะลุรถ ปอ.ผ่านเข้าไปในช่องหูช้างกระจกรถแท็กซี่คันหนึ่งที่คุณแม่ของเด็กนักเรียนที่อยู่บริเวณนั้นรีบขึ้นรถมารับเพราะกลัวจะเกิดอันตราย เศษระเบิดชิ้นนั้นทะลุเข้าลำคอของคุณแม่ที่นั่งอยู่ข้างหลังเสียชีวิตทันที ขณะที่ลูกชายที่กำลังไปรับไม่สามารถกลับบ้านโดยปลอดภัย รวมทั้งมีการยิงปืนกลรถถังกราดไปทั่ว ส่งผลให้นักข่าวจากสำนักข่าวตปท.(ไม่แน่ใจว่าใช่รอยเตอร์หรือเปล่า) ถูกปืนยิงตั้งแต่ช่วงเอวลงมาเสียชีวิต ที่น่าสนใจคือนักข่าวคนนี้ผ่านมาแล้วทั้งเวียดนามและลาว ว่ากันว่าเป็นคนที่ถ่ายภาพตอนรถถังเวียดนามเหนือวิ่งชนประตูทำเนียบปธน.เวียดนามใต้ด้วย กลังต้องมาจบชีวิตใน กทม.ที่ขึ้นว่ามีการปฏิวัติที่สงบเงียบเรียบร้อยที่สุดในโลก
การก่อการครั้งนี้ พ.อ.มนูญเชื่อว่าจะสำเร็จแน่นอน เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ที่คุมกำลังอยู่ แต่ปรากฏว่าตลอดทั้งวันไม่มีใครแสดงตัวออกมาว่าเป็นหัวหน้า รวมทั้งไม่มีกองกำลังอื่นใดมาเสริมนอกจากรถถังและทหารจากอากาศโยธินของ มนัส เพียงไม่เกิน 2 กองร้อย
ที่น่าสนใจ คือ การส่งเสบียงของทหารรถถัง ปรากฏว่าใช้รถยนต์ส่วนตัว คนขับพลเรือน ขับมาเทียบจอด พร้อมส่งอาหารและน้ำดื่มให้กับทหารในรถ โดยมีโค้กกระป๋อง ซึ่งใน พ.ศ.นั้นยังไม่มีขายในไทยรวมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อไปบวกกับข่าวลือว่ามีการพูดคุยในตปท.ก็น่าเชื่อเหมือนกัน (ตอนนั้น นายกฯและผบ.ทบไปเมืองนอกทั้งคู่ ป๋าเข้าใจว่าจะไปมาเลฯส่วนบิ๊กซันไปอังกฤษ ซึ่งปกติในสมัยที่การเมืองไม่ค่อยมั่นคงไม่เคยมีเหตุการณ์ว่าผู้นำ 2 ตำแหน่งนี้จะไม่อยู่ในเมืองไทยพร้อม ๆ กัน) ทำให้ภารกิจในการปราบปรามตกอยู่กับ พล.อ.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผบ.ทบ.ซึ่งภายหลังได้รับการตอบแทนด้วยการให้ตั้งพรรคการเมืองและเข้ามาเป็น รมต.เนื่องจากเกษียรปีนั้นพอดี เลยไม่ได้ก้าวกระโดดเหมือนบิ๊กซัน
ส่วนผู้ก่อการที่นั่งรถถังมาเที่ยวกรุงทั้งหลายก็กอดคอกันเดินไปเข้าตารางที่ พล.1 และคิดยาวนานไปจนป๋าใจอ่อนยอมอภัยโทษให้
สำหรับผู้ที่นัดแล้วไม่มาซึ่งบัดนี้ยังไม่รู้ว่าเป็นใครก๋ล่องหนเป็นปริศนามาจนทุกวันนี้
พ.อ.มนูญ ก็กลับไปเยอรมันอีกครั้ง ก่อนจะกลับมาได้ในสมัยของน้าชาติเพื่อมารับยศเป็นพล.ต. และมาเจอวิบากกรมอีกครั้งในยุค รสช.ในคดีลอบสังหาร จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็นมนูญกฤต รูปขจร ผู้กลายมาเป็นประธานวุฒิสภาในปัจจุบัน
พ.อ.ประจักต์ ที่ไม่ได้เข้าร่วมในเหตุการณ์ 9 กันยา ตอนนี้ก็แต่งชุดพรางตัวโปรดช่วยภรรยานับเงินจากธุรกิจส่วนตัวอย่างเดียวก็ไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่นแล้ว
พ.อ.บุลศักดิ์ โพธิเจริญ พยานปากสำคัญในการปรักปรำ พ.อ.มนูญ ที่คนขับรถได้ดีเป็ร รมต. ก็ไปเป็นชาวสวนอยู่สิงห์บุรีก่อนลงรับเลือกตั้ง ข่าวว่า จปร.7 ตัดสัมพันธ์ไปแล้ว ฐานหักหลังเพื่อน
พ.อ.จำลอง หลังจากอกหักจาก ผู้ว่า กทม.ฯก็ไปเป็น ผอ.รร.ผู้นำอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีไปแล้ว
จปร.7 บางคนที่ขอกลับเข้ารับราชการหลังเหตุการณ์เมษาฮาวาย หลายคนก้าวหน้าในราชการจนสุดท้ายได้เกษียรในยศ พล.อ

