Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

กลไกมนุษย์ machine of human เรื่อง การหมุนเวียนของเลือด(M.2)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ระบบการหมุนเวียนของเลือด มี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
  1.ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open Circulatory System)
  2.ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด (Closed Circulatory System)
p p

แผนภาพแสดงระบบหมุนเวียนของเลือด

   ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด หมายถึง ระบบที่เลือดไม่ได้หมุนเวียนตลอดเวลา
เช่นพวกแมลง
  
ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด หมายถึง ระบบที่เลือดไหลวนเวียนอยู่ในเส้นเลือดตลอด
เช่น พวกไส้เดือน

      ระบบการหมุนเวียนเลือดในคน
  - มีระบบการหมุนเวียนแบบปิด
  - หัวใจ มีหน้าที่สูบฉีดเลือดให้เคลื่อนที่ไปตามเส้นเลือด

      หัวใจ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
  1.ชั้นนอก
  2.ชั้นกลาง
  3.ชั้นใน

  1. ผนังด้านนอกของหัวใจ เส้นเลือดมา หล่อเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจ เรียกว่า เส้นเลือด
โคโรนารี (Coronary artery ) ถ้ามี ไขมัน มาเกาะติด ทำให้เกิด การอุดตัน ซึ่งมี
อันตราย ถึงชีวิตได้
  2. เนื้อเยื่อชั้นกลางประกอบไปด้วย กล้ามเนื้อพิเศษ เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเนื้อเยื่อ
ชั้นนี้ จะมีความหนามาก
  3. เนื้อเยื่อชั้นใน หัวใจของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมี 2 ห้องบน 2 ห้องล่าง
  -
ห้องบน คือ เอเทรียม (atrium)
  - ห้องล่าง คือ เวนทริเคิล (Ventricle)

p p


    หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม จะมีเส้นเลือด ที่ติดต่อ กับหัวใจ หลายเส้น เรียกว่า
เส้นเวน (vein) เป็นเส้นเลือด ที่นำเลือด เข้าสู่หัวใจ อาร์เทอรี (Artery) เป็นเส้นเลือด
ที่นำเลือด ออกจากหัวใจ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่ายกาย

      การหมุนเวียนของเลือด

   ห้องเอเทรียมขวา มีหน้าที่รับเลือด จากเส้นเวน ชื่อซุพีเรียเวนาคาวา (Superior
venacava) นำเลือด มาจากหัว และแขน และ รับเลือด มาจาก อินฟีเรีย เวนาคาวา
(Inferior venacava) ซึ่งนำเลือด มาจาก ลำตัวและขา แล้วนำ เข้าสู่หัวใจ เอเทรียม
ขวา บีบตัวเลือด เข้าสู่ เวนทริเคิลขวา โดยจะผ่าน ลิ้นไตรคัสปิด (tricuspid valve)
บีบตัว เลือดจะผ่าน ลิ้นเซมิลูนาร์ (Semilunar valve)ซึ่งจะเปิด เข้าสู่เส้น พัลโมนารี
อาร์เทอรี (Pulmonary artery) นำเลือด ไปยังปอด เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนได
ออกไซด์ แก่ปอด และรับ ออกซิเจน จากปอด
   
เลือดที่มีออกซิเจนสูง จะไหล กลับหัวใจ เข้าสู่ห้อง เอเทรียมซ้าย เมื่อเอเทรียมซ้าย
บีบตัว เลือดจะผ่าน ลิ้นไมทรัล (Mitral valve) หรือ ลิ้นไบคัสปิด (bicuspid valve)
เข้าสู่ห้อง เวนทริเคิลซ้ายเวนทริเคิลซ้าย บีบตัว จะดันเลือด ให้ไหลผ่าน ลิ้นเซมิลูนาร์
เข้าสู่ เอออร์ตา (Aorta)

ลักษณะที่สำคัญของเส้นเลือดอาร์เทอรี

  - นำเลือดออกจากหัวใจ
  - ขนาดใหญ่สุด คือ เอออร์ตา
  - ขนาดเล็กสุด คือ อาร์เทอรี
  - มีผนังหนา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้
  - เอออร์ตา มีความยืดหยุ่นที่ดี สามารถขยายรับแรงดันเลือด
  - อาร์เทอรี ยืดหยุ่นตาม จังหวะ การเต้นของหัวใจ เราสามารถ จับชีพจรได้จาก
เส้นอาร์เทอรี ตรงบริเวณข้อมือ
  - อาร์เทอรีที่อยู่ไกลหัวใจ จะมีขนาดเล็กลง ความยืดหยุ่นน้อยลง

