Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ไม่เข้าใจคำว่า " ภูมิลำเนา " อะค่ะ ใครรู้ช่วยบอกที

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ภูมิลำเนา  คือ บ้านที่เราอยู่ในทะเบียนบ้าน



หรือ


สถานที่เกิด


อย่างเรา ทะเบียนบ้านอยู่สมุทรสาคร


แต่ตอนเกิด เกิดที่ รพ.หัวเฉียว ที่กรุงเทพ


อย่างนี้ ถ้ามีคนถามว่าภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน  จะตอบยังไงอะค่ะ?



ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นจ้า^O^"

PS.  ว่างๆแวะมาไอดีเราได้ตลอดเลยน้า ไอดีเราน่ารักนะ~อิอิ^O^

แสดงความคิดเห็น

>

16 ความคิดเห็น

iioiisunnykung~(>o<) 24 พ.ย. 49 เวลา 17:26 น. 2

อืม ขอบใจน้า
ไม่ค่อยมีคนเข้ามาตอบเรยอ่ะ-*-


PS.  ว่างๆแวะมาไอดีเราได้ตลอดเลยน้า ไอดีเราน่ารักนะ~อิอิ^O^
1
iioiisunnykung~(>o<) 24 พ.ย. 49 เวลา 21:41 น. 4

อย่างนี้เรา ภูมิลำเนา ก็คือ กรุงเทพ ใช่ป๊ะ?


PS.  ว่างๆแวะมาไอดีเราได้ตลอดเลยน้า ไอดีเราน่ารักนะ~อิอิ^O^
0
iioiisunnykung~(>o<) 24 พ.ย. 49 เวลา 23:46 น. 5
หาข้อมูลมาแย้วนะ ภูมิลำเนา คือ ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ขอบคุณทุก คห.จ้า^O^"
PS.  ว่างๆแวะมาไอดีเราได้ตลอดเลยน้า ไอดีเราน่ารักนะ~อิอิ^O^
0
โฟล์คสวาเก้น :-) ● T.U. ◎ 28 พ.ย. 49 เวลา 01:41 น. 6
หามาจากไหนครับ

เข้าใจผิดแน่ๆ

จากการที่ผมเรียนวิชากฏหมายมานะงับ

ถิ่นที่อยู่ คือ บ้านหรือที่พักอาศัย หรือพื้นที่ใดๆก้อแล้วแต่  ที่เราใช้อาศัยใช้หลับนอน  เปนประจำ มากกว่าที่อื่นๆ  ก้อคือในทะเบียนบ้านอ่านะ
แต่
ภูมิลำเนา คือ สถานที่ๆเราเกิด ไม่ว่าจะอาศัยอยู่หรือไม่ก้อตามอะ  
ก้อเหมือนกับ  ผมเกิดที่อ.เมือง จ.สมุทรสาคร  แต่ได้ย้ายมาอาศัยที่สมุทรสงคราม  โดยกลับไปสมุทรสาครนานๆครั้ง

แบบนี้ก้อคือ จ.สมุทรสาครคือภูมิลำเนาของผม  และ สมุทรสงครามก้อเปนถิ่นที่อยู่ครับ


****************
http://o0o-folk-swaken-o0o.spaces.live.com/
0
ทุ่ม 13 ม.ค. 53 เวลา 12:16 น. 7

ถิ่นที่อยู่ (Resident) คือ สถานที่ที่ใช้อยู่อาศัยเป็นหลักแหลง อาจมีหลายที่

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ภูมิลำเนา คือ ถิ่นที่อยู่ที่มีผลตามกฎหมาย มี 2 อย่างคือ ภูมิลำเนาตามเจตนาของบุคคลกับภูมิลำเนาที่กฎหมายกำหนด ภูมิลำเนาจะเป็นที่ไหนต้องดูข้อกฎหมายเป็นหลัก

ตามนัยแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ภูมิลำเนา คือ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถติดต่อหรือพบหาตัวได้ตามหลักฐานที่ปรากฏทางทะเบียน(ตามเจตนาของกฎหมาย)

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ถิ่นที่อยู่ คือ ถิ่นที่สามารถพบเห็นตัวตนได้อยู่เป็นอาจิณหรือเป็นประจำ โดยไม่มีที่อาศัยเป็นหลักแหล่งหรือรายชื่อให้ปรากฏทางทะเบียน แต่พบตัวได้ตามปกติในถิ่นที่เคยพบเจอ หรือตามนัยแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ ก็คือ บุคคลผู้ไม่มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง แต่ถ้าสามารถพบเจอบุคคลนั้นได้ตามสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นปกติวิสัย สถานที่นั้นก็จัดได้ว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของบุคคลนั้น

