Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประเพณี12เดือน คร้า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เดือนอ้าย หรือ เดือน 1 - บุญเข้ากรรม

       บุญเข้ากรรม ได้แก่ประเพณีทำบุญเข้ากรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนอ้ายหรือเดือนธันวาคมนั่นเอง โดยมีมูลเหตุ เนื่องจากมีพระภิกษุรูปหนึ่งล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับตะไคร้น้ำขาดเป็นอาบัติ ครั้นถึงเวลาใกล้จะตายมองหาภิกษุสักรูปหนึ่งเพื่อจะแสดงอาบัติก็ไม่เห็น ครั้นมรณภาพไปแล้ว จึงเกิดเป็นพญานาคชื่อ เอรถปัต เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เกิดมีการเข้ากรรมขึ้นทุกปี เพื่อให้โอกาสแก่ภิกษุอาบัติที่ไม่มีโอกาสแสดงอาบัติได้แสดงและได้อยู่กรรมจนพ้นอาบัติในเดือนนี้

       พิธีทำบุญเข้ากรรม จัดทำโดยพระภิกษุ ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คือ อาบัติขนาดกลาง ต้องปฏิบัติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบเป็นเครื่องออกอาบัติ โดยให้พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตที่จำกัด ทรมานกายและชำระจิตใจให้บริสุทธิ ถือเป็นการแทนคุณมารดาที่ต้องอยู่กรรม(อยู่ไฟ) ด้วยการเข้ากรรมทำอยู่เก้าราตรี คือ สามราตรีแรกเรียกว่า อยู่บริวาส และหกราตรีต่อมาเรียกว่า อยู่มานัต เมื่อครบเก้าราตรีจึงอัพภาน คือ ออกจากกรรม โดยมีพระสงฆ์ 20 รูป เป็นผู้สวดอัพภาน
       การสวดระงับอาบัติ ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้ว ถือว่าเป็นผู้หมดมลทินบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชาวบ้านที่ทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ระหว่างเข้ากรรมถือได้ว่ากุศลแรง

  เดือนยี่ หรือ เดือน 2 - บุญคูณลาน

       ลาน ในที่นี้คือ ลานนวดข้าว คือ เอาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วมากองให้สูงขึ้น กริยาที่ทำให้ข้าวเป็นกองสูงขึ้น เรียกว่า คูณ หลังเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วก็อยู่ในเดือนยี่หรือเดือนมกราคม ชาวนาก็จะทำบุญคูณลานหรือเรียกบุญเดือนยี่ก็ได้

       มูลเหตุที่มีการทำบุญคูณลานนั้นมีว่า ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า มีชายพี่น้องสองคนทำนาร่วมกัน พอข้าวออกรวงเป็นน้ำนม น้องชายอยากทำข้ามธุปกยาสถวายพระสงฆ์ซึ่งมีพระกัสสปพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้ชวนพี่ชาย แต่พี่ชายไม่ทำ จึงตกลงแบ่งนากัน เมื่อน้องชายได้กรรมสิทธิ์ในที่นาแล้วก็ทำทานถึง 3 ครั้ง คือ ตอนที่ข้าวเป็นน้ำนม 1 ครั้ง ฟาดข้าว 1 ครั้ง และขนข้าวขึ้นยุ้งอีก 1 ครั้ง ในการถวายทานทุกครั้งปรารถนาจะเป็นพระอรหันต์ ครั้นถึงสมัยพระโคดมก็ได้เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อ โกญทัญญะ ได้ออกบวชเป็นปฐมสาวก แล้วก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
       ส่วนพี่ชายถวายข้าวในในเพียงครั้งเดียวคือในเวลานวดข้าวเสร็จแล้ว และได้ตั้งปณิธานขอสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล และต่อมาได้เกิดเป็นสุภัททปริพาชก ได้บวชในศาสนาของพระโคดม แต่ไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโคดม คงเพียงได้กราบบังคมทูลถามข้อสงสัยในขณะที่พระพุทธเจ้าใกล้ปรินิพพาน เมื่อได้ฟังดำรัสแล้วก็สำเร็จเป็นพระอนาคา และเป็นอริยสงฆ์องค์สุดท้ายในสมัยพุทธกาล

       พิธีทำบุญคูณลาน ในตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ กลางคืนอาจมีการคบงันบ้าง ตอนเข้าถวายภัตตาหารบิณฑบาตร เทศนาฉลองสู่ขวัญลาน เลี้ยงอาหารแก่ผู้ไปร่วมพิธี พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำมนต์ไประข้าว วัว ควาย เชื่อว่าเข้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป เมื่อเสร็จพิธีจึงขนข้าวใส่ยุ้งและเชิญขวัญข้าว คือ เชิญเจ้าแม่โพสพไปยังยุ้งข้าว
       การทำบุญคูณลานนี้ทำขึ้นเฉพาะนาใครนามัน ทำส่วนตัว แต่ถ้าทำส่วนรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญคุ้ม หรือ บุญกุ้มข้าวใหญ่ คนทั้งหมู่บ้านมาทำบุญร่วมกัน โดยมีการปลูกปะรำขึ้น มีการนำดอกไม้ธูปเทียนมารวมกัน มารับศีลฟังธรรมถวายอาหารพระสงฆ์ อันนี้เรียกว่า บุญคุ้ม แต่ถ้าเป็นบุญคุ้มข้าวใหญ่ก็มีการนำข้าวเปลือกมารวมกัน ทำพิธีเหมือนกัน แต่ต่างกันที่สถานที่ ซึ่งต้องใช้ศาลาโรงธรรมหรือศาลากลางบ้าน

แสดงความคิดเห็น

>

26 ความคิดเห็น

we~^Love \ 19 พ.ค. 50 เวลา 16:44 น. 1

เดือนสาม - บุญข้าวจี่

       ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วทำเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ด ขนาดใหญ่เสียบไม้ย่างไฟให้เกรียม ทาไข่ไก่หรือไข่เป็ดแล้วย่างให้สุกดีอีกครั้ง

      
การทำบุญข้าวจี่เป็นอาหารถวายทานมีผู้นิยมทำกันมาก เชื่อว่าได้กุศลมากเป็นกาละทานอย่างหนึ่ง ทำกันในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มาฆบูชา) โดยมีมูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวจี่นั้นว่า ครั้งพุทธกาลนางปุณณทาสีทำขนมแป้งจี่ถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ ตอนแรกนางคิดว่าถวายแล้วพระพุทธองค์คงจะไม่ฉัน เพราะเป็นอาหารพื้น ๆ พระพุทธองค์พรงทราบวาราจิตของนางปุณณทาสี ก็ทรงสั่งให้พระอานนท์ปูอาสนาและทรงประทับนั่งละเสวยข้าวจี่ตรงนั้นทันที เป็นเหตุให้นางปุณณทาสีเกิดความปิติยินดีอย่างที่สุด เมื่อเสวยเสร็จพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมให้นางปุณณทาสีฟัง หลังจากฟังแล้วนางก็ได้บรรลุโสดาบันติผล เพราะเหตุนี้บรรดาชาวนาจึงถือเป็นนิมิตหมายในการทำบุญข้าวจี่หลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่ออานิสงส์ทำนองนั้น

       พิธีทำบุญข้าวจี่ เมื่อเตรียมอุปกรณ์การทำข้าวจี่พร้อมแล้ว ชาวบ้านอาจไปรวมกันหรือต่างคนจัดทำจากบ้าน แล้วนำไปถวายพระภิกษุที่วัด มีการไหว้พระรับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรด้ายข้าวจี่ พอพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วก็อนุโมทนา หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จพิธี

เดือนสี่ - บุญพระเวส

       พระเวสฯนั้นหมายถึง พระเวสสันดร บุญพระเวส ได้แก่ประเพณีทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งมักทำกันในเดือน 4 หรือเดือนมีนาคม มีมูลเหตุว่า เมื่อพระมาลัยขึ้นไปไหว้พระธาตุเกศาแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระศรีอริยเมตไตรย์ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย์ ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยว่ามนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาจะพบศาสนาของท่าน ก็สั่งกับพระมาลัยให้ลงมาบอกกับมนุษย์ทั้งหลายว่า ถ้าหากปรารถนาเช่นนั้นจริง ๆ แล้ว ขอจงอย่าฆ่าตีกัน โบยพ่อแม่สมณชีพราหมณาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้าและยุยงให้พระสงฆ์แตกแยกกัน ให้ตั้งใจฟังมหาเวสให้จบได้ในวันเดียว เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดประเพณีบุญพระเวสฯ

       พิธีทำบุญพระเวส เมื่อกำหนดวันทำบุญแล้ว ชาวบ้านจะเตรียมอาหารและที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร และผู้มาร่วมงานจากหมู่บ้านใกล้เคียงไว้ให้พร้อมและเตรียมเครื่องบูชาไว้ล่วงหน้า ได้แก่ หมาก เมี่ยง เทียน ธูป ปืน ดาบ ข้าวตอกดอกไม้ นอกจากนี้มีเครื่องประดับและบูชาอื่น ๆ อีก วันแรกซึงเป็นวันรวมหรือวันโฮม ตอนเข้ามีการนิมนต์พระอุปคุตมาประดิษฐานที่หอข้างศาลาโรงธรรมตั้งแต่เช้ามืด ตอนบ่ายมีพิธีอัญเชิญและแห่พระเวสสันดร และพระนางมัทรีเข้าเมือง กลางคืนตอนหัวค่ำ มีอาราธนาพระสวดพระพุทธมนต์ เทศน์พระมาลัยหมื่นมาลัยแสน พอจวนสว่างมีการประกาศป่าวเทวดา และอาราธนาพระเทศน์สังกาสและอาราธนาเทศน์มหาชาติต่อ โดยขึ้นจากกัณฑ์ทศพรจนถึงกัณฑ์นคร มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ เมื่อจบมีเทศน์ฉลองพระเวสสันดรอีกครั้ง



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 19 พฤษภาคม 2550 / 16:46
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 19 พฤษภาคม 2550 / 16:48
0
we~^Love \\\\ 19 พ.ค. 50 เวลา 16:53 น. 2

เดือนห้า - บุญสงกรานต์

       คำว่า "สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่ง ก็เรียกว่า "สงกรานต์" ปีหนึ่งมี 12 ราศี แต่วันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นราศีเมษ เราเรียกเป็นพิเศษว่า "มหาสงกรานต์" เพราะถือว่าเป็นวันและเวลาขึ้นปีใหม่ตามคติโบราณ

       มูลเหตุที่จะมีบุญสงกรานต์มีเรื่องเล่าว่า กบิลพรหมจากพรหมโลกมาถามปัญหาธรรมบาล 3 ข้อ คือ คนเราในวันหนึ่ง ๆ เวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาเย็นศรีอยู่ที่ไหน ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัดศีรษะตนบูชา แต่ถ้าธรรมบาลตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลเสีย โดยผลัดให้เจ็ดวัน ในขั้นเเรกธรรมบาลตอบไม่ได้ ในวันถ้วนหกธรรมบาลเดินเข้าไปในป่า เผอิญแอบได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดคำตอบสู่กันฟังว่า ตอนเข้าศรีอยู่ที่หน้า คนจึงเอาน้ำล้างหน้า ตอนกลางวันหรือเที่ยงศรีอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมหน้าอก ตอนกลางวันและตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าในตอนเย็น ธรรมบาลมีความรู้ภาษานกจึงจำคำตอบได้ ถึงเจ็ดวันถ้วน กบิลพรหมมาทวงปัญหา ธรรมบาลตอบได้ตามที่ได้ยินนกพูดกัน กบิลพรหมจึงตัดศีรษะตนบูชาตามสัญญา แต่ศีรษะกบิลพรหมศักดิ์สิทธิ์ หากตกใส่ดินไฟจะไหม้ ตกใส่อากาศฝนจะแล้ง และถ้าทิ้งใส่ในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง กบิลพรหมจึงให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งมีชื่อว่า ทุงษ โคราด รากษส มัณฑา กิริณี กิมิทา และมโหทร เอาพานมารองรับศีรษะของตนไว้ แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นเวลา 60 นาที จึงนำศีรษะกบิลพรหมไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปในถ้ำคันธุลี เขาไกรลาส ครบหนึ่งปีธิดาทั้งเาจ็ดจะผลัดเปลี่ยนกันมาอัญเชิญศีรษะของกบิลพรหม แห่รอบเขาพระสุเมรุครั้งหนึ่ง พิธีแห่เศียรกบิลพรหมนี้ทำให้เกิดพิธีตรุษสงกรานต์ขึ้น

       พิธีทำบุญสงกรานต์ นิยมทำในเดือนห้า โดยเริ่มตั้งแต่วันทื่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน โดยวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ นที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา และวันที่ 15 เมษายน คือวันสุดท้ายเป็นเถลิงศก ชาวอีสานโบราณถือเป(นวันขึ้นปีใหม่ วันแรกมีพธธีสรงน้ำพระพุทธรูปที่วัด ตอนกลางคืนอาจมีการคบงันที่วัด มีการละเล่นต่าง ๆ และมีการสาดน้ำซึ่งกันและกันตลอด 3 วัน คือวันที่ 13-14-15 เมษายน ในวันที่ 15 เมษายนบางแห่งตอนเช้าทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายมีการแขวนธงยาวและก่อเจดีย์ทรายที่วัด นอกนี้มีการสรงน้ำพระสงฆ์และผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ มีพิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธรูปและพระสงฆ์ การแห่ข้าวพันก้อน และการแห่ดอกไม้ด้วย

เดือนหก - บุญบั้งไฟ

       นิยมทำกันในเดือนหก มูลเหตุจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เมื่อทำบุญบั้งไฟแล้วเชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ข้าวปลาอาหารจะบริบูรณ์ และประชาชนในละแวกนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

       พิธีทำบุญบั้งไฟ หมู่บ้านและวัดเจ้าภาพจะเตรียมทำบั้งไฟ เตรียมที่พักและสุรา อาหารไว้ต้อนรับผู้มาร่วมงาน มีการบอกบุญไปยังวัดและหมู่บ้านใกล้เคียง ให้ทำบั้งไฟและเชิญสคนมาร่วมงาน บางแห่งมีการประกวดบั้งไฟและขบวนแห่ด้วย ในงานวันแรก ชาวบ้านในหมู่บ้านที่ได้รับเชิญ และพระภิกษุสามเณรที่ได้นิมนต์มาร่วมงานพร้อมบั้งไฟ วันแรกจะมีการแห่บั้งไฟ ประกวดบั้งไฟและขบวนแห่(ถ้ามี) และแสดงการเล่นต่าง ๆ เช่น การเซิ้ง และการละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น วันรุ่งขึ้นมีการละเล่นต่ออีก ในงานมักมีพิธีบวชนาค และบางที่มีพิธีฮดสรง หรือเถราภิเษก แด่พระภิกษุสามเณร ผู้เห็นว่าเป็นผู้ทรงธรรม เพื่อเลื่อนสมณศักดิ์ตามประเพณีโบราณด้วย ตอนบ่ายของวันที่สองของงานจึงนำบั้งไฟไปจุด ณ ที่นั่งร้านที่จัดไว้เป็นเสร็จพิธี

เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ

       บุญซำฮะนิยมทำกันในเดือนเจ็ด จัดทำขึ้นเพื่อชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไรต่าง ๆ ออกจากหมู่บ้าน ตำบล เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนหายจากเหตุเภทภัยต่าง ๆ และอยู่เย็นเป็นสุข

       มูลเหตุที่จะมีการทำบุญซำฮะ มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธกาลที่เมืองไพสาลีเกิดทุพภิกขภัย เพราะฝนแล้ง ผู้คนอดอยากล้มตายมากมาย ชาวเมืองจึงอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จไประงับเหตุเภทภัย พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด โดยให้พระอานนท์เรียนคาถาแล้วไปสวดมนต์ในเมือง พร้อมนำบาตรน้ำมนต์ของพระองค์ไปประพรมจนทั่วเมืองทำให้ฝนตก ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้เกิดประเพณีทำบุญซำฮะตั้งแต่นั้นมา

        พิธีทำบุญซำฮะ ชาวบ้านจัดทำปะรำขึ้นในบริเวณหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง มีต้นกล้วยผูกเสาปะรำสี่มุม จัดอาสนะสงฆ์ เตรียมเครื่องบูชาพระรัตนตรัย ด้ายสายสินจน์ น้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน เครื่องไทยทาน กรวดทราย หลัดไม้ไผ่แปดหลัก ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตอนเช้าถวายภัตตาหาร ทำพิธีอยู่สามคืน เข้าวันสุดท้ายถวายสังฆทาน เสร็จพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ แล้วคนเฒ่าคนแก่ผูกแขนให้ชาวบ้าน หว่านกรวดทรายทั่วละแวกบ้าน เอาหลักแปดหลักไปตอกไว้ในทิศทั้งแปดของหมู่บ้าน วงด้ายสายสิญจน์รอบหมู่บ้าน และชาวบ้านนำสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอย ภาชนะชำรุด และสิ่งที่จะทำให้เกิดสกปรก ฯลฯ ไปทิ้งนอกหมู่บ้าน หรือทำการเผาหรือฝัง ให้บริเวณบ้านสะอาดเรียบร้อย เป็นเสร็จพิธี