ตอนนี้ก็ถึงเวลาจบเรื่องของ จปร.7 เจ้าของตำนานยังเติร์ก ซึ่งเป็นแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตเขาเหล่านั้นเท่านั้น และคงไม่ใช่ฉากสุดท้ายของ ยังเติร์ก เพราะคนที่จะเขียนฉากนี้ได้ คงต้องเป็นท่านประธานวุฒิสภาคนปัจจุบันเท่านั้น

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:08:56 ]




ความคิดเห็นที่ 8

พ.อ.พัลลภ ปิ่นมณี (พล.อ.) เป็นนายทหารรุ่น จปร.7 ครับ และมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยเมษาฮาวายมาก เป็นแกนนำท่านหนึ่ง ภายหลังขอกลับเข้ารับราชการจนกระทั่งมาลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษา รมว.กลาโหม(หรือมหาดไทย ไม่แน่ใจ)ในสมัยน้าชวน เป็นอันจบบทบาททางการเมืองของท่าน

ส่วนยังเติร์กรุ่นแรกนั้น เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า กบฏ รศ.130 เป็นสมัย ร6 ตอนนั้นผู้นำในการปฏิวัติไม่ได้รับอิทธิพลจากมุสตาฟา เคมาล ปาชา หรอกครับ แต่ได้รับอิทธิพลจาก ดร.ซุน ยัด เซ็น จากการปฏิวัติสาธารณรัฐในจีน สังเกตได้ว่าจะมีการนำนายแพทย์เข้ามาร่วมด้วย (นพ.เหล็ง ศรีจันทร์) ทำให้มีชื่อซอยหมอเหล็งไงครับ

สาเหตุของการกบฎครั้งนั้น สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างทหารมาดเล็กรักษาพระองค์ของ ร.6 กับทหารประจำการ ซึ่งตลอดรัชสมัยนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับทหารประจำการไม่ดีนัก เนื่องจากทหารสมัยใหม่พึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ ร.5 นี่เอง แต่ได้แสดงบทบาทได้สูงมาก เพราะเป็นการจัดองค์กรบริหารแบบใหม่ (สมัยนั้น) ทำให้มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งผู้ที่คุมกำลังทหารอยู่ก็เป็นแคนดิเดทในการสืบรัชกาลอยู่ด้วย ทำให้ ร6 ต้องสร้างกองกำลังตัวเองขึ้นมาในชื่อว่า เสือป่า แถมมีเพลง ปลุกใจเสือป่า ที่กลายมาเป็นแสลงของอะไรที่ "โป๊ ๆ " อยู่ทุกวันนี้ครับ แถมยังมีเรื่องอื้ฉาวเกี่ยวกับลอตเตอรรี่บำรุงเสือป่าที่ประธานในการออกดันปลอมชื่อว่า ชื่น เรือลอย เข้ามารับรางวับเสียเองอีก

เข้าเรื่องดีกว่า ต้นเหตุมาจากทหารประจำการที่อยู่ ณ ที่ทำการกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน ไปเที่ยวงานวัดตามประสาวัยรุ่น เห็นบางฉบับบอกว่าไปนั่งจีบแม่ค้าขายขนมจีน แล้วไปทะเลาะกับทหารหมาดเล็กของพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งก็คือ ร.6 ในสมัยต่อมา