      ลักษณะที่สำคัญของเส้นเลือดเวน
  - มีหน้าที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ
  - เส้นเวนที่ต่อกับเส้นเลือดฝอยมีขนาดเล็ก
  - มีขนาดใหญ่เมื่ออยู่ใกล้หัวใจ
  - ผนังของเส้นเลือดบาง และมีความยืดหยุ่นน้อย
  - มีกล้ามเนื้อน้อย
  - รูของเส้นเวนกว้างกว่ารูของอาร์เทอรี
  - เวนเส้นใหญ่จะมีลิ้นอยู่ภายในเป็นช่วง ๆ

      เส้นเลือดฝอย
   เส้นเลือดฝอย มีลักษณะเป็นร่างแห แทรกอยู่ตาม เนื้อเยื่อ ของร่างกาย เชื่อมระหว่าง
อาร์เทอรีและเวน ผนังเส้นเลือดฝอย เหมาะสำหรับ แลกเปลี่ยน ก๊าซและสาร ต่าง ๆ
ระหว่างเลือด กับเซลร่างกาย ปกติผู้ใหญ่ มีความดันเลือด ประมาณ 120/80 มิลลิเมตร
ปรอท ตัวแรก 120 คือ ค่าความดันเลือดสูงสุด ขณะหัวใจบีบตัว เรียกว่า ความดัน
ซิสโทลิก (Systolic) ตัวหลัง 80 คือ ความดันเลือด ขณะหัวใจ พองตัว คือ ความดัน
ไดแอสโทลิก (diastolic)

   โรคที่เกิดจากความดันเลือด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น

      เลือดคนประกอบด้วย
  - น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma) ประมาณ 55%
  - เม็ดเลือด (Blood Corpuscle) ประมาณ 45%

     เม็ดเลือด ประกอบไปด้วย
  - เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte)
  - เม็ดเลือดขาว (leucocyte)
  - เพลตเลต (Platelet)

     เม็ดเลือดแดง
 - เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างกลม แบน ตรงกลางเว้าเข้าหากัน
 - ผู้ใหญ่ เม็ดเลือดแดงสร้างมาจากตับ , ม้าม, ไขกระดูก
 - เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่ จะมีนิวเคลียส เมื่อเจริญเต็มที่ จะไม่มีนิวเคลียส เม็ดเลือด
แดง มีรงควัตถุ คือ ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ประกอบด้วย โปรตีน และธาตุเหล็ก
เป็นองค์ประกอบ ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) คือ ฮีโมโกลบิน รวมกับ
ออกซิเจน

     เม็ดเลือดขาว
  - มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงเกือบ 2 เท่า
  - มีนิวเคลียส
  - มีจำนวนน้อยกว่าเม็ดเลือดแดง
  - เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
  - เม็ดเลือดขาวสร้างจากม้าม , ต่อมไทมัส , ต่อมน้ำเหลือง ,ไขกระดูก

     เซลล์ เม็ดเลือดขาว แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
  1.พวกมีแกรนูล (granule) ในไซโทพลาสซึม มีนิวเคลียสรูปร่างต่าง ๆ กัน สร้าง
จากม้ามและไขกระดูก
  2.พวกไม่มีแกรนูล ในไซโทพลาสซึม นิวเคลียส มีลักษณะ ค่อนข้างกลม สร้างมาจาก
ต่อมไทมัส , ต่อมน้ำเหลือง , ม้าม

     วิธีทำลายเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาว
  เม็ดเลือดขาว ที่มีแกรนูล บางชนิด ทำลายเชื้อโรค โดยวิธี ฟาโกไซโทซีส บางชนิด
จะสร้างโปรตีนต่อต้าน สิ่งแปลกปลอม หรือ แอนติบอดี (Antibody) สิ่งแปลกปลอม
ที่เข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งเชื้อโรค เรียกว่า แอนติเจน

  แอนติบอดี มีหน้าที่ต่อต้านแอนติเจน

  Active immunity คือ ภูมิคุ้มกันก่อเอง

  Passive immuity คือ ภูมิคุ้มกันรับมา

  เพลตเลต บางครั้งเรียกว่า เศษเม็ดเลือด , เกล็ดเลือด , แผ่นเลือด

  เพลตเลต จะอยู่ในไซโทพลาสซึม ซึ่งมีในไขกระดูก มีรูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็ก กว่า
เม็ดเลือดแดงเกือบ 4 เท่า