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 19 พฤษภาคม 2550 / 16:55
0
we~^Love \ 19 พ.ค. 50 เวลา 17:04 น. 3
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา

       ถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด เป็นวันทำบุญ การเข้าพรรษาได้แก่ พระภิกษุสามเณร อยู่ประจำวัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนแปด ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรไปค้างคืนที่อื่น นอกจากไปด้วยสัตตาหกรณียะ คือการไปค้างคืนนอกวัดในระหว่างอยู่จำพรรษา เมื่อมีเหตุจำเป็น ได้แก่
       1. สหธรรมิก (ผู้มีธรรมอันร่วมกัน) หรือมารดาบิดาป่วย ไปเพื่อรักษาพยาบาล
       2. สหธรรมิกกรวะสันจะสึก ไปเพื่อระงับ
       3. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุด ไปเพื่อปฏิสังขรณ์
       4. ทายกบำเพ็ญกุศล ส่งมานิมนต์ไปเพื่อบำรุงศรัทธา
แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ ที่เป็นกิจจะลักษณะอนุโลมตามนี้ก็ไปค้างคืนที่อื่นได้ และต้องกลับมาภายใน 7 วัน

       มูลเหตุมีการเข้าพรรษาเนื่องจากสมัยพุทธกาาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอย่เวฬุวันกลันทกะนิวาปะสถาน ณ เมืองราชคฤห์ มีพระภิกษุพวกหนึ่งเรียกว่า "ฉับพัคคีย์" ได้เที่ยวไปทุกฤดูกาล ไม่สหยุดพักเลย โดยเฉพาะฤดูฝนอาจไปเหยียบย่ำข้าวกล้า และหญ้าระบัดใบ ตลอดสัตว์เล็กเป็นอันตราย ประชาชนทั่วไปพากันติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุสามเณรจำพรรษาตามกำหนดเวลาดังกล่าว

        พิธีทำบุญเข้าพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด ชาวบ้านมีการถวายภัตตาหารเข้าหรือเพล พร้อมเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแด่พระสงฆ์ เช่น ไตรจีวร ตั่งเตียง ยารักษาโรค เป็นต้น โดยเฉพาะเครื่องให้แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียง น้ำมัน เป็นต้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ เชื่อว่าถวายแล้วทำให้ตาทิพย์และสติปัญญาดี จอกจากนี้ มีการถวายต้นเทียน ซึ่งหล่อเป็นเล่ม หรือแท่งขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงาม และผ้าอาบน้ำฝน ตลอดบริวารอื่น ๆ แด่พระสงฆ์ มีการสวดมนต์ และฟังเทศน์ด้วย

0
we~^Love \ 19 พ.ค. 50 เวลา 17:07 น. 4
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน

       บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต หรือญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดินจะประกอบด้วย ข้าว อาหารคาวหวาน หมากพลูและบุหรี่ ซึ่งเราห่อหรือใส่กระทงไปวางไว้ตามพื้น หรือแขวนไว้ตามต้นไม้ในบริเวณวัด

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวประดับดินมีว่า ครั้งสมัยพุทธกาล มีญาติของพระเจ้าพิมพิสารไปกินอาหารของพระสงฆ์ ตายไปแล้วจึงเกิดเป็นเปรต เมื่อพระเจ้าพิมพิสารไปถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์แล้ว มิได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ ถึงเวลากลางคืนจึงพากันมาส่งเสียงรบกวนเพื่อขอส่วนบุญ พระเจ้าพิมพิสารจึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแจ้งเหตุให้ทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงีราบ จึงถวายสสังฆทานแล้วอุทิศส่วนบุญส่วนกกุศลไปให้ญาติพี่น้อง จึงทำให้เกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดินขึ้น

       พิธีทำบุญข้าวประดับดิน ในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ญาติโยมนิยมถวายทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ และมีการเตรียมอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ โดยห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทง รุ่งเช้าในวันแรม 14 ค่ำ เวลาประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา นำห่อหรือกระทงที่เตรียมไว้ไปถวายหรือแขวนในบริเวณวัด ในการวางสิ่งของเพื่ออุทิศให้เปรตหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วดังกล่าว บางท้องถิ่นอาจทำก่อนถวายทานก็มี เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวประดับดิน

เดือนสิบ - บุญข้าวสาก

        ประเพณีบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายหรือเปรตผู้เป็นญาติพี่น้อง ชาวบ้านจะทำข้าวสาก (ภาคกลางเรียกข้าวสารทหรือข้าวกระยาสารท) ไปถวายพระภิกษุสามเณร

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญข้าวสากมีว่า บุตรกุฏมณีผู้หนึ่งเมื่อพ่อสิ้นชีวิตแล้ว แม่ก็หาภรรยาให้ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน แม่จึงหาหญิงอื่นให้เป็นภรรยาอีก ต่อมาเมียน้อยมีลูก เมียหลวงอิจฉาจึงคิดฆ่าเมียน้อยและลูก ก่อนตายเมียน้อยคิดอาฆาตเมียหลวง ชาติต่อมาทั้งสองเกิดเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ และอาฆาตเข่นฆ่ากันเรื่อยมา จนชาติสุดท้าย ฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นคน อีกฝ่ายหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี ยักษิณีจองเวรได้มากินลูกของผู้เป็นคนถึงสองครั้ง พอเกิดลูกคนที่สามยักษิณีจะตามมากินอีก หญิงคนนั้นพร้อมลูกและสามี จึงหนีไปพึ่งพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าได้เทศนาให้ทั้งสองเลิกจองเวรกัน และโปรดให้ทางยักษิณีไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา นางยักษิณีมีความรู้เกณฑ์เกี่ยวกับฝนและน้ำดี ชาวเมืองนับถือมาก จึงได้นำอาหารไปส่งอย่างบริบูรณ์ นางยักษิณีจึงนำอาหารเหล่านั้นไปถวายเป็นสลากภัตแด่พระสงฆ์วันละแปดที่เป็นประจำ ชาวอีสานจึงถือเป็นประเพณีถวายสลากภัต หรือบุญข้าวสากสืบต่อมาและมีการเปลี่ยนเรียกนางยักษิณีว่า ตาแฮก

       พิธีทำบุญข้าวสาก ชาวบ้านจะเตรียมอาหารชนิดต่าง ๆ ใส่ภาชนะหรือห่อด้วยใบตองหรือใส่ชะลอมไว้แต่เช้ามืด วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ตอนเช้าจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่งก่อน พอตอนสายจวนเพลจึงนำอาหารซึ่งเตรียมไว้แล้วไปวัดอีกครั้ง เพื่อนำไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร โดยการถวายจะใช้วิธีจับสลาก นอกจากนี้ชาวบ้านยังนำเอาห่อหรือชะลอมหรือข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ นอกจากนี้ชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยง ตาแฮก ณ ที่นาของตนด้วย เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก
0
we~^Love \ 19 พ.ค. 50 เวลา 17:12 น. 5
เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา

       ประเพณีบุญออกวัสสา หรือ บุญออกพรรษา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์ทำพิธีออกพรรษาตามหลักธรรมวินัย คือ ปวารณาในวันเพ็ญเดือน 11 ญาติโยมทำบุญถวายทาน รักษาศีล เจริญภาวนา บางแห่งนิยมทำการไต้น้ำมัน หรือไต้ประทีป และพาสาทเผิ่ง (ปราสาทผึ้ง) ไปถวายพระสงฆ์

       มูลเหตุที่ทำให้เกิดบุญออกพรรษามีว่า เนื่องจากพระภิกษุสามเณรได้มารวมกันอยู่ประจำที่วัด โดยจะไปค้างคืนที่อื่นไม่ได้ นอกจากเหตุจำเป็นเป็นเวลา 3 เดือน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จะมาร่วมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณ์ คือการเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งภายหลังนั้นพระภิกษุสสามเณรส่วนมากจะแยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ตามในชอบ และบางรูปอาจจะลาสิกขาบท โอกาสที่พระภิกษุสามเณรจะอยู่พร้อมกันที่วัดมาก ๆ เช่นนี้ย่อมยาก ชาวบ้านจึงถือโอกาสเป็นวันสำคัญไปทำบุญที่วัด และในช่วงออกพรรษาชาวบ้านหมดภาระในการทำไร่นา และอากาศสดชื่นเย็นดี จึงถือโอกาสทำบุญโดยพร้อมเพรียงกัน