เมื่อมีเรื่องกันทหารสู้ไม่ได้ก็วิ่งมาตามพรรคพวกที่กรม ทหารในกรมก็เฮกันไปรุมยำพวกมหาดเล็กเสียสะบักสะบอม ความทราบถึงในหลวง( ร.5) ท่านก็ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องคนหนุ่มทะเลาะกันไม่น่าจะให้ลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ก็สั่งให้ลงโทษไปตามความผิด

แต่ข้อมูลที่ได้อ่านมาจากบางแห่ง บอกว่า ร.6 ซึ่งดำรงอิสรยศเป็นผู้สืบบัลลังก์ในบระยั้ยไม่พอพระทัย ต้องการให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตามกฏหณเทียรบาล ซึ่งได้ลยกเลิกไปแล้ว เพราะมีการจัดทำกฏหมายอาญาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีการกล่าวอ้างถึงขั้นที่ว่า หากไม่ทำตามพระราชประสงค์จะลาออกจากองค์รัชทายาท (มีหนังสือประวัติศาสตร์อ้สงอิงความข้อนี้อยู่ แต่อยากให้พิจารณาให้ดี เพราะเป็นเรื่องกระทบเบื้องสูงและยังไม่น่าจะเป็นข้อชี้ชัดทางประวัติศาสตร์)

เมื่อเป็นดังนั้น จึงกำหนดให้มีการลงโทษด้วยการเฆี่ยนที่บริเวณลานสนามหญ้าในกระทรวงกลาโหม (ตึกกระทรวงจะล้อมสนามอยู่ ตรงกลาลว่างตามสไตล์ยุโรป

จากบันทึกบอกว่าการลงโทษครั้งนั้นพระองค์ (ร.6)เสด็จมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง เมื่อถึงเวลา ราชมัล ก็ลงแส้ ซึ่งตามหลักการลงแส้ของราชมัลหรือเจ้าหน้าที่เฆี่ยนนั้น ลงครั้งแรกต้องได้เลือด ครั้งที่สองต้องเนื้อปริ ไม่ใช่มาแกล้งเฆี่ยนกันเบา ๆ เหมือนในหนังนะครับ

การเฆี่ยนในช่วงเที่ยงวัน(เวลาพักเที่ยงเพื่อให้ทหารคนอื่นออกมาดูไว้เป็นเยี่ยงอย่าง) ดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ปรากฏว่าผู้ต้องหา (ถ้าไม่ผิดน่าจะ 6 คน) สลบคาขาหยั่ง สร้างความหดหู่ให้กับนายทหารท่านอื่นที่พบเห็นยิ่งนัก จนเป็นสาเหตุที่ยกมากล่าวอ้างว่า ทหารถูกหลู่เยรติอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าสาเหตุของการตัดสินใจเตรียมการปฏิวัตืนั้น น่าจะมีมาจากหลายทางมากกว่าเพียงเรื่องนี้เรื่องเดียว เพราะการบริหารราชการในสมัยนั้นก็ค่อนข้างมีปัญหา เพราะแกนนำ คือ ทางพระราชวังนั้นค่อนข้างจะเป็นแบบโบราณ คือ สำราญบานเย็นไปเรื่อย ขระที่ทหารและข้าราชการประจำที่ได้รับการจัดองค์กรแบบใหม่ มีพลังเพิ่มขึ้นมาก สถานการณ์แวดล้อมก็ระอุด้วยไฟสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ระเบิดขึ้นในยุโรป

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:09:30 ]




ความคิดเห็นที่ 9

เหตุการณ์ผ่านไปจนกระทั่ง ร.6 ครองราช แนวคิดเรื่องการปฏิวัติก็เริ่มกระจายไปในหมู่นายทหารรุ่นใหม่ และชนชั้นปัญญาชนในขณะนั้น ซึ่งมีการประชุมกันหลายครั้ง และครั้งสำคัญที่สุด คือการประชุมเพื่อเสี่ยงเทียนและดื่มน้ำสาบานร่วมกัน