ค้นมาจากเว็บภูมิปัญญาไทย www.panyathai.or.th เขาว่างั้น&nbsp 
ภูมิลำเนาผมจึงคิดว่าขึ้นอยู่กับคนที่ถามว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร
ถ้าเพื่อนถาม-คนสนิท&nbsp ก็หมายถึง บ้านเกิด
ถ้าเอกสารเป็นทางการ ก็หมายถึงตามทะเบียนบ้าน ครับ

0
Loquitur 14 ม.ค. 53 เวลา 14:03 น. 8

แล้วแต่นัยความหมายที่ต้องการจะใช้ครับ ถ้าเป็นภูมิลำเนาตามนัยแห่งกฎหมาย คือ ถิ่นที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญ ทั้งนี้ ตามป.พ.พ. ครับ

แต่ถ้าในเอกสารราชการหลายๆ แห่ง จะใช้ในความหมายว่าเป็นถิ่นที่เกิดครับ

0
ติท 16 มิ.ย. 55 เวลา 09:04 น. 12

มาตรา 37 ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ

“คำว่า” สถานที่อยู่เป็นแหล่ง หมายความว่า สถานที่อยู่ที่บุคคลมีเจตนาจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นการถาวรมิใช่พักอาศัยชั่วคราว

ในทางปฏิบัติเราพิจารณาจากเอกสารมหาชนคือ ทะเบียนบ้าน ที่สำนักทะเบียนราษฎร แต่ก็ไม่แน่เสมอไปบุคคลอาจไม่มีภูมิลำเนาที่ตรงกับทะเบียนบ้านก็ได้ เช่น ดำ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่สมุทรปราการ แต่ปรากฎว่าดำไม่เคยอยู่ที่นั่นเลย แต่ดำกลับอยู่อาศัยเป็นการถาวรกับครอบครัวที่ปทุมธานี ดังนี้ภูมิลำเนาของดำคือจังหวัดปทุมธานี

0
กานต์ 31 พ.ค. 56 เวลา 13:49 น. 13

ไม่ใช่ครับ ตามมาตราของกฎหมายที่ 37 มันกล่าวไว้ว่า มาตรา 37 ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ

“คำว่า” สถานที่อยู่เป็นแหล่ง หมายความว่า สถานที่อยู่ที่บุคคลมีเจตนาจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นการถาวรมิใช่พักอาศัยชั่วคราว

ในทางปฏิบัติเราพิจารณาจากเอกสารมหาชนคือ ทะเบียนบ้าน ที่สำนักทะเบียนราษฎร แต่ก็ไม่แน่เสมอไปบุคคลอาจไม่มีภูมิลำเนาที่ตรงกับทะเบียนบ้านก็ได้ เช่น ดำ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่สมุทรปราการ แต่ปรากฎว่าดำไม่เคยอยู่ที่นั่นเลย แต่ดำกลับอยู่อาศัยเป็นการถาวรกับครอบครัวที่ปทุมธานี ดังนี้ภูมิลำเนาของดำคือจังหวัดปทุมธานี

นั้นก็คือ จังหวัดที่เราอาศัยอยู่ในตอนนี้ไม่ใช่ตามทะเบียนบ้าน อย่างผม อาศัยอยุ่ที่จังหวัดนนท์ ภูมิลำเนาของผมก็อยู่ที่จังหวัดนนท์

0
hahaboy 4 ส.ค. 56 เวลา 23:44 น. 14

มาตรา 41 ภูมิลำเนาย่อมเปลี่ยนไปด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่ พร้อมด้วยเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา ยิ้มฟันขาว