        พิธีทำบุญออกพรรษา วันขึ้น 14 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันน้อย วันขึ้น 15 ค่ำ ตอนเย็นมีการไต้น้ำมันใหญ่ ส่วนวันแรม 1 ค่ำ ตอนเช้ามีการตักบาตร หรือตักบาตรเทโว ถวายภัตตาหาร มีการไต้น้ำมันล้างหางประทีป มีการถวายผ้าห่มหนาวพระภิกษุสามเณร บางแห่งมีการกวนข้าวทิพย์ถวาย มีการรับศีล ฟังเทศน์ ตอนค่ำจะมีจุดประทีป นอกจากนี้บางท้องถิ่นจะมีการถวายต้นพาสาดเผิ่ง หรือปราสาทผึ้ง ล่องเรือไฟ เพื่อเป็นการบูชาและคารวะพระแม่คงคา และการส่วงเรือ(แข่งเรือ) เพื่อความสนุกสนานและร่วมสามัคคี


เดือนสิบสอง - บุญกฐิน

        บุญกฐิน เป็นบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเขตทอดกฐินตามหลักพระวินัย

       มูลเหตุมีการทำบุญกฐินซึ่งมีเรื่องเล่าว่า พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด

       ในการทอดกฐินนั้น มีกฐิน 3 ประเภท
       ก. จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใจ 24 ชั่วโมง
       ข. มหากฐิน
       ค. กฐินตกค้าง คำว่า "กฐินตกค้าง" คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐิน

       พิธีทำบุญทอดกฐิน เจ้าภาพจะมีการจองวัดและกำหนดวันทอดล่วงหน้า เตรียมผ้าไตร จีวร พร้อมอัฐบริขาร ตลอดบริวารอื่น ๆ และเครื่องไทยทาน ก่อนนำกฐินไปทอดมักมีการคบงัน วันรุ่งขึ้นก็เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัดหรือรอบพระอุโบสถสามรอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวายพระสงฆ์ที่โบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและบริวารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธีสามัคคี

0
we~^Love \ 21 พ.ค. 50 เวลา 17:50 น. 6
เสลดพังพอน

/>/>/>/>/>/>/>
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bariena lunulina Linae

วงศ์

Acanthaceae

ชื่อพื้นเมือง

ตราด ชองระอา, ทั่วไป เสลดพังพอนตัวผู้, กลาง พิมเสนต้น,จีน เซ้กแซเกี่ยม ฮวยเฮียวแก่โต่วเกียง

ลักษณะ/>

ไม้พุ่มสูง 1 - 2 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นมีหนามสีน้ำตาล 2 คู่ ชี้ลงดิน อยู่ตรงข้อและขนาบโคนก้านใบ กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง
ใบ เดี่ยว อออกตรงข้ามเป็นคู่ ๆ รูปใบยาวเรียว แคบโคนและหลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้นก้านใบแกนกลางใบมีสีแดง
ดอก ช่อ ออกตรงปลายยอดช่อดอกอ่อนมีใบประดับหุ้มปิด ใบประดับสีน้ำตาลอมแดง ดอกจะบานครั้งละ 2 - 3 ดอก และใบประดับจะแง้มออก กลีบดอกสีเหลืองจำปา โคมกลีบดอกติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนใหญ่มี 4 แฉก ปากล่างเล็กมี 1 แฉก

ส่วนที่ใช้

ใบสด

สารที่สำคัญ

ใบมีสาร iridoid ซึ่งจากการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่ามีฤทธิ์แก้การอักเสบ

บำบัดอาการ

งูสวัด

ขนาดและวิธีการใช้

ใช้ใบสด 10 - 15 ใบ ตำ ถ้าแผลแตกให้ใช้น้ำปูนใสแทนน้ำ ทาบริเวณที่เป็นวันละ 4 - 5 ครั้ง จนกว่าจะหาย
รสและสรรพคุณยาไทย    รสขม ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย โรคผิวหนัง

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 21 พฤษภาคม 2550 / 17:51
0
we~^Love \\ 21 พ.ค. 50 เวลา 17:53 น. 7

ชื่อพื้นเมือง ชองระอา พิมเสนต้น เสลดพังพอนตัวผู้ (ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ Hop - headed Barieria

ชื่อวิทยาศาสตร์ Barieria Iupulina Lindl

ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดหมู่เกาะมอริเชียส

ประโยชน์ ใบสดตำผสมกับเหล้า ใช้เป็นยาทาถอนพิษอักเสบจากแมลงกัดต่อย

ลักษณะทั่วไป

ต้น - ไม้พุ่มสูง 1-1.5 m. ลำต้นและกิ่งสีม่วงคล้ำ

ใบ - ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 0.5 - 1.5 cm. ยาว 5 - 10 cm. ปลายแปลมสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบสีม่วงแดง โคนก้านใบมีหนาม ยาว 1 - 2 cm. 1 คู่

ดอก - สีเหลืองออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีใบประดับสีเขียวปลายสีม่วงเป็นกาบหุ้ม กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนมีกลีบขนาดใหญ่ 4 กลีบซ้อนกัน ส่วนล่างมีกลีบเล็ก 1 กลีบ ยาว 4 - 5 cm. เกสรตัวผู้ 2 อัน

ผล - เป็นฝักรูปไข่ยาวประมาณ 1.5 cm.

0
we~^Love \\ 21 พ.ค. 50 เวลา 18:12 น. 8

เปราะหอม
ชื่อท้องถิ่น :
ว่านหอม , ว่านตีนดิน(ภาคเหนือ), ว่านแผ่นดินเย็น(เชียงใหม่), ชู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หอมเปราะ, ว่านชะมด, เปราะ(ภาคกลาง), เปราะป่า(ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia galanga
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลำต้น :
มีลำต้นซึ่งเกิดจากหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน เปราะหอมมีอยู่ 2 ชนิด คือ เปราะหอมขาวและเปราะหอมแดง ทั้ง 2 ชนิดจะแตกต่างกันที่สีของใบและดอกเท่านั้น
ใบ : ลักษณะเหมือนกัน คือ ใบค่อนข้างหนาและใหญ่ กลม ๆ เท่าฝ่ามือ ปลายแหลม โคนมน และออกแบนราบติดกับพื้นดิน ค้นหนึ่งมีใบ 2-3 ใบ ท้องใบสีเขียว แต่ต่างกันที่เปราะหอมขาวมีหลังใบสีขาว ส่วนเปราะหอมแดงมีหลังใบสีแดง
ดอก : ทั้งสองชนิดออกดอกขนาดเล็กกลางต้นเหมือนกัน แต่ต่างกันที่เปราะหอมขาวมีดอกสีขาวและออกดอกเพียงดอกเดียว ส่วนเปราะหอมแดงมีดอกสีแดงและออกดอก 1-2 ดอก และเปราะหอมแดงพบยากกว่า ทั้งสองชนิดออกดอกในราวเดือน พ.ค. - ก.ค.
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นบริเวณป่าราบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ พบทั่วทุกภาค
แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย : เอเชียเขตร้อน
สรรพคุณ : หัวและใบกินเป็นผักสดได้ และยังเป็นพืชสมุนไพรอีกด้วย
0
we~^Love \ 11 ส.ค. 50 เวลา 13:26 น. 11

1. สมัยยุคหินเก่า (Old stone Age หรือ Paleolithic Age) มนุษย์ในสมัยยุคหินเก่ายังไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเพราะยังกินอาหารดิบอยู่ มนุษย์พวกนี้จัดอยู่ในมนุษย์พันธ์นิกริโตส


2. สมัยยุคหินใหม่ มนุษย์ยุคนี้มีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมมากขึ้น ทั้งทางด้านหุงต้ม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และปฏิมากรรม รู้จักการตกแต่งที่อยู่อาศัย เขียนภาพ แกะสลักภาพ การสานทอเครื่องนุ่งห่ม มีความต้องการเครื่องปั้นดินเผา มนุษย์ยุคนี้แยกตามสายวัฒนธรรมได้ 2 สาย คือ
2.1 สายที่หนึ่ง มนุษย์ยุคหินใหม่ที่สืบเชื้อสายมาจากมนุษย์ยุคหินเก่าที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศไทย เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีส่วนผสมของดินกับทราย ไม่เคลือบเผาไฟต่ำสุกไม่ตลอด มีการตกแต่งลวดลาย ขูดลึกลงในเนื้อดิน รูปทรงเตี้ย ปากกว้าง มีส่วนโค้งน้อย ขึ้นรูปด้วยวิธีขดขูดให้เรียบและใช้ไม้ตีผิวให้เรียบบางเสมอกัน
2.2 สายที่สอง เป็นพวกที่เคลื่อนย้ายมาจากอาณาจักรจีนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 4500 ปี ราวยุคหินใหม่ตอนปลาย(Chaleolithic) ต่อกับยุคโลหะ (Bronze Age) เครื่องปั้นดินเผามีลักษณะปากแคบ คอสูง กันกลม มีส่วนโค้งมาก ปั้นรูปด้วยมือ ตกแต่งลวดลายด้วยลายเสื่อ (Mat Design Marking) ขัดผิวเรียบ ขัดเงา เนื้อดินเผาแล้วแข็งมาก มีส่วนผสมของหินมาก ยุคนี้ใช้ความร้อนสูงประมาณ 1000 - 1200 ซ.