ที่น่าสนใจ คือ มีผู้ที่ถูกชักชวนให้เข้าร่วมก่อการท่านหนึ่ง เข้ามาในพิธีช้ากว่าคนอื่น แถมเมื่อเดินเข้ามา แก้วที่ใช้ดื่มน้ำสาบานก็แตกเพล้งลงทันที แม้ว่าผู้ร่วมพิธีจะบอกว่ามันเป็นอุบัติเหตุ แต่ทุกคนก็ขวัญเสีย และที่แปลกคือ นายทหารผู้นั้นเองที่นำความไปรายงานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ถึงเรื่องการเตรียมการก่อกบฎครั้งนี้ จนกระทั่งผู้ก่อการถูกจับกุมทั้งหมด

เหตุการณ์วันจับกุมตัวนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากทางการได้รู้ตัวแล้วว่าจะมีการก่อกบฎ จึงวางกำลังไว้เตรียมพร้อม ซึ่งทางผู้ก่อการนัดแนะกันไว้ว่าจะเริ่มตอนเที่ยงตรงโดยอาศัยสัญญาปืนเที่ยง ที่จะยิงทุกเที่ยงวัน (บางเล่มก็บอกว่าเป็นปืนใหญ่ของฝ่ายก่อการเอง บางเล่มก็บอกว่าใช้สัญญาณระฆัง )

แต่เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ก็ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาณใด ๆ เกิดขึ้น เพราะแกนนำถูกจับกุมไปหมดแล้ว พวกที่รออยู่ก็รวน ไม่กล้าเคลื่อนไหว จนกระทั่งถูกจับกุมทั้งหมด และนำไปขังไว้ที่กระทรวงกลาโหม ซึ่งทุกคนถูกจับขังไว้ที่นั่นหมด

การพิพากษา ปรากฏว่าแกนนำหลายคน ดดยเฉพาะ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ถูกพิพากษาประหการชีวิต แต่ได้รับพระราชทานลดหย่อนให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต เพราะพระองค์สลดพระทัยที่ทราบว่าเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของพระองค์เอง

ผุ้ก่อการถูกจับขังอยู่จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จึงได้รับการปล่อยตัว เพราะผู้ก่อการ 2475 บอกว่า ผู้ก่อการ ร.ศ.130 คือแรงบันดาลใจของพวกตน ส่วนผู้ที่หักหลังเพื่อก็เข้าไปอยู่ในคุกแทน

เขียนขึ้นจากความจำที่ได้อ่านมาครับ เพราะเกิดไม่ทันเหมือนกัน แต่ว่าจะไปเอาหนังสื่อมาอ้างอิงก่อนแล้วจะเขียนรายละเอียดเพิ่มลงไปอีกที เพราะมีประเด็นน่าสนใจอีกหลายอย่าง

แล้วถ้ายังมีคนอ่านอยู่ ผมจะลองเอาเรื่องที่น่าสนใจเป็นปมประวัติศาสตร์สนุก ๆ มาเล่าแลกเปลี่ยนกันอีกครับ อย่างเช่น การปฏิบัติการในลาวเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ทั้งโซเวียต เวียดนามเหนือ สหรัฐ และไทย ต่างปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งที่รบกันนัว

เรื่องพวกนี้น่าสนใจเพราะว่าผลของเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อสภาพการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของไทยในวงกว้างและยาวนาน หลายเรื่อง ๆ ยังเป็นสิ่งที่ตกค้างมาจนถึงทุกวันนี้

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:09:56 ]




ความคิดเห็นที่ 10

วันที่ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ซึ่งพ้นจากราชการมหารแล้วและบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร ได้สึกออกมาจากเพศบรรพชิตในตอนเช้า เนื่องจากมีการชักฃวนและวางแผนร่วมกันกับคณะนายทหารกลุ่มหนึ่งที่จะทำการปฏิวัติ

การก่อการปฏิวัติครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 26 มีนาคม 2520 ดำเนินการโดยทหารจำนวนหนึ่งประมาณ 300 คน ประกอบกำลังจากทหารกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี และจาก ร.19 พัน 1,2 และ 3 เข้ายึดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้าสนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ไว้ได้

คณะปฏิวัติตั้งกองบัญชาการที่สวนรื่นฤดี มีนายทหาร 3 คนถูกควบคุมตัวไว้ คือ พลเอกประเสริฐ ธรรมศิริ รอง ผบ.ทบ.พล.อ.ประลอง วีระปรีย์ เสธ.ทบและพล.ต.อรุณ ทวาทศิน ผบ.พล.1