  เพลตเลต ทำให้เลือดแข็งตัวในขณะที่เส้นเลือดฉีดขาด

     ขบวนการแข็งตัวของเลือด
  ในขณะที่เส้นเลือด ฉีกขาด เพลตเลต จะปล่อยเอนไซม์ ทรอมโบพลาสติน
(thromboplastin) กับแคลเซียม ในเลือด จะเปลี่ยน โพรทรอมบิน (Prothrombin)
เป็นทรอมบิน สารนี้ สามารถเปลี่ยนไฟบริโนเจน (Fibrinogen) ให้เป็น ไฟบริน

  ไฟบริน มีลักษณะเป็น เส้นใยเหนียว อุดตรงจุด รอยฉีกขาด ของเส้นเลือดและเพลตเลต
มาเกาะบนร่างแห ทำให้เลือด หยุดไหล

                                        แผนภาพขบวนการแข็งตัวของเลือด

p p

   
    คนที่ขาดวิตามิน K ทำให้เลือดแข็งตัวช้า เพราะวิตามิน K มีความจำเป็น ในการสร้าง
โพรทรอมบิน

      น้ำเลือด
   น้ำเลือด หมายถึง เม็ดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งเพลตเลตที่อยู่ในของเหลว น้ำเลือด
ประกอบไปด้วย
  - น้ำประมาณ 90 - 93%
  - โปรตีน เช่น ไฟบริโนเจน อัลบูมิน (albumin)โกลบูลิน(globulin)

   น้ำเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้ว ไปให้เซลที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และรักษา
สมดุลความเป็น กรด เบส ในร่างกาย

      หมู่เลือด
   เลือดสามารถแบ่งได้ตามชนิดของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม
     กลุ่ม A
     กลุ่ม B
     กลุ่ม AB
     กลุ่ม O

  การจำแนกกลุ่มเลือดตามชนิดของสารแอนติเจน เรียกว่าระบบ ABO

  แอนติเจน Rh สามารถแบ่งเป็น
  - Rh+ หมายถึง คนที่มีแอนติเจน Rh อยู่ในเยื่อหุ้มเซล เม็ดเลือดแต่ไม่มีแอนติบอดี Rh
อยู่ในเลือด
  - Rh- หมายถึง คนที่ไม่มีแอนติเจน Rh ในเม็ดเลือดแดง และไม่มีแอนติบอดีของ Rh

     ระบบน้ำเหลือง
  สารในน้ำเหลือง ส่วนใหญ ่เป็นโปรตีน มีโมเลกุล ขนาดใหญ่ มีเอนไซม์ ฮอร์โมน
เม็ดเลือดขาว น้ำเหลือง ทำหน้าที่ เป็นตัวกลาง แลกเปลี่ยน สารต่าง ๆ ระหว่างเซล
และเส้นเลือดฝอย น้ำเหลือง ช่วยกำจัดแบคทีเรีย หรือสิ่งแปลกปลอม ซึ่งทำลายโดย
เซลเม็ดเลือดขาว ในต่อมน้ำเหลือง โดยวิธีฟาโกไซโทซีส

    ระบบน้ำเหลือง ประกอบด้วย
  - น้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง
  - ต่อมน้ำเหลือง (lymph node)
  - อวัยวะน้ำเหลือง (lymphatic organ)

    ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะน้ำเหลือง มีหน้าที่
  - กรองน้ำเหลืองง
  - ทำลายเชื้อโรค
  - แหล่งทำลายเม็ดเลือดขาวที่หมดอายุ
  - แหล่งสร้างเม็ดเลือดขาวบางชนิด





ที่มา http://school.obec.go.th/nichaya/ruang/blood.html
การศึกษาคืออนาคต

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 20 เมษายน 2550 / 16:38

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

ยมทูตตัวน้อย 6 ส.ค. 51 เวลา 20:08 น. 2

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะเรื่องนี้ต้องใช้ศึกษาตลอดชีวิต ในตอนนี้เราก็เรียนเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน สนุกมากๆเพราะเราชอบวิชาวิทยาศาสตร์สุดๆ5,7,16

0