สมัยสุวรรณภูมิ (อ้ายลาว ประมาณ พ.ศ. 300 - พ.ศ. 800) เนื่องจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนา พวกอินเดีย มอญ ขะแมร์ จึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย การทำเครื่องปั้นดินเผาได้เจริญขึ้น และมีรูปทรงต่างๆ ซับซ้อนกว่าเดิม แตกต่างกับช่างไทย ซึ่งยังคงพัฒนาการมาจากหม้อทะนน และเป็นแบบของอาณาจักรอ้ายลาว

สมัยเชลียงหรือสมัยขอมมีอำนาจ (ประมาณ พ.ศ. 1100 - พ.ศ. 1600 ) ขอมมีอำนาจและตีอาณาจักรมอญได้ราว พ.ศ. 1600 เครื่องปั้นดินเผาที่พบในสมัยนี้มีเทคนิคในการปั้นและมีความงดงาม แบ่งได้ 3 พวก คือ
1. ทำโดยช่างไทย รูปทรงและความงามส่วนใหญ่วิวัฒนาการมาจากแบบไทยปและอาณาจักรอ้ายลาวกับน่านเจ้าตอนต้น ใช้เคลือบขี้เถ้าผสมกับดินแดงเผาสุกแล้วเป็นสีน้ำตาล แต่บางทีค่อนข้างดำ และยังมีเคลือบขาวหม่น ซึ่งเรียกว่า "เคลือบขุ่น" (White matt glaze) ใช้ขี้เถ้ากับน้ำเป็นเคลือบ ใช้ความร้อนเผาประมาณ 1200 - 1300 ซ. ในสมัยนี้ไทยส่งไปขายทางหมู่เกาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะใกล้เคียงอื่นๆ
2. ทำโดยช่างขอม ขอมได้รับอิทธิพลจากการปั้นรูปและวิธีเคลือบจากไทย แต่ขอมใช้ดินแดงอย่างเดียว รูปทรงภายนอกมีส่วนโค้งมาก เพิ่มลวดลายด้วยการแต่งบนแป้นหมุน
3. ทำโดยช่างมอญ มีการพัฒนาการทางรูปร่างและการประดิษฐ์มากขึ้น ที่แพร่หลายก็คือเครื่องปั้นดินเผา และภาพปั้นดินเผา (Figure Pottery) ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบในสมัยนี้ มีแต่ขัดมันด้วยน้ำดินข้น ซึ่งมอญทำได้ดียิ่ง มีความทนทานอยู่ได้เป็นพันๆ ปี
สมัยสุโขทัย พงศาวดารเหนือมีเนื้อความตรงกับจดหมายเหตุจีนว่า เมื่อครั้งสุโขทัยเป็นราชธานีของสยามประเทศ สมเด็จพระร่วงเจ้า (รัชกาลที่ 3 พ่อขุนรามคำแหง) ได้เสด็จไปเมืองจีน เมื่อปีมะแม จุลศักราช 656 (พ.ศ. 1873) และนำช่างเครื่องปั้นถ้วยชามเข้ามาทำในเมืองไทย ซากเตาที่เรียกว่า "เตาทุเรียง" ครั้งนั้นยังปรากฏที่เมื่องสุโขทัยด้านเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปประมาณ 30 เส้น ที่เมืองสวรรคโลกริมน้ำยมเหนือเมืองศรีสัชนาลัย 2 แห่ง ที่เมืองสองแคว (พิษณุโลก) "บ้านเตาไห" อีก 1 แห่ง (แต่ยังหาซากเตาไม่พบ) ลักษณะสำคัญของเครื่องปั้นดินเผาในสมัยนี้ แยกออกไป 3 ลักษณะคือ
1. เนื้อด้านไม่เคลือบ เผา Bid-cuit อย่างเดียว
2. เคลือบเนื้อหยาบ พวกอ่างมังกร
3. เคลือบเนื้อละเอียด พวกเครื่องถ้วยแบบของจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยนี้ ตกแต่งลวดลายด้วยการเขียน โดยแช่โลหะเกล็ด ( Iron Oxide - Manganese Oxide) ใช้เขียนทับสลิปขาว หรือเขียนบนดินเคลือบใสทับ ฝีมือดีทัดเทียมช่างจีน แต่เนื้อหนากว่า พวกไม่เคลือบทำเป็นตุ่มใหญ่สีดำ แจกันปักดอกไม้ทรงจีนสีเหลือง การดำเนินการครั้งนั้น ทำเป็นอุตสาหกรรมการค้า ส่งขายต่างประเทศซึ่งครั้งกระนั้นมี เชียงใหม่ หลวงพระบาง ตะนาวศรี เครื่องถ้วยชามไทย ทำอยู่ประมาณร้อยปีเศษก็เลิกล้มไปเพราะต้องทำสงครามกันอยู่เรื่อยๆ


สมัยสุโขทัย พงศาวดารเหนือมีเนื้อความตรงกับจดหมายเหตุจีนว่า เมื่อครั้งสุโขทัยเป็นราชธานีของสยามประเทศ สมเด็จพระร่วงเจ้า (รัชกาลที่ 3 พ่อขุนรามคำแหง) ได้เสด็จไปเมืองจีน เมื่อปีมะแม จุลศักราช 656 (พ.ศ. 1873) และนำช่างเครื่องปั้นถ้วยชามเข้ามาทำในเมืองไทย ซากเตาที่เรียกว่า "เตาทุเรียง" ครั้งนั้นยังปรากฏที่เมื่องสุโขทัยด้านเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปประมาณ 30 เส้น ที่เมืองสวรรคโลกริมน้ำยมเหนือเมืองศรีสัชนาลัย 2 แห่ง ที่เมืองสองแคว (พิษณุโลก) "บ้านเตาไห" อีก 1 แห่ง (แต่ยังหาซากเตาไม่พบ) ลักษณะสำคัญของเครื่องปั้นดินเผาในสมัยนี้ แยกออกไป 3 ลักษณะคือ
1. เนื้อด้านไม่เคลือบ เผา Bid-cuit อย่างเดียว
2. เคลือบเนื้อหยาบ พวกอ่างมังกร
3. เคลือบเนื้อละเอียด พวกเครื่องถ้วยแบบของจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยนี้ ตกแต่งลวดลายด้วยการเขียน โดยแช่โลหะเกล็ด ( Iron Oxide - Manganese Oxide) ใช้เขียนทับสลิปขาว หรือเขียนบนดินเคลือบใสทับ ฝีมือดีทัดเทียมช่างจีน แต่เนื้อหนากว่า พวกไม่เคลือบทำเป็นตุ่มใหญ่สีดำ แจกันปักดอกไม้ทรงจีนสีเหลือง การดำเนินการครั้งนั้น ทำเป็นอุตสาหกรรมการค้า ส่งขายต่างประเทศซึ่งครั้งกระนั้นมี เชียงใหม่ หลวงพระบาง ตะนาวศรี เครื่องถ้วยชามไทย ทำอยู่ประมาณร้อยปีเศษก็เลิกล้มไปเพราะต้องทำสงครามกันอยู่เรื่อยๆ

สมัยรัตนโกสินทร์


สมัยรัชกาลที่ 1 เริ่มฟื้นฟูเครื่องปั้นดินเผา แต่เป็นการสั่งทำจากเมืองจีนโดยให้ช่างหลวงเขียนตัวอย่างลายไทยและส่งช่างไทยไปควบคุมการเขียนลวดลายให้เหมือนด้วยเครื่องปั้นดินเผาที่สั่งทำส่วนใหญ่เป็นพวกจาน ชาม โถ กระโถนและถ้วย ลายที่เขียนเป็นลายไทยและเขียนสีบนพื้นถ้วยขาวบ้าง เขียนสีเบญจรงค์บ้าง ตัวอย่าง เช่น ชามลายก้นขด เขียนสีบนพื้นถ้วย เช่นเขียนรูปครุฑ ราชสีห์ และเทพนม ปรากฏว่าฝีมือดีกว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยรัชกาลที่ 2 ฝีมือช่างเขียนไทยเจริญมากขึ้น เครื่องถ้วยชามที่สั่งทำจากประเทศจีน ก็คิดแก้ไขรูปทรงและลวดลาย มีลายประดิษฐ์ใหม่ เช่น ลายดอกกุหลาบส่วนลายแบบจีน เช่น ลายดอกไม้จีน ลายสิงโต ก็นำมาปรับเขียนใหม่ให้เข้ากับความนิยมของคนไทยโดยใช้สีทองเขียนประกอบ เครื่องถ้วยของไทยที่นิยมกันมากในปัจจุบันคือ เครื่องถ้วยที่สั่งทำในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่เรียกว่า ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ (สมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 2 ) ทั้งนี้เพราะทรงเป็นพระธุระในการสั่งทำ