ได้มีการเกลี้ยกล่อมให้นายทหารทั้ง 3 เข้าร่วมกับฝ่ายปฏิวัติแต่พล.ต.อรุณไม่ยินยอม จึงถูกพล.อ.ฉลาดยิงตาย ซึ่งเรื่องนี้ เสธ.หนั่น ท่านเขียนไว้ในหนังสือบันทึกประวัติชีวิตไว้ว่า ท่านกำลังนั่งประชุมอีกห้องหนึ่ง พอได้ยินเสียงเอะอะก็เข้าไปดู พบว่า พล.ต.อรุณ ที่นั่งคุยอยู่ดี ๆ ก็ลุกขึ้นเข้าแย่งปืนทหารที่ถือเอ็ม 16 รักษาการณ์อยู่ในห้อง และหันกระบอกปืนเข้ามาเตรียมยิง จึงถูกพล.อ.ฉลาดยิงเสียชีวิต ซึ่งท่านให้ความเห็นไว้ว่าหาก พล.อ.ฉลาดไม่ยิง อาจมีผู้เสียชีวิตมากกว่านี้

นะครับ เรื่องแบบนี้มีแต่ผู้ทำเท่านั้นที่รู้ เราคนวงนอกก็เล่าต่อกันไป ใครมีข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้ก็ลองแลกเปลี่ยนกันดู ส่วนตอนนี้เรามาเริ่มปฐมบทการปฏิวัติกันครับ

เริ่มแรกเป็นสูตรสำเร็จการปฏิวัติเมื่อตั้งกอง บก.ได้ ก็ต้องออกแถลงการร์ให้ชาวบ้านเขารู้กันว่าเรื่องนี้ใครทำ ใครนำ แล้วทำเพื่ออะไร เรียกว่าประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นประกาศที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นการประกาศตัวอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกของผู้ก่อการ เรียกว่าพูดแล้วพูดเลยถอนตัวไม่ได้แล้ว ถ้าพลาดก็ติดคุกแน่

คณะปฏิวัติคณะนี้เลือกฤกษ์ดีมีชัยเวลา 09.15 น.ประกาศออกวิทยุให้เหตุผลวว่าประเทศกำลังเสื่อโทรมลงทุกด้าน ความสามัคคีกำลังได้รับความเสียหาย คอมมิวนิสต์คุกคามหนัก รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที จึงต้องยึดอำนาจจากรัฐบาลเพื่อแก้ไขเรื่องต่าง ๆ โดยรีบด่วนและเฉียบขาด

เรียยบร้อยครับ แค่นี้ก็เป็นอันว่าจบ สามารถเปี่ยนแปลงชีวิตได้แล้วว่าจะได้เป็นนายกฯหรือจะติดคุก ซึ่งฝ่ายรัฐบาลก็ไม่น้อยหน้า ขอเวลาแค่ 1 ชั่วโมง ประกาศศุ้ทันที่ แถมใช้ฤกษ์เดียวกันอีก คือ .15 น. ของอีก 1 ชั่วโมงถัดมา

จากคำบอกเล่าของ เสธหนั่น ที่เขียนไว้ค่อนข้างละเอียดบอกว่า สถานการณ์ของกลุ่มผู้ก่อการไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะเมื่อมีการยิงกันเกิดขึ้น ประกอบกับกำลังบางส่วนที่คาดว่าจะเข้าร่วมก็ไม่ยอมมาตามนัด

ขระเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลก็ได้ให้ พ.อ.มนูญ รูปขจร ในฐานะ ผบ.กรม ม.พัน 4 รอ. ที่ขึ้นชื่อลือชา ขีบรถถังออกมาจัดการ ซึ่งเสธ.เล่าว่าเป็นเพื่อนกัน (เสธ.หนั่นจบ รร.นายร้อยสำรองรุ่น 9 ซึ่งใช้เวลาเรียนตรงกัยรุ่น 7 ของจปร.เลยดูเหมือนเพื่อร่วมรุ่น ทั้งที่จริงเรียนคนละหลักสูตรกัน) ทำให้มีการเตี๊ยมกันไว้ก่อน เพราะไม่อยากให้ใครบาดเจ็บล้มตาย เลยนัดแนะกันว่าให้ถอดเข็มแทงชนวนปืนใหญ่รถถัง (เป็นยังไงก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน) ขณะเดียวกันทางฝ่ายเสธ.ที่เตรียมเอ็ม 72 สำหรับยิงรถถังก็ปลดไม่ให้ยิงได้เหมือนกัน แต่ไม่ให้บอกลูกน้องกลังเสียขวัญ