0
mazorini 10 พ.ย. 56 เวลา 13:50 น. 15
ถิ่นใดจะเป็นภูมิลำเนาของบุคคลใดนั้น ต้องมีองค์ประกอบสองประการดังต่อไปนี้
1. ถิ่นนั้นเป็นแหล่งพำนักของบุคคลนั้นโดยพิจารณาตามความเป็นจริง ถิ่นเช่นว่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นถิ่นที่อยู่ตามทะเบียนสำมะโนครัว ถิ่นที่อยู่ถาวร ถิ่นอันตั้งรกรากถาวร หรือถิ่นที่อยู่หรือที่ทำงานเป็นการประจำ แต่ต้องไม่ใช่ถิ่นที่อยู่เป็นการชั่วคราวหรือเพียงระยะสั้น ๆ อันสามารถกะเวลาที่อยู่ชั่วคราวหรือสั้น ๆ นั้นได้แน่นอน เช่น หอพักของนักศึกษาไม่ถือเป็นภูมิลำเนาแม้จะมีการย้ายสำมะโนครัวมายังหอพักนี้ก็ตาม (มาตรา 37 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
2. บุคคลนั้นแสดงเจตนาให้ถิ่นดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของตน โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ใด ๆ ที่บุคคลนั้นแสดงออกให้บุคคลอื่นรับรู้ได้ว่าตนต้องการให้ถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของตน (มาตรา 38 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
การเปลี่ยนภูมิลำเนา บุคคลสามารถกระทำได้โดยการเปลี่ยนหรือย้ายถิ่นที่อยู่ และ/หรือแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา ทั้งนี้ พึงสำเหนียกว่าบุคคลดังกล่าวต้องมิใช่บุคคลพิเศษซึ่งกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น คนไร้ความสามารถ ผู้เยาว์ ฯลฯ (มาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
นอกจากนี้ บุคคลยังสามารถกำหนดให้ถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ (อังกฤษ: special domicile) ของตนก็ได้ เพื่อไว้ใช้ทำการใด ๆ ตามแต่ประสงค์ การดังกล่าวกระทำได้โดยแสดงเจตนาให้ปรากฏชัดแจ้งว่าต้องการให้ถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ
[แก้] กรณีที่ภูมิลำเนาไม่ปรากฏ
ในกรณีที่ภูมิลำเนาของบุคคลไม่ปรากฏ กล่าวคือ บุคคลนั้นไม่เปิดเผยให้ผู้ใดทราบก็ดี หรือไม่มีความแน่ชัดว่าบุคคลนั้นต้องการให้ถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาของตนก็ดี หรือประการอื่นก็ดี ให้เอาถิ่นที่บุคคลนั้นพำนักอยู่เป็นหลักแหล่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น ซึ่งหากว่าบุคคลนั้นพำนักอยู่เป็นหลักแหล่งในหลายถิ่น จะถือเอาถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาก็ได้ (มาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
[แก้] กรณีที่บุคคลมีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งหลายถิ่น
ในกรณีที่บุคคลมีถิ่นที่อยู่หรือถิ่นอันเป็นหลักแหล่งในการประกอบอาชีพหลายแห่ง และทุกแห่งก็ล้วนสำคัญ ไม่อาจกำหนดได้ว่าถิ่นใดสำคัญกว่าเพื่อน ในกรณีเช่นว่านี้กฎหมายยอมรับให้บุคคลอาจมีภูมิลำเนาหลายแห่งได้ โดยจะถือเอาแห่งใดเป็นภูมิลำเนาของตนก็ได้ (มาตรา 38 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
[แก้] กรณีที่บุคคลมีที่อยู่ไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง
ในกรณีที่บุคคลใดมีที่อยู่ไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง เช่น ครองชีพด้วยการสัญจรไปมา เป็นต้นว่า ทำงาน และปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ บนรถบรรทุก ในกรณีเช่นว่านี้ หากพบตัวบุคคลดังกล่าวในถิ่นไหนก็ให้ถือเอาถิ่นที่พบตัวนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลเช่นว่า (มาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
[แก้] ภูมิลำเนาในกรณีพิเศษ
[แก้] ภูมิลำนาของคู่สมรส
บุคคลที่เป็นสามีและภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ภูมิลำเนาของบุคคลทั้งสองนี้ได้แก่ถิ่นที่อยู่ซึ่งทั้งสองอยู่กินกันฉันสามีและภรรยา เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแสดงเจตนาให้ชัดแจ้งว่าประสงค์จะมีภูมิลำเนาต่างหากจากกัน (มาตรา 43 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
[แก้] ภูมิลำเนาของผู้เยาว์
ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดา และ/หรือมารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือภูมิลำเนาของผู้ปกครองของผู้เยาว์นั้น ทั้งนี้ จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ ในกรณีที่บิดาและมารดามีภูมิลำเนาต่างหากจากกัน ภูมิลำเนาของผู้เยาว์จะได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาที่ผู้เยาว์นั้นพำนักอยู่ด้วย (มาตรา 44 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
ทั้งนึ้ บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง บิดาซึ่งมีทะเบียนสมรส หรือมีเอกสารของราชการรับรองความเป็นบิดา ส่วนมารดานั้นเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเสมอ
ตัวอย่างเช่น เด็กชาย ก เป็นบุตรของนาย ข และนาง ค ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีและภรรยา ณ จังหวัดเชียงราย โดยไม่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ต่อมา นาย ข ย้ายไปรับราชการ ณ จังหวัดเชียงใหม่ สามีภรรยาทั้งสองจึงตกลงใจให้เด็กชาย ก ย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกับนาย ข ยังจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนนาง ค คงอยู่จังหวัดเชียงรายตามเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ ภูมิลำเนาของเด็กชาย ก ได้แก่จังหวัดเชียงรายตามภูมิลำเนาของมารดา เนื่องจากนาย ข นั้นไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ก จึงไม่ถือว่าเป็นผู้แทนโดยชอบหรือผู้ใช้อำนาจปกครองของเด็กชาย ก ได้ เป็นต้น
[แก้] ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถและของคนเสมือนไร้ความสามารถ
ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ตน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ จนกว่าศาลจะได้เพิกถอนคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (มาตรา 45 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
[แก้] ภูมิลำเนาของข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และพนักงานของรัฐ
ภูมิลำเนาของบุคคลประเภทดังกล่าวนี้ ได้แก่ ถิ่นอันเป็นที่ปฏิบัติราชการตามตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งต้องไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราว ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) เช่น
นาย ก เป็นชาวกรุงเทพมหานคร และเป็นข้าราชการตุลาการสังกัดศาลอาญาจังหวัดเชียงใหม่ ภูมิลำเนาของนาย ก ได้แก่ ศาลอาญาจังหวัดเชียงใหม่ 
นาง ฮ เป็นชาวจังหวัดยะลา และเป็นข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ต่อมามีคำสั่งกรุงเทพมหานครให้นาง ฮ ไปตรวจราชการ ณ จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลาสามเดือน ภูมิลำเนาของนาง ฮ ได้แก่กรุงเทพมหานคร 
[แก้] ภูมิลำเนาของคนคุก
ผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ภูมิลำเนาของบุคคลดังกล่าวได้แก่สถานที่ตนถูกจำคุกอยู่ เช่น เรือนจำ ทัณฑสถาน ฯลฯ กรณีนี้ไม่รวมถึงการถูกคุมขังเป็นเวลาชั่วคราว ณ สถานีตำรวจ หรือถูกคุมขังในระหว่างรอการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นต้น (มาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
[แก้] ภูมิลำเนาทหาร
ตัวอย่างใบสำคัญที่รัฐบาลไทยออกให้เพื่อใช้เรียกเกณฑ์ชายไทยเข้ารับราชการทหารดู พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พุทธศักราช 2497 เพิ่มเติม
ภูมิลำเนาทหาร หมายถึง ภูมิลำเนาของบุคคลผู้ขึ้นทะเบียนเป็นทหารกองเกินตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร จึงสรุปได้ว่าภูมิลำเนาทหารมีได้แต่ชายเท่านั้น
สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พุทธศักราช 2497 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน บัญญัติว่า ชายไทยเมื่ออายุได้สิบเจ็ดปีมีหน้าที่ไปขึ้นทะเบียนเป็นทหาร ณ สถานที่ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (มาตรา 5)[4]
1. ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ว่าฝ่ายไหนหรือผู้ปกครองของบุคคลนั้นมีชีวิตอยู่ ให้ไปขึ้นทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอตามภูมิลำเนาของผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง แล้วแต่กรณี
2. ในกรณีที่บิดาของบุคคลดังกล่าวมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย และมิได้จดทะเบียนรับรองบุคคลนั้นเป็นบุตร ถ้ามารดายังมีชีวิตอยู่ก็ให้ไปขึ้นทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอตามภูมิลำเนาของมารดา แต่ในกรณีเช่นว่า หากมารดาตายแล้วด้วย แต่มีผู้ปกครอง ก็ให้ไปขึ้นทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอตามภูมิลำเนาของผู้ปกครอง
3. ถ้าไม่สามารถไปขึ้นทะเบียน ณ ท้องที่ตามข้อ 1. หรือข้อ 2. ไม่ว่าเพราะเหตุใดก็ตาม ให้ไปขึ้นทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอตามภูมิลำเนาของตนได้เลย แต่ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏก็ให้ไปขึ้นทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอของท้องที่ที่พบตัวบุคคลนั้น
เมื่อได้ขึ้นทะเบียนดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับขึ้นทะเบียนจะออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนให้ เรียก "ใบสำคัญ" หรือเรียกโดยภาษาปากว่า "สด. 9" และอำเภอที่บุคคลขึ้นทะเบียนก็ได้แก่ภูมิลำเนาทหารของบุคคลนั้นเอง
บุคคลสามารถมีภูมิลำเนาทหารได้บุคคลละภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น


0