สมัยรัชกาลที่ 3 มีการสั่งของจากต่างประเทศเท่าที่จำเป็น แต่พระองค์ทรงทำนุบำรุงฟื้นฟูเครื่องปั้นดินเผาในประเทศกล่าวคือ ทรงทำนุบำรุงการทำกระเบื้องเคลือบมุงหลังคา กระเบื้องเคลือบสีเป็นเครื่องประดับ โดยใช้เตาเผาแบบเตาทุเรียง ซึ่งสร้างที่วัดสระเกศ

สมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากราชทูตไทยซึ่งไปประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2395 ถูกผู้ร้ายปล้นจึงไม่มีการส่งราชทูตไปประเทศจีนอีก รวมทั้งไม่มีการส่งช่างไทยไปตรวจตราการทำเครื่องปั้นดินเผาด้วย การสั่งทำจากประเทศจีนเป็นเรื่องของพ่อค้าในกรุงเทพฯ เป็นผู้สั่งลายคราม เครื่องถ้วยชามที่สั่งจากจีนจึงเป็นลายครามเขียนลายจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ลายน้ำทองมีสั่งบ้างโดยให้แบบลายไทยไปทำ แต่ฝีมือสู้ครั้งสมัยรัชกาลที่ 2 ไม่ได้

สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะที่เจริญรุ่งเรืองมาก การศึกษาวิชาการก็ขยายตัวแพร่หลาย เครื่องถ้วยชามที่สั่งเข้ามาค้าขายในเมืองไทยก็มีทั้งของจีน ญี่ปุ่น ปละฝรั่ง ในสมัยนั้นนิยมใช้ของฝรั่งลวดลายฝรั่งกันมาก แต่ที่สั่งทำเป็นรูปทรงแบบไทยก็มีมาก ของญี่ปุ่นโดยมากเป็นถ้วยชามและเครื่องแต่งเรือน ทั้งนี้เป็นเพราะญี่ปุ่นเริ่มทำเลียนแบบของจีนได้ดี ในสมัยนั้นในเมืองไทยมีการทำกันเฉพาะการเขียนลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาเท่านั้น

สมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยเริ่มมีโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อหยาบ เช่น กระถาง โอ่ง อ่างและไห ซึ่งมีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ

สมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ. 2475 หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลพยายามจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติ โดยการส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมากขึ้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตาสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริม และมีผู้สนใจทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ขณะนั้นคือ โอ่ง อ่าง และไห ผลิตภัณฑ์เนื้อดีที่ผลิตได้บ้างก็ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ

สมัยรัชกาลที่ 8 และสมัยรัชกาลที่ 9 (สมัยปัจจุบัน) การประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาหรืออุตสาหกรรมเซรามิกส์ ถ้าจะให้ได้ผลดีจะต้องอาศัยหลักวิชาการและเทคโนโลยีเข้าร่วมประกอบกับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิกส์ด้านวิชาการและเทคโนโลยีในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน มีส่วนช่วยเป็นอันมากในปี พ.ศ. 2478 กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เริ่มดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ได้เริ่มมีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา โดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปรับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในต่างประเทศแล้วกลับมาพัฒนาบุคลากรของกรมด้านวิชาการและเทคโนโลยี และได้ทำการศึกษาวิจัยวัตถุดิบ โดยการสำรวจ วิเคราะห์ และทดสอบ วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น ดินและหินชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผลจากการสำรวจและการวิเคราะห์วิจัย พบว่า ประเทศไทยมีวัตถุดิบชนิดดีปริมาณมาก สามารถใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดดีได้ เป็นผลให้มีการลงทุนสร้างโรงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นอีกมาก ในปี พ.ศ. 2503 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ประกาศให้การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2508 จึงมีโรงงานอุตสากรรมเซรามิกส์เกิดขึ้น 8 แห่ง ที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้มีกระเบื้องปูพื้น กระเบื้อบุผนัง กระเบื้องโมเสค และเครื่องสุขภัณฑ์ และในปี พ.ศ. 2508 นี้เอง สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนโดยให้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปลายแผนที่ 1 จนถึงแผนที่ 4 ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซรามิกส์ได้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างมาก มีโรงงานเซรามิกส์ขนาดใหญ่ประมาณ 10 โรงงาน ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง โรงงานขนาดเล็กอีกหลายร้อยโรงงานกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดลำปาง มีอยู่ประมาณ 50 โรงงาน โรงงานเหล่านี้ผลิตถ้วย ชาม เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องโลหะเคลือบ โมเสค กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องประดับ ผนังเครื่องฉนวนไฟฟ้า และอิฐก่อสร้าง ปริมาณการผลิตพอเพียงต่อการใช้ภายในประเทศและยังส่งออกขายยังต่างประเทศในปี พ.ศ. 2528 ประมาณ 500 ล้านบาท
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน มีหน่วยงานในสังกัด 2 หน่วยงาน ซึ่งทำการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิกส์ คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วพป. วศ.) และสาขาวิจัยอุตสาหกรรมโลหะและเซรามิกส์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวซ. วท.)



สมัยก่อนสุวรรณภูมิ ( ประมาณก่อน พ.ศ. 50 ปี - พ.ศ. 300 ) ดินแดนบางส่วนของประเทศไทยคือจังหวัดนครปฐมในปัจจุบันเคยมีชื่อเรียกว่า สุวรรณภูมิ ก่อนที่จะมีชื่อว่าสุวรรณภูมิ ดินแดนส่วนนี้เคยมีพวกอินเดีย มอญ ขะแมร์ อาศัยอยู่ทั่วไป ถ้าเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ทำโดยมนุษย์ที่สืบเชื้อสายมาจากมนุษย์พันธุ์ไทย เช่น หม้อทะนนที่ขุดพบที่จังหวัดนครปฐม จะมีส่วนตกแต่งและการผสมเนื้อดินที่พัฒนาการมาจากหม้อทะนนที่ขุดพบที่จังหวัดเพชรบุรี แต่เครื่องปั้นดินเผาของพวกมอญ ขะแมร์ มีลักษณะ (Decoration) มากกว่าของช่างไทย นิยมทำเส้น ลวดลายและส่วนโค้งซับซ้อนกว่าของไทย


สมัยทวาราวดี (น่านเจ้า ประมาณ พ.ศ. 800 - พ.ศ. 1400) ไทยมัยทวาราวดีเดิมเข้าใจว่าเป็นพวกมอญในอาณาจักรสุวรรณภูมิ แต่จากการค้นพบศิลปวัตถุและทางวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผา ทำให้เชื่อได้ว่าไทยมีเมืองของตนเอง และการปกครองเป็นปึกแผ่น เครื่องปั้นดินเผาที่ค้นพบมีรูปทรงโค้งสองโค้งกลับกัน ปากผายเป็นปากแตร มีลักษณะเช่นเดียวกับช่างของอ้ายลาวซึ่งพบทางเมืองเชียงแสนและพบมากในลุ่มน้ำยม สวรรคโลก ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี
สมัยก่อนสุโขทัยและสมัยเชียงแสน (ประมาณ พ.ศ. 1600 - พ.ศ. 1800) เป็นสมัยที่ไทยอยู่กระจัดกระจาย เครื่องปั้นดินเผาและซากเมืองที่ค้นพบ สันนิษฐานได้ว่าเป็นเมืองของไทย เช่น โยนก เชียงแสน เวียงป่าเป้า บ้านเตาไห ในสมัยนี้ความรู้ทางเครื่องปั้นดินเผาของไทยสูงมาก ทำเคลือบได้หลายชนิด เช่นเดียวกับช่างไทยในประเทศจีน เคลือบต่างๆ แยกออกได้ดังนี้
1. เคลือบเหล็ก เป็นสีน้ำตาลแก่ - น้ำตาลอ่อน
2. เคลือบสีขี้เถ้าขาว สำหรับเครื่องหิน
3. เคลือบขี้เถ้าสีเทา
4. เคลือบหิน (Celadon) แบ่งเป็น
- เคลือบใส
- เคลือบขุ่น
- เคลือบทึบ
5. เคลือบใสทับสลิปขาว
เครื่องปั้นดินเผาของไทยสมัยนี้จัดอยู่ในระดับฝีมือสูงมาก และตรงกับสมัยของจีนตอนต้น รูปทรงเครื่องปั้นดินเผาไทยสมัยนี้จัดได้เป็น 3 แบบ คือ
1. วิวัฒนาการมาจากแบบเก่า
2. คิดดัดแปลงขึ้นมาใหม่
3. รับอิทธิพลมาจากจีน


สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1900 - พ.ศ. 2300) ในสมัยนี้ไม่ปรากฏว่ามีการทำเครื่องถ้วยชามแต่มีเครื่องถ้วยชามที่ทำในสมัยสุโขทัยใช้ และมีเครื่องถ้วยชามของจีนแบญี่ปุ่นเข้ามาใช้ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนเครื่องถ้วยชามของฝรั่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยอยุธยานี้เข้าใจว่ามีการสั่งทำเครื่องถ้วยชามจากต่างประเทศ แต่ให้เขียนแบบไทย 

0
we~^Love \ 11 ส.ค. 50 เวลา 13:28 น. 12

การปั้นให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้นั้น ต้องแล้วแต่ลักษณะของภาชนะหรือรูปของวัตถุประสงค์จะปั้น ประกอบกับความเหนียวของเนื้อดินปั้น ความเหนียวของเนื้อดินปั้นขึ้นอยู่กับการผสมเนื้อดินปั้นกับน้ำ ซึ่งมีส่วนต่าง ๆ กันและจำแนกออกเป็น 4 ชนิด คือ


1. ดินน้ำ ( Slip ) สำหรับใช้หล่อกับปูนพลาสเตอร์ เนื้อดินปั้นชนิดนี้ผสมกับน้ำประมาณ ร้อยละ 24 - 30 เมื่อผสมแล้ว จะมีเนื้อเหลวเป็นน้ำข้น ๆ เวลาปั้นต้องใช้ปูนพลาสเตอร์เป็นแบบเหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นชนิดที่มีเนื้อดินปั้นบาง ทำการปั้นด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ เช่น แจกัน ถ้วยกาแฟ และเครื่องปั้นชนิดใหญ่ที่มีเนื้อดินปั้นหนามาก ๆ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น


2. ดินเหลว ( Soft -mud ) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณ ร้อยละ 18 -24 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้ว จะมีเนื้ออ่อนเหลวไม่เหนียวมากนัก เวลาปั้นจะต้องมีแบบทำด้วยไม้โลหะ หรือปูนพลาสเตอร์ เพื่อให้เนื้อดินปั้นอยู่ในที่อับตัวจะได้เกาะติดกัน เหมาะสำหรับเครื่องปั้นดินเผาจำนวนอิฐธรรมดา ( Common brick ) อิฐประดับ ( Face brick ) กระเบื้องมุงหลังคา
( Roofing tile ) Jiggered pottery ชาม จาน ( Dinner - waer )


3. ดินเหนียว ( Stiff - mud ) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำ ประมาณร้อยละ 14 -20 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้อเหนียวมาก ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้ เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวกอิฐธรรมดา ( Common brick ) อิฐประดับ ( Face brick ) กระเบื้องปูพื้น ( Floor tile ) อิฐกลวง ( Hollow brick ) ท่อระบายน้ำ ( Sewer pipe ) อิฐทนไฟ ( Refractory brick ) หม้อไห ( Pottery ) กระเบื้องฉนวนไฟฟ้า( Electric porcelain )


4. ดินชื้น ( Dry - press ) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำ ประมาณร้อยละ 6 -14 เนื้อดินปั้นชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้อร่วนชื้นเล็กน้อย เวลาปั้นต้องมีแบบทำด้วยโลหะและอัดให้เป็นรูปด้วยเครื่องจักร ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้ เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวก กระเบื้องปูพื้น ( Floor tile ) กระเบื้องปูฝา ( Wall tile ) อิฐประดับ ( Face brick ) อิฐทนไฟ ( Refractory brick ) กระเบื้องฉนวนไฟฟ้า ( Electric porcelain ) 



การขึ้นรูป ( Forming )

1. ปั้นวิธีอิสระ ( Free hand ) หรือการปั้นด้วยมือ ( Building by hand ) เป็นการปั้นให้มีรูปเหมือนของจริงหรือเป็นการปั้นภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยมือ เป็นการปั้นที่ใช้ในการทำแม่แบบเพื่อนำไปทำแบบปูนพลาสเตอร์มีเครื่องใช้ คือ ไม้สำหรับตีให้มีรูปกลม มีก้อนหินสำหรับรองรับภายใน


2. ปั้นบนแป้นหมุน ( Throwing on the Potter's Wheel ) การปั้นบนแป้นหมุนจะปั้นได้เฉพาะภาชนะที่มีรูปกลมหรือทรงกลม แบ่งออกเป็น 2 อย่าง


2.1 ปั้นครั้งเดียวเสร็จ เป็นการปั้นของขนาดเล็ก เช่น แจกัน อ่าง กระถาง หรือโอ่งขนาดเล็ก
2.2 ปั้นสองตอนหรือสามตอน เป็นการปั้นของขนาดใหญ่ใช้วิธีปั้นตอนล่างก่อน ผึ่งให้หมาด ขดดินต่อขึ้นไปแล้วนำไปรีดบนแป้นหมุนนำไปผึ่งให้หมาดแล้วต่อขึ้นไปอีกตอนหนึ่ง ถ้าเป็นสามตอนแล้วจึงรีดบนแป้นหมุน ทำเป็นปาก เช่น การปั้นโอ่งเคลือบราชบุรี การปั้นแบบนี้ต้องมีการวัดส่วนสูงและความกว้างของปากและก้นเพื่อให้มีขนาดเท่ากัน แต่ถึงกระนั้นก็ดี ความหนาก็ยังแตกต่างกันอยู่

การตากแห้ง (Drying)
การตากแห้งคือ การไล่น้ำออกจากของที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว การตากแห้งควรให้น้ำระเหยออกไปอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันการแตกร้าวปริมาณของน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปต้องเหมาะสม

การตากแห้งของที่มีขนาดแตกต่างกันทำได้ดังนี้
1. ของใหญ่ ต้องปั้นในที่มิดชิด กันลมโกรกโดยมากโรงปั้นทำหลังคาเกือบถึงพื้นและมีฝาปิดมิดชิด ของที่ปั้นเสร็จแล้วจะต้องคลุมเพื่อมิให้ถูกลมมากเกินไปในระยะหนึ่ง แล้วจึงเอาสิ่งที่คลุมออกผึ่งไว้ในร่ม 3 - 7 วัน จึงเอาออกตากแดด หรือนำไปวางข้างเตาเผา
2. ของเล็ก ผึ่งในร่มชั่วระยะหนึ่งแล้วเอาออกตากแดด
3. การตากในแสงแดดควรจะหมุนให้ถูกแดดทั่วกันทุกด้าน เพื่อกันการแตกร้าว บิดเบี้ยวของที่แตกแห้งสนิทแล้วจะทำให้ปริมาณการแตกสียหายจากการเผาดิบลดน้อยลง
4. ของที่ตากแห้งในเตาอบไฟฟ้า (Electric Oven) ความร้อนครั้งแรกไม่เกิน 40๐ ซ. แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิอย่างช้า ๆ จนถึง 110๐ ซ. เพื่อให้แห้งสนิท

การออกแบบ
ความรู้พื้นฐานในการออกแบบ
1. ความรู้ในวัตถุประสงค์ของงานที่จะออกแบบ ตัวอย่าง เช่น


1.1 การออกแบบเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นภาชนะ หม้อ ไห ถ้วยชาม
1.2 การออกแบบของใช้อื่น ๆ เช่น แผ่นกระเบื้อง กระเบื้องปูพื้น

กระเบื้องประดับผนัง เครื่องประดับอื่น ๆ สุขภัณฑ์
1.3 การออกแบบงานปฏิมากรรม เครื่องเคลือบ

การออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยตามแต่ละชนิดของของ

ที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ลักษณะ ขนาด และมีความงามเหมาะสมจึงจะเป็นลักษณะของการออกแบบที่ดี

2. คุณค่าทางความงาม สุนทรียภาพ (Aesthetic) วิจิตรศิลป์ (Fine art) การออกแบบสร้างสรรค์งานศิลปะไม่ว่าแขนงใด จะต้องมีคุณค่าทางด้านความงาม ฉะนั้นเพื่อให้ได้คุณค่าด้านความงามอย่างสมบูรณ์ นักออกแบบที่ดีควรมีความรู้ในด้านความงาม