ผลการสู้รบเป็นอย่างไร และใครบ้างที่ตกเป็นผู้ต้องหา ซึ่งส่งผลผูกพันให้ต่อเนื่องมาอีกกว่า 20 ป

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:10:55 ]




ความคิดเห็นที่ 11

ฉากจบของการปฏิวัติครั้งนี้เกิดขึ้นเมือเวลา 20.30 น.ของวันเดียวกัน ดดยรับบาลได้ออกประกาศว่าสได้เข้าควบคุมสถานการ์ไว้ได้แล้ว และจะปล่อยให้ผู้ก่อการทั้งหมดเดินทางไปต่างประเทศ

รายละเอียดในเรื่องนี้ เสธงท่านเล่าว่าเป็นข้อต่อรองของคณะกับรัฐบาล ซึ่งทั้งหมดได้เดินทางจากสวนรื่นไปที่สนามบินดอนเมือง แต่เมื่อเดินขึ้นไปข้างบนเครื่องแล้ว ปรากฏว่าพบสิ่งผิดสังเกต คือ ผู้โดยสารมีแต่ผู้ชายแถมใส่เสื้อเชิ้ตธรรมดา (สมัยนั้นคนจะนั่งเครื่องไปเมือนอกต้องใส่สูทคล้องพวงมาลัย ถ้าเป็นสมัยนี้เสธ.คงไม่ผิดสังเกต เพราะฝรั่งนุ่งขาสั้นรองเท่าแตะขึ้นเครื่องเยอะไป) จึงขอให้เปลี่ยนเครื่อง แต่ได้รับแจ้งว่าไม่มีเที่ยวบินอื่นแล้ว (เหตุการณ์นี้คล้าย ๆ กับกรณีย้าชาติ ที่พล.อ.อาทิตย์สังเกตเห็นความผิดปกติของเครื่องบิน ถึงกับขอเปลี่ยนเครื่องแต่ไม่เป็นผล จนโดนจี้กลางอากาศจนได้)

นอกจากเรื่องของเครื่องแต่งกายผู้โยสารแล้ว สิ่งที่เสธ.ผิดสังเกตอีกอย่าง คือ ขณะที่เครื่องแจ้งว่ารอสัญญาณอนุญาตให้บินขึ้นนั้น ปรากฏว่าแอร์ดันเสริฟอาหาร ทั้งที่ปกติจะมีกฏห้ามเสริฟอาหารขณะที่เครื่องยังอยู่บนพื้นดิน แต่ก็เหมือนเดิมทำอะไรไม่ได้ เพราะอีกไม่กี่นาทีต่อมา สารวัตร ทอ.พร้อมตำรวจก็เข้ามาจับกุมคณะของเสธ.ไว้ได้ทั้งหมด

สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการเดนทางจากสนามบินไปกอง บก.ทอ.เพื่อควบคุมตัวนั้น คือ เสธ.หนั่นเข้าไปขวางไม่ให้ทหารทำรุนแรงกับ พล.อ.ฉลาด จึงโดยสารพัดยำใหญ่จากเหล่าสห.ทอ.และตำรวจ ที่1 ในนั้น คือ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค (ตอนนั้นเข้าใจว่าจะไม่เกิน พ.ต.อ.) รุมกระทืบเข้าด้วยอีกคน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทั้งคู่ผูกพันความแค้นล้ำลึกมายาวนานจน พล.ต.อ.สล้างหมดบทบาททางอาชีและการเมืองลง

ผู้ที่ถูกจับในกรณีนี้มีอยู่ 5 คน คือ
1. พล.อ.ฉลาด หิรัฐศิริ
2. พ.ท.สนั่น ขจรประศาสน์
3. พ.ต.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
4. พ.ต.วิศิษฐ์ คงประดิษฐ์
5. พ.ต. อัศวิน หิรัญศิริ

ซึ่งทั้ง 5 ถูกหลอกว่าจะให้ลี้ภัยไปไต้หวัน แต่สุดท้ายแล้วก็เข้าลาดยาวทั้งหมด และมีเพียง พล.อ.ฉลาดเท่านั้นที่ถูกมาตรา 21 ประหารชีวิต ด้วยข้อหายิงพล.ต.อรุณ ซึ่งเรื่องของการสั่งใช้มาตรานี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นผู้ขอให้สั่งกันแน่ ระหว่างพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ หรือนายธาณิร กรัยวิเชียร ซึ่งท่านออกมาแก้ข้อกล่าวหาเมื่อไม่นานมานี้เอง

นอกจากนายทหารที่ถูกจับกุมแล้ว ยังมีพลเรือนที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง (อำนายความสะดวกในการกระจายเสียง) เช่น นายพิย วาศนาส่ง นายวีระ มุสิกพงษ์ (จากการที่ถูกขังอยู่ด้วยกันทำให้สนิทกับเสธ.หนั่น จนได้ชักชวนมาเล่นการเมืองในเวลาต่อมา เพราะนายวีระ เป็นนักการเมืองที่มีเพาเวอร์มากในพรรค ปชป.ในช่วงนั้น โดยขึ้นถึงจุดสูงสุด คือ เลขาธิการพรรคในปี 2529 ก่อนจะตกเก้สอี้เพราะกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ )

และภายหลังจากการก่อการครั้งนี้ คณะทหารที่ห่อเป็นเปลือกหอยให้รัฐบาลอยู่ก็สั่งให้รัฐบาลปลด รมต.บางคนออกจากรัฐบาล เช่น นายสมัคร สุนทรเวช นายภิญโญ สาธร รมว.ศึกษา คุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ฯลฯ แต่รัฐบาไม่ทำตาม จึงเกิดการปฏิวัติอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 คราวนี้ไม่พลาด เพราะจอว์สใหญ่มาเอง ช่วงนั้น นสพ. (คุณซูม) ถึงกับเขียนว่าเมืองไทยนี่ตุลาอาถรรพ์ ใครอยากปฏิวัติให้ทำเดือนตุลาแล้วจะสำเร็จ ถ้าไปทำเดือนอื่นจะล้มเหลว

การปฏิวัติครั้งนี้ส่งผลให้ พล.อ.เกียงศักดิ์ ที่มีตำแหน่งเป็นเลจาธิการคณะปฏิวัติได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากการผลักดันของกลุ่มนายทหารบางกลุ่ม ขณะที่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะ กลุ่มจปร.7 อยากได้คนอื่นมากกว่า ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง จปร.7 กับอินทรีบางเขน ร้าวรานอยู่เสมอจนกระทั่งต้องล้างมือในอ่างทองคำ พร้อม ๆ กับการดถลิงอำนาจในฐานะผู้แต่ตั้งนายกรัฐมนตรีอย่างแท้จริงเต็มตัว ของ จปร.7 ที่ให้ พล.อ.เปรม เป็นนายกฯเมื่อปลายปี 23

จากนั้นก็เริ่มถอยหลังเข้าสู่ กบฏยังเติร์ก ครับ

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:11:35 ]




ความคิดเห็นที่ 12

ส่วนเรื่องเมษาฮาวาย ขอเพิ่มเติมอีกนิด โดยเฉพาะช่วงปริศนาว่า พล.อ.เปรม หนีออกจากบ้านสี่เสา ไปตั้งหลักที่โคราชได้อย่างไร เรื่องนี้ไม่กล้าเล่าเอง ขออ้างข้อเขียนของบิ๊กหมง (พล.อ.มงคล )ลูกรักของป๋าแล้วกัน

" ผมเข้าไปที่บ้านสี่เสาฯ โดยไม่เห็นมีใครมาห้าม เห็นรถปิกอัพจอดอยู่หน้าบ้าน มีทหารเต็มไปหมด ไม่รู้ของมครบ้าง ผมเข้าไปในบ้านเห็นพี่จักษ์ พี่วีระยุทธ พี่มนูญเดินตามป๋าอยู่รอบ ๆ สนามหน้าบ้านสี่เสาฯได้ยินแต่เสียงป๋าบอกว่า ทำไม่ได้หรอก ให้อย่างไร อย่างไรก็ไม่เอาทั้งนั้น"