คลือบ คือชั้นของแก้วบางๆ ที่หลอมละลายติดอยู่กับผิวดินซึ่งขึ้นรูปเป็นภาชนะทรงต่างๆ วัตถุดิบที่เป็นน้ำยาเคลือบถูกบดจนละเอียดมากกว่าดินหลายเท่า ก่อนนำมาเคลือบบนดินเผา เป็นชั้นหนา 1-1.5 มม. เมื่อเคลือบแล้วต้องทิ้งให้ผลิตภัณฑ์แห้ง เช็ดก้นผลิตภัณฑ์ให้สะอาดก่อนเข้าเตาเผา ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้ว โดนเผาผ่านความร้อนอุณภูมิสูง วัตถุดิบที่เป็นแก้ว ในเคลือบเมื่อถึงจุดหลอมละลาย ชั้นของเคลือบจะกลายเป็นแก้วมันวาวติดอยู่กับผิวดิน

เคลือบช่วยให้การล้างภาชนะสะดวก เนื่องจากเคลือบมีสมบัติลื่นมือ สามารถทำความสะอาดง่ายกว่าผิวดินที่มีลักษณะ

ค่อนข้างหยาบ

เคลือบมีคุณสมบัติเป็นแก้วไม่ดูดซึมน้ำ และยังเพิ่มความแข็งแรงทนทาน ทำให้ภาชนะดินเผาไม่บิ่นง่าย เมื่อกระทบกันบ่อยๆขณะล้างทำความสะอาด และสามารถใส่ของเหลวได้โดยไม่รั่วซึม

0
we~^Love \ 11 ส.ค. 50 เวลา 13:32 น. 13



เครื่องมือสำหรับงานปั้น ส่วนมากนิยมใช้กับเครื่องมือตกแต่งงานปั้นให้ดีขึ้น สะสวยงามขึ้นเพราะงานปั้นส่วนใหญ่มีการใช้มือตนเอง เครื่องมือส่วนมากมักจะทำด้วยไม้ค่อนข้างแข็ง บางอย่างทำด้วยโลหะ แต่มีด้ามจับ และมีขนาดต่างๆ กัน เครื่องมือในการปั้นดินเผาแบ่งออกได้เป็น ๒ พวก คือ

ลักษณะของเครื่องมือขูดดิน โดยมากมีด้ามอยู่ตรงกลาง หัวและท้ายของด้ามทำด้วยโลหะที่เป็นเส้น ดัดงอให้เป็นรูปต่างๆ ตามลักษณะการใช้งาน มีอย่างน้อยจำนวน ๕ อันขึ้นไป

เครื่องมือขูดดินจะใช้ก็ต่อเมื่อขึ้นรูปร่างด้วยมือจนเป็นรูปร่างที่เหมาะสมและเพียงพอแล้ว ขั้นต่อไปก็ขูดตกแต่งให้เรียบร้อยและสวยงามตามความต้องการ การใช้เครื่องมือขูดเป็นการช่วยเสริมเค้าโครงรูปร่างให้มีส่วนถูกต้องตามลักษณะงาน

ข้อควรระวังและการเก็บรักษาเครื่องมือ
๑. เครื่องมือขูดดินขณะที่ใช้งานไม่ควรออกแรง เพราะโลหะที่ติดอยู่ที่หัวท้ายของด้ามมีความอ่อน ถ้าขูดดินแรงเรือแห้งจนเกินไปจะทำให้โลหะคดงอ
๒. เมื่อเลิกใช้งานแล้วควรล้างทำความสะอาดทุกครั้งและควรเช็ดน้ำให้แห้ง ควรทาน้ำมันทาไว้เพื่อป้องกันการเป็นสนิมที่โลหะ
๓. เครื่องมือทุกชนิดรวมกันเป็นห่อ หรือใส่กล่องรวมกันไว้
๔. อย่าโยนเครื่องมือหรือเคาะเล่น เพราะจะทำให้ส่วนที่เป็นโลหะเสียรูปร่าง
๕. อย่าใช้เครื่องมืองัดแงะสิ่งอื่นๆ เพราะจะทำให้ส่วนที่เป็นโลหะคด-งอ และหักเมื่อภายหลังได้

กระดานรองปั้น
กระดานรองปั้นมีลักษณะเป็นแผ่นไม้กระดารรูปสี่เหลี่ยม หรือเป็นรูปวงกลมก็ได้ซึ่งมีความหนาพอประมาณ คือหนาประมาณ ๑ นิ้ว หรือจะใช้กระจกหนาๆ ก็ได้ กระดานรองปั้นเป็นเครื่องมือรองรับดินปั้น เพื่อป้องกันไม่ให้สกปรกออกมาภายนอก และเพื่อให้เคลื่อนย้ายรูปปั้น - หรือหมุนเพื่อการตกแต่งรูปปั้นได้สะดวก เพราะกระดานนี้จะตองวางลงบนแป้นหมุนอีกทีหนึ่ง



แป้นกลึงดิน เป็นแป้นสำหรับขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้น ใช้กันมากในงานอุตสาหกรรมภายในบ้าน หรืออุตสาหกรรมโรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก แป้นกลึงดินยังแยกออกได้เป็น ๒ แบบ คือ

๑. แป้นกลึงดินแบบใช้แรงคน แห้นกลึงดินนี้มีลักษณะคล้ายแป้นหมุนตกแต่ง ซึ่งมีแกนเป็นเหล็ก ส่วน แป้นหมุนนั้นทำด้วยไม้หรือโลหะก็ได้ การหมุนของแป้นโดยใช้แรงมือหรือเท้าเข้าช่วยการหมุนด้วยเท้าหรือมือนี้จะต้องมีความสัมพันธ์กัน โดยอาศัยความชำนาญ เหตุที่ใช้แป้นชนิดนี้ในกรณีที่ไม่มีไฟฟ้าใช้หรือใช้ในกรณีเป็นอุสาหกรรมย่อย ที่ผู้ประกอบยังไม่มีทุนรอนมากนัก แต่ผลิตผลก็ทำกันสำเร็จได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ

๒. แป้นกลึงดินด้วยเครื่องจักร แป้นกลึงดินแบบนี้มีลักษณะคล้ายแป้นกลึงดินโดยใช้แรงคน ผิดกันตรงที่เวลาหมุนแป้นแทนที่จะใช้แรงคน กลับมาใช้ไดนาโมเป็นตัวหมุนเฟืองขับ เฟืองขับจะประกบอยู่กับเฟืองที่แป้นหมุน เมื่อเฟืองขับหมุนจะพาเอาเฟืองที่แป้นหมุนไปด้วย ซึ่งทำแป้นกลึงดินหมุนตามดังแสดงไว้ในรูป

วัตถุดิบที่ใช้ใรอุตสาหกรรมเซรามิกส์บางอย่างได้มาจากสินแร่ตามธรรมชาติ เช่น ดินต่างๆ(clays) หินฟันม้า (feldspar) หินควอตรซ์ (quartz) และทรายทะเล เป็นต้น

นอกจากนี้ วัตถุดิบบางอย่างได้มาจากการสะกัดจากสินแร่ตามธรรมชาติ และนำมาทำให้บริสุทธิ์ด้วยขบวนการทางเคมี เช่น อะลูมินา (alumina) ซึ่งได้จากแร่บ๊อกไซท์ (bauxite) ที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น แบเรียมทิตาเนต นอกจากนี้ก็มีพวกเฟอร์ไรท์ (ferrites) และสารอินทรีย์บางชนิดที่ให้เป็นตัวช่วยในการขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์สมัยใหม่ต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีเปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์สูง เพราะสิ่งสกปรกเพียงเล็กน้อยซึ่งอาจจะน้อยกว่า 1% ก็อาจมีอิทธิพลต่อโครงสร้างซึ่งเชื่อมโยงไปถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์นั้นๆด้วย การผลิตเซรามิกส์กึ่งตัวนำ (Semiconducting ceramics) สิ่งสกปรกจะต้องมีน้อยกว่า 1 ใน 10-8 กล่าวโดยทั่วไปสิ่งสกปรกไม่เป็นที่ปรารถนาในทุกขั้นตอนของการผลิต

การควบคุมขนาดและรูปร่างของวัตถุดิบ ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่า การควบคุมความบริสุทธิ์ของวัตถุดิบ เพราะมันจะมีผลต่อการขึ้นรูป การเกิดปฏิกิริยาระหว่างกันของวัตถุดิบต่างๆ ในขณะที่เผาหรือระหว่างการทำการสังเคราะห์สารต่างๆ

0