หลังจากนั้น พ.อ.มนูญก็แยกตัวออกมาเพื่อไปกองทัพภาคที่ 1 ปล่อยให้พ.อ.ประจักษ์นั่งคุมป๋าอยู่ และเหตุการณ์ต่อจากนี้ มีบันทึกของ พ.ฮ.บุญสืบ คชรัตน์ ซึ่งอยู่ร่วมในเหตุการณ์เล่าว่า
"ผมได้ยินว่าให้ไปเตรียมรถ พี่ไพโรจน์ก็ไปเตรียมรถมาจอดไว้ที่หน้าบ้าน ป๋าก็ลงไปขึ้นรถ มีรถของศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.)ต่อท้ายด้วยอยู่คันหนึ่ง ผมก็จะไปเอารถเพื่อติดตามป๋าไป แต่พี่ ๆ นี่แหละไม่ทราบใครถามว่าจะไปไหน ให้นั่งไปกับป๋า-ป๋าขึ้นประตูซ้าย ผมก็ขึ้นประตู๔ขวา ส่วนพี่ไพโรจน์ก็นั่งคู่กับคนขับ
ตอนที่ป๋าลงมาจากข้างบน พี่จักษ์ ยังพูดโทรศัพท์อยู่ข้างบน ไม่ได้ลงมาด้วย พวกนั้นคงนึกว่าป๋ายอมแล้ว และคงออกไปสวนรื่นฯ ก็เลยไม่มีขัดขวาง พอวิ่งมาถึงสี่แยกไทยเจริญก็เลี้ยวซ้ายผ่านหน้าหอประชุมกองทัพบก แล้วเลี้ยวขวาที่สี่แยกการเรือน เวลานั้นมีทหารประจำจุดตามสี่แยกแล้ว พอเลี้ยวขวามาทางพระที่นั่งวิมานเมฆก็ไม่มีทหาร ป๋าก็เข้าวังสวนจิตรฯ"

ส่วนกบฏ 9 กันยา 2528 นั้น มีพล.อ.เสริม ณ นคร ถูกชูให้เป็นหัวหน้า ขระที่ตัวจริง เสียงจริง คือ พ.อ.มนุญ รูปขจร คนเดิม กำลังที่เข้าร่วมมีประมาณ 500 นาย เป็นกองกำลังจากทหารม้า ม.พัน 4 และกรมอากาศโยธิน รวมทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่อีก เช่น พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ พล.อ.ยศ เทพหัศดิน

ส่วนที่ว่า นายกฯและ ผบ.ทบ.ในขณะนั้น ไม่ได้อยู่เมืองไทยเลย คือ ป๋า ไปประเทสอินโดนิเซีย ขระที่ พล.อ.อาทิตย์ ไปสวีเดน

ผู้ที่เจรจาจนกระทั่งฝ่ายปฏิวัติยอมแพ้ คือ พล.อ พิจิตร กลุวณิชย์ (บิ๊กเสือ) ซึ่งขณะนั้นเป็นแม่ทัพภาค 1

ส่วน ร.ศ.130 มีผู้ประกอบการดังนี้
1. ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ นายร้อยจบรุ่น ร.ศ.128 (พ.ศ.2452) เป็นต้นคิด

2. ร.อ. ขุนทวยหารพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) หัวหน้าคณะและเป็นแพทย์ประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

3. ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์

4. ร.ต.ถัด รัตนพันธุ์

เฉพาะกลุ่มที่ถูกทางการจับกุมได้ มีจำนวน 106 ท่าน ถูกตัดสินลงโทษ 92 คน เป็นข้าราชการพลเรือน 4คน ทหารบกและเรือ 88 คน ซึ่งเป็นทหาร ร.11 ร.ต.เหรียญรับราชการอยู่ 21 คน

เหตุผลประการหนึ่งที่ผู้ก่อการซึ่งส่วนใหญ่ยศร้อยตรีอ้างว่าเป็นเหตุในการตัดสินใจเข้าร่วม คือ จะขอเงินเดือนเพิ่ม เพราะผลประโยชน?ชั้นร้อยตรีนั้น ไม่เป็นที่เพีรยงพอแก่การใช้จ่าย

ส่วนสาเหตุการตัดสินลงโทษทหารด้วยการเฆี่ยนหลังนั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรก็ไม่แน่ใจครับ เพราะคำให้การของคณะผู้ก่อการก็ไม่เหมือนกัน ก็เลยไม่ขอสรุปแล้วกัน ใครมีข้อมูลก็เชิญแลกเปลี่ยนกันได้ครับ

จากคุณ : neoheart - [ 28 ส.ค. 48 11:12:26 ]


ที่มา http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K3698930/K3698930.html

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น